ออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ทำอย่างไรถึงคุ้มค่าที่สุด ในยุคปัจจุบัน ยุคนี้อาจต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ปริมาณน้ำ รวมไปถึง อนาคตที่จะมาถึงเป็นหลัก
แต่ไม่ควรเสียพื้นที่เกือบทั้งหมด ไปลงให้กับการกักเก็บน้ำ แม้ว่า น้ำจะจำเป็นสำหรับการทำเกษตรก็ตาม แต่ในยุคปัจจุบัน เราไม่ได้กินแต่ผักหญ้า การเดินตามรอยวิถีพอเพียง ไม่ได้หมายความว่า มีที่แล้ว จะออกมาปลูกผักกินประทังชีวิตไปได้ เพราะต้องคำนึงถึงสภาพในอนาคตด้วย อีกทั้งลูกหลานก็เติบโต ต้องเรียน ต้องมีภาระต่าง ๆ มีการใช้จ่าย การกินแต่ผักไม่ทำให้อยู่รอด
หากสามารถหาแหล่งน้ำได้จากทางอื่น ก็ให้ลดพื้นที่กักเก็บน้ำ ไปทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น ปศุสัตว์ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะหากหวังแต่รายได้จากการปลูกผัก ชั่วชีวิตก็คงลืมตาอ้าปากได้ลำบาก
ดังนั้น การออกแบบพื้นที่เพียง 1 ไร่ จึงจำเป็นต้องวางแผนให้รัดกุมที่สุด โดยเน้นความจำเป็นในการใช้ชีวิต และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะในปัจจุบัน ราคาเนื้อสัตว์ แพงกว่าพืชผักเกือบเท่าตัว และเราจำเป็นต้องกินเนื้อ ไม่ใช่กินผัก ผลไม้ ดังนั้น การทำปศุสัตว์ให้พอเลี้ยงตัวเอง และลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ จึงดีกว่า การปลูกผักผลไม้ เพื่อสร้างรายได้เป็นหลัก
แล้วมีพื้นที่จำกัดเพียง 1 ไร่ จะต้องทำอย่างไรถึงคุ้มค่าที่สุด
การออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ด้วยหลักเกษตรทฤษฎีใหม่
อย่างที่เราทราบ หลักการออกแบบตาม เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นต้น บอกว่าเราควรแบ่งพื้นที่ออกเป็น 30:30:30:10 ซึ่งส่วนที่อยู่อาศัย มีเพียง 10% เท่านั้น
แต่ในปัจจุบัน โครงการ โคกหนองนาโมเดล มีความเข้าใจเรื่อง การขุดหนองไปทำโคก คลาดเคลื่อน หากสรุปในทฤษฎีนี้ จะเป็นการขุดหนองโดยกินพื้นที่ 30% เพื่อเอาดินไปทำโคกเพียง 10% แต่ในความเป็นจริง โคกหนองนาโมเดล มีการขุดหนองโดยรวมถึง 50-60% ซึ่งกินอัตราส่วน 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด
กรณีแบบนี้ อาจไม่ได้ฟันธงว่าถูกหรือผิด แต่คุ้มหรือไม่ กับการเสียพื้นที่เพื่อเก็บน้ำไปถึง 2 ส่วน โดยที่สามารถหาแหล่งน้ำจากที่อื่นได้ เช่น บ่อบาดาล หรือ คลองชลประทาน
ทางผู้เขียนเอง แนะนำให้ปรับอัตราส่วนลง เพื่อความจำเป็น และให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม รวมไปถึง แหล่งน้ำ ที่สามารถหาได้ โดยจำแนกเป็นดังนี้
- ส่วนแรก 15-20% ลดลงจาก 30% ไว้สำหรับ ขุดหนอง เพื่อกักเก็บน้ำ หากมีน้ำจากแหล่งอื่นที่พอหาได้ ก็สามารถลดส่วนนี้ลง น้ำมีความจำเป็นก็จริง หากจะเน้นเพียงเพื่อเอาไว้รดผักผลไม้ ก็จำเป็นในช่วงแรกเท่านั้น เมื่อผักผลไม้อยู่ในระยะเติบโต ก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน เว้นแต่การผลิตเพื่อจำหน่าย แต่การผลิตเพื่อความอยู่รอดและพอเพียง ก็ไม่ต้องใช้น้ำมาก บางพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่แล้ว ส่วนนี้อาจลดเหลือ 5% ก็เพียงพอ และบางแห่ง มุ่งเน้นเพียงแค่ไว้ เลี้ยงปลาเท่านั้น ลองคิดดูว่า หากขุดไปทั้งหมด มีน้ำมาก แต่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ก็เปลืองพื้นที่ไปเปล่า ๆ เว้นแต่จะผลิตเพื่อจำหน่าย
- ส่วนที่สอง 20-30% เป็นการนำพื้นที่ลุ่มทั้งหมด เพื่อผลิตเป็นแหล่งอาหาร เช่น ข้าว และพืชผักสวนครัว ในจำนวนคน 1 คน จะกินข้าวประมาณ 280-300 กก. ต่อปี ย้ำว่า ต่อปี ดังนั้น หากครอบครัวมี 4 คนก็ประมาณ 1,200 กก. ต่อปี ในข้าว 1 ตัน ต่อให้ใช้พื้นที่ทั้งหมด 1 ไร่นี้เอาไปทำนา ก็อาจได้ปริมาณข้าวไม่ถึง 2 ตันต่อปี และ 80% ของชาวนา ไม่ได้ปลูกข้าวกินเอง การทำนาในพื้นที่ตัวเอง ไว้สำหรับบริโภคเองในครัวเรือน พื้นที่เพียง 20% ถือว่าเพียงพอกับความต้องการ แนะนำ ข้าวไร่สามเดือน สายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตเร็ว ปลูกได้ในทุกพื้นที่
- ส่วนที่สาม 30% ในทางทฤษฎี เขาแนะนำให้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ป่า แต่หารู้ไม่ ในพื้นที่ 1 ไร่ การจะปลูกไม้ยืนต้นซัก 1 ต้นนั้น ต้องคิดให้หนัก เพราะไหนจะ เพื่อนบ้าน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงในอนาคต จะต้องเสียพื้นที่มากว่า 5 ตารางเมตร เพียงเพราะมีไม้ป่า 1 ต้น ส่วนนี้ จึงอยากแนะนำให้ปลูก ไม้ใช้ประโยชน์ เช่น ไผ่ ผลไม้ที่ได้ราคา อย่าง ทุเรียน มะพร้าว ไม่แนะนำให้ปลูกไม้ป่าในพื้นที่ขนาดเท่านี้โดยสิ้นเชิง
- ส่วนที่เหลือ 30% ไว้สำหรับอาศัย และมีดินที่มากพอจากการขุดในส่วนที่ 1 และ 2 มาใช้ทำเป็น โคก ไว้ปลูกบ้าน และทำฟาร์มขนาดย่อม โดยเฉพาะพื้นที่ทำฟาร์ม อาจแยกส่วนออกไปให้ไกลจากตัวบ้านได้ (พื้นที่รวม 30% นี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน) อาจแยกออกไปอยู่บริเวณข้างนา หรือริมหนองน้ำ เพื่อทำเป็นฟาร์ม เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่า รายได้จากการทำฟาร์ม ดีกว่ารายได้จากการทำเกษตรพืชผล
ดูรูปแบบ การออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ แบบเดิม ทำเกษตรพอเพียง 1 ไร่ จะเห็นได้ว่า แนวคิด ปลูกทุกอย่างที่กิน เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น ในความเป็นจริง หากเราอยู่ในพื้นที่ลุ่ม เราอยากกินทุเรียน หรือ ขนุน เราไม่สามารถปลูกได้ เพราะเป็นพืชที่น้ำท่วมนิดหน่อยก็ตาย หรือหากจะต้องปลูก ก็ต้องใช้พื้นที่บนโคก ที่น้ำท่วมไม่ถึง
ดังนั้น การจะปลูกอะไรในพื้นที่ ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อม คุณสมบัติของพืชเหล่านั้น ว่าให้ผลผลิตอย่างไร บางคนปลูกมะม่วงเต็มไปหมด พอให้ผลผลิต สุดท้ายก็ต้องทิ้ง เพราะละแวกบ้านก็มีแต่มะม่วง จะเอาไปแจกไปขายใครก็ไม่เอา บางคนเลือกปลูกไม้ป่า เพื่อหวังว่าซักวันจะเอามาใช้ประโยชน์ แต่ที่ไหนได้ กลับต้องเสียเงินเสียทองหนักเข้าไปอีก เพราะใบ กิ่งก้าน ที่ร่วงหล่นลงหลังคาชาวบ้าน ทำให้สังคมเดือดร้อน จนต้องตัดโค่นทิ้ง
การออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ในภาพนี้
เน้นเรื่องการปศุสัตว์ มากกว่าการทำเกษตรพืชผล แต่ก็ยังมีพื้นที่ไว้อาศัย พื้นที่ทำเกษตรพืชผล และที่นาไว้ปลูกข้าวอยู่ แต่สามารถสร้างรายได้มากกว่าการทำเกษตรแบบ ปลูกแต่พืชผักผลไม้อย่างเดียว
สรุปแล้วหากจะ ออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ให้เหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุด ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ แหล่งน้ำแม้จำเป็นที่สุด แต่หากสามารถหาแหล่งน้ำจากภายนอกได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียพื้นที่เพื่อขุดหนอง ขุดสระ โดยเปล่าประโยชน์ เว้นแต่อยากขุดเอาไว้เลี้ยงสัตว์น้ำ ดูได้จาก การขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่น้อย เพื่อให้คุ้มค่าที่สุดในการใช้พื้นที่เพียง 1 ไร่
ขอเน้นย้ำอีกครั้ง หากมีพื้นที่เพียง 1 ไร่ แล้วมีจุดประสงค์เพื่อความพอเพียง สามารถออกแบบได้ตามความเหมาะสม แต่ให้เน้นเรื่อง ปศุสัตว์เป็นหลัก อย่าไปเน้นเรื่องพืชผลเป็นหลัก เพราะพืชผลสร้างรายได้ต่ำกว่า และใช้เวลาในการให้ผลผลิตนานกว่า อีกทั้งความจำเป็นก็น้อยกว่า การเลือกเอาพื้นที่ไปเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ซัก 1 งาน ดีกว่าเอาไปพื้นที่ไปปลูกมะนาว หรือมะม่วง หรือไม้ยืนต้นเพื่อต้องการเนื้อไม้
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เกษตรในพื้นที่น้อย
เพาะเมล็ดมะกรูด เพื่อปลูกลงในกระถาง
เพาะเมล็ดมะกรูด บอกตามตรง ผมกำลังหลงไหลการ เพาะเมล็ดพืช
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เลี้ยงไส้เดือนอย่างไร เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
สมัยก่อนมีขายกันไม่มาก เพราะเป็นช่วงที่คนยังไม่รู้จัก แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
การตอนมะละกอ เทคนิค วิธีการ
ว่าด้วยเรื่อง การตอนมะละกอ เพราะสมาชิกหลายคน เข้ามาบ่นถ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการเลี้ยงสัตว์
ปลาหมอไทย เลี้ยงอย่างไรให้รวย
หน้าฝนมา ปลาหมอไทย ก็แหวกว่าย ก่อนนี้เคยได้ดูรายการ The
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ปลูกขมิ้นชันสร้างรายได้หลักแสนได้จริงหรือไม่
ขมิ้นชัน ปลูกแล้วรับเงินแสน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรื
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
รู้จัก ต้นมะยมเงินมะยมทอง ไม้โขดแห่งความมงคล
มะยมเงินมะยมทอง เสริมโชคลาภ ช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจเหมือนจะ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช