บอนกระดาด หลายคนรู้จัก แต่มักเขียนกันผิดว่าเป็น “บอนกระดาษ” ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่
คำว่า “กระดาด” ใช้ตัว ด.เด็ก สะกด แปลว่าพืชชนิดหนึ่งที่เป็นหัวหรือเหง้า ส่วน “กระดาษ” ใช้ ษ.ฤาษี สกด กระดาษนั้นแปลว่าเยื้อไม้ที่ถูกแปรรูปเป็นแผ่นบางใช้ขีดเขียน มันต่างกันโดยสิ้นเชิง
เพราะฉะนั้น หากจะเขียนคำว่า กระดาด ควรใช้ ด.เด็ก สะกด เพื่อให้หมายถึงพืชชนิดหนึ่ง มากกว่าจะสื่อถึงเยื้อไม้บางๆ เพราะเข้าใจจากลักษณะใบ ซึ่งก็เป็นเหมือนหูช้างมากกว่าจะมาเทียบกับกระดาษ
หัวข้อสำคัญ
ต้องการข้อมูลเรื่องต้นกระดาด
บอนกระดาดด่างต้องการทำให้พืชเป็นไม้ด่าง ไปที่ วิธีการ จะทำอย่างไรให้ไม้มีใบด่าง
ทำให้ไม้ใบด่างต้องการเรียนรู้เรื่อง บอนกระดาด ไม่ต้องไปไหน ให้อยู่หน้านี้แหละ
บอนกระดาดบอนกระดาด คืออะไร
ต้นกระดาด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don ในวงศ์ Araceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับต้นบอน Colocasia esculenta (L.) Schott หรือ Colocasia esculenta var. aquatilis Hassk. และมีชื่อสามัญหลากหลายไม่ว่าจะเป็น Elephant ear, Giant taro, Ape, Ear elephant, Giant alocasia, Pai
ส่วนชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันก็จะมีกระดาด, บอนยักษ์, โหรา (ภาคใต้), กระดาดเขียว หรือบอนเขียว, กระดาดขาว, กระดาดแดง, บอนกาวี (ยะลา), เผือกกะลา (แม่ฮ่องสอน)
ต้นกระดาดที่ว่ามาในบทความนี้ รับประทานไม่ได้
บอนหูช้างและบอนกระดาด แตกต่างกันอย่างไร
- ต้นบอนหูช้าง คือหนึ่งในชื่อที่ใช้เรียกต้นกระดาด (ไม่ใช่กระดาษ แต่ใช้ “ด” เด็กสะกดถึงจะถูกต้อง)
- ต้นกระดาด คือชื่อพันธุ์ไม้ตระกูล Alocasia เป็นไม้วงศ์เดียวกับต้นบอน หลายคนจึงสับสนว่า ต้นบอนหูช้างกับบอนกระดาด แตกต่างกันอย่างไร ในความจริงคือ เป็นชนิดเดียวกัน
ต้นกระดาด มีลักษณะใกล้เคียงกับต้นบอน เพราะอยู่ในวงศ์เดียวกัน คนทั่วไปจึงเข้าใจว่ามันคือบอน จึงเรียกกันว่า “บอนกระดาด” ต้นกระดาดมีความสูงได้มากกว่า 1 เมตร ลักษณะจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมและความเด่นด้อยของสายพันธุ์
ต้นกระดาดด่าง เกิดขึ้นได้อย่างไร
ในความเป็นจริงนั้น บอนกระดาดด่าง หรือไม้ด่างที่พบเจอนั้น ไม่ได้มาจากการตัดแต่งพันธุกรรมหรือการผสมขึ้นมาเพื่อให้ได้ความด่าง แต่การ “ด่าง” นั้นเกิดโดยธรรมชาติ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ต้นไม้ด่างได้มีหลายสาเหตุ ต้นกระดาดด่าง ก็เช่นกัน เกิดจากธรรมชาติล้วนๆ
เพราะสังเกตุว่า การด่าง ไม่ได้เกิดในจุดเดียวกันทั้งต้นแม่และต้นลูก ในบางครั้งต้นแม่ด่าง แต่ต้นลูกอาจด่างน้อยกว่า หรือต้นแม่ไม่ด่าง แต่ต้นลูกอาจมีความด่างเกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เกิดการด่างของพันธุ์ไม้นั้นมีสาเหตุดังนี้
บอนกระดาด หรือหูช้าง
บอนกระดาดด่าง
- การขาดแสงสว่างอย่างเพียงพอ ข้อสังเกตุไม้ด่างหลายชนิด โดยเฉพาะ กล้วย บอน หรือพันธุ์ไม้อื่นๆ จะพบเจอได้ตามป่าที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีที่ไม่สม่ำเสมอของใบ
- การขาดสารอาหาร แน่นอนว่าเมื่ออยู่ในป่า มีต้นไม้ใหญ่แทรกและขึ้นปกคลุม จึงต้องแย่งกันหาอาหาร ทำให้สารอาหารไม่เพียงพอจึงเกิดความผิดปกติขึ้นที่รูปใบ เพราะสารและแร่ธาตุบางตัวมีผลต่อการสร้างเม็ดสีของใบ (ดูเพิ่มเติมเรื่อง สารอาหารที่พืชต้องการ)
- เนื้อเยื่อใบมีอากาศมาก อาการดังกล่าวส่งผลให้เมื่อแสงแดดไปตกกระทบตรงใบจะเกิดการหักเหของแสง ทำให้ใบเป็นสีต่างๆ เช่นเทาเงิน แดง หรือน้ำตาล คุณลักษณะนี้จะพบมากในป่าธรรมชาติ และอาการดังกล่าวจะเป็นถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อต้นที่เกิดกับต้นแม่เดิมในลำดับต่อไปด้วย และสามารถจำแนกเป็นพันธุ์อื่นได้ เช่น พลูลงยา แนบอุรา หรือคล้าบางชนิด
- เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากการได้รับสารเคมีหรือสารกำมันตภาพรังสี ทำให้ต้นไม้ดังกล่าวกลายพันธุ์จากเดิม นอกจากนี้ยังใช้ในวงการตัดแต่งพันธุ์ต้นไม้เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานหรือมีลักษณะที่เด่นกว่าพันธุ์เดิม แต่ไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ โดยต้นแม่พันธุ์นั้นจะมีความสำคัญในการควบคุมลักษระด่างได้ดีกว่าต้นพ่อพันธ์ุ
- เกิดจากโรคบางชนิด อาจเป็นอาการของโรคใบด่างในต้นไม้ หรือ Mosaic Virus ซึ่งเกิดจากไวรัสเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและสารคลอโรฟิลล์จนส่วนต่างๆ ของต้นและใบไม่สร้างเม็ดสีธรรมชาติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดต้นไม้ใบด่าง อ้างอิงจาก www.baanlaesuan.com/88572/plant-scoop/leaf-tree
วิธีปลูกต้นกระดาด ด่างและไม่ด่าง
เราได้รู้แล้วว่า สาเหตุการด่างของพืชเกิดจากอะไร และแน่นอนว่า ผลจากการด่างจะติดตัวถาวรไปกับพืชเหล่านั้นไม่มีวันเปลี่ยนแปลง การนำต้นลูกที่ได้จากแม่พันธุ์ด่าง โดยเฉพาะกระดาดด่าง มาปลูก จึงไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องการกลายพันธุ์ให้กลับไปเป็นปกติ แต่การเริ่มปลูก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการตาย หรือปลูกแล้วไม่สวยงามเหมือนต้องการ เพราะด้วยสาเหตุหลายอย่าง
ต้นที่เพาะจากไข่ จะโตช้ากว่า ต้นเล็กกว่าที่ได้จากหน่อ เพราะฉะนั้น ไม่แนะนำให้เอาต้นเล็กไปโดนแดด จะทำให้ตายได้ง่าย
เพราะไม้ด่างเป็นพืชที่มีความผิดปกติ การปลูกจึงต้องพิถีพิถัน สิ่งสำคัญคือ ควรปลูกในดินที่มีสารอาหารเพียงพอ วางต้นอ่อนไว้ในที่มีแสงแดดรำไรเท่านั้น
ดินปลูกสำคัญอย่างยิ่ง ควรเน้นดินที่โปร่งระบายน้ำได้ดี ถ้าจะให้ปุ๋ยควรเลือกชนิดสลายตัวช้า เช่น ออโมโคทสูตร 6 เดือน หากใช้ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนมากใบก็จะเขียวขึ้น โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยสูตรเสมอสำหรับพันธุ์ไม้ด่างทุกชนิด ดูรายละเอียดเรื่อง ปุ๋ยสูตรไหนเหมาะกับพืชพันธุ์อะไร
พืช Alocasia ที่ลงกระถางแล้วแต่ฟอร์มไม่สวยอย่างที่ต้องการ
ต้นกระดาดด่าง ลักษณะที่จัดว่าราคาแพงในหมู่นักสะสม จะดูกันที่ลวดลายของใบ มีใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงเวียนเป็นกลุ่มที่ปลายลำต้น ใบรูปไข่กว้างรูปหัวใจขนาด 24-40 เซนติเมตร ยาว 30-90 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้น ลึก แคบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น มีเส้นแขนงใบข้างละ 8-13 เซนติเมตร ก้านใบใหญ่สีเขียวหรือม่วง ยาว 0.5 – 1.2 เมตร
วิธีปลูกต้นกระดาด แบบง่ายที่สุด
- เตรียมดิน ขุดหลุมกว้าง x ยาว x สูง = 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยขุดห่างกัน 1.5 – 2 เมตร หรือใช้กระถางสูง 40cm เป็นต้นไป
- นำต้นกล้าอายุ 3-6 เดือน ที่รากเติบโตดี ลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้แน่น แต่ไม่ต้องกลบเต็มหลุม (กล้าที่อายุน้อยกว่านี้ควรอยู่ในกระถางปลูก ไม่ควรลงดิน)
- ให้ปุ๋ยได้หลังจากปลูกไปแล้ว 2-3 เดือน
- รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เพราะบอนต้องการน้ำอย่างเพียงพอ แต่หากเป็นพันธุ์ด่าง ไม่ควรรดให้ชุ่มมาก เขาต้องการน้ำน้อยกว่าพันธุ์ปกติ
- เมื่อต้องการขุดเหง้า ควรใส่ถุงมือ เพราะยางจะทำให้คัน
แนะนำเรื่องน่าสนใจเพิ่มเติม หากมีกล้วยด่าง หรือพืชที่ใช้หน่อ เหง้า ขยายพันธุ์ แล้วต้องการจะขยายพันธุ์พืชเหล่านี้
ต้นบอนกระดาด วิธีเลี้ยง
ควรเน้นเรื่องแสง ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไม้ด่างชนิดใด การเลี้ยงต้องดูแลมากกว่าต้นไม้ธรรมดา เพราะการผิดปกติของสายพันธุ์จะทำให้มีการเติบโตช้า ใบมีคลอโรฟิลล์น้อย ควรให้ต้นไม้อยู่ในที่มีแสงรำไรเท่านั้น โดยเฉพาะมอนสเตอร่า หรือฟิโลเดนดรอน หรือกระดาดใบด่าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของพรรณไม้ด้วย อย่างไทรด่าง มันสำปะหลังด่าง ชบาด่าง ต้องการแดดจัด จำเป็นต้องปลูกในที่มีแสงแดดครึ่งวันหรือเต็มวันได้ แต่การนำต้นไม้ด่างทุกต้นขณะที่ยังเล็กอยู่ไปปลูกกลางแดดเลยทันทีทำไม่ได้เด็ดขาด ควรให้ต้นแข็งแรงซักระยะก่อนค่อยนำไปกลางแดด
สำหรับการให้น้ำ ต้องดูแลไม่ให้น้ำมากเกินไป เพราะใบที่มีคลอโรฟิลล์น้อยกว่าปกติ ทำให้พืชเกิดการคายน้ำยาก ใบอาจฉ่ำน้ำหรือกลายเป็นรอยไหม้ การให้น้ำจึงต้องลดน้อยลงกว่าพันธุ์ไม้ทั่วไปที่เป็นชนิดเดียวกัน
ราคาบอนกระดาด ในท้องตลาด
ต้นกระดาดด่าง ที่เห็นลวดลายด่างชัดเจนแล้วมีความสูงใกล้เคียง 1 เมตร ประกอบด้วยลักษณะกอ 5 ใบขึ้นไป มีดอกหรือเหง้าสำหรับขยายพันธุ์ ไซส์นี้มีราคาตั้งแต่ 8,000 บาท ขึ้นไป : (เรียกกันว่าขนาด ตั้งแม่ คือขนาดที่สามารถนำไปเป็นแม่พันธุ์สำหรับเพาะจำหน่ายในอนาคต) ส่วนต้นกระดาดที่ไม่มีลักษณะเด่นใด ๆ ขนาดไซส์นี้ ราคาอยู่ที่ 30-100 บาท
ขนาดเหง้าพันธุ์ด่าง ที่มีใบและยอดอ่อนแล้ว สามารถนำไปปลูกต่อได้ มีราคาตั้งแต่ 2,000 – 3,000 บาท ซึ่งเป็นข้อเสียที่ว่า ไซส์นี้จะไม่สามารถเห็นความด่างได้อย่างชัดเจน หากไม่เห็นว่ามาจากต้นแม่พันธุ์ด่างจริงๆ อาจโดนย้อมแมว เพราะไซส์ขนาดนี้เรียกว่า ไข่ ถ้าเป็นต้นกระดาดทั่วไป ขายกันที่ 30-50 บาทเท่านั้น
เหง้าจากกอต้นด่าง ขนาดใหญ่สมบูรณ์ที่ผ่านการแตกกอมาแล้ว และต้องการนำไปปลูกต่อราคาประมาณ 8,000 – 15,000 บาท ราคาขึ้นอยู่กับว่าเคยมีต้นอ่อนมามากน้อยแค่ไหน ข้อเสียคือใช้ระยะเวลานานกว่าจะมีไข่หรือต้นอ่อนมาให้ลุ้นกันอีกรอบ แต่ต้นที่มีหน่ออ่อนติดมาด้วยหรือที่เรียกกันว่ายังไม่ได้รื้อไข่ คนซื้อก็ได้ทั้งต้นแม่และเหง้าไปลุ้นต่อได้อีก ส่วนราคาเหง้าสำหรับพันธุ์ปกติจะอยู่ที่ 100-400 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด
อีกข้อที่สำคัญคือ ราคา ขึ้นอยู่กับใบอ่อนที่สามารถเห็นความด่างได้ในอนาคต เรียกกันว่า หลอด (ใบอ่อนที่กำลังจะคลี่ในอนาคต) หากสามารถเห็นลวดลายความด่างเป็นแววมาตั้งแต่งอกออกมา จะทำให้เหง้าหรือต้นอ่อนที่มีใบอ่อนแทงออกมานี้มีราคาแพงขึ้นอย่างมาก
เพราะราคาขึ้นตามจำนวนใบ และตามลวดลายที่มองเห็นจากใบ ไม่ว่าจะเป็น กระดาดด่าง กล้วยด่าง มอนสเตอร่าด่าง ฟิโลเดนดรอนด่าง หรือไม้ด่างอื่น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกถึงเท่าตัว
เห็นอย่างนี้ ไม่ลองเอาไม้ปกติมาฝึกทำให้ด่างกันดูบ้าง ไม่แน่ อาจสร้างรายได้ให้คุณได้เป็นกอบเป็นกำกันนะ แต่อย่าลืมว่า มันเกิดตามธรรมชาติ มีน้อยมากที่เกษตรกรจะสามารถบรีดพันธุ์ด่างได้เอง
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย แต่อาจต้องใช้เวลาซักหน่อย
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เกษตรในพื้นที่น้อย
การปลูกตั้งโอ๋ ผักสวนครัวมากประโยชน์ในพื้นที่จำกัด
หลายคนยังสับสนกับผักสวนครัวสองชนิดนี้ คือ ตั้งโอ๋ กับ ค
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการขยายพันธุ์พืช
จะตอนกิ่งมะละกอ ทำแบบไหนง่ายที่สุด
วิธีการตอนกิ่งมะละกอ ทำง่าย รอดสูง ใครก็ทำได้ ใช้อุปกรณ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ผักสวนครัวอะไร เป็นสมุนไพรที่แก้โรคเบาหวานได้
อยากรู้ว่าผักสวนครัวรั้วกินได้อะไรที่แก้โรคเบาหวานได้ ท
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ปลูกผักบุ้งในโอ่งอย่างไรให้ได้กินตลอดปี
ผักบุ้ง ผักสวนครัวและผักท้องถิ่นที่ชาวไทยเราคุ้นเคยเป็น
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ผักเคล ยืนหนึ่งเรื่องสุขภาพ
ผักเคล (Kale) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “คะน้าใ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมข่าวสารด้านเกษตร บทความน่ารู้
แก่นแท้ของเกษตรอินทรีย์
เรารับรู้กันแล้วว่า การทำ เกษตรอินทรีย์ เป็นการทำการเกษ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช