หัวเชื้อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำใช้เองยังไงให้แดง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือ Photosynthetic Microorganisms : PSB และหัวเชื้อจุลินทรีย์

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์ที่มีประโยชน์สูงและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช รู้จักกันมานานแล้วในชื่อฮอร์โมนไข่ เนื่องจากส่วนประกอบหลักคือไข่สด ซึ่งเป็นโปรตีนจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีประโยชน์อย่างไร

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosybthetic Bacteria : PSB) เป็นแบคทีเรียที่สามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ บทบาทสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 – Assimilation) รวมไปถึงการตรึงไนไตรเจน (Nitrogen Fixation) มีความสำคัญในระบบนิเวศน์ ซึ่งสัตว์ขนาดเล็กจำพวก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้

นอกจากภาคเกษตรแล้ว ยังมีการนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือนและการทำปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง

ประโยชน์ด้านเกษตร

สำหรับที่นำมาใช้ในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สะสมกำมะถัน โดยแบคทีเรียชนิดนี้เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสง จะเกิดกระบวนการใช้แสง ถ้าสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ไม่มีแสงก็เปลี่ยนระบบมาเป็นกระบวนการที่ไม่ต้องใช้แสง ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ฉะนั้นจึงนำประโยชน์จากกระบวนการดำรงชีวิตนี้ มาใช้ในการ ปรับปรุงสภาพดิน ให้เหมาะสมกับการดูดซึมสารอาหารของพืช รวมไปถึงช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่พืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และช่วยให้พืชเจริญเติบโตดีกว่าเดิม
  2. ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงถึง 50%
  3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ย และแร่ธาตุอาหารแก่พืช
  4. ช่วยกระตุ้นรากพืช ทำให้สามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ดียิ่งขึ้น
  5. ช่วยกระตุ้นให้พืชมีภูมิต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ ได้มากขึ้น

ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม

สามารถใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ช่วยดับกลิ่นในครัวเรือน และในห้องน้ำได้ ใช้ทดแทน EM ในการกำจัดแบคทีเรียชนิดเลว ทั้งยังสามารถนำไปผสมกับน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยชีวภาพสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ดินได้ด้วย ที่สำคัญคือ ช่วยลด หรือกำจัดก๊าซไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ที่มีอยู่ในดิน และเปลี่ยนไฮโดรเจนซัลไฟด์ ให้กลายเป็นฮอร์โมน ที่พืชต้องการ

ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้ดีกว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM หรือเทียบเท่า ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพแวดล้อม และเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในน้ำ ให้เป็นตัวช่วยเสริมและกำจัดกลิ่นเหม็น ที่มาจากน้ำเสีย ละลายสารเคมีที่เป็นอันตรายในน้ำ รวมไปถึงสารแขวนลอยชนิดต่าง ๆ ทำให้ลดต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียลงได้มาก

ใช้ผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์

สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในฟาร์มปศุสัตว์ โดยช่วยให้สัตว์มีสุขภาพดี โตไว ไม่เป็นโรค ทั้งยังช่วยลดจำนวนของแมลง และเชื้อโรคได้หลายชนิด ทำให้สัตว์แข็งแรง และมีภูมิต้านทานต่อโรคมากขึ้น เนื้อมีคุณภาพดีขึ้น หากใส่ในแหล่งน้ำ จะทำให้เพิ่มสารอาหารแก่สัตว์น้ำและพืชน้ำ ได้ประโยชน์หลายอย่าง

รู้อย่างนี้แล้ว จะไม่ลองทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เองบ้างหรือ

ปลูกมะละกอ 1 ไร่ ได้เดือนละแสน

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง กี่วันถึงจะแดง

ก่อนจะทำให้แดง ลองมาดูส่วนผสมกันก่อน อันดับแรกเริ่มให้เตรียมของมาดังนี้

  1. น้ำสะอาด 10 ลิตร
  2. ไข่สด (ไข่เป็ด ไข่ไก่ 1 ฟอง)
  3. สารเร่ง (มีหรือไม่ก็ได้) เช่น ผงชูรส เครื่องดื่มชูกำลัง นมเปรี้ยว น้ำปลา น้ำตาล ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวช่วยเร่งความเร็วในการหมัก

ขั้นตอนการทำก็ไม่ยาก นำไข่สดตีให้เข้ากัน ใส่ส่วนผสมอื่นตามลงไป เช่น น้ำปลา, นมเปรี้ยว, ผงชูรส, กะปิ, นม หรือน้ำตาล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งส่วนผสมที่เป็นตัวเร่ง ใช้แค่ 1 ช้อนชา  (ใส่มากก็เปลือง เพราะไม่ได้ช่วยเร่งปฏิกิริยาอะไรมากมาย โดยหลักการก็ขึ้นอยู่กับแสงแดด) แล้วคนให้เข้ากันดี

เสร็จแล้วนำไข่ที่ตีแล้วเทลงไปผสมกับน้ำสะอาดในขวด อัตราส่วน ไข่ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 ลิตรโดยประมาณ ใส่มากกว่านี้ก็เปลือง เพราะไม่ได้ช่วยเร่งปฏิกิริยาอะไรมากมาย โดยหลักการก็ขึ้นอยู่กับแสงแดด เมื่อเทส่วนผสมได้ที่แล้วก็เขย่าๆ ให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง จะได้น้ำสีขาวขุ่นๆ แล้วนำไปตากแดดในที่แดดส่องถึงทั้งวัน รอเวลาให้เกิดสีแดง

ไข่ 1 ฟองสามารถผสมกับน้ำได้มากสุด 10 ลิตร ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าประหยัดสุดๆ และได้ผลแน่นอน

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง ทำไมเป็นสีเขียว ไม่แดง

ขั้นตอนการหมัก เมื่อได้ส่วนผสมที่เข้ากันดี นำมาผสมลงในขวดเขย่าๆ ให้เข้ากันจนได้น้ำสีขาวขุ่น ก็นำไปตากแดด ทิ้งไว้อย่างน้อยประมาณ 10 วัน น้ำในขวดก็จะเกิดการเปลี่ยนสี จากสีขาวขุ่นๆ ค่อยๆ กลายเป็นสีแดงเข้ม ภายใน 1 เดือนเป็นอย่างต่ำจะต้องได้สีสด สียิ่งแดงเข้มมากๆ ประสิทธิภาพจะยิ่งดีมากด้วย

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง
ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง ทำไมออกสีเขียว ทำไมไม่เป็นสีแดง หรือ ทำไมเป็นแต่สีแดง ไม่เคยเจอสีเขียว สีเขียวเป็นตะไคร่หรือเปล่า แล้วใช้รดผัก บำรุงดินได้ไหม หลากหลายคำถาม มีคำตอบตรงนี้…

สาเหตุที่จุลินทรีย์สังเคราะ์แสงเป็นสีเขียว หรือสีแดง เป็นเพราะ “น้ำ” หากใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จะได้ทั้งสีเขียวและสีแดง เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มีอยู่ในธรรมชาติแล้วนั่นเอง เราเพียงแค่ ขยายและเพิ่มจำนวนมันให้มีมากขึ้นเท่านั้นเอง

สีเขียว หรือ สีแดง?

เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว จึงไม่แปลกอะไรที่สีจะออกมามีทั้งเขียวและแดง

สาเหตุที่เป็นสีเขียว
ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง

เมื่อหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแล้วเป็นสีเขียว คุณมาถูกทางแล้ว หากอยากให้มีสีแดง ให้ตากแดดทิ้งไว้ต่อไป จนกว่าสีจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นแดง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนแบคทีเรียที่มี การเติมไข่ หรือหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีแดงเพิ่มเข้าไป จะช่วยเร่งปฏิกิริยาให้สีชัดเจนยิ่งขึ้น

สีแดง หรือ สีเขียว ก็ใช้ได้ผลเหมือนกัน

ถ้าน้ำไม่สกปรกมีเชื้อโรคหรือมีดินโคลนมากจนเกินไป (ซึ่งก็จะเกิดเป็นเชื้อรา และน้ำจะเน่า) ก็จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์อย่างแน่นอนภายใน 1 เดือน

เมื่อตากแดดจนจุลินทรีย์ในขวดเปลี่ยนเป็นสีแดงจัดแล้ว (หากมีสีเขียวจัด ให้ตากแดดต่อไปจนกลายเป็นสีแดง) ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว โดยนำไปเป็นหัวเชื้อ ผสมน้ำ 10 ส่วน ใช้รดโคนพืชผัก ฉีดพ่นใบ ช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตดี ฉีดพ่นโคนราก ดิน จะช่วยปรับสภาพดินให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

ฉีดพ่นหรือราดให้ทั่วแปลงปลูกได้เรื่อยๆ วันเว้นวัน ไม่มีอันตรายใดๆ ยิ่งให้มากยิ่งดีกับดินและพืชผัก ข้อเสียคือจะเปลือง และอาจมีกลิ่นเท่านั้นเอง

การขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

เพียงนำหัวเชื้อไปผสมกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วน หัวเชื้อ 1 ลิตร ผสมน้ำได้สูงสุด 10 ลิตร และเขย่าผสมนำไปตากแดดซ้ำอีก 1 เดือนก็จะได้หัวเชื้อนำมาใช้ซ้ำได้ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้ได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ไม่จำกัด

ในการขยายหัวเชื้อ สามารถเติมไข่และส่วนผสมเพื่อเร่งการหมักได้ เหมือนกับขั้นตอนการทำหัวเชื้อในช่วงแรก ได้เพื่อช่วยเร่งให้เกิดสีได้เร็วขึ้น แต่ระยะเวลาโดยประมาณก็ 30 วันเป็นอย่างต่ำ

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง

หมักหัวเชื้อทำเอง ก็สะดวกในการบำรุงพืชผักและดิน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการซื้อปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ ให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แถมยังใช้ได้ต่อเนื่องไม่มีผลเสียใดๆ รู้อย่างนี้ ไม่ลองทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เองดูเองไม่ได้แล้ว

โทษของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

แต่เดิมเรารู้กันว่า ยิ่งใช้ก็ยิ่งมีประโยชน์ มักจะไม่เจอโทษหรือผลเสียหาย แต่ปัจจุบันมันเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากการใช้จุลินทรีย์ที่เกิดจากการหมักดองประเภทนี้ มันจะทำให้เราได้จุลินทรีย์จริง หรือ อาจได้เชื้อโรคที่เข้าใจว่าเป็นประโยชน์ มีคนสงสัยกันไหมในข้อนี้

ตามที่หลายคนตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าในส่วนของการปนเปื้อนของหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และนำมาซึ่งเชื้อที่สามารถก่อโรคระบาดสู่เกษตรกรผู้ใช้ เนื่องจากผลของการใช้ของหมักมาเป็นอาหารให้หัวเชื้อและเกิดการปนเปื้อน

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับโทษของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ปนเปื้อน จากผู้ใช้จริง

ข้อสังเกตุคือ “ถ้าสีแดงที่พบนั้น คือ แบคทีเรียสังเคราะห์แสงจริง น้ำสีแดงหรือสีเขียวก็ไม่ควรจะมีสีเมื่อหมักตั้งไว้ในที่ร่ม เนื่องจากไม่เกิดการสังคราะห์แสงจริง (ไม่โดนแสง)”

ข้อพิสูจน์แล้วคือ “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถเจริญได้ทั้งในแบบใช้แสงและไม่ใช้แสง 
นอกจากนี้ ไม่เคยพบรายงานใดที่ระบุว่าจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นสาเหตุในการเกิดโรคต่อเกษตรกร นักวิจัยของญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่ค้นพบว่านอกจากจะมีประโยชน์กับพืชแล้ว สามารถผสมอาหารเพื่อเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย”

แต่ก็ยังไม่จบที่ว่า เชื้อที่ก่อโรคสามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไป เพราะในธรรมชาติ มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สร้าง pigment เม็ดสีในเซลล์ได้ เช่น ยีสต์ รา รวมถึงแบคทีเรีย ถึงจะไม่มีกระบวนการสังเคราะห์แสงแต่เซลล์ก็ยังแดงได้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่หลายคนกลัว ว่าการใช้จุลินทรีย์ที่ไม่ได้ผ่านการทำอย่างถูกวิธี จะมีการปนเปื้อนของเชื้อที่ก่อโรคตั้งแต่คราวแรก และอาจทำให้เกิดโทษมากกว่าได้ประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน

สรุป : แม้ว่าการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง แบบไม่ได้มาตรฐาน (เฉพาะในห้องแลปเท่านั้นที่จะไม่มีการปนเปื้อน) แต่ในความเป็นจริง ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ระดับการปนเปื้อนจากการผลิตหัวเชื้อ จะสร้างเชื้อก่อโรคจนทำให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรได้จริง เพราะถึงอย่างไร การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ย่อมได้ประโยชน์มากกว่าโทษอย่างแน่นอน

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกผักอินทรีย์ แก้จนได้จริงหรือ

ขึ้นชื่อว่าผักอินทรีย์หลายคนเข้าใจว่าปลอดภัยหายห่วง แต่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

ข่าวสารด้านเกษตร โค้ดส่วนลด Shopee ล่าสุด

เก็บโค้ดส่งฟรี เดือนเมษายน 66

รีบเลยก่อนหมด ถึงสิ้นเดือน เมษายน 2566 นี้เท่านั้น เก็บ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เกษตรในพื้นที่น้อย

ปลูกมะละกอในกระถางให้ผลดก รสหวาน

ถ้าใครว่าปลูกมะละกอในกระถางแล้วไม่ติดลูก อย่าไปเชื่อ เพ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ระบบการทำเกษตรทางเลือก

จากสภาพปัญหา การเกษตร ที่เกิดขึ้น ทำให้แนวคิด ที่มุ่งแส

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

การเลี้ยงสัตว์

เลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นอย่างไร

อยากเลี้ยงกุ้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เรามีคำตอบสำหรับ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ต้นประยงค์ ควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้าน

ต้นประยงค์ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ ที่มีกลิ่นหอมละมุน เป็นเอกลั

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา