เกษตรทฤษฎีใหม่ หลักการทำอย่างไรถึงได้ผลจริง

เกษตรทฤษฎีใหม่ กับตัวอย่างการทำ ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อการแก้ปัญหาดินและน้ำสำหรับการเกษตรกรรม และด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 จึงได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหา ให้สามารถรอดผ่านพ้นช่วงวิกฤตินั้นได้

โดยพระราชดำริ ดังกล่างนี้ ทรงเรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” ให้นำไปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำในพื้นที่ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เกษตรทฤษฎีใหม่ หลักการทำมี 3 ระดับ

ตามแบบพ่อหลวง ร.9 มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ คือ

 

การเพาะกล้าพริกขี้หนู สร้างรายได้

โดยหัวใจหลักจะอยู่ที ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการกับทรัพยากรดินและน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งมีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับใช้ได้ไม่จำกัด อีกทั้งในลำดับขั้นนี้ ยังสามารถแตกย่อยไปอีกหลายระบบ ซึ่งระบบที่รู้จักกันดีคือ ทฤษฎีความพอเพียง, การผสมผสานของระบบเกษตรหลายแนวทาง (เกษตรผสมผสาน)

สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำอย่างไรถึงได้ผล

เกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเพื่อพออยู่พอกิน และพอเพียง

จัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน

เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นต้น การทำตามแนวทางพ่อหลวง

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้นทำอย่างไร? มีหลักการง่าย ๆ นิดเดียวคือ การแบ่งพื้นที่ทํากินตามหลัก เป็นเทคนิคในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดความลงตัว และสามารถนำทรัพยากรเหล่านั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการจัดสรรทรัพยากรดินและน้ำในพื้นที่การทำเกษตร

เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้น คือหัวใจหลัก

ต้องสามารถจัดสรรทรัพยากรดินและน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด
ให้เกิดความลงตัวและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้น กับการแบ่งพื้นที่ทํากิน 4 ส่วน

จัดสรรพื้นที่ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ น้ำ ข้าว พืชผักผลไม้ และที่อยู่อาศัย ตามสัดส่วนที่เหมาะสม และยืดหยุ่นได้ คือ…

สูตร 30:30:30:10
เกษตรทฤษฎีใหม่
  • 30% ส่วนแรก ให้ขุดสระน้ำ เพราะการทำเกษตรจำเป็นต้องใช้น้ำ และสามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำที่ต้องการเพื่อเป็นอาหารปลาหรืออาหารในครัวเรือนได้ด้วย : เรียนรู้เรื่องการจัดการน้ำอย่างชาญฉลาดด้วยการทำโคกหนองนาโมเดล
  • 30% ส่วนที่สอง พื้นที่ทำนา เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลัก จะทำให้ลดรายจ่ายค่าอาหารได้
  • 30% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวนเช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร ปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก
  • 10% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่แบบพอเพียง

ทั้งนี้ สัดส่วนต่าง ๆ สามารถยืดหยุ่นและปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในพื้นที่ฝนตกชุก ก็สามารถลดขนาดของสระน้ำได้ หรืออยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง อาจเพิ่มพื้นที่สระ ลดพื้นที่นาข้าวและเพิ่มพื้นที่สวนผลไม้แทน

ทั้งนี้ การปรับเพิ่ม/ลดพื้นที่ในบางส่วน ต้องอาศัยหลักเหตุผลที่จำเป็นโดยไม่ทำให้ความเป็นอยู่ต้องลำบากเพิ่มขึ้นด้วย

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

ผลสำเร็จที่ได้จากการพัฒนาทฤษฎีใหม่ขั้นต้น รวมไปถึง ประโยชน์ของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ นั่นก็คือ เกษตรกรจะมีความเป็นอยู่ที่พอกิน และสามารถอยู่รอดได้ในทุกสภาพโดยไม่เป็นหนี้เพิ่ม

เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นสอง การทำแบบก้าวหน้า

ถือเป็นการพัฒนาระบบและต่อยอดมาจากทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ซึ่งการจะผ่านมาถึงขั้นนี้ได้ จะต้องมีความเป็นอยู่ที่พอกินและอยู่รอดได้แล้ว และเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ ซึ่งหัวใจหลักของทฤษฎีใหม่ขั้นสองนี่คือ

หัวใจหลักของขั้นสอง หรือขั้นก้าวหน้า

คือ พลังชุมชน โดยแนะนำให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปแบบของ กลุ่ม ชุมชน หรือ สหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการใน 6 ด้าน

สร้างชุมชนเข้มแข็งตามทฤษฎีใหม่ขั้นสอง

ร่วมสร้าง รวมพลัง พัฒนา เพื่อชุมชนเข็มแข็ง

รวมพลังชุมชน สร้างความเข้มแข็งตามแบบทฤษฎีก้าวหน้า 6 ด้าน

  1. ด้านการผลิต ซึ่งเกษตรกรต้องร่วมมือกันผลิต เริ่มตั้งแต่เตรียมดิน หาพันธุ์พืช ปุ๋ย บริหารจัดการน้ำ และอื่น ๆ เพื่อทำการเพาะปลูกพืชเกษตรให้ได้ผลดี
  2. ด้านการตลาด เมื่อมีผลผลิต ต้องเตรียมการขายให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูป จัดหาตลาด ตลอดจนการรวมตัวกันเพื่อให้ได้สินค้าในจำนวนมากพอเพื่อให้ได้เปรียบในการต่อรองราคาสินค้า รวมไปถึงการลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ลงด้วย
  3. ด้านความเป็นอยู่ เกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ เช่น มีอาหารเพียงพอในที่ทำกิน มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและมีความพอเพียง มีรายได้เพิ่มเติมจากการจำหน่ายสินค้าที่ตนผลิตขึ้น มีอาชีพมั่นคง
  4. ด้านสวัสดิการ โดยในแต่ละชุมชนจะต้องมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น อนามัย โรงพยาบาลชุมชน กองทุนกู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
  5. ด้านการศึกษา ชุมชนต้องมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เยาวชนในชุมชนของตัวเองต้องมีโอกาสได้เรียนหนังสือ มีกองทุนเพื่อการศึกษา และสร้างอาชีพ
  6. ด้านสังคมและศาสนา ชุมชนต้องร่วมกันพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
ชุมชนเข้มแข็ง

ซึ่งทุก ๆ กิจกรรม จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้น ๆ เป็นสำคัญ โดยจุดประสงค์สำคัญคือการพัฒนาความรู้และต่อยอดจนดำเนินการได้สำเร็จนั่นเอง

ตัวอย่างการพัฒนาทฤษฎีใหม่ขั้นสอง

สินค้า OTOP, โครงการชุมชนเข้มแข็ง, กองทุนหมู่บ้าน, สหกรณ์ชุมชน ฯลฯ.

สินค้า OTOP จากการพัฒนาทฤษฎีใหม่ขั้นสอง

ผลสำเร็จที่ได้รับจากการทำตามทฤษฎีใหม่แบบก้าวหน้า หรือขั้นสอง ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ดียิ่งขึ้น สร้างอาชีพ สร้างรายได้ จากผลิตภัณฑ์โดยภูมิปัญญาชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในหลายด้าน

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

การขยายพันธุ์พืช

เพาะเมล็ดองุ่นไว้ปลูกในกระถางหน้าบ้าน ทำอย่างไรถึงได้ผล

ปลูกองุ่นในกระถาง ให้ได้ผล เพราะฝนกำลังจะไปแล้ว ถึงคราว

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

โค้ดส่วนลด Shopee ล่าสุด

เก็บโค้ดส่งฟรี เดือนเมษายน 66

รีบเลยก่อนหมด ถึงสิ้นเดือน เมษายน 2566 นี้เท่านั้น เก็บ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

การเลี้ยงสัตว์

เลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน ทำอย่างไรให้ได้ผลดี

แนะ เลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน ถ้าอยากมีรายได้เสริม 3 เดือนเห

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

ปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย

มะละกอฮอลแลนด์ การปลูกแบบพอเพียง

มะละกอฮอลแลนด์ ก่อนที่จะเริ่มต้นการปลูก เกษตรกรต้องทราบ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกขมิ้นชันสร้างรายได้หลักแสนได้จริงหรือไม่

ขมิ้นชัน ปลูกแล้วรับเงินแสน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรื

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

รู้จักมะเขือเปราะ สวนครัวสารพัดประโยชน์

มะเขือเปราะ เป็นผักสวนครัวที่อร่อยและทำได้หลากหลายเมนูส

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นสาม ตามรอยพระราชดำริ

ขั้นต้นและขั้นสอง ยังอยู่ในระดับชุมชน แต่หากมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อความก้าวหน้ามากขึ้น จำเป็นต้องเรียนรู้แนวทางทฤษฎีใหม่ขั้นสาม ซึ่งเป็นระดับสูงขึ้นไปอีก ดังนั้นเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร จะต้องดำเนินการดังนี้

จำเป็นต้องติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งทุน  เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน หรือหน่วยงานที่สามารถเป็นผู้ช่วยเหลือด้านการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยทั้งนี้ ฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายองค์กร จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน คือ

  • เกษตรกรจำหน่ายสินค้าได้ในราคาสูง ตลอดจนสามารถส่งออกสินค้าไปจำหน่ายได้ยังตลาดต่างชาติโดยไม่ถูกกดราคา
  • หน่วยงาน ห้างร้าน หรือองค์กร สามารถรับซื้อสินค้าได้โดยตรงกับเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
  • เกษตรกร สามารถซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ได้ในราคาทุน เนื่องจากมีสหกรณ์เป็นตัวกลางช่วยในการจัดหา
  • การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ในชุมชน จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยดำเนินการ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องทิศทางตลาด หรือแนวโน้มที่อาจทำให้เกิดความสูญเสีย
ทฤษฎีใหม่ขั้้นสาม ส่งออกสินค้าคุณภาพ

จะเห็นได้ว่า จากความต้องการเพื่ออยู่รอด ในพื้นที่ทำกินที่จำกัด จนกลายเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศมากมาย เกิดขึ้นได้ไม่ยาก แต่ปัจจัยที่ทำให้หลายคนไปไม่ถึงทฤษฎีในขั้นสองและขั้นสาม คือเวลาและความอดทน อีกทั้งยังขาดตัวแปรสำคัญคือ องค์ความรู้และผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่เป็นอุปสรรคกั้นขวาง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ

ถึงกระนั้น หากใครหลายคนที่กำลังเดินอยู่ในช่วงขั้นกลาง ๆ หรืออยู่ในจุดที่สามแล้ว อย่าลืมคิดถึงจุดประสงค์หลักตามที่ทฤษฎีใหม่ได้ว่าเอาไว้

เพราะนั่น คือคำพ่อสอน ให้เรา…ได้อยู่รอด..

pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา