การปลูกพืชแบบขั้นบันได terrace cultivation กับประโยชน์ที่ได้ จากแนวทางการอนุรักษ์ดิน บนพื้นที่ลาดเท โดยใช้เทคนิคการเพาะปลูกพืช เหมือนขั้นบันได
จากข้อมูลของ สํานักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งแนะแนวทาง การไถพรวน และปลูกพืช ตามแนวระดับ สามารถช่วยเหลือตนเอง ให้อยู่รอดอย่างพอเพียง ได้
จากแนวคิดการเพาะปลูกแบบขั้นบันได, การเพาะปลูกตามไหล่เขา โดยวิธีปรับพื้นที่เป็นขั้น ๆ ขึ้นไป สำหรับพื้นที่เพาะปลูกแบบลาดเท มีข้อดีหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการเกษตรบนเชิงเขา และเป็นการช่วยอนุรักษ์ ดินและน้ำ ได้ดีอีกด้วย
เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ในอดีต แม้แต่ในปัจจุบันในบางพื้นที่ การเพาะปลูกส่วนใหญ่ในพื้นที่ลาดเทนั้น ก็ยังคงมีการใช้ที่ดิน ไม่สอดคล้อง กับสมรรถนะที่มีของที่ดิน โดยทำการเพาะปลูกในแบบ ขาดหลักการอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะ ในที่ดอนและที่ที่มีความลาดเท สูงมาก ๆ ซึ่งจะมีอัตราการชะล้างพังทลายของดินสูงอยู่แล้ว
การชะล้างพังทลายนี้ ก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ ทั้งต่อเกษตรกรเจ้าของที่ดินเอง ยังส่งผลเสีย และกระทบต่อชุมชน และประเทศชาติอีกด้วย ลักษณะผลเสียคือ เมื่อผิวดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เกิดความเสียหาย หรือสูญหายไป นั่นหมายถึง ปริมาณธาตุอาหารในดินก็ลดลงไปด้วย ทำให้ ผลผลิตที่ได้ก็ลดต่ำลง ก่อให้เกิดปัญหาความยากจนตามมา
การปลูกพืชแบบขั้นบันได คือทางออก
เพื่อเป็นแนวทาง ที่จะป้องกัน ไม่ให้ ดินถูกกัดเซาะ หรือถูกพัดพาไปได้โดยง่าย จากบริเวณที่สูงชัน จนถึงที่ต่ำ สำหรับแปลงเกษตรบนพื้นที่ลาดเท ดังนั้น การทำเกษตร หรือการเพาะปลูกบนไร่นา ในพื้นที่เหล่านี้ ควรแบ่งลำดับขั้นตอนการดำเนินการ
- การทำคูรับน้ำรอบเขา
- การทำคันดินตามแนวระดับ
- ทำเกษตรขั้นบันไดดินแบบไม่ต่อเนื่อง
- การทำขั้นบันไดดินปลูกไม้ผล
- สร้างหลุมปลูกไม้ผลสลับ
- สร้างคันซากพืช
ในระดับแรก การทำคูรับน้ำรอบเขา เป็นการทำคูรับน้ำตามแนวระดับ ขวางความลาดเทเว้นช่วงเป็นระยะๆ ประมาณ 10-12 เมตร และมีความกว้างคูน้ำแบบผนังด้านนอกเอียงเข้า 2 เมตร ใช้สำหรับปลูกพืชไร่ได้ในสภาพพื้นที่มีความลาดเทไม่เกิน 35% หากใช้ปลูกกาแฟหรือไม้ผลใช้ได้ในสภาพพื้นที่ลาดเทสูงถึง 50%
ต่อมาที่ การทำคันดินตามแนวระดับ ใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเท ไม่เกิน 20% ความกว้างของฐานคันดิน และความสูงของคัน ดินขึ้นอยู่กับความลาดเทของพื้นที่ ชนิดของดินและพืชที่ปลูกคัน ดินตามแนวระดับ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด แล้วแต่วัตถุประสงค์ ที่ต้องการใช้ คือ
- คันดินเพื่อให้เกิดขั้นบันไดดินธรรมชาติ ใช้ความกว้างของฐาน : ความสูงของคันดินเท่ากับอัตรา 1 : 1 เช่น ความกว้างของฐาน 50 เซนติเมตร ความสูงของตัวคันดิน เท่ากับ 50 เซนติเมตร หรือความสูงของคันดิน เท่ากับระดับใน แนวดิ่งของฐานคันดินอันล่างสุด ถึงจุดกึ่งกลางของคันดินที่อยู่ ถัดไป ประมาณ 1 เมตร เมื่อพื้นที่ระหว่างคันดินถูกใช้เพื่อการ เพาะปลูก ดินทางตอนบนจะค่อยๆ ถูกน้ำชะตกทับถมบริเวณ หน้าคันดินที่อยู่ถัดลงไป จนในที่สุดก็จะกลายเป็นขั้นบันไดดิน ธรรมชาติขึ้นใช้กับความลาดเทไม่เกิน 15%
- คันดินเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน คันดิน แบบนี้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินบริเวณ ที่ชันกว่าแบบแรก ตัวคันดินใช้อัตราส่วน ความกว้างของฐาน : ความกว้างของดิน เท่ากับ 3 : 1 เช่น ความกว้างของฐาน 120 เซนติเมตร ความกว้างของคันดิน 40 เซนติเมตร
สำหรับคันดินแบบนี้อาจสร้างให้ห่างกันได้ เพราะไม่ต้องการให้เป็นขั้นบันไดดินธรรมชาติ โดยอนุโลมให้ใช้ระยะห่าง ของคูรับน้ำรอบเขาเป็นเกณฑ์
ทำเกษตรขั้นบันไดดินแบบไม่ต่อเนื่อง วิธีทำคล้ายแบบ ขั้นบันไดดินธรรมชาติ โดยทำขั้นบันไดดิน 1 ขั้น เว้นพื้นที่ไว้ 2-3 ขั้น แล้วจึงทำขั้นบันไดดินอีกขั้นหนึ่งสลับกันไป พื้นที่ที่เว้นไว้ ควรปลูกพืชตามแนวระดับหรือปลูกพืชสลับตามแนวระดับ เมื่อมีเวลาและเงินพอก็ค่อยๆ ทำขั้นบันไดดินในพื้นที่ที่เว้นไว้จน ในที่สุดก็จะกลายเป็นขั้นบันไดดินแบบธรรมชาติได้ภายใน 3-4 ปี วิธีการนี้สามารถลดการพังทลายของดินลงได้ถึง 80%
การทำขั้นบันไดดินปลูกไม้ผล เป็นการทำขั้นบันไดดินแบบ ไม่ต่อเนื่อง เพื่อปลูกไม้ผลบนพื้นที่ลาดชันสูงเกินกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยจะปลูกไม้ผลบนขั้นบันไดดิน ส่วนพื้นที่ที่เว้นไว้ จะต้องปลูกหญ้าหรือถั่วคลุมดินอย่างถาวร เพื่อป้องกันดินถูก กัดเซาะและนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้ ขั้นบันไดดินปลูกไม้ผลควรกว้างไม่เกิน 1.80 เมตร ดิน ควรลึกไม่ต่ำกว่า 1 เมตร และระยะห่างระหว่างขั้นบันไดดิน ตามแนวราบเท่ากับความกว้างของพุ่มไม้เมื่อโตเต็มที่ เช่น 4, 6, 8 หรือ 10 เมตร
สร้างหลุมปลูกไม้ผลสลับ ใช้วิธีการเช่นเดียวกับขั้น บันไดดินปลูกไม้ผล แต่ตัวขั้นบันไดดินไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมี ปัญหาแรงงานหรือมีหินโผล่ขวางกั้น โดยขุดบันไดดินช่วงสั้นๆ เฉพาะที่ จะขุดหลุมปลูกในแต่ละแถวสลับกันในลักษณะรูป สามเหลี่ยม เพื่อเก็บกักน้ำและชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่า บางส่วน ให้มีความยาวของขั้นบันไดดินประมาณ 2 เมตร และ กว้างประมาณ 1.8-2.0 เมตรแล้วจึงขุดหลุมปลูกไม้ผลบนขั้น บันไดดิน นอกจากนั้น ทุกๆ 3-4 แถวขั้นบันไดควรมีคูระบาย น้ำตามแนวระดับ
ปลูกต้นไม้และทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur
หมดปัญหาเรื่องพื้นที่น้ำท่วมขัง น้ำท่วมก็ไม่ตายหากเลือก
จะเห็นได้ว่าการปลูกไม้ผลวิธีนี้ช่วยประหยัดแรงงาน รักษาความชุ่มชื้นโคนต้นไม้ผลได้นานและดูแลง่าย นอกจากนี้ยัง สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปได้หากต้นไม้เจริญเติบโตพอ
สร้างคันซากพืช เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแบบหนึ่ง โดยนำซากพืช ที่เกิดจากการบุกเบิกพื้นที่ หรือที่เหลือภายหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว มาวางสุมให้สูง 0.5-1.50 เมตร เป็นคันตามแนวระดับที่วางไว้ เป็นระยะๆ ห่างกันประมาณ 20-40 เมตร หรือตามแนวคันดิน กั้นน้ำ ซึ่งจะช่วยลดความเร็วของน้ำไหลบ่า และกักตะกอนดิน บางส่วนได้ ซากพืชก็จะค่อยๆ เน่าเปื่อยผุพังกลายเป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ประโยชน์มากกว่าที่จะเผาซากพืชทิ้งหรือเอาออก ไปจากไร่นา แนวคันซากพืชนี้ ควรดำเนินการตอนทำการบุกเบิก พื้นที่ใหม่ๆ และไม่มีเวลาหรือทุนพอที่จะทำคันดินแบบอื่นๆ และ ในอนาคตสามารถเปลี่ยนคันซากพืชให้เป็นแนวคันดินได้
เวลากำจัดวัชพืชควรขุดพลิกดินเป็นแนว ยาวแบบคูเป็นขนาดเล็กตอนล่างต่อเนื่องกันตามแนวระดับ แล้ว ทำการพลิกดินตอนบนที่มีวัชพืชลงไปในคู ทำเช่นนี้เรื่อยไปจน ทั่วทั้งแปลงก็จะช่วยให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำดีขึ้นเหมาะแก่การ เพาะปลูก ซากวัชพืชที่ถูกกลบก็จะเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวกลาย เป็นปุ๋ยต่อไป
อ้างอิง :
– สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน โทร 0-2579-1792
– สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900 โทร 0-2579-8515
– ldd.go.th
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
การขยายพันธุ์พืช
ปักชำมะนาวจากยอดได้ยังไง การขยายพันธุ์มะนาวด้วยยอด
แนะวิธีการปักชำมะนาววิธีใหม่ที่นิยมกัน สามารถทำในขวด หร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
กล้วยด่างฟลอริด้า สวยยังไง ทำไมแพง
กล้วยด่างฟลอริด้า กล้วยด่างที่ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปราชญ์ชาวบ้าน
ผู้เชี่ยวชาญการขยายพันธุ์ผลไม้
ลุงเอาหินถ่วงปลายผลบวบตั้งแต่เล็ก ได้ผลบวบโตยาวจนคนอึ้ง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ทำเกษตร แค่ไหนถึงเรียกว่า พอเพียง
เกษตรพอเพียง เอ่ยคำนี้แล้วหลายคนร้องยี้ เพราะในความนึกค
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ต้นโทงเทงไทย และเรื่องน่าสนใจของพืชชนิดนี้
ต้นโทงเทง ถ้าเป็นลูกโทงเทงฝรั่ง เขาเรียกว่า Cape Gooseb
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการขยายพันธุ์พืช
ผักเหลืออย่าทิ้ง ใช้ปลูกเป็นต้นใหม่ได้ไม่ยาก
ใครเคยได้ยินคำว่า “กินผักอย่าทิ้งราก” บ้างไ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช