เลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นอย่างไร

อยากเลี้ยงกุ้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เรามีคำตอบสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง กุ้งเครฟิช

ก่อนอื่นให้ถามใจตัวเองก่อน ว่าจะ เลี้ยงกุ้งไปเพื่ออะไร? เลี้ยงเพราะอยากเลี้ยงตามคนอื่น หรือเลี้ยงเพราะคิดว่ามันสวยดี หรืออยากหารายได้พิเศษ (เลี้ยงกุ้งไว้ขาย ทำกำไร) หรืออื่นๆ

เพราะจุดประสงค์ที่ไม่จริงจัง อาจต้องเรียนรู้เรื่องกุ้งอย่างหนักมาก เพราะการเลี้ยงกุ้งสวยงาม หรือกุ้งเครฟิช ไม่ง่ายเหมือนการเลี้ยงกุ้งทั่วไป

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช แบบฉบับเริ่มต้น อาจมีรายละเอียดที่แตกย่อยอีกมากมาย เพราะเครฟิชมีหลายสายพันธุ์ และความนิยมก็ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวยงาม หรือเรื่องของการเลี้ยงเพื่อการบริโภค สำหรับบทความนี้ จะว่ากันในเรื่องของ กุ้งเครฟิชน้ำจืด 2 สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก นั่นคือ กุ้งเครฟิชสาย P และกุ้งเครฟิชสาย C

แล้วสายพันธุ์อย่างที่ว่ามานั้น คืออะไร?

การจำแนกวงศ์สกุลของกุ้งเครฟิช (สาย P และสาย C)

เครฟิชนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ใหญ่ ๆ คือ Astacoidea และ Parastacoidea

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย P ก้ามหนาม
การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย C ก้ามโต ไม่มีหนาม

Astacoidea

เป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป แบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์คือ

  • Procambarus clarkii พบในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ หรือในที่ราบต่ำที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและออกซิเจนที่ผุดออกมาจากน้ำพุใต้ดิน โดยกุ้งที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย P นั้น ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้
  • Cambaridae พบได้ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือมีการค้นพบเครฟิชมากกว่า 330 ชนิด ใน 9 สกุล

Parastacoidea

ถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายา เครฟิชในวงศ์นี้จุดเด่นที่สังเกตุได้ง่าย ๆ คือก้ามจะมีขนาดใหญ่ และไม่มีหนามบริเวณก้ามทั้งสองข้าง (บ้านเราเรียกกุ้งชนิดนี้ว่ากุ้งสาย C)

กุ้งเครฟิช สาย P จุดเด่นคือ ก้ามหนาม

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย P ก้ามหนาม

Procambarus clarkii หรือ กุ้งแดง หรือ กุ้งญี่ปุ่น (Red swamp crawfish, Louisiana crayfish) เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีรูปร่างบึกบึน ก้ามใหญ่โตแข็งแรง มีหนามเป็นตุ่มทั้งที่ก้ามทั้ง 2 ข้าง และบริเวณส่วนหัว มีขนาดยาวเต็มที่ได้ถึง 5.5–12 เซนติเมตร (2.2–4.7 นิ้ว) น้ำหนัก 50 กรัม เป็นกุ้งน้ำจืดที่กระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ของรัฐลุยเซียนา ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกุ้งที่บ้านเราเรียกกันว่า กุ้งสาย P นั้น ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ โดยรวมแล้วเครฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร โดยเครฟิชในวงศ์ Procambarus clarkii นี้ได้แก่กุ้งสายพันธุ์ดังนี้

กุ้งเครฟิชในวงศ์ Procambarus clarkii

  • Procambarus versutus
  • Procambarus vasquezae
  • Procambarus toltecae
  • Procambarus spiculifer
  • Procambarus pubescens
  • Procambarus enoplosternum
  • Procambarus cubensis
  • Procambarus alleni (Blue Florida, Florida Hammer)
  • Procambarus sp. (Marble Crayfish, Marmor Krebse)
  • Procambarus clarkii (ไบท์ออเรนท์ sp. Orange, สโนว์ sp. White, กุ้งแดง sp. red, โกส, อัลเลนนี่ ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้)
การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย P ก้ามหนาม
การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย P ก้ามหนาม

กุ้งเครฟิช สาย C จุดเด่นคือก้ามโต ไม่มีหนาม

กลุ่มวงศ์ที่ชื่อว่า Parastacoidea หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งสาย C นั้น มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป, โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียนจายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิด ซึ่งกว่าครึ่งนั้นเป็นเครฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธาน อีกทั้งหลายชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย ส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อสกุล Cherax ทั้งหลาย ลักษณะเด่นของกุ้งสาย C นี้คือ ก้ามโต และไม่มีหนาม ซึ่งเมื่อโตเต็มที่ ขนาดตัวจะอยู่ที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ได้แก่กุ้งสายพันธุ์ดังนี้

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย C ก้ามโต ไม่มีหนาม

กุ้งเครฟิชในวงศ์ Parastacoidea

  • Cherax Quadricarinatus : กุ้งก้ามแดง
  • Cherax Destructor : กุ้งเดสทรัคเตอร์
  • Cherax Albidus : กุ้งบลูเพิร์ล/อบิดัส
  • Cherax Tenuimanus : กุ้งมารอน
  • Cherax Holthuisi : กุ้งแอปปิค็อต
  • Cherax Sp.BlackOrange Tip : กุ้งแบล็คออเร้นทิป
  • Cherax Sp.Black Orange Tail : กุ้งแบล็คออเร้นเทล
  • Cherax Sp.Irian Jaya : กุ้งอิเรียนจาย่า
  • Cherax Sp.Tri-Color : กุ้งไตรคัลเลอร์
  • Cherax Sp.Blue Moon : กุ้งบลูมูน
  • Cherax Sp.Red Brick : กุ้งนิวเรด
  • Cherax Peknyi : กุ้งม้าลาย
การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย C ก้ามโต ไม่มีหนาม
การเลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสาย C ก้ามโต ไม่มีหนาม

สำหรับท่านที่ต้องการเลี้ยงกุ้งเครฟิช ควรศึกษาสายพันธุ์ในการเลี้ยงให้รอบคอบ เพราะแต่ละสายพันธุ์นั้น วิธีการเลี้ยงไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกลุ่มสายพันธุ์ในวงศ์ Parastacoidea หรือกลุ่มกุ้งสาย C ที่นิยมเลี้ยงเพื่อการค้าสำหรับบริโภค (กุ้งก้ามแดง) จัดเป็นกุ้งเครฟิชที่เลี้ยงง่ายที่สุด

ที่มา : wikipedia.org

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

บทความน่ารู้

ผักต้ม เมนูสุขภาพสุดฮิตสำหรับผู้สูงวัย

จากอาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย สู่เมนู ผักต้ม ที่กำลังฮิ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

ปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย

ปลูกปอเทืองไว้บำรุงดินในนาข้าว ให้ผลดีมาก

รู้หรือไม่ว่า หากปลูกปอเทือง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

ปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย

หัวเชื้อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำใช้เองยังไงให้แดง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือ Photosynthetic Microorgani

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

การเพาะเห็ดในโอ่ง วิธีทำให้ได้ผลผลิตดี

การเพาะเห็ด ใช่ว่าจะจำกัดแค่เทคนิคเดิม ๆ เพราะมีหลายปัจ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

รอบรู้เรื่อง โคกหนองนาโมเดล

โคกหนองนาโมเดล ซึ่งความจริงแล้ว โมเดลนี้จะฮิตกันมากในช่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ถั่วฝักยาวไร้ค้าง การปลูกและการดูแล

ถั่วฝักยาวไร้ค้าง คือถั่วที่ถูกปรับปรุงสายพันธุ์ ให้ไม่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา