ใบเตย ที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นลูกสาวคนเดียวของผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 แต่ใบเตยนี้คือ เตยหอม ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษว่า Pandanus amaryllifolius จัดเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก และขึ้นเป็นกอ มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ทนน้ำท่วมได้ดี
ใบเตยมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาวและมีสีเข้ม เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine โดยสีเขียวจากใบเป็นสีที่มาจากคลอโรฟิลล์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ผสมอาหารได้
ในต่างประเทศใบเตยหอมจะมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น ในประเทศบังกลาเทศนั้นเรียกว่า ketaki มักจะนำเตยมาใช้เพิ่มกลิ่นหอมของข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payesh ส่วนในประเทศอินโดนีเซียเรียกเตยว่า pandan wangi ประเทศพม่าเรียกว่า soon-mhway ในประเทศศรีลังกาเรียกว่า rampe ส่วนในประเทศเวียดนามเรียกว่า lá dứa
ใบเตยนั้น ในทุกท้องถิ่น มักนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งใบสดและใบแห้ง ในบางประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ก็มีขายในรูปแบบของใบแช่แข็ง
และส่วนใหญ่จะใช้เตยหอมปรุงกลิ่นในอาหาร เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา รวมถึงในประเทศไทยด้วย
โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้น การนำกลิ่นของใบเตยมาปรุงในข้าวและขนมบางชนิด รวมไปถึงการใช้ดับกลิ่นบางอย่าง หรือนำไปเป็นวัสดุประกอบการทำพิธีทางศาสนา ก็ถือว่าเป็นที่นิยมมากด้วยเช่นเดียวกัน
ภาพจาก www.sgethai.com
ใบเตยหอม ตลาดยังต้องการสูง
เกษตรกรสามารถทำการตัดขายใบเตยหอมได้เดือนละ 4 ครั้ง หรือ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อส่งไปยังแม่ค้าที่ต้องการได้ การตัดขายจะสามารถเลือกตัดจากใบข้างล่าง และเลือกเฉพาะใบที่เงางามมีความสมบูรณ์ ไม่มีริ้วรอยหรือรอยไหม้จากแดดหรือการฉีกขาดจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช
พื้นที่เพียง 1 ไร่ ในการตัดใบเตยแต่ละครั้ง จะได้ประมาณ 4,000 – 6,000 ใบ ถ้าราคาขาย 100 ใบต่อราคา 10-12 บาท สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับผู้เพาะปลูกได้มาก เนื่องจากเตยหอมสามารถจะตัดใบขายได้ถึง 4 ครั้งในระยะเวลา 1 เดือน
หากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและโรคระบาดนี้ การใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียงก็สามารถทำได้ไม่ยากกับการทำสวนใบเตยหอมจำหน่าย
ในเรื่องของการดูแล การบำรุงรักษาต้นเตยหอม ไม่ยุ่งยาก เพียงเกษตรกรผู้ปลูกจำเป็นต้องเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ มีการปรับพื้นที่ให้โล่ง ไม่ให้มีวัชพืชขึ้นปกคลุมต้น เพราะจะทำให้ต้นเจริญเติบโตช้า ใบไม่สวยและไม่มีคุณภาพ ควรจะใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงต้นและบำรุงใบ เพื่อให้ต้นเตยหอมมีความอุดมสมบูรณ์ มีใบที่สวยงามและใหญ่โตเพื่อให้ได้ราคาดี
เทคนิคการปลูกเตยหอม ให้ได้ใบเตยมีคุณภาพ
ดินต้องร่วนและการระบายน้ำได้ดี แต่เตยหอมสามารถทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี แม้จะท่วมจมถึงเรือนยอด แต่สามารถอยู่ได้เป็นสัปดาห์โดยไม่ตาย (ดูรายละเอียดเรื่อง พืชทนน้ำท่วม เพิ่มเติม)
วิธีการปลูกเตยหอมนั้น เริ่มจากการไถพรวนพื้นที่ที่ทำการปลูก แล้วขุดหลุมให้ลึกขนาด 5×5 ซม. ความลึก 6-7 ซม. ระยะห่างของแต่ละหลุมประมาณ 8-10 ซม.
เมื่อได้ขนาดของหลุมตามที่ต้องการแล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงในหลุม จัดการถมด้วยหน้าดินบางๆ แล้วตามด้วยมูลหมูขนาดหลุมละ 1 ถ้วย เพื่อเป็นการรองก้นหลุมอีกครั้ง
เสร็จแล้วนำต้นเตยหอมที่เตรียมไว้ลงปลูกได้เลย การปลูกก็ไม่ยาก ปักลงในหลุมให้จมโคน กลบดินทับซ้ำอีกครั้งพร้อมรดน้ำให้ชุ่ม
การทำให้ต้นเตยหอม มีใบเตยสวย ได้คุณภาพดีเยี่ยม จำเป็นต้องมีการบำรุงดิน มีการพรวนดินทุก 3-4 เดือน พร้อมใส่ปุ๋ยเพิ่ม วิธีการก็เพียงแค่โรยปุ๋ยในบริเวณรอบโคนต้น
การให้น้ำ ต้นเตยหอมที่มีใบเตยสวยและได้คุณภาพดีนั้น จำเป็นต้องได้น้ำที่เพียงพอ เนื่องจากเป็นพืชทนน้ำท่วมแต่ไม่ทนแล้ง ควรต้องรดน้ำเป็นประจำทุกวันเพื่อให้ดินเกิดความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา
การเก็บใบเตยเพื่อจำหน่าย หากนับหลังจากปลูกต้นไปแล้วประมาณ 6-7 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ และเก็บเกี่ยวไปได้ยาวนาน 4 ครั้งต่อเดือนโดยที่ต้นไม่ตาย แต่จะแตกหน่องอกออกมาเรื่อยๆ ให้ผลผลิตเรื่อยๆ
การเก็บเกี่ยวก็ควรเลือกใบเตยที่สวยและสมบูรณ์ โดยใช้มือริดใบของเตยหอมออกทีละใบโดยการดึงจากด้านบนสู่ด้านล่าง หรือใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดออก ไม่ควรถอนหรือตัดทั้งต้น เมื่อได้ใบเตยตามต้องการแล้ว นำไปล้างน้ำให้สะอาด หรือหากต้องการจะตัดทั้งต้นเพื่อจำหน่ายก็ได้ ราคาใบสดในท้องตลาด 50-80 บาท/มัด (มัดละ 50 ใบ) หรือหากเป็นต้นรวมยอดคิดตามน้ำหนักสุทธิ 500 กรัมจะมีราคาถึง 150 บาท
อ้างอิงราคาใบเตยหอม ในตลาดออนไลน์ ณ วันที่ 30/8/64
ในยุคเศรษฐกิจอย่างนี้ มีทั้งโรคระบาดและวุ่นวายกับสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองที่ไม่ปกติ เราๆ ท่านๆ ที่กำลังอยากมีรายได้เพิ่ม ลองเลือกที่จะปลูกใบเตยขายเพื่อสร้างรายได้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าลองไม่แพ้อาชีพอื่น
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
เรื่องราวน่ารู้ของ มะเขือยาว
มะเขือยาว ผักพื้นบ้านหน้าตาธรรมดานี้ เคยถูกชาวยุโรปรุมป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ถั่วฝักยาวไร้ค้าง การปลูกและการดูแล
ถั่วฝักยาวไร้ค้าง คือถั่วที่ถูกปรับปรุงสายพันธุ์ ให้ไม่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
แนะวิธีการปลูกพริกไทยกับต้นไม้ ให้ได้ลูกดก
การปลูกพริกไทยกับต้นไม้ เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ผล สำหรับเพิ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
อาการของต้นพืชแบบไหนที่แปลว่าขาดสารอาหาร
ถ้าคุณอยากปลูกพืชผัก ผลไม้ หรือพืชพันธุ์ต่างๆ ให้งอกงาม
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
จุลินทรีย์ที่ใช้ทำเกษตรอินทรีย์
จุลินทรีย์ที่ใช้ทำเกษตร ปกติการทำเกษตรอินทรีย์พื้นฐานง่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ไอเดียปลูกผักในขวดพลาสติก ทำง่ายและประหยัด
จากครั้งก่อน เราได้แนะนำ การปลูกผักสวนครัวในกระสอบ กันไ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช