ปลูกผักสวนครัวในกระสอบ แปลงผักในพื้นที่น้อย กับผักสวนครัว ปลูกอะไรง่ายที่สุด ตอบว่ามีหลายชนิดมาก ขนาดปลูกในแก้วในกระบะเล็กๆ ยังให้ผลผลิต แล้วนี่ ปลูกในกระสอบ ไม่ติดก็ให้มันรู้กันไป
เพราะจริงๆ แล้วการปลูกผักสวนครัว ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ปลูกลงแปลง ในสมัยเรียนอนุบาลหรือประถมยังจำกันได้ไหม ครูมักจะให้เด็กขุดยกร่องและทำ แปลงปลูกผัก หลายอย่าง บ้างก็ปลูกในกระบะ บ้างก็วางแท่งอิฐก่อเป็นกระบะไว้ และส่วนใหญ่ก็จะเป็นผักสวนครัวรั้วกินได้ที่เราคุ้นเคยกันดี
ที่สำคัญคือ ครูมักจะเลือก ผักสวนครัว ที่ปลูกง่ายที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้เราได้ว่า ถึงจะขาดการดูแลอย่างไร ผักก็จะเติบโตและให้ผลผลิตแน่นอน และหากมีผลผลิตมาก ก็จะทำให้ผู้ปลูกนี้ภูมิใจ และสุดท้ายก็จะมีการนำมาทำกินกันในชั้นเรียน หรือมีมากหน่อย ก็จะขายออกไปสร้างรายได้แก่นักเรียน ในปัจจุบันหลายโรงเรียนก็ริเริ่มให้นักเรียนมี รายได้ จากการปลูก ผักสวนครัว กันหลายแห่ง
แต่การปลูกผักสวนครัว ไม่ได้อยู่แค่ในทฤษฎี ที่พอถึงเวลาก็หาจอบหาเสียม ต้องมาเตรียมดินยกร่องทำสวนกันแล้ว หลากหลายแนวทางที่จะแนะนำในวันนี้ เหมาะสำหรับผู้ไม่มีพื้นที่มากพอที่จะ ทำสวนครัวย่อมๆ แต่เป็นการดัดแปลงการใช้สอยพื้นที่ ที่มีค่อนข้างจำกัดโดยเฉพาะในเมือง ให้สามารถใช้ได้จริง ไม่ได้แค่ปลูกไว้เอาเท่เอาฮา ซึ่งตัวอย่างที่ได้ผลจริงมีให้เห็นมากมาย เช่น ผักสวนครัวใน ขวดพลาสติก ผักสวนครัวในกระถาง และผักสวนครัวในกระสอบ
ผักสวนครัวอะไรที่ปลูกง่ายและโตเร็ว
ก่อนจะเริ่มต้นปลูกผักสวนครัวลงในกระสอบ แนะนำให้อ่านตรงนี้ก่อนว่าไม่ใช่คิดจะปลูกอะไรก็ปลูกได้ จริงอยู่ที่ว่า ผักสวนครัวหลายชนิดปลูกง่ายโดยไม่ต้องดูแลมากมายก็งอกงาม (แนะนำให้ดูเนื้อหา ผักสวนครัว 9 ชนิดที่ควรปลูกไว้ติดบ้าน) แต่การจะเอาพื้นที่กระสอบไปปลูกผักที่ง่ายๆ ที่แม้แต่ลงกระถางก็งอกงามมันจะไม่คุ้มเอา จึงอยากจะแนะนำผักที่ควรปลูกไว้ แต่ระดับความยากมีมากกว่า 9 ชนิดแรกกันซักหน่อย เพื่อความคุ้มค่าในการลงแรง แต่ถ้าห้ามแล้วไม่ฟังก็เอาที่สบายใจกันไป…ฮา
ผักสวนครัวในกระสอบ ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า
เพิ่มความคุ้มค่า ลดภาระค่าใช้จ่าย ใช้วัสดุที่หาได้ในบ้าน…
เริ่มต้นด้วยการเลือกปลูกผักให้เหมาะกับสภาพพื้นที่อันจำกัดที่มีอยู่ รวมไปถึงวัสดุที่จะนำมาใช้เป็นกระบะใส่ดินใส่ปุ๋ย เพื่อไม่ต้องลำบากเสียเงินเสียทองกันทีหลัง อาจใช้วัสดุที่เหลือภายในครัวเรือน เช่น ถังน้ำที่แตกแล้ว ถุงผ้าลดโลกร้อนที่ไม่ใช้แล้ว ขวดน้ำพลาสติกขนาดใหญ่ๆ นำมาดัดแปลงทำเป็นกระถาง เสื้อตัวใหญ่ๆ ซ้อนกัน 2-3 ชั้นโดยมัดแขนและคอไว้ก็ใช้ได้ ของเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณขยะให้กับโลก และยังสร้างพื้นที่สีเขียว รวมถึงสุขภาพที่ดีให้กับเราได้มากมาย แถมหากมีความเชี่ยวชาญแล้วก็อาจจะได้ผลผลิตนำไปขายสร้างเป็นรายได้ มีกำไรหลายต่ออย่างนี้ ใครที่มีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่ใกล้ๆ ลองหันมาทำกันดูไหม
การเลือกทำเลในการปลูก ก็เลือกปรับตามสภาพพื้นที่ที่มีอยู่ เช่น ถ้าเป็นบ้านที่พอมีพื้นที่หน่อย อาจวางเรียงกันไปเหมือนกระถาง แต่หากเป็นคอนโดฯ ทาวน์เฮาส์ ห้องเช่า มีพื้นที่แค่ระเบียง ก็อาจวางตามมุมที่มีแดดส่องถึงบ้าง ถ้าคิดว่าแสงไม่มาถึงแน่ๆ ก็อาจเลือกผักสวนครัวที่ต้องการแสงน้อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพืชกินผล แต่ถ้าแสงจัดๆ แนะนำพืชกินใบ แล้วแซมด้วยพืชกินผล แบบนี้ดีสุด อาจวางไว้ริมระเบียงมุมไหนซักมุม แต่ก็ควรคำนึงถึงการรับน้ำหนักของพื้นที่ รวมถึงการระบายน้ำ ไม่ให้เดือดร้อนห้องอื่นๆ ด้วยก็จะดีมาก
เริ่มปลูก ผักสวนครัวในกระสอบ
แม้ว่าขั้นตอนการปลูกพืชบางชนิดไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี แต่หากพื้นที่จำกัด ปุ๋ยเคมีก็จำเป็นบ้างเล็กน้อย และควรงดใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 1-2 สัปดาห์ แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือการปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเองโดยใช้ปุ๋ยจากเศษอาหารในครัวนั่นแหละ
เมื่อได้วัสดุเช่น กระสอบสำหรับใช้ปลูก ดินปลูก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีนิดหน่อย(ถ้ามี) และเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้า ก็เตรียมมาประกอบร่างกันเลย สำหรับถ้าใครยังไม่มีวัสดุปลูก ก็แนะนำใช้กระสอบปุ๋ย กระสอบอาหารสัตว์ กระสอบแป้งสาลี กระสอบข้าวสาร(ไม่ใช่กระสอบป่าน) สารพัดกระสอบ กระสอบขนาดเล็กขนาดใหญ่ใช้ได้ทั้งนั้น ปัจจุบันมีกระสอบปุ๋ยอีกชนิดหนึ่งชนิดที่ไม่รั่วน้ำ กระสอบชนิดนี้ถ้าจะนำมาใช้ก็ให้เจาะรูเพื่อระบายน้ำก่อน แต่ถ้ำเป็นกระสอบแบบที่รั่วน้ำ ก็เอามาใช้ได้เลยโดยไม่ต้องเจาะรู
จัดระบบกระถางปลูกผักสวนครัวอย่างไร ให้พืชผักงอกงาม
การใส่ดินและการจัดเตรียมระบบการใส่วัสดุต่างๆ ลงในกระถางหรือในกระสอบ ไม่ยาก ถ้าคิดไม่ออกว่าควรจะใส่อะไรลงไปก่อน-หลังดี เทคนิคนี้ใช้กับการปลูกพืชในกระถางได้ทุกชนิด ทำดังนี้…
การจัดโครงสร้างกระถางภายใน โดยยึดแนวคิดการปลูกผักในขวดพลาสติก มีทั้ง น้ำ อากาศ และดิน เหมาะกับการเติบโตของต้นพืช
- ด้านล่างสุดให้ใส่ถาด ขัน หรือภาชนะที่สามารถรองรับน้ำไว้ได้บางส่วน โดยไม่ต้องเจาะรูระบายน้ำ อาจสูงไม่เกิน 1 นิ้ว
- ใช้กระถางแตก ตะกร้า หรือหิน หรืออื่นๆ วางคว่ำลง วัสดุส่วนนี้ต้องโปร่งสำหรับให้อากาศเข้าไปอยู่ได้ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับรากพืชได้หายใจ
- ดินปลูกที่ผสมกับปุ๋ยหมัก ยิ่งเยอะยิ่งดี
- คิดเป็นอัตราส่วน 1:2:3 คือ พื้นที่รองรับน้ำ 1 ส่วน พื้นที่สำหรับอากาศ 2 ส่วน และพื้นที่ที่มีดินปลูก 3 ส่วน โดย 2 กับ 3 ปรับเพิ่มลดได้ให้เหมาะกับความยาวของรากพืช เช่น ถ้าปลูกพืชที่มีระบบรากยาว ก็ให้ลดพื้นที่อากาศลงเหลือ 1 ส่วนแล้วไปเพิ่มพื้นที่ดินปลูกเป็น 4 ส่วน
พืชที่มีระบบรากยาว ได้แก่ พริก มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือเทศ อาจปรับพื้นที่ภายในกระสอบหรือกระถาง ให้มีดินลึกเพียงพอสำหรับการเติบโตของพืช
ดินที่นำมาใช้ใส่กระสอบเพื่อปลูกผักนั้น ควรผสมพวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แกลบ แกลบเผา ฯลฯ ลงไปด้วย ถ้าสามารถทำหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไว้ใช้จะยิ่งดีมาก (ดู วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง) เพราะถ้านำหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาผสมกับดินปลูก และใช้รดแทนน้ำบ่อยๆ จะยิ่งทำให้พืชผักสวนครัวที่ปลูกไปนั้นเจริญงอกงามยิ่งขึ้น
เมื่อจัดวางระบบดีแล้วก็ทำการใส่ตามที่บอกมาข้างต้น และใส่ดินให้เต็มกระสอบ ไม่ต้องกลัวว่าจะล้น เพราะเมื่อเวลารดน้ำ ดินจะยุบตัวลง แต่การใส่ดินไม่จำเป็นต้องอัดให้แน่นเกินไป
ผักสวนครัวในกระสอบ เทคนิคที่คนทั่วไปนิยมทำ เช่น ผักกินใบต่างๆ จำพวก คะน้า กวางตุ้ง โดยการผลักกระสอบให้นอนลงแล้วเจาะรูเพื่อ หยอดเมล็ด ผู้เขียนจะไม่เลือกปลูกวิธีนี้ เพราะเท่าที่เคยทำมาสามารถทำได้ผลดี และมีข้อดีคือปลูกได้ในจำนวนมากเพราะมีพื้นที่ปลูกมากกว่า แต่ข้อเสียคือต้องมาดูแลบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปุ๋ย เรื่องน้ำที่มักจะแห้งเร็ว พืชไม่ค่อยงาม และอาจต้องใช้กระสอบใบใหญ่ แต่การวางกระสอบแบบแนวตั้ง และมีระบบภายใน กระถาง หรือ กระสอบ ที่ดีตามที่บอกไว้ จะสังเกตุว่าพืชได้สารอาหารมากกว่า ไม่ต้องเติมปุ๋ยกันบ่อยๆ และให้คุณภาพดีกว่ามาก ที่สำคัญไม่ต้องดูแลมากด้วย
ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกลงในกระสอบ
อย่างที่บอก เราควรเลือกพืชผักที่มีระดับความจำเป็นมากกว่า ผักสวนครัวที่ปลูกง่าย ทั่วไป เพื่อความคุ้มค่าต่อการลงทุน และมีเวลาในการทำอย่างอื่นมากตามไปด้วย โดยผักที่จะแนะนำให้ปลูกในกระสอบได้แก่
- มะเขือเทศ แต่พื้นที่ต้องไม่อบอ้าวเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18-27 องศาฯ มีแสงแดดเต็มวัน ชอบดินร่วนน้ำไม่ขัง
- พืชตระกูลแตง ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะเมล่อน แตงโม แต่อาจต้องใช้เชือกเมื่อมาเป็นตัวช่วยจับยึดต้นไม่ให้ล้ม และช่วยรับน้ำหนักของผลด้วย
- มะเขือยาว มะเขือม่วง พืชชนิดนี้ปลูกได้ทั้งแดดจัดและแดดรำไร ระบบรากลึก เหมาะกับการปลูกในกระสอบ
- ข่า ขิง ปลูกได้ผลดีในกระสอบ
- แครอท บีทรูท อาจต้องการแสงแดดอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง และต้องการสภาพอากาศที่เย็นเล็กน้อย ดูข้อมูลการปลูกบีทรูทในกระถาง
- ถั่วลิสง และพืชตระกูลถั่วบางชนิดอาจต้องทำค้างเพิ่มเติม
- ผักกินใบ ปลูกได้ทุกชนิด
การลดความร้อนให้กับพืช สามารถใช้สแลนกันแดด 50 เปอร์เซ็นต์
หรือใช้พืชที่ปลูกในกระถางนำมาวางไว้ใกล้ๆ กันให้เต็มโดยไม่มีผลเสียใดๆ โดยเฉพาะพืชใบ เพราะพืชใบมีการคายน้ำสูง ช่วยลดความร้อนให้กับผักสวนครัวได้เป็นอย่างดี
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
เกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง
เกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอน มีหลักการทำและมีข้อปฎิบัติง่าย
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
ปลูกปอเทืองไว้บำรุงดินในนาข้าว ให้ผลดีมาก
รู้หรือไม่ว่า หากปลูกปอเทือง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการเลี้ยงสัตว์
พื้นที่น้อย ขุดบ่อเลี้ยงปลาอย่างไรให้คุ้มทุน
หากเรามีพื้นที่น้อย และอยากขุดบ่อเลี้ยงปลา จะทำอย่างไรใ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
สภาพดินปนทราย ปลูกพืชอะไรถึงจะดี
ดินปนทราย ปลูกอะไรดี พื้นที่การเกษตรในประเทศไทย แตกต่าง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
กล้วยด่าง กับเทคนิคการเลือกให้ได้พันธุ์แท้
หลายวันก่อน เขียนเรื่อง กล้วยด่างฟลอริด้า ที่ดาราสาวอย่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการเลี้ยงสัตว์
แนะวิธีแก้ปัญหางูเข้าบ้านควรทำอย่างไร
ปัญหางูเข้าบ้านที่มักกวนใจกับผู้ที่มีลูกเด็กเล็กแดงหรือ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช