เลี้ยงไส้เดือนอย่างไร เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน

สมัยก่อนมีขายกันไม่มาก เพราะเป็นช่วงที่คนยังไม่รู้จัก แต่ระยะหลังเริ่มเห็นในทุกงานเกษตรแฟร์ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน เป็นอีกทางเลือกที่สามารถสร้างรายได้แก่ครัวเรือน

ขี้ไส้เดือน มูลไส้เดือน หรือปุ๋ยมูลไส้เดือน ในตลาดการเกษตรหลายแห่ง รู้ว่าคุณรู้จักและน่าจะเคยเห็นบ้าง และคำกล่าวอ้างที่ว่า ให้ทดลองใช้ตักในจำนวนแค่ 1 ช้อนแกง ใส่เป็นปุ๋ยบำรุงพืชผัก จะทำให้พืชผักเติบโตได้ดี

จริงๆ แล้วมันมีสรรพคุณดีขนาดนั้นจริงหรือไม่ และลักษณะการผลิตปุ๋ยชนิดนี้เค้าทำกันอย่างไร ปุ๋ยจากมูลไส้เดือนมีอะไรเป็นส่วนผสม วันนี้เราจะไปหาคำตอบนั้นกัน

จะเริ่มทำปุ๋ยมูลไส้เดือนได้ ต้องหัดเลี้ยงไส้เดือนให้เป็นก่อน

จากข้อมูลความรู้ของคุณชารีย์ หรือลุงรีย์แห่ง Uncleree Organic Farm ที่ให้เทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนและการทำปุ๋ยคอกจากมูลไส้เดือนเอาไว้ใน my home(1) เกี่ยวกับวิธีการทำปุ๋ยใช้เองจากมูลไส้เดือนจนประสบความสำเร็จ เรามาสรุปกันถึงวิธีที่ได้ผลนั้น

เลี้ยงไส้เดือน เพื่อให้ได้มูลไส้เดือนมาทำปุ๋ยคอก

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนส่วนใหญ่เป็นกิจการเล็กๆ มีส่วนน้อยที่มาจากฟาร์มระบบการจัดการที่ดี เพราะการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้าและให้ผลผลิตมาเป็นปุ๋ยได้นั้น ต้องมีการคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดิน รวมไปถึงระบบการให้อาหารที่ได้มาตรฐาน อยากได้ธาตุอาหารอะไร ก็ให้ไส้เดือนกินเพื่อเปลี่ยนสารอาหารเหล่านั้นลงไปยังมูลไส้เดือน บ้างก็เลี้ยงด้วยมูลโค รำข้าว กากถั่วเหลืองและผลไม้ จึงได้ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติโดยตรง  และดีต่อสิ่งแวดล้อม

พันธุ์ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยง

ไส้เดือนดิน พันธุ์แอฟริกัน ไนท์ครอเซอร์ มีความสามารถในการย่อยสลายที่รวดเร็ว และให้ปุ๋ยคุณภาพดี เป็นไส้เดือนสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงสูง

การเลี้ยงไส้เดือนให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนของลุงรีย์แห่ง Uncleree Organic Farm

ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือน มี 2 ส่วนสำคัญ

  1. บ้านไส้เดือน หรือสถานที่อยู่สำหรับการเลี้ยงไส้เดือน ต้องมีระบบจัดการอย่างดี
  2. อาหารไส้เดือน ต้องการธาตุอาหารอะไรสำหรับพืช ก็ให้ไส้เดือนจัดการย่อยสลายอินทรีย์ไปเป็นมูล เพื่อนำไปใช้กับพืชต่อไป

บ้านไส้เดือน ที่อยู่สำหรับไส้เดือนดิน

วัสดุที่จะเป็นบ้านไส้เดือนที่สำคัญสุด ไม่ใช่กะละมัง หรือคอก หรือบ่อปูน แต่เป็นขี้เลื้อย ขุยมะพร้าว เศษใบไม้ เปลือกถั่ว เหล่านี้คือวัสดุพรางแสงชั้นดี ที่เหมาะสำหรับทำเป็นบ้านไส้เดือน แต่ที่เป็นสิ่งฮิตที่สุดของเหล่าประชาไส้เดือนก็คือ “ขี้วัว หรือ มูลวัวนม” เพราะว่ามีคุณประโยชน์สองอย่างในหนึ่งเดียว ทั้งพรางแสง และเป็นอาหารชั้นเลิศของไส้เดือนได้อีกด้วย

การผลิตปุ๋ยจากมูลไส้เดือนก็ไม่ธรรมดา เพราะไส้เดือนจะกินจากข้างล่างและขับถ่ายออกข้างบน คือกินจากหัวออกตูนนั่นแหละ ให้เห็นภาพง่ายๆ คือไส้เดือนจะถ่ายมูลออกมาด้านบนพื้นดิน และกินอาหารด้านล่างพื้นดิน

จากข้อมูลนี้ ในทุกๆ 10- หรือ 15 วัน ควรมีการพลิกกลับกองวัสดุสำหรับเลี้ยงไส้เดือนจากล่างขึ้นบน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ในหนึ่งเดือนก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติมาใช้แล้ว

อาหารสำหรับไส้เดือนดิน ตัวช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชผัก

เศษผัก ผลไม้ คือแหล่งอาหารชั้นดีสำหรับการเลี้ยงไส้เดือน ที่สำคัญใช้ต้นทุนต่ำสุด โดยเน้นเศษผักผลไม้ที่มีเส้นใยไม่มาก และย่อยง่าย เช่น ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักสวนครัวหลายชนิดหลังบ้านช่วยลดต้นทุนอาหารไส้เดือนได้มาก หลีกเลี่ยงผักบางชนิด เช่น ข่า ตะไคร้ เพราะมีเส้นใยหนา ผลไม้ที่ไม่ควรนำมาใช้เป็นอาหารไส้เดือน คือ มะนาว สับปะรด พริก เพราะมีความเป็นกรดหรือด่างที่มีผลต่อผิวและระบบย่อยของไส้เดือน

เศษอาหารสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน

ไส้เดือนจะใช้เวลาในการย่อยเศษผักผลไม้เหล่านี้ประมาณหนึ่งเดือน ส่วนกากที่ย่อยไม่หมดสามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ต่อได้ แนะนำการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารเหลือ ด้านล่างนี้

โยเกิร์ตและเศษอาหาร ทำปุ๋ยหมักอะไรได้บ้าง

ครั้งก่อน ได้แนะนำให้หลายคน ได้รู้จักวิธีการทำ “ป

กว่าจะได้มูลไส้เดือนมาใช้ทำเป็นปุ๋ย ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

หลายคนอ้างว่า ปุ๋ยมูลไส้เดือนของเค้าดี เพราะเหตุผลหลายอย่าง และคิดราคาแพง แต่เลี้ยงดูด้วยเศษอาหารพืชผักธรรมดา

ลองใช้เหตุผลนี้ตัดสินใจเลือกปุ๋ยมูลไส้เดือนสำหรับคุณ เมื่อไส้เดือนดูดอาหารและผ่านระบบย่อยในลำไส้แล้วถ่ายออกมา จะมีโมเลกุลสารอาหารที่เล็กมากและมีความเย็น มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย ที่พืชสามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นเอาไปเป็นอาหารต่อได้ทันที

สิ่งสำคัญคือ มูลไส้เดือนจะมีฮอร์โมนพืชรวมอยู่ด้วย ฮอร์โมนพืชนี้จะไปเร่งให้พืชสร้างรากฝอยมากขึ้น และทำให้พืชสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้นนั่นเอง

ปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพ

มูลไส้เดือนเป็นสิ่งที่มาจากธรรมชาติ 100% ส่งผลให้พืชเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงอย่างเป็นธรรมชาติด้วย พืชมีความต้านทานทั้งโรคพืชและแมลงตามธรรมชาติ ทำให้ประหยัดค่ายาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อต่างๆ

แต่ประโยชน์ขนาดนี้ เหมาะกับราคาขนาดไหน เทียบกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นได้หรือไม่

จะคิดแยกเอามูลไส้เดือนออกมาจากวัสดุเลี้ยงได้อย่างไร

ก่อนการเลี้ยงไส้เดือนดิน ต้องจัดการระบบการเลี้ยงให้ดีก่อน ด้วยการวางระบบระบายน้ำ เพราะไส้เดือน ถ่ายออกมาเป็นก้อนและฉี่ออกมาเป็นน้ำ แน่นอนจะต้องมีส่วนเปียกและแห้ง ถ้าคนไม่ชอบเรื่องแบบนี้ แนะนำดูวิธีการทำปุ๋ยแบบอื่น อ่านรายละเอียด การทำปุ๋ยหมักแบบต่างๆ

ส่วนการจัดการระบบเลี้ยง ขอนำเสนอวิธีการจากคุณลุงรีย์แห่ง Uncleree Organic Farm มาทั้งหมดให้ดูกัน ส่วนจะดัดแปลงเป็นการเลี้ยงแบบในวงปูน หรือแบบอื่นๆ ก็ DIY กันตามสะดวกเลย

การเลี้ยงไส้เดือนให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนของลุงรีย์แห่ง Uncleree Organic Farm
การเลี้ยงไส้เดือนให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนของลุงรีย์แห่ง Uncleree Organic Farm
การเลี้ยงไส้เดือนให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนของลุงรีย์แห่ง Uncleree Organic Farm

ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือน และการคัดแยกมูลไส้เดือนมาทำเป็นปุ๋ย เริ่มจากการทำบ้านไส้เดือนก่อน โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทำบ้านเป็นกะละมัง (อาจดัดแปลงเป็น บ่อวงปูน หรือวัสดุอื่นๆ ตามงบประมาณ) เจาะรูระบายน้ำแบบหยด ส่วนถ้าเป็นการเลี้ยงแบบอื่น ควรทำพื้นเป็นสโลปให้น้ำไหลไปยังจุดที่ต้องการ แล้วเจาะรูระบายน้ำออก

โรยแกลบขาวรองพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้ไส้เดือนมุดออก หากไม่มีใช้ขุยมะพร้าวแทน อ่าน วัสดุที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน ตามด้วยใส่เศษผักผลไม้ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กลงไป ที่ต้อฃหั่นก็เพื่อให้ไส้เดือนย่อยได้หมดและหลงเหลือกากใยน้อยที่สุด ส่วนที่เหลือหากไส้เดือนย่อยไม่หมด นำไปทำเป็นปุ๋ยต่อได้

นำมูลวัวไปแช่น้ำก่อนนำมาใช้เพื่อคลายแก๊สที่สะสมอยู่ให้เบาบางลง เพราะแก๊สจะทำให้บ้านไส้เดือนร้อน เมื่อได้มูลวัวพร้อมก็เอามาใส่จนกลบให้เต็ม (ไม่ต้องล้น) แล้วทิ้งไว้ในที่ร่ม ขั้นตอนสุดท้ายคลุมด้วยฟาง หรือวัสดุพรางแสง เพื่อช่วยป้องกันศัตรู นก หนู แมลงร้ายต่าง ๆ

กรณีมีเศษอาหารเหลือจากที่เลี้ยงเดิม สามารถนำมาใช้กับการเลี้ยงในครั้งใหม่ได้ รดน้ำให้มีความชื้นพอประมาณไม่ต้องเปียกมาก

ปุ๋ยมูลไส้เดือน

ทุกๆ 10 หรือ 15 วัน หมั่นพลิกกองกลับจากล่างขึ้นบน จะทำให้วัสดุและเศษอาหารที่เหลือย่อยสลายได้หมด ครบ 30 วันก็คัดแยกไส้เดือนไปเลี้ยงในที่ใหม่ และร่อนกรองเอาแต่มูลไส้เดือนออกไปทำปุ๋ย ส่วนเศษอาหารที่เหลือ ใช้เป็นวัสดุเลี้ยงไส้เดือนรอบต่อไปได้เลย

น้ำมูลไส้เดือน Worm Tea

น้ำที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือน อย่าทิ้ง นำไปใช้ประโยชน์ได้

น้ำชีวะภาพมูลไส้เดือนดิน (worm tea) มีประโยชน์พอๆ กับมูลไส้เดือน สามารถนำไปทำหัวเชื้อปุ๋ยหมัก หรือผสมน้ำ 1: 10 ฉีดพ่นบำรุงพืชผักได้ น้ำชีวภาพจากมูลไส้เดือน เพิ่มจุลินทรีย์ให้กับดินและพืชผักได้ดี

น้ำมูลไส้เดือน worm tea

น้ำที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือน อย่าทิ้ง นำไปใช้ประโยชน์ได้

น้ำชีวะภาพมูลไส้เดือนดิน (worm tea) มีประโยชน์พอๆ กับมูลไส้เดือน สามารถนำไปทำหัวเชื้อปุ๋ยหมัก หรือผสมน้ำ 1: 10 ฉีดพ่นบำรุงพืชผักได้ น้ำชีวภาพจากมูลไส้เดือน เพิ่มจุลินทรีย์ให้กับดินและพืชผักได้ดี

ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับมูลไส้เดือน

  • มูลไส้เดือนดินคืออะไร สิ่งขับถ่ายภายหลังการย่อยอาหารของไส้เดือนดินที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตรวมทั้งสารชีวะเคมีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี แต่มูลไส้เดือนที่ได้จากต่างสิ่งแวดล้อมย่อมมีคุณภาพแตกต่างกันตามองค์ประกอบอาหารที่ไส้เดือนได้รับ เช่น ในที่กันดารปราศจากอาหารที่มีคุณค่าหรือเศษซากพืชที่ดีย่อมให้มูลไส้เดือนดินที่มีคุณภาพต่ำกว่าจากที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเศษซากพืชหรือมูลสัตว์ที่ไส้เดือนต้องการ
  • จุลินทรีย์สำหรับดินคืออะไร คือจุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพในดินได้แก่ แบคทีเรีย แอมมีบ้า โปรโตซัว รา นีมาโทด จุลิทรีย์เหล่านี้จะดำรงค์ชีพอยู่ได้ด้วยการย่อยสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในดินเพื่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของมัน แต่สิ่งที่เหลือจาการย่อยสลายนั้นคือสารอาหารพร้อมใช้สำหรับรากพืช ในดินที่อุดมสมบูรณ์จะมีจุลินทรีย์ประเภทนี้นับไม่ถ้วน ในหนึ่งช้อนชานับเฉพาะแบคทีเรียเพียงอย่างเดียวจะพบว่ามีแบคทีเรียต่างชนิดกันกว่าแสนชนิด จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการคงอยู่ของสภาพแวดล้อมของโลก มันจะทำหน้าที่ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ตายแล้วให้กลายเป็นสารสำคัญที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืชต่อไป
  • ทำไมมูลไส้เดือนดิน จึงมีประโยชน์เหนือกว่าปุ๋ยชนิดอื่น มูลไส้เดือนดิน จะมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดมากกว่าที่พบในปุ๋ยหมักธรรมดา นอกจากนั้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 หรือ ค.ศ 2002 ได้มีรายงานการวิจัยพบสารฮอร์โมนสำคัญเพื่อการเจริญเติบโตของพืชในมูลไส้เดือนดินเพิ่มขึ้นจากเดิม ทำให้แน่ใจได้ว่าในมูลไส้เดือนดินมีสารต่างๆ คือ ฮิวมัท (humates) ออกซิน (auxins) ไคเนติน (kinetins) จิเบอเรลริล (giberellin) และไซโตไคนิน (cytokinin) เป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มเข้าใจความสำคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ ว่าทำหน้าที่ต่างๆ เช่นกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์พืช ทำให้รากรับอาหารไปใช้ การหันหน้าของดอกไม้เข้ารับแสงแดด ควบคุมความยาวของเซลล์และแม้กระทั่งทำหน้าที่เป็นสารต้านการแก่ตัวของพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเร็ว นอกจากนั้นยังค้นพบว่ามีเอนไซม์ไคติเนส (kitinase) ซึ่งสามารถละลายไคตินสารชีวะเคมีชนิดหนึ่งที่ประกอบกันเป็นเปลือกชั้นนอกของแมลง ด้วยเหตุนี้มูลไส้เดือนดินจึงมีฤทธิ์ในการขับแมลงด้วย (insect repellent)
ปุ๋ยมูลไส้เดือน

มูลไส้เดือนดิน มีประสิทธิภาพในการระงับโรคและแมลงที่เป็นภัยกับพืช ได้หรือไม่

ได้ เพราะพืชที่ได้รับสารอาหารหลากหลายชนิดตามธรรมชาติ ย่อมเจริญเติบโตแข็งแรงทนทานต่อโรค และงามกว่าพืชที่ได้รับสารอาหารจำกัดในรูปสารเคมี เช่น NPK โรคพืชและแมลงจะทำลายเฉพาะพืชที่อ่อนแอ หรือใกล้ตาย มากกว่าพืชที่แข็งแรงและสมบูรณ์ ดังนั้นการใช้สาร NPK ล้วนๆ จึงจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงร่วมด้วยตลอดเวลา

มูลไส้เดือนดิน มีประโยชน์ และปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมหรือไม่

มูลไส้เดือนปลอดภัยแน่นอน เพราะมูลไส้เดือนดินไม่เป็นภัยต่อเด็ก สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า และดิน มูลไส้เดือนดินเกิดโดยกระบวนการทางธรรมชาติจากการกินสารอิทรีย์ของไส้เดือนดินไม่มีสิ่งที่เป็นสารสังเคราะห์หรือปิโตรเคมีเจือปนแต่อย่างใด ตามความเป็นจริงแล้วได้มีการใช้มูลไส้เดือนในรูปของ worm tea หรือชนิดน้ำในประเทศไทยรู้จักกันในชื่อ ปุ๋ยน้ำชีวะภาพมูลไส้เดือนดิน ในสหรัฐฯ เองก็มีการใช้สำหรับปลูกหญ้า และใช้เป็นสารอินทรีย์ขจัดเชื้อราสำหรับพืช

มูลไส้เดือนดิน แหล่งสารอาหารที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ ไนโตรเจนฟอสฟอรัสโปแตสเซียม ไม่สูงมากนัก ซึ่งจะมีเช่นเดียวกับปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป ที่จะมีสารอาหารดังกล่าวในปริมาณที่ทางราชการกำหนด แต่นี่ก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะหากมีมากเกินไปอาจเป็นปัญหาสารตกค้างในดินได้ โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนดิน งามดี มีธาตุอาหารเพียงพอ

ผลไม้ที่มีตลอดปี มีกินไปตลอดปี

ประโยชน์ของมูลไส้เดือนดินที่เห็นได้ชัดเจน คือ มูลไส้เดือนดิน (vermicast) และน้ำชีวะภาพมูลไส้เดือนดิน (worm tea) มีประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้นโดยทำให้มีการรวมตัวของดินอย่างเหมาะสมตามธรรมชาติ
  • เป็นสารอินทรีย์จากธรรมชาติ 100%
  • ปลอดสารพิษ และพบว่าปริมาณธาตุโลหะหนักในมูลไส้เดือนนั้นต่ำมาก (ราชการกำหนดให้มีได้ถึง 10 เท่า เป็นการสนับสนุนผลงานค้นคว้าเมื่อปี 2001 โดยคณะนักชีวะวิทยา มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ พบว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดสามารถขจัดความเป็นพิษของธาตุโลหะหนักได้)
  • ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืชแม้ใช้ในปริมาณที่มาก
  • ปราศจากกลิ่นและมีฤทธิ์ในการดับกลิ่น
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นพิษกับพืช และในน้ำชีวภาพมูลไส้เดือน มีฤทธิ์ในการขับแมลงบางชนิด
  • ช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดี
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีกำจัดแมลง และสัตรูพืช และปุ๋ยเคมีบำรุงดิน

การนำปุ๋ยมูลไส้เดือนไปใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

กรณีนำไปผสมดินปลูกเพื่อใช้กับพืชผัก แนะนำควรผสมกับดินทราย เพราะจะช่วยเพิ่มเนื้อดิน ช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้นและเพิ่มธาตุอาหารในดิน ลดการชะล้างธาตุอาหารของน้ำ ลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ทำให้ประหยัดปุ๋ยปกป้องดินไม่ให้มีสภาพโครงร้างแน่นเข็งเกินไป และช่วยเติมอินทรียวัตถุในเนื้อดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย รากพืชสามารถแพร่ขยายได้กว้าง

หากนำไปผสมในดินเหนียวหรือดินประเภทอื่น ควรใช้ปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์วัตถุเพิ่มเข้าไป จะช่วยให้ดินไม่จับตัวกันเป็นก้อนแข็งจนเกินไป

ปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพ

นำปุ๋ยมูลไส้เดือนไปผสมกับปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ จะได้ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ที่มีส่วนประกอบของกรดฮิวมิคซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) เหล็ก (Fe) และทองแดง (Cu) ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดฮิวมิค อยู่ในรูปพร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ

อ้างอิง :

(1) https://www.baanlaesuan.com/43405/diy/diy101/diy-organic-fertilizer
(2) thaiworm.com / bansuanporpeang.com / organicthailand.com

pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา