ข้าวไร่สามเดือน สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็วในเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้น มีทั้งหมดถึง 5 สายพันธุ์
โดยกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ 5 สายพันธุ์ด้วยกันคือ
ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 18, ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 53, ข้าวพันธุ์ กข 55, ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 57 และ ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ที่จะมาพูดถึงนี้ เพราะใน 4 สายพันธุ์แรกนั้น เป็นข้าวที่มีคุณสมบัติ ต้านทานโรคและแมลง ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ปลูกข้าวใน 4 ภาค
โดยคุณสมบัติเด่นที่เหมาะจะนำไปปลูกในภาคต่าง ๆ ดังนี้
- ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 18 สามารถต้านทานโรคไหม้ในพื้นที่ภาคอีสานได้
- ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 53 ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้งในภาคใต้ได้ ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ชัยสาท 1 ถึง 15%
- ข้าวพันธุ์ กข 55 เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงกว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ถึง 22% เหมาะกับพื้นที่สูงแบบนาขั้นบันไดในภาคเหนือตอนล่าง
- ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 57 เป็นพันธุ์ต้านทานแมลงบั่วในเขตพื้นที่ภาคเหนือนตอนบน
และในขณะที่ สายพันธุ์ข้าวอันดับที่ 5 ที่เราจะมาพูดกันนั้น ก็คือ ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน เพราะถือว่า มาแปลก กว่าพวก เพราะเป็น พันธุ์ข้าวพื้นเมือง ประเภทที่ปลูกได้ ทุกพื้นที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมาะแก่การเป็น พืชแซมสวน ทั้งสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว และไม้ผลทั่วไป เนื่องจากสามารถทนแล้งได้ดี และปลูกได้ตลอดปี แถมให้ผลผลิตที่ดีมาก
จากข้อมูลของไทยรัฐออนไลน์ ได้ระบุว่า กรมการข้าวรับรองพันธุ์ข้าวดี 4 ภาค รอบสุดท้ายประจำปีงบประมาณ 2556 นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว เปิดแถลงข่าวว่า คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว ได้มีมติรับรองพันธุ์ข้าวใหม่แค่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย …
- ข้าวเหนียว กข 18 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างแม่พันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 กับพ่อพันธุ์ข้าวหอมนิล เมื่อนำไปทดลองปลูกตั้งแต่ปี 2548 บริเวณพื้นที่ปลูกภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีผลผลิตเฉลี่ย 609 กก.ต่อไร่ เมื่อนำมาหุงมีลักษณะดีนำสัมผัสนุ่ม และมีกลิ่นหอม
- ข้าวเจ้า กข 53 ที่เกิดจากการผสมแบบ 3 ทาง ระหว่าง กข 23 กับพันธุ์เล็บนกปัตตานี และเมื่อได้สายพันธุ์ใหม่แล้ว นำมาผสมกับข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เมื่อปี 2543 และเมื่อนำไปทดลองปลูกด้วยวิธีปักดำในพื้นที่ภาคใต้ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 513 กก.ต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ประมาณ 15% แต่ถ้าปลูกด้วยวิธีหว่านนาน้ำตมจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 712 กก.ต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ประมาณ 13% เป็นพันธุ์ที่ทนต่อโรคใบไหม้และโรคขอบใบแห้ง เหมาะสำหรับบริโภคในท้องถิ่นภาคใต้ และปลูกในเขตนาชลประทานพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทะเลสาบสงขลา”
- ข้าวเจ้า กข 55 เกิดจากการผสม 3 ทาง ระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของ กข 21 และ IR 68 ก่อนจะนำไปผสมกับสายพันธุ์ PSL 86022-7-2-2-1-2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จนได้สายพันธุ์ PSL 95120-28-5-R-R เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง แต่อายุเบา เก็บเกี่ยวได้เร็วในช่วงเดือนพฤศจิกายน เมื่อนำในทดลองปลูกในช่วงฤดูนาปี 2538-2539 พบว่ามีลักษณะเด่นให้ผลผลิตสูง 624 กก.ต่อไร่ สามารถต้านทานแมลงบั่วและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ในบางพื้นที่ เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างแถบพิษณุโลก
- ข้าวเจ้าลูกผสมพันธุ์ กขผ 3 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อแสง เกิดจากการผสมระบบพร้อมกัน 3 สายพันธุ์ จากพันธุ์ IR79156A+สายพันธุ์ IR79156B+สายพันธุ์ JN 29-PTT 11-1-B12-5-5-1R หลังนำไปทดลองปลูกศึกษาสมรรถนะการผสมและความเด่นของลูกผสมภายในสถานีวิจัยข้าวปทุมธานี ในฤดูนาปี 2549 และนาปรัง 2550 ให้ผลผลิตสูงถึง 1,415 กก.ต่อไร่ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาเขตชลประทานภาคกลาง แต่มีข้อด้อยในเรื่องไม่ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้ง
ข้าวไร่สามเดือน จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า 4 สายพันธุ์แรก ของชาวสวนชาวไร่ตั้งแต่ สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน ในการช่วยลดต้นทุนค่าคลองชีพ
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยข้าวทั่วประเทศ พบว่าในขณะนี้มีพื้นที่ปลูกข้าวไร่รวมกว่า 6.68 แสนไร่เท่านั้น โดยกระจายไปอยู่ในภาคเหนือกว่า 4 แสนไร่ ภาคตะวันตก 2 แสนกว่าไร่ ภาคตะวันออก 4 หมื่นไร่
ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 หมื่นไร่ และภาคใต้มีไม่ถึง 4 หมื่นไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวไร่นั้นจะมีแนวโน้มลดลงอย่างมากในทุก ๆ ปีเนื่องจาเกษตรกรเปลี่ยนไปทำการเกษตรในรูปแบบอื่น หรือเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น
โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคใต้ที่มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบและเนินเขา เกษตรกรจึงนิยมปลูกยางพารา สลับกับปาล์มน้ำมัน กาแฟ และผลไม้อื่น ๆ ตามฤดูกาล ทำให้พื้นที่ลุ่มสำหรับทำนาข้าวนั้นมีปริมาณน้อย และจำกัด ส่งผลให้แหล่งทำนาข้าวที่เคยเป็นอาหารหลักไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชากรในเขตพื้นที่ภาคใต้ และต้องนำข้าวจากภูมิภาคอื่น ๆ เข้ามา เมื่อคำนวณต้นทุนค่าขนส่งข้าวสารแล้วจะสังเกตุว่า ราคาข้าวในพื้นที่ภาคใต้จะสูงมาก
ตัวเลขนี้สอดคลองกับข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางด้านอาหารและโภชนาการของไทยเมื่อปี 48-54 โดยสำนักสถิติแห่งชาติ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ระบุว่าในปี 54 นั้น ครัวเรือนในภาคใต้จะบริโภคอาหารที่ผลิตเอง หรือได้รับฟรีเพียงร้อยละ 6.9 เท่านั้น ที่เหลือเป็นการซื้อมาบริโภคทั้งสิ้น
ในเมื่อชีวิตมีรายได้หลักจากสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมันเพียงอย่างเดียว เพื่อนำรายได้จากน้ำยาง จากผลปาล์มมาซื้อข้าวกิน พอราคายางพารา หรือราคาปาล์มน้ำมันลดลงหรือตกต่ำ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่โดยตรง ดังนั้น ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ซึ่งเป็นข้าวแซมสวน จึงเป็นคำตอบสุดท้ายในการเพิ่มรายได้และความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือน
การปลูกข้าวแซมสวนพันธุ์สามเดือน แม้จะไม่ได้ทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยางพารา หรือชาวสวนปาล์มน้ำมันร่ำรวยขึ้นมาได้ แต่อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่า มีความมั่นคงทางอาหารในระดับหนึ่ง และที่สำคัญนั้น ยังช่วยลดรายจ่ายทำให้รายได้ในกระเป๋าเพิ่มขึ้นด้วย
ข้าวไร่สามเดือน เน้นกินเอง
เพราะในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และเนินเขา เกษตรกรหันใช้พื้นที่ในการปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวในภาคใต้ลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวไร่เดิมในพื้นที่ภาคใต้ เกษตรกรปลูกราว 38,370 ไร่ มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เดิมทีมีการปลูกข้าวราว 1 หมื่นไร่ แต่ปัจจุบันไม่มีการทำนามานานกว่า 20 ปีแล้ว ในขณะที่ปัจจุบันราคาข้าวสารแพงขึ้นเรื่อย ๆ
ด้วยเหตุนี้ กรมการข้าวจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคใต้ที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน หันมาปลูกข้าวไร่แซมช่วงก่อนต้นยางและปาล์มน้ำมันอายุไม่เกิน 3 ปี ภายใต้โครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาวนาภาคใต้ เน้นการบริโภคในครัวเรือนในยุคที่ข้าวสารแพง
ข้าวไร่พันธุ์ 3 เดือน ทดลองปลูกแล้วทำได้จริง
และนำร่องแล้วที่แปลงทดลองของ นางจินดา ช่อวิชิต ต.นาเมือง อ.เกาะสมุย ในพื้นที่ราว 10 ไร่ เน้นปลูกข้าว 4 สายพันธุ์ คือข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว พันธุ์ช่อไม้ไผ่ พันธุ์ข้าวดอกพะยอม และ พันธุ์ข้าวไร่ 3 เดือน โดยใช้วิธีโบราณ คือหยอดหลุม ที่คนปักษ์ใต้เรียกว่า น่ำข้าว
นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูกข้าวไร่ที่ใช้ประโยชน์ทางการค้าและความมั่นคงทางอาหารทั้งหมด 668,486 ไร่ สำหรับภาคใต้เหลือเพียง 38,370 ไร่ และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ
จากการที่เกษตรกรหันไปปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ และสวนไม้ผล ส่งผลให้ข้าว ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักมีไม่เพียงพอต่อการบริโภค จะต้องซื้อข้าวเพื่อบริโภคจากภาคกลางหรือภาคอื่น ๆ ในราคาสูง ทางกรมการข้าวมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวไร่เพิ่มขึ้น ผ่านการปลูกข้าวไร่แซมในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน โดยกรมการข้าวได้เลือกพื้นที่นำร่องที่ อ.เกาะสมุย ในพื้นที่ 10 ไร่
ในการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ของเรานั้น เพื่อเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิต และการทำนาแบบหยอดหลุมที่เรียกว่าการน่ำข้าวของชาวเกาะสมุย เน้นให้ปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ข้าวดอกพะยอม ข้าวช่อไม่ไผ่ และข้าวพันธุ์ 3 เดือน ต่อไปจะเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเกาะสมุยในอนาคต และจะขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดต่อไป
อธิบดีกรมการข้าว กล่าวอีกว่าสำหรับโครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาวนาภาคใต้ กรมการข้าวร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เพื่อฟื้นคืนวิถีชีวิตปลูกข้าวไร่บนเกาะสมุย เพื่อให้ได้ผลผลิตเพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือนตลอดทั้งปี
รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวมาบริโภค อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวของชาวเกาะ และโครงการนี้จะเป็นการส่งสัญญาณไปยังเกษตรกร 14 จังหวัดภาคใต้ ให้หันมาปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภค โดยสามารถทำเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมได้ คาดว่าสามารถปลูกต่อเนื่องได้ถึง 3 ปี ระหว่างรอยางพาราและปาล์มน้ำมันเติบโต หรือปลูกไว้บริโภคในระดับครัวเรือนก็ยังได้
ด้านนายกัมปนาท กลิ่นเสาวคนธ์ ปลัดอาวุโสอำเภอเกาะสมุย กล่าวว่า บนเกาะสมุยกว่า 20 ปีแล้วที่ไม่มีใครปลูกข้าว 100% จากเดิมที่เคยปลูกข้าวราว 1 หมื่นไร่ ทำให้สถานการณ์ข้าวไม่พอในการบริโภคของภาคใต้นับเป็นเรื่องที่น่ากังวล ดังนั้นการฟื้นฟูนาไร่แซมยางพาราครั้งนี้มีความน่าสนใจ แต่เห็นว่าควรทำเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพราะหากทำนาเพียงอย่างเดียวอาจดึงความสนใจได้น้อย เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตที่ห่างหายไปเป็นเวลานาน
ผศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา หัวหน้าโครงการวิจัยข้าวไร่ คณะพืชสวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร ระบุว่า ที่วิจัยข้าวไร่นั้น จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรภาคใต้ในสถานการณ์ที่แนวโน้มการปลูกข้าวลดลง และข้าวไม่พอบริโภคในจังหวัด เนื่องจากเกาะสมุยมีสภาพพื้นที่เป็นดอนไหล่เขา เหมาะสมกับการปลูกข้าวไร่ ที่ไม่ต้องมีน้ำขังเหมือนนาข้าวทั่วไป อาศัยเพียงน้ำค้าง น้ำฝน และความชื้นในดินก็สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้
ข้าวไร่มีราคาดี ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตร จะเห็นได้ว่าปัจจุบันราคาข้าวไร่จาก อ.ปะทิว จ.ชุมพร ที่ปลูกนำร่องได้ผลสำเร็จสามารถขายได้ตันละ 5.4 หมื่นบาท หากเกษตรกรลองทำจะรู้ว่าสามารถทำเงินต่อไร่ได้ดีกว่าปลูกยางพารา หรือปาล์มเสียอีก
นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่กรมการข้าวพยายามสร้างความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ภาคใต้ และจะสามารถให้เกษตรที่สนใจลดค่าใช้จ่ายด้วยการปลูกไว้บริโภคเองอีกด้วย
มีพื้นที่ปลูกข้าว ก็ไม่อดตาย
จากในทฤษฎีเกษตรพอเพียง จะเห็นว่า ไม่ว่าจะปูกอะไรหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดไหน หนึ่งในพืชที่จะต้องมีทุกบ้านคือ ข้าว เพราะในหลักการคือ ปลูกเพื่อกิน เหลือจึงขาย ทำให้ไม่อดตาย
แถม ข้าวไทย ยังมีความมหัศจรรย์ของสายพันธุ์ คือมีสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับทุกสภาพแวดล้อมในทุกพื้นที่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะแห้งแล้ง น้ำท่วม บนที่สูง ที่ราบ ฯลฯ ก็สามารถปลูกข้าวได้ ถ้าเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพพื้นที่
แค่นี้ก็ไม่อดตายแล้ว
เนื้อหา : เกษตรปลอดสารพิษ www.kasetorganics.org / กรมการค้าข้าว www.ricethailand.go.th / ไทยรัฐออนไลน์ http://www.thairath.co.th
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
สายพันธุ์ข้าวไทย
ข้าวไร่สามเดือน พันธุ์ทนแล้ง ให้ผลผลิตเร็ว
ข้าวไร่สามเดือน สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็วในเวลาแค่ 3 เด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
การปลูกพืชแบบขั้นบันได
การปลูกพืชแบบขั้นบันได terrace cultivation กับประโยชน์ท
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ผลไม้อะไรคือผัก แยกความต่างอย่างชัดเจน
เชื่อเหลือเกินว่า หลายคนยังคงสับสน เวลาได้ยินคนเรียกผลไ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการเลี้ยงสัตว์
แนะวิธีแก้ปัญหางูเข้าบ้านควรทำอย่างไร
ปัญหางูเข้าบ้านที่มักกวนใจกับผู้ที่มีลูกเด็กเล็กแดงหรือ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
อยากทําเกษตร ควรเริ่มต้นอย่างไร
เคล็ดลับในการทำเกษตร ให้ประสบความสำเร็จสำหรับมือใหม่ อย
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ยุคนี้ ปลูกผักสวนครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำอย่างไร
การปลูกผักกินเองตามมีตามเกิด กับการปลูกผักสวนครัวรั้วกิ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช