แก่นฝางกับการปลูกขนุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร และน้อยคนนักที่รู้จักแก่นฝาง ซึ่งไม้ชนิดนี้ ถือเป็นต้นไม้ที่มากคุณค่าหลายอย่าง ใช้เป็นยาเย็นทำน้ำฝางดื่มในหน้าร้อน
บำรุงสุขภาพก็ได้ ดีกว่าดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำชาเขียว ถือเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน และสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ที่สำคัญคือ แก่นฝางสามารถใช้เร่งผลผลิตให้ขนุนได้ดีมาก
ฝาง ชื่อสามัญ Sappan หรือ Sappan tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Biancaea sappan (L.) Tod.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE) สรรพคุณของฝางสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ราก ต้น เปลือก ผล ใบ ดอก โดยเฉพาะแก่นหรือลำต้น
ฝาง มีชื่อท้องถิ่นอื่นว่า ขวาง, ฝางแดง, หนามโค้ง (แพร่), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (ภาคกลาง), ง้าย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลำฝาง (ลั้วะ), สะมั่วะ (เมี่ยน), โซปั้ก (จีน), ซูมู่ ซูฟังมู่ (จีนกลาง)
ประโยชน์ที่เห็นได้เด่นชัดของไม้ฝาง
ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการขับหนอง ขับเสมหะ ทำโลหิตให้เย็น แก้โรคหืด แก้ร้อนใน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย กระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ แก้กำเดา มีรสฝาด จึงใช้แก้โรคทางสมานได้ เช่น แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้
แก้โลหิตออกทางทวารหนัก และแก้อาการเลือดออกภายในอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้หรือคนที่ขาดวิตามินเค มักเลือดไหลหยุดช้า คนที่เส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย และคนที่มีเลือดกำเดาออกบ่อย ดื่มน้ำฝางจะค่อยๆ ช่วยให้เลือดหยุดไหลได้
ฝาง นิยมเข้าตัวยากลุ่มบำรุงเลือด ฟอกเลือด หรือในกลุ่มยาสตรี เพราะมีสรรพคุณช่วยให้เลือดดี เช่น ขับโลหิตระดู ใช้ฝางเสนหนัก 4 บาทและแก่นขี้เหล็กหนัก 2 บาท ต้มกินก่อนประจำเดือนมา ช่วยให้ระดูไม่เน่าเสียและมาสม่ำเสมอ แก้พิษโลหิตร้าย เป็นยาขับระดูและบำรุงโลหิต
วิธิทำ ต้มน้ำกับใบเตยให้เดือน นำแก่นฝาง ประมาณ 5-6 ชิ้นลงไปแช่นาน 5 นาที แล้วเอาออก วางให้แห้ง นำมาใช้อีกได้ 3 ครั้ง แล้วทิ้ง
แต่ทั้งหมดนั่นเป็นประโยชน์เกี่ยวกับความเป็นสมุนไพรของแก่นฝาง สำหรับบทความนี้จริง ๆ แล้วจะเน้นไปในเรื่องของประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้กับพืชหรือการทำเกษตรอินทรีย์ได้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่อง “แก่นไม้ฝางเร่งขนุนให้ติดลูก“
คุณลุงไสว ศรียา ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรที่จังหวัดนครนายก สามารถบังคับให้ต้นขนุนติดลูกตรงตำแหน่งที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และได้ผลดี เมื่อเราพูดถึงการบังคับขนุนให้ออกลูกในบริเวณจุดที่ต้องการ ต้องนึกถึงท่านเลยทีเดียว
อ่านถึงตรงนี้ หลายท่านคงจะนึกแปลกในใจว่า ขนุนสามารถกำหนดหรือบังคับจุดที่จะให้ออกลูกได้ด้วยหรือ? ความจริงคือทำได้ และด้วยสรรพคุณของ “ฝาง” ที่ว่านี้ประกอบกับเทคนิคของลุงไสว ความสำเร็จจึงเกิดขึ้น
โดยส่วนที่จะนำมาเร่งขนุนให้ออกลูกนั้นคือ แก่น หรือลำต้นของ ฝาง เป็นแก่นสีแดง ตรงสีที่แดงของแก่นฝางนี้เอง จะมีสารชื่อว่า Haematoxylin เป็นวัตถุไม่มีสีอยู่ประมาณ 10% โดยสารตัวนี้เมื่อสัมผัสกับอากาศ จะกลายเป็นสีแดง และมีแทนนิน เรซิน และน้ำมันระเหยอีกนิดหน่อย
ต้นฝาง
ต้นฝางโดยทั่วไปจะมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะมีแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า “ฝางเสน” อีกชนิดหนึ่งมีแก่นสีเหลือง เรียกว่า “ฝางส้ม” ทั้งสองชนิดสามารถนำมาใช้ทำเป็นยาต้ม หรือยาสกัดใช้รักษาโรค สำหรับสาร Haematoxylin ใช้เป็นสีสำหรับย้อมได้ เทคนิคคือหากใช้แก่นฝางต้มเคี่ยวไปเรื่อยๆ จะได้น้ำสีแดงเข้มคล้ายด่างทับทิม ใช้ย้อมผ้าไหม หรืออื่นๆ ใช้แต่งสีอาหาร ทำยาอุทัย ส่วนแก่นฝางดิบนำมาเหลาเป็นแท่งเล็กๆ สามารถใช้กระตุ้นขนุนให้ออกลูกในจุดที่ต้องการได้โดยตรง
แก่นฝาง เร่งให้ขนุนออกผล
อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีเพียง ฆ้อน มีด และส่วนของ แก่นไม้ฝาง ซึ่งมีสรรพคุณทางยาตามที่ว่ามาข้างต้น ส่วนเทคนิคสำคัญที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ต้นขนุนสามารถติดลูกได้ มีวิธีการทำง่ายมาก
- นำแก่นฝางมาเหลาให้มีขนาดเท่าไม้จิ้มฟัน หรือใหญ่กว่านี้เล็กน้อย เหลาปลายให้แหลม
- เลือกพื้นที่บนต้นขนุน ที่ต้องการให้ติดผล
- ใช้แก่นฝางที่ได้มา ตอกลงไปในต้นขนุนให้ลึกจม เหมือนการตอกตะปู
ตอกให้จม หรือจนกระทั่งไม่สามารถตอกลงไปได้แล้วก็ให้หักส่วนที่เหลือออก ไม่นาน ต้นขนุนจะแทงยอดและติดดอกมาในตำแหน่งเหนือรอยที่ตอกแก่นฝางเอาไว้
คุณลุงไสวเชื่อว่า ในไม้ฝางมีสารอยู่ชนิดหนึ่งที่ช่วยต้นขนุนติดดอกออกผลได้ และเคยทำการทดลอง นำไม้เสียบลูกชิ้น และไม้ชนิดอื่น ๆ มาตอกลงไปในต้นขนุน แต่ไม่ได้ผลกับไม้ชนิดต่างๆ ยกเว้นไม้ฝาง ในส่วนของหลักการทางวิชาการ ยังไม่มีการศึกษาถึงเรื่องนี้เป็นงานวิจัยใดๆ มารองรับ แต่ในทางปฏิบัติแล้วใช้ได้จริงถึง 60-70%
ข้อสันนิษฐานเรื่อง แก่นฝางช่วยเร่งให้ขนุนติดลูกออกผล
วิธีการนี้ น่าจะเป็นการกระตุ้นให้ต้นขนุนติดดอกออกผล โดยทฤษฎีการตัดท่อน้ำเลี้ยงในบางจุด หรือท่ออาหารที่ต้นขนุนนำไปเลี้ยงลำต้น ตรงส่วนที่อยู่เหนือรอยแผลขึ้นไป ทำให้ตาขนุนแตกในจุดนั้น
ฉะนั้นจึงสามารถบังคับให้ต้นขนุนออกดอกได้ตามต้องการ อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า การทำให้ต้นขนุนคิดว่าต้นกำลังจะตาย ก็เลยเร่งปฏิกิริยาสร้างยอดและแตกตาดอกออกมาในจุดนั้นทันที
จากผลการทดลองนั้น คุณลุงไสว ได้ทดลองใช้วิธีการเร่งให้ขนุนติดลูกออกผลนี้มานานแล้ว และได้แนะนำให้กับผู้ที่สนใจเรื่องแก่นฝางเร่งผลขนุน นำไปทดลองปรับใช้ เกษตรกรบางคนใช้การเหลาแก่นฝางใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป ก็อาจทำแล้วไม่ได้ผล แต่ส่วนมากจะได้ผลผลิตดีกันทุกคน
ข้อดีก็คือ การเก็บขนุนไม่ต้องลำบากอีกต่อไปแล้ว เพราะสามารถบังคับให้ขนุนติดลูกในจุดที่ต้องการได้เลย
สำหรับใครที่ต้องการรู้เทคนิคนี้เพิ่มเติม ลองติดต่อไปยังคุณลุงไสว ศรียา ปราชญ์ชาวบ้านที่จังหวัดนครนายกกันได้เลย
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
แนะวิธีการปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ให้ได้ผลดี
มะม่วงหิมพานต์ ชื่อนี้หลายคนคุ้นเคยกันดี เนื่องจากเม็ดน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
รู้จักมะเขือเปราะ สวนครัวสารพัดประโยชน์
มะเขือเปราะ เป็นผักสวนครัวที่อร่อยและทำได้หลากหลายเมนูส
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ปลูกขมิ้นชันสร้างรายได้หลักแสนได้จริงหรือไม่
ขมิ้นชัน ปลูกแล้วรับเงินแสน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรื
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ไม้ผล 50 ชนิด ที่ควรปลูกไว้ติดสวน
สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ในสวนนั้น ควรปลูกอะไรบ้าง เราขอแ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
หัวเชื้อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำใช้เองยังไงให้แดง
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือ Photosynthetic Microorgani
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
การปลูกต้นทีทรีหรือชาออสซี่ เพื่อให้ได้ Tea Tree Oil คุณภาพ
อย่างที่ทราบกันว่า ต้นทีทรี (Tea Tree) เป็นพืชพื้นเมือง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช