พืชต้องการแร่ธาตุและสารอาหารอะไรที่จำเป็น

เนื้อหาก่อนหน้านั้น ว่าด้วยเรื่อง อาการขาดธาตุอาหารของพืช และสารอาหารที่พืชต้องการ ไปแล้วแต่ยังไม่จบ วันนี้ขอมาต่อด้วยเรื่องของ ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช รวมไปถึงลักษณะที่บ่งบอกว่าพืชขาดสารอาหาร และแนวทางแก้ไขเบื้องต้นกันต่อ อีก 6 ชนิดที่เหลือกัน

วิธีสังเกตุอาการขาดธาตุอาหารของพืช และพืชต้องการสารอาหารชนิดไหนนั้น และถ้าเราให้ธาตุหรือสารอาหารพืชได้ถูกชนิด ก็จะทำให้พืชแข็งแรง และตายยาก ให้ผลผลิตกับเราได้เท่าที่อายุพืชมีกันเลยทีเดียว

อาการขาดธาตุอาหารของพืช และแนวทางแก้ไข

ในความเป็นจริงสารอาหารที่พืชต้องการมีมากถึง 16-17 ชนิดด้วยกัน มีเพียงไม่กี่ชนิดที่พืชต้องการใช้ บางชนิดอาจจำเป็นแค่ในปริมาณที่น้อยมาก เราเรียกธาตุเหล่านั้นว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl)

แม้ว่าพืชต้องการน้อยแต่ก็มีความจำเป็นอยู่ มาดูอาการขาดธาตุอาหารพืช และสารอาหารที่พืชต้องการส่วนที่เหลือกัน

อาการขาดธาตุอาหารโบรอนของพืช

7. สังกะสี (Zn)

ธาตุสังกะสี มีความสำคัญกับพืช แม้พืชจะต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช ที่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) สังกะสีเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์และการสร้างเมล็ดพืช มีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช

การปลูกพริกขี้หนูสวนให้ลูกดก การแกล้งพริก ปลูกพริกลูกดก

อาการขาดธาตุอาหารสังกะสีของพืช

ถ้าไม่มีสังกะสี พืชก็นำธาตุอื่นๆ ไปใช้งานได้ไม่เต็มที่ ต่อให้ลงปุ๋ยไปจำนวนมาก พืชก็ไม่สามารถดึงไปใช้ได้ทั้งหมด การขาดธาตุสังกะสี จะทำให้ใบมีจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่าง และอาจรุนแรงทำให้พืชตายได้

พืชขาดธาตุสังกะสี ทำให้ระบบการเติบโตล้มเหลว

และเราสามารถใช้สังกะสีได้โดย…หมักปุ๋ยด้วย ใบตำลึง ฟักทอง ไชเท้า มันแกว น้ำต้มหอยนางรม จะได้สังกะสี หรือว่าจะใช้ ปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ก็มีจำหน่ายโดยตรงจากร้านขายปุ๋ย

8. โมลิบดินัม (Mo)

โมลิบดีนัมเป็นโคแฟกเตอร์ที่สำคัญในการที่พืชนำไปใช้สำหรับการสร้างเอนไซม์เพื่อใช้ในการสร้างกรดอะมิโนต่อไป โมลิบดินัม ถือเป็นจุลธาตุที่พืชใช้น้อยกว่าจุลธาตุชนิดอื่น แต่มีความสำคัญมากที่สุด เมื่อพืชได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในรูปไนเตรท พืชต้องใช้น้ำย่อยชื่อ ไนเตรทรีดั๊คเทส เพื่อเปลี่ยนไนเตรทเป็นอะมิโนแอซิด เป็นการทำให้พืชเติบโตหรือกินปุ๋ยได้ดี การสร้างน้ำย่อยนี้ใช้โมลิบดินัมเป็นตัวกำกับการสร้าง

โมลิบดินัม

อาการขาดธาตุอาหาร โมลิบดินัม ของพืช

ถ้าขาดโมลิบดินัม พืชก็ขาดน้ำย่อยชนิดนี้ พืชก็จะแสดงอาการไม่กินปุ๋ยไนโตรเจน แม้ใส่ให้ก็แสดงอาการขาดปุ๋ยเช่นเดิม

อาการของพืชที่ขาดโมลิบดินัม

อาการขาดธาตุอาหารพืช อย่าง ธาตุโมลิบดินัม นี้ ในภาษาชาวบ้านเรียกว่า พืชไม่กินปุ๋ย แก้ไขโดยวิธีฉีดพ่นซิลิโคเทรซ หรือใช้ซิลิโคเทรซร่วมทำปุ๋ยละลายช้าก็ได้ โชคดีที่โมลิบดินัมถือเป็นจุลธาตุที่พืชต้องการเพียงน้อยนิดเท่านั้น โมลิบดินัม มีอยู่ทั่วไปในดิน โมลิบดินัมจะเป็นประโยชน์ต่อพืชในดินที่เป็นกลางมากกว่าในดินที่เป็นกรด แต่ในดินที่เป็นกรด จะมีโมลิบดินัมมากกว่า ยิ่งดินเป็นกรดมาก โมลิบดินัมยิ่งมีมาก

9. แมกนีเซียม (Mg)

แมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้าง ATP โดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor)

อาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม
อาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม

อาการขาดธาตุอาหารแมกนีเซียมของพืช

พืชที่มีอาการขาดแมกนีเซียม ปลายใบที่เป็นส่วนได้รับแสงมากกว่า จะมีสีเหลืองอมส้ม ในขณะที่โคนใบซึ่งอยู่ด้านล่างยังคงมีสีเขียว และอาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ

แมกนีเซียมทำให้พืชสามารถใช้พลังงานแสงสร้างคาร์โบไฮเดรทเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งปริมาณแมกนีเซียมในคลอโรฟิลล์มีสูงถึง 15-20% การแก้ไขปัญหาพืชขาดธาตุแมกนีเซียม ในระยะสั้นอาจใช้การฉีดพ่นด้วยสารละลายแมกนีเซียมออกไซด์ โดยฉีดพ่นทุก 10-15 วัน จนกว่าจะแสดงอาการเจริญเติบโตตามปกติ การแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้ทำได่โดยการปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพเป็นกลาง หรือ… ปุ๋ยหมักสูตรชีวภาพจาก แหนแดง ลูกยอ ต้นกก ผักตบชวา เพิ่มค่าแมกนีเซียมในดินได้

10. โพแทสเซียม (K)

โพแทสเซียมมีบทบาทในการควบคุมการเปิดปิดของรูใบสโตมา (Stoma) ดังนั้น โพแทสเซียม จึงช่วยลดการคายน้ำจากใบและเพิ่มความต้านทานสภาพแห้งแล้ง สภาพร้อน-หนาวให้กับพืชได้ดี

ธาตุโพแทสเซียมสำหรับพืช
อาการที่พืชขาดธาตุโพแทสเซียม

อาการขาดธาตุอาหารโพแทสเซียมของพืช

การขาดโพแทสเซียมของพืช อาจทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วน หรือเกิดการเหลือง ไหม้ ระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis)

อาการที่พืชขาดธาตุโพแทสเซียม

โพแตสเซียมสามารถละลายน้ำได้ดี จึงทำให้ถูกกำจัดออกจากดินโดยง่าย หากพื้นที่นั้นมีลักษณะเป็นหินหรือทราย และดินที่มีเนื้อดินละเอียด เช่น ดินเหนียว จะมีปริมาณของธาตุนี้สูงกว่าดินปกติ การเพิ่มโพแทสเซียมในดินทำได้ง่ายๆ ด้วยการ…ทำปุ๋ยที่มีส่วนผสมจากวัสดุธรรมชาติอย่าง กระเจี๊ยบ ผักโขม ฟักทอง แตง ผงโกโก้ ทานตะวันอ่อน ก็สามารถเพิ่มสารอาหารโพแทสเซียมในดินให้แก่พืชได้มากมาย

11. ฟอสฟอรัส (P)

ฟอสฟอรัสเป็นส่วนสำคัญในระบบพลังงานของพืช เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ATP. ฟอสฟอรัสมีความสำคัญต่อรากพืช ช่วยให้รากแข็งแรง แผ่กระจายได้ดี ช่วยสังเคราะห์แสง สร้างแป้งและน้ำตาล ช่วยเสริมสร้างส่วนดอก การผสมเกสร การติดเมล็ด แตกกอ ช่วยให้พืชดูดใช้ไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่นๆ ได้ดีขึ้น

ธาตุฟอสฟอรัส
อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสของพืช

อาการขาดธาตุอาหารฟอสฟอรัสของพืช

การขาดฟอสฟอรัสในพืชจะแสดงให้เห็นจากการที่ใบพืชมีสีเขียวเข้มจัด ถ้าขาดรุนแรงใบจะผิดรูปร่าง แห้งและแสดงอาการตายเฉพาะส่วน

โดยธรรมชาติฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินแล้ว จะมากน้อยแล้วแต่พื้นที่ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยาก พืชดูดเอาไปใช้ได้น้อย หรือไม่ได้เลย และปุ๋ยเคมีที่ใช้กัน ก็เป็นฟอสฟอรัสที่พืชดูดนำไปใช้ได้ทันที จึงมีปัญหาตามมา เพราะเมื่อการให้ฟอสฟอรัสกับพืชเกินความต้องการ มันจะเปลี่ยนรูปไปสะสมในดิน ถ้าดินมีฟอสฟอรัสมาก พืชใช้ไม่หมด มันจะไปทำปฏิกิริยารวมตัวกับธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมให้ไปอยู่ในรูปแบบที่ พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ กลายเป็นต้นไม้ขาดสารอาหาร แคระแกร็น ทางแก้คือ ต้องให้ปรับดินให้มีค่า Ph อยู่ระดับ 7 หากดินเป็นกรดแก้โดยเติมปูนขาว และถ้าดินเป็นด่างใช้กำมะถันเติมลงไป

หรือใช้อีกวิธี เติมอินทรียวัตถุหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้ช่วยย่อยสลาย เพราะระหว่างการย่อยสลายจะเกิดกรดที่ช่วยเปลี่ยนฟอสฟอรัสให้พืชนำมาใช้ได้ การหมักปุ๋ยด้วยวัสดุอย่าง กระถิน ผักบุ้งจีน บัวบก ลูกยอ สาหร่ายทะเล ก็สามารถเพิ่มสารอาหารฟอสฟอรัสให้แก่พืชได้มากมายเช่นกัน

12. ไนโตรเจน (N)

ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโปรตีนทุกชนิด การขาดไนโตรเจน ส่วนใหญ่พืชจะหยุดการเติบโต หรือเติบโตช้า หรือว่าแสดงอาการใบเหลือง

ธาตุไนโตรเจน

ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจน พืชตระกูลถั่วเท่านั้นถึงจะนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะระบบรากพิเศษที่จะแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้

ส่วนพืชทั่วไป จะต้องได้ไนโตรเจนจากอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเทรตไอออน (No3-)

ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย

พืชทั่วไป มีความต้องการธาตุไนโตรเจนมาก ถือเป็นธาตุอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของพืช พืชที่ได้รับไนโตรเจนเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด มีความแข็งแรง โตเร็ว และทำให้พืชออกดอกและผลที่สมบูรณ์ เมื่อพืชได้รับไนโตรเจนมากๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียได้ เช่น ทำให้พืชอวบน้ำ ต้นอ่อนล้มง่าย โรคและแมลงเข้ารบกวนทำลายได้ง่าย คุณภาพผลผลิตบางชนิดก็จะเสียไปได้ เช่น ทำให้ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย อ้อยจืด ส้มเปรี้ยว และมีกากมาก แต่พืชบางชนิดก็มีคุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะพวกผักรับประทานใบ ถ้าได้รับไนโตรเจนมาก จะอ่อน อวบน้ำ และกรอบ มีเส้นใยน้อย มีน้ำหนักดี แต่ผักก็จะเน่าง่าย และแมลงชอบรบกวน

อาการของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน

อาการขาดธาตุอาหารไนโตรเจนของพืช

พืชที่ขาดไนโตรเจน ใบจะซีดเหลือง โตช้า ไม่แตกใบใหม่ อ่อนแอ แมลงศัตรูพืชทำลายได้ง่าย พืชไม่มีดอก

อาการของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน

ดินทั่วไป มีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวัสดุอย่าง กระถิน แหนแดง ใบทองหลาง ก้ามปู มูลสัตว์ สามารถเพิ่มจำนวนธาตุไนโตรเจนได้เป็นจำนวนมาก

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืชสด ได้สารอาหารครบถ้วน

แนะนำ “ทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืช ได้ปุ๋ยหมักที่มีธาตุและสารอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน ลดอาการขาดธาตุอาหารพืช ได้ดี” ด้วยการใช้วัสดุดังนี้

กระถิน แหนแดง ใบทองหลาง ก้ามปู มูลสัตว์ ผักบุ้งจีน บัวบก ลูกยอ สาหร่ายทะเล กระเจี๊ยบ ผักโขม ฟักทอง แตง ผงโกโก้ ทานตะวันอ่อน ใบตำลึง ลูกตำลึงสุก ฟักทอง ไชเท้า มันแกว น้ำต้มหอยนางรม เปลือกไข่ ผักกระเฉด มะระ ต้นกก ผักตบชวา กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง สะตอ ผักชี พริก ใบฟักทองแก่ น้ำต้มปลาหมึก ผักบุ้ง เสาวรส พืชเถาว์ แกลบดำ แกลบดิบ หินภูเขาไฟ เห็ดฟาง ต้นหรือใบข่า วัชพืช มะเขือเทศสุก เหล่านี้ แทบจะได้ ธาตุและสารอาหารที่พืชต้องการ และมีความจำเป็นต้องใช้ครบทุกตัวเลยก็ว่าได้

เห็นไหมว่า การทำเกษตรอินทรีย์ ไม่ยากอย่างที่คิด เลย เพียงรู้เทคนิคในการจัดการพืชโดยไม่ใช้สารเคมี หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

การปลูกอ้อยด้วยระบบน้ำหยด

การปลูกอ้อยด้วยระบบน้ำหยดนี้ ใช้เวลาปลูก 1 ปีเท่านั้น เน้นการบำรุงดินด้วยสูตรชีวภาพ ผสมกับระบบน้ำ ทำ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เพาะเชื้อเห็ดฟางสู้แล้งยังไงให้รวย

เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่เด็กก็เพาะได้ กรรมวิธีไม่มีอะไรยุ่งยาก แต่ถ้าทำไม่ถูกขั้นตอน หรือไม่รู้จักวงจรชีว

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่ควรปลูกไว้ติดบ้าน

ผักสวนครัวรั้วกินได้ เอ่ยถึงถึงเรื่องนี้ หลายคนก็นึกออก แต่อยากให้รู้เกี่ยวกับความหมายของคำนี้ก่อนว่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
อยากทําเกษตร ควรเริ่มต้นอย่างไร

เคล็ดลับในการทำเกษตร ให้ประสบความสำเร็จสำหรับมือใหม่ อยากทําเกษตร เริ่มต้นอย่างไร ควรรู้อะไรบ้าง และ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
8 สายพันธุ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงกันในบ้านเรา

รวม 8 สายพันธุ์ไก่ไข่ที่ให้ผลผลิตสูง และถือเป็นที่นิยมเลี้ยงกันในบ้านเรา เพราะทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
แนะนำการปลูกหัวผักกาดแดง ให้อร่อยและได้คุณค่า

ประเทศไทยเรามีการทำเกษตรอินทรีย์กับผักสวนครัวกันกว้างขวาง

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความเกษตรน่าสนใจ

แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม

แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: อนุญาตแบบมีที่มา