อาการของต้นพืชแบบไหนที่แปลว่าขาดสารอาหาร

ถ้าคุณอยากปลูกพืชผัก ผลไม้ หรือพืชพันธุ์ต่างๆ ให้งอกงามและได้ผลดี ก็จำเป็นอย่างมากที่ต้องอ่านเรื่องนี้

เคยไหม ที่เราปลูกพืชผักผลไม้แล้วไม่งามอย่างใจนึก และเราแค่รู้ว่า พืชขาดสารอาหาร แน่ๆ แต่ไม่มั่นใจว่าขาดอะไร รดน้ำ ใส่ปุ๋ยให้แล้วก็ไม่ฟื้น กลับพาลจะเหี่ยวเฉาตายเร็วขึ้น ในลักษณะต่างๆ นี้

เรื่องนี้มีคำตอบแน่นอน ว่าพืชต้องการธาตุอาหารแน่ๆ แต่เราอาจไม่รู้วิธีแก้ที่ถูกต้อง อ่านบทความนี้ ปัญหาจำพวกนี้จะแก้ได้ง่ายมาก

เทคนิคการให้สารอาหารที่พืชต้องการมาใช้ได้โดยตรง ทำอย่างไรมีบอก เพราะบางธาตุอาหารสำหรับพืชจะไม่มีในปุ๋ยทั่วไป และไม่รู้ว่าสารอาหารที่จำเป็นแก่พืชเหล่านั้นอยู่ที่ไหนบ้าง

หลายคนทำได้เพียงใส่ปุ๋ย รดน้ำ จนตัดสินใจกลับไปใช้ปุ๋ยเคมี แย่ที่สุดคือพืชผักก็ตาย ก็เพราะสิ่งที่เราทำอาจไม่ตรงตามที่ต้นไม้ต้องการ

เราคิดว่า “สารอาหารที่พืชต้องการ มีในปุ๋ยชนิดต่างๆ ครบถ้วนแล้ว” แต่เราคิดผิด…

อาการขาดธาตุอาหารของต้นพืช และสารอาหารที่ต้องการ

อาการขาดธาตุอาหารของพืช

โดยทั่วไป พืชจะมีลักษณะที่แสดงออกอย่างชัดเจน เช่น

  • ใบหงิกงอ
  • ใบซีดเหลือง
  • มีรอยไหม้
  • ใบเหี่ยว หรือสีผิดปกติต่างๆ

ลักษณะเหล่านี้ แน่นอนว่าไม่ได้เกิดจากศัตรูตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการขาดธาตุอาหารบางชนิด ให้ดูเป็นข้อๆ กันไปเลย

แร่ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช 6 ชนิดแรกที่สำคัญ

ธาตุและสารอาหารที่พืชต้องการ หาได้จากไหน

ธาตุอาหารของพืช 16 ธาตุ ที่จำเป็น โดยสารอาหารหลักๆ มีอยู่ประมาณ 16 ชนิด (มีธาตุเพียง 7 ชนิดที่พืชต้องการน้อย) ธาตุสารอาหารเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นสารอาหารที่ใช้บำรุงตั้งแต่ราก ลำต้น ไปจนถึงใบ และผล และผลจากอาการขาดธาตุอาหารของพืช จะแสดงออกมาให้เราเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ทางใบ

1. โบรอน (B)

โบรอน (B) เป็นธาตุที่ปรากฏมากในแร่บอแรกซ์ ประวัติการค้นพบคงต้องไปหากันเอาเอง สรุปย่อๆ คือ ในปี ค.ศ. 1909 Ezekiel Weintraub นักเคมีชาวอเมริกัน สามารถผลิตโบรอนที่บริสุทธิ์ได้ถึง 99% ธาตุโบรอน สามารถอยู่ในรูปของสารประกอบได้หลายชนิด เช่น

ธาตุโบรอน กับอาการขาดธาตุอาหารของพืช
  • Sodium borate pentahydrate (Na2B4O7·5H2O) ใช้ในการผลิตฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
  • กรดบอริค (boric acid, H3BO3) ใช้ในการผลิตสิ่งทอไฟเบอร์กลาส และใช้เป็นฉนวนเซลลูโลสกันไฟ
  • Sodium borate decahydrate (Na2B4O7·10H2O) หรือบอแรกซ์ ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่รุนแรง

อาการขาดธาตุอาหารโบรอนของพืช

พืชขาดโบรอน จะมีอาการทางใบคือ ยอดใบไม่เจริญเติบโต ใบอ่อนแห้ง หัก ย่นหรือหงิก

อาการขาดธาตุอาหารโบรอนของพืช

โบรอนที่ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืช มีหลายรูปแบบ เช่น กรดบอริก, Sodium borate หรือ Sodium calcium borate โบรอนเคลื่อนที่ในพืชผ่านทางท่อน้ำ (xylem) การเคลื่อนย้ายธาตุโบรอนจึงเป็นไปตามอัตราการคายน้ำของใบ ทีนี้ เราสามารถใช้โบรอนได้ยังไง น้ำจากการทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซักผ้า ถูบ้าน ล้างจาน หรืออาบน้ำ ใช้น้ำเหล่านี้ ที่มีส่วนผสมของธาตุโบรอน รดแปลงพืชผักเพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารโบรอนได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

2. แคลเซียม (Ca)

แคลเซียม เป็นธาตุอาหารในดินที่มีความสำคัญกับพืช มีส่วนช่วยให้ลำต้นพืชเจริญเติบโตและแข็งแรงได้ตามปกติ ธาตุแคลเซียม ส่วนใหญ่จะมีเพียงพอในดินอยู่แล้ว ยกเว้นเป็นดินเหนียวหรือดินที่มีสภาพเป็นกรด พืชอาจดึงธาตุแคลเซียมไปใช้ได้ยาก

ธาตุแคลเซียม กับอาการขาดธาตุอาหารของพืช

การใส่ปูนขาว ปูนมาล เปลือกหอยเผา หรือเปลือกหอยป่น เปลือกไข่ กระดูกสัตว์ป่น เพิ่มเข้าไปในขั้นตอนการปรับปรุงดิน และใส่อีกครั้งหลังจากปลูกพืชแล้ว ก็จะทำให้ดินมีแคลเซียมเพิ่มขึ้นได้ สำหรับใครที่ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ น้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ถ้าใช้วัสดุจำพวก กระถิน กระเจี๊ยบ เปลือกไข่ ผักกระเฉด มะระ เหล่านี้หมักหรือนำไปเป็นส่วนผสมของปุ๋ย จะได้แคลเซียมไว้ใช้กับพืชได้โดยตรง

อาการขาดธาตุอาหารแคลเซียมของพืช

พืชที่ขาดแคลเซียม ยอดจะเหลือง ไหม้จากปลายยอดเข้าหาโคนกิ่ง ต้นไม่โต ยอดอ่อนจะแห้งตาย ใบจะร่วงและพืชจะตายในที่สุด

อาการขาดธาตุแคลเซียมของพืช

เพิ่มแคลเซียมในดินโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน เศษเปลือกหอย หรือเศษกระดูกสัตว์ที่เหลือใช้จากการผสมทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก

3. กำมะถัน (S)

การเผาฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยว อาจทำให้ต้นข้าวขาดกำมะถันสูง หรือดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ จึงไม่ควรเผาฟางหรือตอซัง แต่ควรไถกลบตอซังหลังเก็บเกี่ยว การเผาทำให้กำมะถันในดินสูญเสียไปถึงร้อยละ 40-60

ไม่ควรเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวเพราะจะทำให้พืชขาดธาตุกำมะถัน
ธาตุกำมะถัน อาการขาดธาตุอาหารของต้นพืช และสารอาหารที่ต้องการ

อาการขาดธาตุอาหารกำมะถันของพืช

ดินขาดกำมะถัน ปลูกพืชไป จะเกิดอาการขาดธาตุอาหารพืช ใบเหลือง ซีด โดยจะเกิดกับใบอ่อนก่อน เริ่มแรกที่กาบใบจะมีสีเหลืองแล้วลุกลามสู่ทั้งใบ การเติบโตลดลง ใบเล็กลง

อาการของพืชที่ขาดกำมะถันใบจะเหลืองจากยอดอ่อนถึงใบแก่

การป้องกันและแก้ไขการขาดกำมะถันทำได้ง่ายๆ คือ การใส่ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของไนโตรเจนหรือฟอสเฟต ควรเลือกใส่ชนิดที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (26% S), ซิงเกิลซูเปอร์ฟอสเฟต (12% S), โพแทสเซียมซัลเฟต (18% S) เราจะหาปุ๋ยชีวภาพที่มีส่วนผสมของกำมะถันได้จากไหน? หมักปุ๋ยด้วยส่วนผสมของ กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง สะตอ ผักชี จะได้กำมะถันไว้สำหรับบำรุงต้นไม้ให้งอกงาม

4. เหล็ก (Fe)

เหล็ก มีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชและทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์

อาการขาดธาตุอาหารเหล็กของพืช

การขาดเหล็ก อาจทำให้เกิดอาการเหลืองตามเส้นใบ และตายเฉพาะส่วน

อาการขาดธาตุเหล็กของพืช ใบเหลืองตามเส้นใบ และเสียหายเฉพาะจุด

การเพิ่มเหล็กเป็นสารอาหารที่จำเป็นแก่พืชได้จาก การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ หรือ ปุ๋ยจากใบไม้ ก็ได้ หรือจะหมักปุ๋ยด้วยวัสดุอย่าง กระถิน พริก ใบฟักทองแก่ น้ำต้มปลาหมึก จะได้เหล็กมาทำปุ๋ยให้ต้นไม้ และโชคดีที่ธาตุเหล็กเป็นจุลธาตุ ที่พืชต้องการเพียงน้อยนิดเท่านั้น

5. แมงกานีส (Mn)

แมงกานีสมีความสำคัญในการสร้างคลอโรพลาสต์

อาการขาดธาตุอาหารแมงกานิสของพืช

การที่พืชขาดแมงกานีส จะทำให้พืชมีสีผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น สีใบจะอ่อนผิดปกติ การมีจุดด่างบนใบ ใบไม่เป็นมันเงา ใบสีซีดกว่าปกติ

อาการสีซีดในใบพืช สีไม่สด ไม่มัน ขาดแมงกานีส

และแน่นอนว่า ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ที่ได้จากการสร้างธาตุเหล็ก ก็สามารถเพิ่มธาตุแมงกานีสในดินได้เช่นเดียวกัน หรือจะทำปุ๋ยด้วยส่วนผสมของ ลูกตำลึงสุก มะเขือเทศสุก จะได้แมงกานีส แต่ต้องใช้ในปริมาณเยอะมาก โชคดีหน่อยที่ แมงกานีสเป็นจุลธาตุ พืชต้องการเพียงน้อยนิดเท่านั้น

6. ทองแดง (Cu)

ทองแดงมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง

ธาตุทองแดง
อาการพืชขาดธาตุทองแดง

อาการขาดธาตุอาหารทองแดงของพืช

ทำให้พืชแสดงอาการเหลือง (chlorosis) คล้ายกับเหล็กและแมงกานีส

สารอาหารที่สำคัญและจำเป็นได้จากการผลิตในขั้นตอนของการสร้างธาตุเหล็ก แมงกานีส และจะได้ทองแดงมาด้วยเช่นเดียวกัน หรือได้จากส่วนผสมของ เห็ดฟาง ต้นหรือใบข่า วัชพืช ใช้พืชชนิดนี้ทำปุ๋ยอินทรีย์ จะได้ทองแดงในจำนวนหนึ่ง และโชคดีที่ทองแดงเป็นจุลธาตุ พืชต้องการเพียงน้อยนิดเท่านั้น

จุลธาตุ (Micronutrient)

แม้ว่าบางธาตุอาหารจะเป็นเพียงจุลธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) และพืชต้องการสารอาหารเหล่านั้นในจำนวนน้อยนิด แต่ในจำนวนน้อยนั้น ก็ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างใหญ่หลวง เพราะจุลธาตุบางชนิดจะทำหน้าที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุอาหารหลักบางตัว

ธาตุอาหารสำหรับพืช Micronutrient

หากพืชมีอาการขาดอาหารธาตุจุลธาตุ พืชก็ไม่สามารถใช้ธาตุอาหารหลักได้เต็มที่ ทำให้เจริญเติบโตช้า และตายในที่สุด

ทั้งๆ ที่ก็ให้ปุ๋ยเต็มที่ แต่พืชก็ยังตาย

ติดตามเนื้อหาอาการขาดธาตุอาหารของพืช ตอนจบได้ในคราวหน้า

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

ต้นมะกอกโอลีฟ พืชทนแล้งที่เหมาะสำหรับคนขี้เกียจ

ปลูกมะกอกโอลีฟไว้ในสวน ดีจริงหรือไม่ ช่วงนี้ผู้เขียนบ้าจัดสวน เลยมีข้อมูลที่อยากแชร์เผื่อผู้สนใจอยาก

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
สมุนไพรที่นิยมนำมาทำเครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวพรรณ

ปัจจุบันผู้คนหันมาสนในตนเองมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการหา

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ต้นอะโวคาโด เหมาะปลูกเป็นไม้ผลหรือไม้ประดับ

สายพันธุ์อะโวคาโดที่นิยมปลูกกัน และให้ผลผลิตอร่อยสุด ตลาดนิยมพันธุ์ไหน เปรียบเทียบดูเลย รวมถึงช่วงเว

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ลูกชก ผลไม้โบราณ นานกว่าจะออกลูก

ว่าด้วยเรื่อง “ลูกชก” กับวันก่อนเขียนเรื่อง มะพร้าวทะเล ไปแล้ว ว่าเป็นผลไม้โบราณและหายาก

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ดินเค็ม ปลูกพืชอะไรได้บ้าง

ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณ เกลือ ที่ละลายอยู่ในสารละลาย ดิน ที่มากเกินไป

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ข้าวลืมผัว ข้าวเหนียวที่อร่อยจนลืมเหลือให้ผัวจริงหรือ

พันธุ์ข้าวเหนียวที่หญิงส่วนใหญ่ได้กิน อร่อยจนลืมผัวจริงหรือ? จากต้นกำเนิดข้าวเหนียวแดง ตระกูลข้าวก่ำ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช
โปรโมชั่น non stop

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: อนุญาตแบบมีที่มา