ข้าวไร่สามเดือน พันธุ์ทนแล้ง ให้ผลผลิตเร็ว

ข้าวไร่สามเดือน สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็วในเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้น มีทั้งหมดถึง 5 สายพันธุ์

โดยกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ 5 สายพันธุ์ด้วยกันคือ

ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 18, ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 53, ข้าวพันธุ์ กข 55, ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 57 และ ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ที่จะมาพูดถึงนี้ เพราะใน 4 สายพันธุ์แรกนั้น เป็นข้าวที่มีคุณสมบัติ ต้านทานโรคและแมลง ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ปลูกข้าวใน 4 ภาค

โดยคุณสมบัติเด่นที่เหมาะจะนำไปปลูกในภาคต่าง ๆ ดังนี้

  • ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 18 สามารถต้านทานโรคไหม้ในพื้นที่ภาคอีสานได้
  • ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 53 ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้งในภาคใต้ได้ ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ชัยสาท 1 ถึง 15%
  • ข้าวพันธุ์ กข 55 เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงกว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ถึง 22% เหมาะกับพื้นที่สูงแบบนาขั้นบันไดในภาคเหนือตอนล่าง
  • ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 57 เป็นพันธุ์ต้านทานแมลงบั่วในเขตพื้นที่ภาคเหนือนตอนบน

และในขณะที่ สายพันธุ์ข้าวอันดับที่ 5 ที่เราจะมาพูดกันนั้น ก็คือ ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน เพราะถือว่า มาแปลก กว่าพวก เพราะเป็น พันธุ์ข้าวพื้นเมือง ประเภทที่ปลูกได้ ทุกพื้นที่

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมาะแก่การเป็น พืชแซมสวน ทั้งสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว และไม้ผลทั่วไป เนื่องจากสามารถทนแล้งได้ดี และปลูกได้ตลอดปี แถมให้ผลผลิตที่ดีมาก

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน

จากข้อมูลของไทยรัฐออนไลน์ ได้ระบุว่า กรมการข้าวรับรองพันธุ์ข้าวดี 4 ภาค รอบสุดท้ายประจำปีงบประมาณ 2556 นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว เปิดแถลงข่าวว่า คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว ได้มีมติรับรองพันธุ์ข้าวใหม่แค่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย …

  1. ข้าวเหนียว กข 18 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างแม่พันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 กับพ่อพันธุ์ข้าวหอมนิล เมื่อนำไปทดลองปลูกตั้งแต่ปี 2548 บริเวณพื้นที่ปลูกภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีผลผลิตเฉลี่ย 609 กก.ต่อไร่ เมื่อนำมาหุงมีลักษณะดีนำสัมผัสนุ่ม และมีกลิ่นหอม
  2. ข้าวเจ้า กข 53 ที่เกิดจากการผสมแบบ 3 ทาง ระหว่าง กข 23 กับพันธุ์เล็บนกปัตตานี และเมื่อได้สายพันธุ์ใหม่แล้ว นำมาผสมกับข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เมื่อปี 2543 และเมื่อนำไปทดลองปลูกด้วยวิธีปักดำในพื้นที่ภาคใต้ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 513 กก.ต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ประมาณ 15% แต่ถ้าปลูกด้วยวิธีหว่านนาน้ำตมจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 712 กก.ต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ประมาณ 13% เป็นพันธุ์ที่ทนต่อโรคใบไหม้และโรคขอบใบแห้ง เหมาะสำหรับบริโภคในท้องถิ่นภาคใต้ และปลูกในเขตนาชลประทานพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทะเลสาบสงขลา”
  3. ข้าวเจ้า กข 55 เกิดจากการผสม 3 ทาง ระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของ กข 21 และ IR 68 ก่อนจะนำไปผสมกับสายพันธุ์ PSL 86022-7-2-2-1-2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จนได้สายพันธุ์ PSL 95120-28-5-R-R เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง แต่อายุเบา เก็บเกี่ยวได้เร็วในช่วงเดือนพฤศจิกายน เมื่อนำในทดลองปลูกในช่วงฤดูนาปี 2538-2539 พบว่ามีลักษณะเด่นให้ผลผลิตสูง 624 กก.ต่อไร่ สามารถต้านทานแมลงบั่วและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ในบางพื้นที่ เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างแถบพิษณุโลก
  4. ข้าวเจ้าลูกผสมพันธุ์ กขผ 3 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อแสง เกิดจากการผสมระบบพร้อมกัน 3 สายพันธุ์ จากพันธุ์ IR79156A+สายพันธุ์ IR79156B+สายพันธุ์ JN 29-PTT 11-1-B12-5-5-1R หลังนำไปทดลองปลูกศึกษาสมรรถนะการผสมและความเด่นของลูกผสมภายในสถานีวิจัยข้าวปทุมธานี ในฤดูนาปี 2549 และนาปรัง 2550 ให้ผลผลิตสูงถึง 1,415 กก.ต่อไร่ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาเขตชลประทานภาคกลาง แต่มีข้อด้อยในเรื่องไม่ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้ง
ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน

ข้าวไร่สามเดือน จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า 4 สายพันธุ์แรก ของชาวสวนชาวไร่ตั้งแต่ สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน ในการช่วยลดต้นทุนค่าคลองชีพ

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยข้าวทั่วประเทศ พบว่าในขณะนี้มีพื้นที่ปลูกข้าวไร่รวมกว่า 6.68 แสนไร่เท่านั้น โดยกระจายไปอยู่ในภาคเหนือกว่า 4 แสนไร่ ภาคตะวันตก 2 แสนกว่าไร่ ภาคตะวันออก 4 หมื่นไร่

ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 หมื่นไร่ และภาคใต้มีไม่ถึง 4 หมื่นไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวไร่นั้นจะมีแนวโน้มลดลงอย่างมากในทุก ๆ ปีเนื่องจาเกษตรกรเปลี่ยนไปทำการเกษตรในรูปแบบอื่น หรือเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น

โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคใต้ที่มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบและเนินเขา เกษตรกรจึงนิยมปลูกยางพารา สลับกับปาล์มน้ำมัน กาแฟ และผลไม้อื่น ๆ ตามฤดูกาล ทำให้พื้นที่ลุ่มสำหรับทำนาข้าวนั้นมีปริมาณน้อย และจำกัด ส่งผลให้แหล่งทำนาข้าวที่เคยเป็นอาหารหลักไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชากรในเขตพื้นที่ภาคใต้ และต้องนำข้าวจากภูมิภาคอื่น ๆ เข้ามา เมื่อคำนวณต้นทุนค่าขนส่งข้าวสารแล้วจะสังเกตุว่า ราคาข้าวในพื้นที่ภาคใต้จะสูงมาก

ตัวเลขนี้สอดคลองกับข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางด้านอาหารและโภชนาการของไทยเมื่อปี 48-54 โดยสำนักสถิติแห่งชาติ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ระบุว่าในปี 54 นั้น ครัวเรือนในภาคใต้จะบริโภคอาหารที่ผลิตเอง หรือได้รับฟรีเพียงร้อยละ 6.9 เท่านั้น ที่เหลือเป็นการซื้อมาบริโภคทั้งสิ้น

ในเมื่อชีวิตมีรายได้หลักจากสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมันเพียงอย่างเดียว เพื่อนำรายได้จากน้ำยาง จากผลปาล์มมาซื้อข้าวกิน พอราคายางพารา หรือราคาปาล์มน้ำมันลดลงหรือตกต่ำ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่โดยตรง ดังนั้น ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ซึ่งเป็นข้าวแซมสวน จึงเป็นคำตอบสุดท้ายในการเพิ่มรายได้และความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือน

การปลูกข้าวแซมสวนพันธุ์สามเดือน แม้จะไม่ได้ทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยางพารา หรือชาวสวนปาล์มน้ำมันร่ำรวยขึ้นมาได้ แต่อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่า มีความมั่นคงทางอาหารในระดับหนึ่ง และที่สำคัญนั้น ยังช่วยลดรายจ่ายทำให้รายได้ในกระเป๋าเพิ่มขึ้นด้วย

ข้าวไร่สามเดือน เน้นกินเอง

เพราะในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และเนินเขา เกษตรกรหันใช้พื้นที่ในการปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวในภาคใต้ลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวไร่เดิมในพื้นที่ภาคใต้ เกษตรกรปลูกราว 38,370 ไร่ มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เดิมทีมีการปลูกข้าวราว 1 หมื่นไร่ แต่ปัจจุบันไม่มีการทำนามานานกว่า 20 ปีแล้ว ในขณะที่ปัจจุบันราคาข้าวสารแพงขึ้นเรื่อย ๆ

ข้าวไร่สามเดือน
ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ปลูกแซมสวน

ด้วยเหตุนี้ กรมการข้าวจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคใต้ที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน หันมาปลูกข้าวไร่แซมช่วงก่อนต้นยางและปาล์มน้ำมันอายุไม่เกิน 3 ปี ภายใต้โครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาวนาภาคใต้ เน้นการบริโภคในครัวเรือนในยุคที่ข้าวสารแพง

ข้าวไร่พันธุ์ 3 เดือน ทดลองปลูกแล้วทำได้จริง

และนำร่องแล้วที่แปลงทดลองของ นางจินดา ช่อวิชิต ต.นาเมือง อ.เกาะสมุย ในพื้นที่ราว 10 ไร่ เน้นปลูกข้าว 4 สายพันธุ์ คือข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว พันธุ์ช่อไม้ไผ่ พันธุ์ข้าวดอกพะยอม และ พันธุ์ข้าวไร่ 3 เดือน โดยใช้วิธีโบราณ คือหยอดหลุม ที่คนปักษ์ใต้เรียกว่า น่ำข้าว

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูกข้าวไร่ที่ใช้ประโยชน์ทางการค้าและความมั่นคงทางอาหารทั้งหมด 668,486 ไร่ สำหรับภาคใต้เหลือเพียง 38,370 ไร่ และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ

จากการที่เกษตรกรหันไปปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ และสวนไม้ผล ส่งผลให้ข้าว ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักมีไม่เพียงพอต่อการบริโภค จะต้องซื้อข้าวเพื่อบริโภคจากภาคกลางหรือภาคอื่น ๆ ในราคาสูง ทางกรมการข้าวมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวไร่เพิ่มขึ้น ผ่านการปลูกข้าวไร่แซมในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน โดยกรมการข้าวได้เลือกพื้นที่นำร่องที่ อ.เกาะสมุย ในพื้นที่ 10 ไร่

ในการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ของเรานั้น เพื่อเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิต และการทำนาแบบหยอดหลุมที่เรียกว่าการน่ำข้าวของชาวเกาะสมุย เน้นให้ปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ข้าวดอกพะยอม ข้าวช่อไม่ไผ่ และข้าวพันธุ์ 3 เดือน ต่อไปจะเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเกาะสมุยในอนาคต และจะขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดต่อไป

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวอีกว่าสำหรับโครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาวนาภาคใต้ กรมการข้าวร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เพื่อฟื้นคืนวิถีชีวิตปลูกข้าวไร่บนเกาะสมุย เพื่อให้ได้ผลผลิตเพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือนตลอดทั้งปี

รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวมาบริโภค อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวของชาวเกาะ และโครงการนี้จะเป็นการส่งสัญญาณไปยังเกษตรกร 14 จังหวัดภาคใต้ ให้หันมาปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภค โดยสามารถทำเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมได้ คาดว่าสามารถปลูกต่อเนื่องได้ถึง 3 ปี ระหว่างรอยางพาราและปาล์มน้ำมันเติบโต หรือปลูกไว้บริโภคในระดับครัวเรือนก็ยังได้

ด้านนายกัมปนาท กลิ่นเสาวคนธ์ ปลัดอาวุโสอำเภอเกาะสมุย กล่าวว่า บนเกาะสมุยกว่า 20 ปีแล้วที่ไม่มีใครปลูกข้าว 100% จากเดิมที่เคยปลูกข้าวราว 1 หมื่นไร่ ทำให้สถานการณ์ข้าวไม่พอในการบริโภคของภาคใต้นับเป็นเรื่องที่น่ากังวล ดังนั้นการฟื้นฟูนาไร่แซมยางพาราครั้งนี้มีความน่าสนใจ แต่เห็นว่าควรทำเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพราะหากทำนาเพียงอย่างเดียวอาจดึงความสนใจได้น้อย เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตที่ห่างหายไปเป็นเวลานาน

ผศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา หัวหน้าโครงการวิจัยข้าวไร่ คณะพืชสวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร ระบุว่า ที่วิจัยข้าวไร่นั้น จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรภาคใต้ในสถานการณ์ที่แนวโน้มการปลูกข้าวลดลง และข้าวไม่พอบริโภคในจังหวัด เนื่องจากเกาะสมุยมีสภาพพื้นที่เป็นดอนไหล่เขา เหมาะสมกับการปลูกข้าวไร่ ที่ไม่ต้องมีน้ำขังเหมือนนาข้าวทั่วไป อาศัยเพียงน้ำค้าง น้ำฝน และความชื้นในดินก็สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้

ข้าวไร่มีราคาดี ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตร จะเห็นได้ว่าปัจจุบันราคาข้าวไร่จาก อ.ปะทิว จ.ชุมพร ที่ปลูกนำร่องได้ผลสำเร็จสามารถขายได้ตันละ 5.4 หมื่นบาท หากเกษตรกรลองทำจะรู้ว่าสามารถทำเงินต่อไร่ได้ดีกว่าปลูกยางพารา หรือปาล์มเสียอีก

นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่กรมการข้าวพยายามสร้างความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ภาคใต้ และจะสามารถให้เกษตรที่สนใจลดค่าใช้จ่ายด้วยการปลูกไว้บริโภคเองอีกด้วย

ข้าวไร่สามเดือน
พื้นที่ปลูกข้าวลืมผัว

มีพื้นที่ปลูกข้าว ก็ไม่อดตาย

จากในทฤษฎีเกษตรพอเพียง จะเห็นว่า ไม่ว่าจะปูกอะไรหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดไหน หนึ่งในพืชที่จะต้องมีทุกบ้านคือ ข้าว เพราะในหลักการคือ ปลูกเพื่อกิน เหลือจึงขาย ทำให้ไม่อดตาย

แถม ข้าวไทย ยังมีความมหัศจรรย์ของสายพันธุ์ คือมีสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับทุกสภาพแวดล้อมในทุกพื้นที่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะแห้งแล้ง น้ำท่วม บนที่สูง ที่ราบ ฯลฯ ก็สามารถปลูกข้าวได้ ถ้าเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพพื้นที่

แค่นี้ก็ไม่อดตายแล้ว

เนื้อหา : เกษตรปลอดสารพิษ www.kasetorganics.org / กรมการค้าข้าว www.ricethailand.go.th / ไทยรัฐออนไลน์ http://www.thairath.co.th

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

กาแฟอาราบิก้า พันธุ์ที่ชาวมาเลเซียนิยมดื่ม

เชื่อว่าหลายคนมักจะเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยกาแฟแก้วโปรด เพราะในกาแฟมีส่วนผสมอย่างคาเฟอีนที่ช่วยปลุกให

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ไผ่กิมซุง ไผ่ตงลืมแล้ง ปลูกไม่ยากอย่างที่คิด

ไผ่กิมซุง ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่บีเซย์ เป็นพืชทนแล้งชนิดเดียวกัน แต่มีหลายชื่อเรียก โดยมีชื่อสามัญเรียกว่า

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
การถนอมมะนาว ไว้ใช้ตอนราคาแพง

แม้ว่าช่วงนี้จะผ่านพ้นอากาศหนาวจัดมาได้สองสามวัน แต่ในบางภาค ก็ยังเจอกับมรสุมและอุทกภัยสาหัสเอาการ ป

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
น้ำส้มควันไม้ วิธีการทำใช้เองในครัวเรือน

น้ำส้มควันไม้ เป็นกรดชนิดหนึ่งเรียกว่า pyroligneous acid หรือ กรดไพโรลิกเนียส เกิดจากผลพลอยได้จากควั

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ข้าวบัสมาติ หนึ่งในพันธุ์ข้าวหอมเมล็ดยาว

ข้าวบัสมาติ เป็นพันธุ์ข้าวหอม เมล็ดยาว ปลูกกันมากในอินเดีย ปากีสถาน แตกหน่อเป็นพันธุ์ข้าวหอมหลายสายพ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในขวดพลาสติก

เทคนิคการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผักไร้ดิน ที่ใครหลายคน เข้าใจว่าจะต้องลงทุนสูง ยุ่งยากจัดการ แถมต้องปลู

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความเกษตรน่าสนใจ

แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม

แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: อนุญาตแบบมีที่มา