ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากธรรมชาติชนิดหนึ่ง โดยมาจากการนำเอาเศษซากพืชชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติเพิ่มแร่ธาตุในดิน มาผสมรวมกับมูลสัตว์ประเภทต่างๆ แล้วหมักทิ้งไว้ในเวลาเหมาะสม
เช่นการนำฟางข้าว หรือซังข้าวโพด หรือเศษผัก ผลไม้ หรือเศษใบไม้ที่ได้จากพืชตระกูลถั่ว นำมาผสมกับมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลไก่ ซึ่งมีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ช่วยย่อยสลายเศษซากได้ แล้วนำไปใส่ภาชนะหมักไว้ในระยะเวลาหนึ่ง
จะได้เศษพืชที่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ ซากพืชเหล่านั้นจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำ เมื่อนำไปใส่บำรุงดินบริเวณโคนต้นพืช จะทำให้ดินมีแร่ธาตุเพิ่มมากขึ้น ช่วยบำรุงดิน และช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดี ไม่เป็นอันตรายกับพืชผัก และสามารถใช้ได้มากเท่าที่ต้องการโดยไม่มีผลเสียต่อพืชผัก
ปุ๋ยหมักทำเอง 7 วันเห็นผล
ปกติการหมักปุ๋ยใช้เอง จะต้องหมักไว้อย่างน้อย 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ เนื่องจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์จากมูลสัตว์ จะไม่ได้รวดเร็วมาก อีกทั้ง ความชื้นและขนาดของเศษซากก็เป็นตัวกำหนดระยะเวลาในการย่อยสลายด้วย
แต่เราสามารถทำปุ๋ยหมักใช้เองได้ภายใน 7 วันเท่านั้น ซึงวิธีการทำปุ๋ยหมัก 7 วัน ที่สามารถทำให้ปุ๋ยหมักที่ได้ มีประสิทธิผลเหมือนปุ๋ยหมักทั่วไปนั้น มีเคล็ดลับอยู่เล็กน้อย ส่วนจะเป็นวิธีการอย่างไรที่สามารถได้ปุ๋ยหมักภายใน 7 วันมาใช้นั้น ดูวิธีนี้เลย
ทำปุ๋ยหมักเร่งด่วน 7 วัน เห็นผล
นอกจากส่วนผสมหลักที่เป็นเศษซากพืชผัก ผลไม้ และมูลสัตว์แล้ว ส่วนผสมสำคัญสำหรับเป็นตัวช่วยเร่งให้เศษซากพืชผักย่อยสลายได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัวนั่นก็คือ…
- หัวเชื้อ EM 100 CC (วิธีทำหัวเชื้อ EM)
- ยาคูลท์ 1 ขวด
- น้ำสะอาด 3-5 ลิตร
- จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1-2 ลิตร
ส่วนผสมทั้งหมดตามอัตราส่วนนี้ เมื่อผสมเข้าด้วยกัน จะได้ปริมาณ 4-7 ลิตร เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายกองปุ๋ยหมัก ให้นำมาฉีดพ่นกองปุ๋ยหมักทำเองได้ 1 กอง ต่อส่วนผสม 4-5 ลิตร (ปุ๋ยหมัก 1 กองมีทั้งหมด 3-4 ชั้น : เศษฟางหรือหญ้าแห้ง+เศษผักผลไม้+มูลสัตว์+ดิน (ดินจะมีหรือไม่ก็ได้) )
วิธีการทำกองปุ๋ยหมัก และการผสมปุ๋ยหมักเอง ทำไม่ยากดังนี้
- ในชั้นล่างสุดให้ใช้เศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าวเป็นวัสดุรองพื้นก่อน ความหนาไม่ควรเกิน 10 ซม.
- ชั้นที่ 2 ให้ใช้เศษผักและผลไม้ที่ย่อยสลายได้ง่าย ชิ้นไม่ใหญ่เกินไป โดยให้ความหนาประมาณ 10-20 ซม.
- ชั้นที่ 3 ใช้มูลสัตว์ ปิดทับบางๆ หนาประมาณ 2-3 ซม.
- ชั้นที่ 4 ดินร่วนหรือดินทราย (อาจนำไปผสมเป็นชั้นที่ 3 ในอัตราส่วน ดิน 1 ส่วนต่อมูลสัตว์ 2-3 ส่วนได้กรณีไม่ต้องการปุ๋ยกองใหญ่มาก) เสร็จแล้วฉีดพ่นด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายกองปุ๋ยหมักทำเองให้ชุ่ม
ทำปุ๋ยหมักใช้เองได้ภายใน 7 วัน เคล็ดลับคือการผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเร่งการย่อยสลายให้กับซากพืช EM 100 CC / ยาคูลท์ 1 ขวด /จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1 ลิตร และน้ำสะอาด 1 ลิตร ผสมรวมกันแล้วฉีดพ่นกองปุ๋ยหมัก หัวเชื้อนี้จะเข้าทำปฏิกิริยากับมูลสัตว์ เร่งจุลินทรีย์ในมูลสัตว์ เข้าย่อยสลายเศษซากพืชเร็วขึ้นเท่าตัว
ทำซ้ำเป็นชั้นๆ แบบนี้ได้อีกตามต้องการ แต่ไม่ควรทับกันสูงเกิน 5 กอง เพราะจะทำให้ชั้นปุ๋ยหมักหนาเกินไป เมื่อทำเสร็จแล้วใช้ไม้ยาว ปักลึกถึงชั้นล่างสุด ปักให้ทั่วๆ บริเวณพื้นที่หมักปุ๋ยเพื่อเพิ่มออกซิเจน และให้น้ำได้ไหลลงด้านล่างเพื่อเพิ่มความชื้น
หมั่นฉีดพ่นด้วยส่วนผสมสำหรับช่วยเร่งการย่อยสลายในทุกวัน ไม่เกิน 7 วัน ก็สามารถนำกองปุ๋ยหมักมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว และหากต้องการหมักต่อก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องพลิกกอง เพียงแต่หมั่นฉีดพ่นด้วยหัวเชื้อได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่ไม่ควรฉีดพ่นจนกองปุ๋ยหมักเปียกแฉะเกินไป เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและน้ำหัวเชื้อนองเต็มพื้นจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์
การนำปุ๋ยหมักทำเอง 7 วันเห็นผลไปใช้ประโยชน์
ให้คลุกเคล้าปุ๋ยหมักทั้งหมดให้เข้ากันแล้วตากแดดให้แห้งอย่างทั่วถึง ก่อนร่อนเอาเศษซากที่เป็นชิ้นใหญ่ออก กรองเอาแต่ส่วนเล็กๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ส่วนที่ยังย่อยสลายไม่หมดให้หมักต่อด้วยการฉีดพ่นหัวเชื้อที่มาจากส่วนผสม 4 รายการข้างต้นได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม
หากต้องการเพิ่มจำนวนปุ๋ยหมัก ก็สามารถใช้เศษปุ๋ยหมักที่เหลือดังกล่างนี้ทดแทนชั้นที่ 3 ที่เป็นส่วนผสมที่ได้จากดิน 1 ส่วนและมูลสัตว์ 2-3 ส่วนได้เลย หรือจะนำไปผสมกับมูลสัตว์เพิ่มเติมก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนที่แนะนำไว้ข้างต้น
แนะนำการทำ
ปุ๋ยหมักทำเอง และหัวเชื้อจุลินทรีย์บำรุงดินและพืช แบบอื่นๆ
วิธีการทำปุ๋ยหมัก ได้ผลรวดเร็วแบบอื่น ที่ใช้ได้ผลจริง
จากข้อมูลข้างต้นเรารู้อยู่แล้วว่า การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์สำหรับการเร่งย่อยสลายให้กับเศษซากพืชนั้น ทำกันอย่างไรไปแล้ว ซึ่งหัวเชื้อเร่งย่อยนี้ จำเป็นอย่างมากในการทำปุ๋ยหมักใช้เอง ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ได้ปุ๋ยเร็วทันใจ แต่ส่วนผสมนี้ ไม่ได้เป็นความลับ เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถดัดแปลงวิธีการต่างๆ โดยการนำส่วนผสมอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการเร่งการย่อยสลายของพืช เข้ามาผสมร่วมด้วยได้เช่นเดียวกัน ดังเช่นหัวข้อด้านล่างนี้
ปุ๋ยหมักนมสด
เป็นการหมักเศษผักผลไม้หรือเศษซากพืช หรือใบไม้แห้ง ทำเป็นปุ๋ยหมัก โดยการผสมกับนมเปรี้ยวหรือนมบูด เพื่อช่วยในการเร่งย่อยสลายเศษซาก วิธีนี้นิยมใช้ร่วมกับการหมักปุ๋ยหมักแบบปกติ โดยการใช้นมเปรี้ยวหรือนมบูดมาผสมกับหัวเชื้อหรือน้ำสะอาด ฉีดพ่นรดกองปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยน้ำ หัวเชื้อปุ๋ยทำเอง
จากการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายกองปุ๋ยหมัก เมื่อการฉีดพ่นทำบ่อยและให้น้ำในกองปุ๋ยหมักมากเกินไป จะเกิดน้ำที่ผ่านการย่อยสลายของจุลินทรีย์ขึ้น น้ำส่วนนี้สามารถนำมาใช้เป็นหัวเชื้อปุ๋ยน้ำได้เป็นอย่างดี เพราะสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ มีอยู่มากไม่แพ้กัน หากนำน้ำที่เกิดการหมักจากการทำปุ๋ยหมักมาใช้ ให้นำไปผสมน้ำสะอาด ในอัตราส่วน หัวเชื้อปุ๋ยน้ำ 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน นำมาฉีดพ่นใบ และรอบโคนต้นของพืช ช่วยเร่งให้พืชเติบโตได้ดีเช่นกัน
ปุ๋ยคอกทำเองได้ง่าย ใครก็ทำได้
ปุ๋ยคอก ก็คือปุ๋ยที่ถูกหมักโดยวิธีธรรมชาติ เป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในคอก เช่น ขี้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ และเศษซากพืชรองพื้นคอก เช่น ฟางข้าว ขี้เลื่อย เหล่านี้เกิดการผสมกับมูลสัตว์และหมักไว้แบบธรรมชาติจัดสรร ทำให้ได้ปุ๋ยคอกที่เกษตรกรแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
ปุ๋ยคอกนี้ มีความเข้มข้นของสารอาหารอยู่มาก แต่ก็มีความเป็นพิษอยู่มากเช่นกัน และไม่แนะนำให้นำปุ๋ยคอกมาใช้โดยตรงกับพืชผัก เว้นแต่จะมีการผสมกับดินและปุ๋ยหมักชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย
ปุ๋ยคอกขี้วัว ปุ๋ยหมัก 7 วัน แทบไม่ต้องทำอะไรก็ได้ปุ๋ยมาใช้
เกษตรกรที่มีการเลี้ยงสัตว์ในคอก ในเล้า หรือในหลุม โดยเฉพาะขี้วัว สามารถนำปุ๋ยคอกขี้วัวมาใช้ผสมกับเศษผักผลไม้ หรือเศษหญ้า เศษใบไม้แห้ง ทำกองเป็นปุ๋ยคอกขี้วัว ทำปุ๋ยจากใบไม้ หมักทิ้งไว้พร้อมฉีดพ่นด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลาย ก็สามารถเร่งการย่อยสลายของกองปุ๋ยคอกขี้วัวได้ดี ภายใน 1 สัปดาห์สามารถนำปุ๋ยคอกขี้วัวมาใช้ใส่รอบๆ โคนพืชผักได้โดยตรง โดยไม่ต้องคัดแยก
ปุ๋ยหมักคุณภาพดี ที่ได้มาตรฐานเป็นอย่างไร
ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานนั้น จะต้องพิจารณาตามข้อมูลดังนี้
- มีเกรดปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1:1:0.5 (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม)
- 2. มีความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่มากกว่าร้อยละ 35 – 40 โดยน้ำหนัก
- 3. ความชื้นเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0 – 7.5
- 4. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วจะต้องไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่
- 5. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
- 6. จะต้องมีปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 25 – 50 %
- 7. จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่มากกว่า 20 ต่อ 1
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
จุลินทรีย์ EM มีดีอย่างไร
จุลินทรีย์ EM ขาดไม่ได้สำหรับ การทำเกษตรอินทรีย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะอย่างแรกที่ต้องนึกถึงก่อน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมแนะวิธีการปลูกพริกไทยกับต้นไม้ ให้ได้ลูกดก
การปลูกพริกไทยกับต้นไม้ เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ผล สำหรับเพิ่ม ผลผลิตพริกไทย ให้ได้ผลดี แต่ก็มีข้อเสียเหม
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกมะพร้าวน้ำหอม ทำอย่างไรให้ต้นเตี้ยลูกดก
มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งที่น่าปลูกไว้ติดสวน เพราะสามารถเก็บผลผลิตได้เองโดยไม่ต้องใช้
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมแผงโซล่าเซลล์ กับการทำเกษตร
แผงโซล่าเซลล์ เป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้กับการ ทำเกษต
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเจาะลึกประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว จากผู้เชี่ยวชาญ
น้ำมันมะพร้าว ที่เรารู้จักกันนั้น จะอ้างอิงข้อมูลเดิมที่ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงจากผู้เชี่ยวชาญ หากใค
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมมะขามดำ มะขามเทวดา สมุนไพรแก้ไข้ทับระดู
ใครไม่รู้จัก มะขามดำ หรือ มะขามเทวดา ยกมือขึ้น ผมเองตอนแรก ก็ไม่รู้จักหรอก ว่ามันเป็นต้นอะไร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
จะเกิดอะไรขึ้นหากระบบเกษตรกรรมเกิดการแข่งขัน
การปลูกพืชแบบขั้นบันได
ลูกชก ผลไม้โบราณ นานกว่าจะออกลูก