ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากธรรมชาติชนิดหนึ่ง โดยมาจากการนำเอาเศษซากพืชชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติเพิ่มแร่ธาตุในดิน มาผสมรวมกับมูลสัตว์ประเภทต่างๆ แล้วหมักทิ้งไว้ในเวลาเหมาะสม
เช่นการนำฟางข้าว หรือซังข้าวโพด หรือเศษผัก ผลไม้ หรือเศษใบไม้ที่ได้จากพืชตระกูลถั่ว นำมาผสมกับมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลไก่ ซึ่งมีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ช่วยย่อยสลายเศษซากได้ แล้วนำไปใส่ภาชนะหมักไว้ในระยะเวลาหนึ่ง
จะได้เศษพืชที่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ ซากพืชเหล่านั้นจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำ เมื่อนำไปใส่บำรุงดินบริเวณโคนต้นพืช จะทำให้ดินมีแร่ธาตุเพิ่มมากขึ้น ช่วยบำรุงดิน และช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดี ไม่เป็นอันตรายกับพืชผัก และสามารถใช้ได้มากเท่าที่ต้องการโดยไม่มีผลเสียต่อพืชผัก
ปุ๋ยหมักทำเอง 7 วันเห็นผล
ปกติการหมักปุ๋ยใช้เอง จะต้องหมักไว้อย่างน้อย 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ เนื่องจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์จากมูลสัตว์ จะไม่ได้รวดเร็วมาก อีกทั้ง ความชื้นและขนาดของเศษซากก็เป็นตัวกำหนดระยะเวลาในการย่อยสลายด้วย
แต่เราสามารถทำปุ๋ยหมักใช้เองได้ภายใน 7 วันเท่านั้น ซึงวิธีการทำปุ๋ยหมัก 7 วัน ที่สามารถทำให้ปุ๋ยหมักที่ได้ มีประสิทธิผลเหมือนปุ๋ยหมักทั่วไปนั้น มีเคล็ดลับอยู่เล็กน้อย ส่วนจะเป็นวิธีการอย่างไรที่สามารถได้ปุ๋ยหมักภายใน 7 วันมาใช้นั้น ดูวิธีนี้เลย
ทำปุ๋ยหมักเร่งด่วน 7 วัน เห็นผล
นอกจากส่วนผสมหลักที่เป็นเศษซากพืชผัก ผลไม้ และมูลสัตว์แล้ว ส่วนผสมสำคัญสำหรับเป็นตัวช่วยเร่งให้เศษซากพืชผักย่อยสลายได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัวนั่นก็คือ…
- หัวเชื้อ EM 100 CC (วิธีทำหัวเชื้อ EM)
- ยาคูลท์ 1 ขวด
- น้ำสะอาด 3-5 ลิตร
- จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1-2 ลิตร
ส่วนผสมทั้งหมดตามอัตราส่วนนี้ เมื่อผสมเข้าด้วยกัน จะได้ปริมาณ 4-7 ลิตร เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายกองปุ๋ยหมัก ให้นำมาฉีดพ่นกองปุ๋ยหมักทำเองได้ 1 กอง ต่อส่วนผสม 4-5 ลิตร (ปุ๋ยหมัก 1 กองมีทั้งหมด 3-4 ชั้น : เศษฟางหรือหญ้าแห้ง+เศษผักผลไม้+มูลสัตว์+ดิน (ดินจะมีหรือไม่ก็ได้) )
วิธีการทำกองปุ๋ยหมัก และการผสมปุ๋ยหมักเอง ทำไม่ยากดังนี้
- ในชั้นล่างสุดให้ใช้เศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าวเป็นวัสดุรองพื้นก่อน ความหนาไม่ควรเกิน 10 ซม.
- ชั้นที่ 2 ให้ใช้เศษผักและผลไม้ที่ย่อยสลายได้ง่าย ชิ้นไม่ใหญ่เกินไป โดยให้ความหนาประมาณ 10-20 ซม.
- ชั้นที่ 3 ใช้มูลสัตว์ ปิดทับบางๆ หนาประมาณ 2-3 ซม.
- ชั้นที่ 4 ดินร่วนหรือดินทราย (อาจนำไปผสมเป็นชั้นที่ 3 ในอัตราส่วน ดิน 1 ส่วนต่อมูลสัตว์ 2-3 ส่วนได้กรณีไม่ต้องการปุ๋ยกองใหญ่มาก) เสร็จแล้วฉีดพ่นด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายกองปุ๋ยหมักทำเองให้ชุ่ม
ทำปุ๋ยหมักใช้เองได้ภายใน 7 วัน เคล็ดลับคือการผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเร่งการย่อยสลายให้กับซากพืช EM 100 CC / ยาคูลท์ 1 ขวด /จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1 ลิตร และน้ำสะอาด 1 ลิตร ผสมรวมกันแล้วฉีดพ่นกองปุ๋ยหมัก หัวเชื้อนี้จะเข้าทำปฏิกิริยากับมูลสัตว์ เร่งจุลินทรีย์ในมูลสัตว์ เข้าย่อยสลายเศษซากพืชเร็วขึ้นเท่าตัว
ทำซ้ำเป็นชั้นๆ แบบนี้ได้อีกตามต้องการ แต่ไม่ควรทับกันสูงเกิน 5 กอง เพราะจะทำให้ชั้นปุ๋ยหมักหนาเกินไป เมื่อทำเสร็จแล้วใช้ไม้ยาว ปักลึกถึงชั้นล่างสุด ปักให้ทั่วๆ บริเวณพื้นที่หมักปุ๋ยเพื่อเพิ่มออกซิเจน และให้น้ำได้ไหลลงด้านล่างเพื่อเพิ่มความชื้น
หมั่นฉีดพ่นด้วยส่วนผสมสำหรับช่วยเร่งการย่อยสลายในทุกวัน ไม่เกิน 7 วัน ก็สามารถนำกองปุ๋ยหมักมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว และหากต้องการหมักต่อก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องพลิกกอง เพียงแต่หมั่นฉีดพ่นด้วยหัวเชื้อได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่ไม่ควรฉีดพ่นจนกองปุ๋ยหมักเปียกแฉะเกินไป เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและน้ำหัวเชื้อนองเต็มพื้นจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์
การนำปุ๋ยหมักทำเอง 7 วันเห็นผลไปใช้ประโยชน์
ให้คลุกเคล้าปุ๋ยหมักทั้งหมดให้เข้ากันแล้วตากแดดให้แห้งอย่างทั่วถึง ก่อนร่อนเอาเศษซากที่เป็นชิ้นใหญ่ออก กรองเอาแต่ส่วนเล็กๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ส่วนที่ยังย่อยสลายไม่หมดให้หมักต่อด้วยการฉีดพ่นหัวเชื้อที่มาจากส่วนผสม 4 รายการข้างต้นได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม
หากต้องการเพิ่มจำนวนปุ๋ยหมัก ก็สามารถใช้เศษปุ๋ยหมักที่เหลือดังกล่างนี้ทดแทนชั้นที่ 3 ที่เป็นส่วนผสมที่ได้จากดิน 1 ส่วนและมูลสัตว์ 2-3 ส่วนได้เลย หรือจะนำไปผสมกับมูลสัตว์เพิ่มเติมก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนที่แนะนำไว้ข้างต้น
แนะนำการทำ
ปุ๋ยหมักทำเอง และหัวเชื้อจุลินทรีย์บำรุงดินและพืช แบบอื่นๆ
วิธีการทำปุ๋ยหมัก ได้ผลรวดเร็วแบบอื่น ที่ใช้ได้ผลจริง
จากข้อมูลข้างต้นเรารู้อยู่แล้วว่า การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์สำหรับการเร่งย่อยสลายให้กับเศษซากพืชนั้น ทำกันอย่างไรไปแล้ว ซึ่งหัวเชื้อเร่งย่อยนี้ จำเป็นอย่างมากในการทำปุ๋ยหมักใช้เอง ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ได้ปุ๋ยเร็วทันใจ แต่ส่วนผสมนี้ ไม่ได้เป็นความลับ เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถดัดแปลงวิธีการต่างๆ โดยการนำส่วนผสมอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการเร่งการย่อยสลายของพืช เข้ามาผสมร่วมด้วยได้เช่นเดียวกัน ดังเช่นหัวข้อด้านล่างนี้
ปุ๋ยหมักนมสด
เป็นการหมักเศษผักผลไม้หรือเศษซากพืช หรือใบไม้แห้ง ทำเป็นปุ๋ยหมัก โดยการผสมกับนมเปรี้ยวหรือนมบูด เพื่อช่วยในการเร่งย่อยสลายเศษซาก วิธีนี้นิยมใช้ร่วมกับการหมักปุ๋ยหมักแบบปกติ โดยการใช้นมเปรี้ยวหรือนมบูดมาผสมกับหัวเชื้อหรือน้ำสะอาด ฉีดพ่นรดกองปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยน้ำ หัวเชื้อปุ๋ยทำเอง
จากการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายกองปุ๋ยหมัก เมื่อการฉีดพ่นทำบ่อยและให้น้ำในกองปุ๋ยหมักมากเกินไป จะเกิดน้ำที่ผ่านการย่อยสลายของจุลินทรีย์ขึ้น น้ำส่วนนี้สามารถนำมาใช้เป็นหัวเชื้อปุ๋ยน้ำได้เป็นอย่างดี เพราะสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ มีอยู่มากไม่แพ้กัน หากนำน้ำที่เกิดการหมักจากการทำปุ๋ยหมักมาใช้ ให้นำไปผสมน้ำสะอาด ในอัตราส่วน หัวเชื้อปุ๋ยน้ำ 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน นำมาฉีดพ่นใบ และรอบโคนต้นของพืช ช่วยเร่งให้พืชเติบโตได้ดีเช่นกัน
ปุ๋ยคอกทำเองได้ง่าย ใครก็ทำได้
ปุ๋ยคอก ก็คือปุ๋ยที่ถูกหมักโดยวิธีธรรมชาติ เป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในคอก เช่น ขี้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ และเศษซากพืชรองพื้นคอก เช่น ฟางข้าว ขี้เลื่อย เหล่านี้เกิดการผสมกับมูลสัตว์และหมักไว้แบบธรรมชาติจัดสรร ทำให้ได้ปุ๋ยคอกที่เกษตรกรแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
ปุ๋ยคอกนี้ มีความเข้มข้นของสารอาหารอยู่มาก แต่ก็มีความเป็นพิษอยู่มากเช่นกัน และไม่แนะนำให้นำปุ๋ยคอกมาใช้โดยตรงกับพืชผัก เว้นแต่จะมีการผสมกับดินและปุ๋ยหมักชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย
ปุ๋ยคอกขี้วัว ปุ๋ยหมัก 7 วัน แทบไม่ต้องทำอะไรก็ได้ปุ๋ยมาใช้
เกษตรกรที่มีการเลี้ยงสัตว์ในคอก ในเล้า หรือในหลุม โดยเฉพาะขี้วัว สามารถนำปุ๋ยคอกขี้วัวมาใช้ผสมกับเศษผักผลไม้ หรือเศษหญ้า เศษใบไม้แห้ง ทำกองเป็นปุ๋ยคอกขี้วัว ทำปุ๋ยจากใบไม้ หมักทิ้งไว้พร้อมฉีดพ่นด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลาย ก็สามารถเร่งการย่อยสลายของกองปุ๋ยคอกขี้วัวได้ดี ภายใน 1 สัปดาห์สามารถนำปุ๋ยคอกขี้วัวมาใช้ใส่รอบๆ โคนพืชผักได้โดยตรง โดยไม่ต้องคัดแยก
ปุ๋ยหมักคุณภาพดี ที่ได้มาตรฐานเป็นอย่างไร
ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานนั้น จะต้องพิจารณาตามข้อมูลดังนี้
- มีเกรดปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1:1:0.5 (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม)
- 2. มีความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่มากกว่าร้อยละ 35 – 40 โดยน้ำหนัก
- 3. ความชื้นเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0 – 7.5
- 4. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วจะต้องไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่
- 5. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
- 6. จะต้องมีปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 25 – 50 %
- 7. จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่มากกว่า 20 ต่อ 1
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เปลือกลำไย ใช้ไล่ยุงและแมลงรบกวนได้ดี
รู้หรือไม่ เปลือกลำไยไล่แมลง และใช้ไล่ยุง ได้ ในสมัยก่อน เรารู้กันว่า เปลือกส้ม ดอกไม้บางชนิด สามารถ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกผักสวนครัวในกระถาง ทำอย่างไรให้งาม
จริงๆ แล้วรูปที่เราเห็นผักในกระถางที่สวยๆ ส่วนใหญ่ถูกทำขึ้นมา ด้วยการขุดต้นผักสวยๆ จากสวน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมกล้วยด่าง กับเทคนิคการเลือกให้ได้พันธุ์แท้
หลายวันก่อน เขียนเรื่อง กล้วยด่างฟลอริด้า ที่ดาราสาวอย่างคุณ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ นั้นมีเอาไว้ต
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกผักในขวด ทำอย่างไรให้งอกงาม
การปลูกผักในขวด ถือเป็น ไอเดีย ที่ยังเป็นที่นิยมสำหรับใครหลายคนอยู่ แม้บางครั้ง อาจดูว่าทำไว้แค่สวยง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมมะขามดำ มะขามเทวดา สมุนไพรแก้ไข้ทับระดู
ใครไม่รู้จัก มะขามดำ หรือ มะขามเทวดา ยกมือขึ้น ผมเองตอนแรก ก็ไม่รู้จักหรอก ว่ามันเป็นต้นอะไร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมวิธีการปลูกต้นไม้และเลี้ยงยังไงให้รอดตาย สำหรับมือใหม่
หลายคนต้อง Work From Home เพราะเจอกับพิษร้ายของ covid-19 การอยู่บ้านทำงานเพียงอย่างเดียวคงจะเป็นเรื่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช