จุลินทรีย์ EM มีดีอย่างไร

จุลินทรีย์ EM ขาดไม่ได้สำหรับ การทำเกษตรอินทรีย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะอย่างแรกที่ต้องนึกถึงก่อน

นั่นคือ จุลินทรีย์ ที่จะนำมาใช้กับการเกษตร โดยไม่พึ่งพาเคมี สำหรับวันนี้ ทีมงาน เกษตรอินทรีย์ จะมาพาย้อนกลับ ไปยังพื้นฐาน การทำเกษตร ว่าด้วยเรื่อง การใช้ประโยชน์จากชีวภาพใกล้ตัว

ซึ่ง EM เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า ปลอดภัย และมาจาก ธรรมชาติ อย่างแท้จริง EM คืออะไร EM นั้นย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับใครอยากรู้ว่า กลุ่มจุลินทรีย์นั้นมีอะไรบ้าง ลองดูบทความเพิ่มเติม เรื่อง จุลินทรีย์อะไร ที่ใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์

จุลินทรีย์ในธรรมชาติ มีมากมาย แต่สามารถแยกได้เป็นกลุ่มหลัก ๆ นั่นคือ จุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศหายใจ และจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศในการหายใจ

และจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ ก็จะสามารถทำงานร่วมกันได้ แบบเกื้อกูล และทำลายล้างกันได้ ไร้ขีดจำกัด ในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันออกไป โดยจะสามารถแบ่งแยก จุลินทรีย์ ทั้งสองประเภทนี้ ออกมาเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มดี กลุ่มเลว และกลุ่มที่เป็นกลาง

จุลินทรีย์ EM มีลักษณะการทำงานอย่างไร

กรณีที่มีจำนวนของจุลินทรีย์กลุ่มดี หรือจำนวนของกลุ่มสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มก่อโรค สภาพแวดล้อมจะอยู่ในสภาวะสร้างสรรค์ สะอาด บริสุทธิ์ สดใสและปราศจากมลพิษหรือโรคภัยทั้งปวง กลับกัน หากมีจำนวนจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคหรือกลุ่มทำลายมากกว่ากลุ่มสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปจะเกิดมลภาวะเป็นพิษ เน่าเหม็น มีโรคระบาด เป็นสภาวะที่แย่และไม่น่าอยู่

ส่วนกลุ่มเป็นกลางที่มีอยู่อย่างมากมายนั้น จะคอยช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าให้สามารถแสดงปฏิกิริยาได้มากยิ่งขึ้น เรียกว่า ใครชนะก็เข้าข้างนั้น

จุลินทรีย์ EM

ต้นกำเนิดจุลินทรีย์ EM

จุลินทรีย์ EM ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว จังหวัดโอกินาวาที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งท่านได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยและทดลองตามแนวทางของท่านโมกิจิ โอกาดะ ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2510-2525 และได้พบความกับจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในธรรมชาติ

จุลินทรีย์ EM

โดยสามารถแยกได้เป็น จุลินทรีย์ต้องการอากาศ (Aerobic Microorganisms) และจุลินทรีย์ไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic microorganisms) ซึ่งจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้จะสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยสามารถควบคุมให้มีลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูล หรือขัดแย้งกัน และสามารถแบ่งแยกจุลินทรีย์ทั้งสองประเภทนี้ออกมาเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ..

  1. จุลินทรีย์กลุ่มดี หรือกลุ่มสร้างสรรค์ มีอยู่ประมาณ 5-10 %
  2. จุลินทรีย์กลุ่มก่อโรค หรือกลุ่มทำลาย มีอยู่ประมาณ 5-10 %
  3. จุลินทรีย์กลุ่มเป็นกลาง ซึ่งมีมากถึง 80-90 %

ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ได้คัดสรรเอาเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มดีที่มีประโยชน์มาเลี้ยงรวมด้วยเทคนิคพิเศษ เรียกว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็น จุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms)

การใช้ EM ในชีวิตประจำวัน

ส่วนใหญ่ใช้ในเรื่องของการทำความสะอาด โดยคุณสมบัติเฉพาะตัวของจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายคราบและชีวภาพต่าง ๆ ได้นั่นเอง เช่น การใช้ล้างผัก การขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในห้องน้ำ เป็นส่วนผสมของปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ใช้ในการไล่แมลงสัตว์กัดต่อย ฯลฯ ในด้านการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ และการทำเกษตรพอเพียง ใช้ EM ก็เพื่อผลผลิตที่ได้จะเป็นผลผลิตที่ปลอดสารพิษ และทำให้ผลผลิตมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งยังรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

จุลินทรีย์ EM และจุดประสงค์ในการใช้

เรารู้อยู่แล้วว่า ในธรรมชาตินั้นมีจุลินทรีย์มากมาย และแยกย่อยเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มดี กลุ่มเลว และกลุ่มที่เป็นกลาง ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีจุลินทรีย์กลุ่มที่ดีจำนวนมากกว่ากลุ่มที่ทำลาย

โดยตัวแปรสำคัญคือจุลินทรีย์ที่เป็นตัวกลางซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป การใส่สาร จุลินทรีย์ EM ที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลุ่มดี กลุ่มสร้างสรรค์อยู่ในจำนวนมาก

ก็เพื่อไปแก้ไข เพิ่มเติมใสส่วนที่ขาด ทำให้สภาวะแวดล้อมในจุดนั้น ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ใช้ในดิน ดินก็ดีขึ้น ใช้ในน้ำ น้ำก็ดีขึ้น ฉีดพ่นในอากาศ อากาศก็สดชื่น กลิ่นก็สะอาด

จุลินทรีย์ EM

หมักกากน้ำตาล เพื่อขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM

ถังที่ใช้หมัก ควรใช้ถังพลาสติกทึบแสง ปิดฝามิดชิดและเก็บไว้ในที่ร่ม เริ่มผลิตและขยาย EM ด้วยการ

  • ใช้กากน้ำตาลจำนวน 1 ลิตร ผสมกับน้ำจำนวน 100 ลิตร
  • หรือกากน้ำตาล 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน (1/100) และใช้ EM ผสมเพิ่ม 1 ลิตร
  • หมักทิ้งไว้ 3 วัน จะได้ EM ที่ขยายส่วนแล้ว 3 เท่า
  • จากนั้นแบ่งแยก EM ที่หมักไว้เป็น 3 ส่วนลงในถัง 3 ใบและเพิ่มกากน้ำตาลและน้ำ (1/100) ส่วนเข้าไปเพิ่มเติม

และหมักต่อไปอีก 3 วัน จะสามารถแบ่งแยกขยาย EM ได้อีก 9 ส่วน ก่อนนำไปใช้ประโยชน์

คอยสังเกตุน้ำ EM ที่ทำการขยายว่าถ้ามีสีดำและกลิ่นเหม็นแสดงว่าใช้ไม่ได้ และน้ำที่ผสม หากเป็นน้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้อย่างน้อย 3 วัน

หากต้องการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก ให้ใช้ EM ในการแยกส่วนขยายครั้งที่ 2

สูตร EM ขับไล่แมลง

  1. EM 1 ส่วน
  2. กากน้ำตาล 1 ส่วน
  3. น้ำส้มสายชู 5% 1 ส่วน
  4. เหล้าขาว 2 ส่วน
จุลินทรีย์ EM
จุลินทรีย์ EM

โดยการนำทั้งหมดผสมเข้าด้วยกันและหมักไว้ 1 คืน จะเกิดสาร Ester ขึ้นมา สามารถฆ่าแมลงให้ตายได้ วิธีใช้ก็คือ ผสมน้ำ 200 ลิตรต่อ EM 300 CC ใช้ฉีดพ่นต้นไม้ทุก ๆ 3 วัน

หากต้องการสูตรที่อ่อนลงกว่านี้ สามารถปรับสูตรจากสูตรเดิมคือการลดเหล้าขาวลงเหลือ 1 ส่วนและใส่น้ำผสมเพื่อเป็นหัวเชื้อแทน 5 ส่วน และหมักไว้ 1 สัปดาห์ ก่อนใช้ให้นำหัวเชื้อผสมกับน้ำ 1/100 ส่วน ฉีดพ่นต้นไม้ทุกส่วนในทุก 3 วัน

ทำไม จุลินทรีย์ EM ถึงทำให้หนอน แมลงตาย

  1. เพราะกากน้ำตาลไปเกาะที่ผิวหนังของหนอน ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
  2. หนอนหายใจไม่ออก เนื่องจากกากน้ำตาลปิดทางเดินหายใจและมี Ester ที่มีกลิ่นเหม็น
  3. หนอนท้องอืดตาย
  4. ระบบย่อยอาหารไม่ทำงาน

เห็นได้ว่า ความสำคัญของ EM มีผลมากมาย ต่อภาค การเกษตร เพียงใด โดยเฉพาะการทำ เกษตรอินทรีย์ แบบพอเพียง ได้ทั้งปลอดภัย และประหยัดต้นทุน ทำให้รายได้เหลือเก็บ

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เทคนิคและวิธีการ

ผักกาดขาว วิธีปลูกที่ได้ผล ลงแปลงและในกระถาง

ผักกาดขาว เป็นผักที่ปลูกกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวัน

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ถั่งเช่าสีทอง กับความจริงที่แพทย์จีนไม่แนะนำ

รู้หรือไม่ว่า การแพทย์แผนจีนปัจจุบัน ไม่ได้สนับสนุนให้ใ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

การปลูกถั่วฝักยาวแบบพอเพียง ทำได้จริงหรือไม่

ถั่วฝักยาว เป็นผักสวนครัวรั้วกินได้อีกหนึ่งชนิดที่น่าปล

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงสร้างรายได้

วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง คล้ายการเพาะแบบกองเตี้ย แต่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกผักอินทรีย์ แก้จนได้จริงหรือ

ขึ้นชื่อว่าผักอินทรีย์หลายคนเข้าใจว่าปลอดภัยหายห่วง แต่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เกษตรในพื้นที่น้อย

ทำอย่างไรถึงจะปลูกพริกหยวกในกระถางให้ได้ผล

เป็นไปได้เหรอถ้าเราจะปลูก พริกหยวกในกระถาง แล้วจะได้ผลด

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา