ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณ เกลือ ที่ละลายอยู่ในสารละลาย ดิน ที่มากเกินไป
ดินเค็ม จะมีผลกระทบต่อ การเจริญเติบโต และ ผลผลิต ของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการ ขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่ เป็นพิษ ในพืชมากเกินไป นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของ ธาตุอาหารพืช ด้วย
สำหรับพื้นที่ ดินเค็ม ปลูกอะไรได้บ้างนั้น มีข้อจำกัดเยอะมาก สำหรับ การปลูกพืชในดินเค็ม จะมีปัญหา ดินเค็ม ที่แก้ไขไม่ตก เนื่องจากพื้นดินส่วนใหญ่มีปริมาณ เกลือในดิน สูงทั้วถึงกันเป็นแนวกว้าง
การแก้ปัญหาดินเค็ม ส่วนใหญ่ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร หากไม่ทำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแร่ธาตุมาจากดินเดิม และพบว่า พื้นที่หลายแห่งที่ใช้กรรมวิธีการแกล้งดิน แต่ไม่ทำอย่างต่อเนื่องปัญหาดินเค็มก็จะกลับมาซ้ำเติมเกษตรกรอีก ดังนั้นหากไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะยาว จึงควรมีการตั้งรับและปรับสภาพให้อยู่กับปัญหาได้
วิธีการก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร ในพื้นที่ดินเค็มส่วนใหญ่ ก็สามารถปลูกพืชทนเค็มได้ดี
การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม ทำอย่างไรให้รอด
ดินเค็ม ปลูกอะไรได้บ้าง การเลือก พืชทนดินเค็ม แล้วใช้วิธีการปลูกพืชในดินเค็ม เป็นวิธีที่ได้ผล และประหยัดคุ้มค่าที่สุด และเกษตรกรสามารถจัดการด้วยตัวเองได้ในพื้นที่ดินเค็ม โดยการคัดเลือกพืชทนเค็มที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเค็มระดับความเค็มต่าง ๆ ดินที่มีระดับความเค็มไม่มากเกินไปนัก ก็สามารถปลูกพืชบางชนิดได้ เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย กะหล่ำ บวบ แตงโม กระเทียม ผักโขม มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า ชะอม
วิธีการปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม ทำได้โดย การเตรียมแปลงปลูกพืช จะต้องจัดทำวิธีการปลูกพืชให้ถูกต้อง เพื่อให้พืชถูกผลกระทบจากความเค็มของเกลือน้อยที่สุด โดยปกติจะยกร่องแล้วปลูกตรงกลางร่องนั้น การปลูกวิธีนี้เกลือจะเคลื่อนไปสะสมในบริเวณกลางร่องพอดี เนื่องจากเป็นที่สูงและมีการระเหยน้ำสูงสุด ทำให้เมล็ดพืชได้รับผลกระทบจากความเค็ม แต่ในบริเวณริมร่องทั้ง 2 ข้างมีความเค็มน้อยกว่า ดังนั้น
การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็มให้ได้ผลที่สุดคือ บริเวณริมร่อง หรือท้องร่อง ซึ่งเป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืชได้ดีที่สุด
โดยอาศัยหลักการข้างต้นนี้ สามารถดัดแปลงรูปร่างของแปลงเป็นแบบต่าง ๆ โดยให้มีส่วนสูงไว้คอยดึงความชื้น เพื่อเกิดการสะสมเกลือในบริเวณนั้น แล้วจึงปลูกพืชในบริเวณที่ต่ำกว่า จะทำให้พืชโตเร็วขึ้นในพื้นที่ดินเค็มมาก ๆ จนหาทางแก้ไม่ได้
เฉพาะพื้นที่ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบริเวณที่เป็นดินเค็มน้อย เกษตรกรที่ปลูกข้าวจำเป็นจะต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตข้าว โดยขังน้ำไว้ในนา เพื่อชะล้างคราบเกลือ จนน้ำ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ แล้วระบายน้ำทิ้ง ทำแบบนี้ 2-3 ครั้ง แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หรือปลูกปุ๋ยพืชสด จำพวกโสนแอฟริกัน โสนคางคก โสนอินเดีย ปลูกแล้วให้ไถกลบในช่วงที่ต้นพืชออกดอกแล้วทำการไถพรวนคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
ในการเตรียมดินสำหรับการปลูกพืชในดินเค็มเพื่อปักดำข้าวนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่หมักได้ที่แล้ว จึงคลุกเคล้าให้เข้ากับดินถ้าเป็นปุ๋ยคอกหมักไว้ก่อนปักดำประมาณ 3-9 วัน
แต่ถ้าเป็นปุ๋ยหมักจะต้องใส่ก่อน 30 วัน หากเป็นดินเหนียวควรใส่แกลบอัตรา 2-5 ตันต่อไร่ ไถคลุกเคล้ารวมกับดินก่อนปักดำข้าว
สำหรับข้าวที่ใช้พันธุ์ข้าวทนเค็ม เช่น หอมอัน น้ำสะกุย 19 ข้าวดอกมะลิ 105 เก้ารวง 88 แดงน้อย เจ๊กกระโดด ขาวตาอู่ กข.8 คำฝ้าย 41 ขาวหางเบา กข.1 เหนียวสันป่าตอง กอเดียวเบา ขาวตาแห้ง
จากนั้นใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 5 สัปดาห์ ปักดำให้ถี่ขึ้นประมาณ 20 x 20 ซม. และต้นข้าวให้ห่างประมาณ 6-8 ต้นต่อจับ รวมทั้งใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ใส่ 3 ครั้ง ๆ ละ 10 กก.ต่อไร่ ใส่ในช่วงที่ 1 ระยะภายหลังปักดำแล้ว 7 วัน
ช่วงที่ 2 ระยะที่ข้าวแตกกอ
และช่วงที่ 3 ระยะที่ข้าวเริ่มตั้งท้อง ส่วนปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ใส่ครั้งเดียวก่อนเตรียมดินในอัตรา 10 กก.ต่อไร่ นอกจากนี้จะต้องสังเกตน้ำ ถ้าเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือลักษณะของต้นข้าวเมื่อปลายใบเริ่มไหม้ ให้ระบายน้ำออก
ส่วนการปรับปรุงพื้นที่ดินเค็มชายทะเลนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงมาก ดังนั้นจึงควรใช้ที่ดินให้เหมาะสมไปตามธรรมชาติ เช่น ใช้เป็นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล ปลูกป่าชายเลน (แสม โกงกาง ตะบูน และต้นจาก) ทำนาเกลือ และการทำสวนมะพร้าวเพื่อทำน้ำตาลปี๊บ เรื่องปัญหาดินเค็ม สนใจ
ตัวอย่าง วิธีการปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม
บริเวณที่มีเกลือมาสะสมไม่สมควรที่จะทำการปลูกพืช โดยการเตรียมแปลงปลูกพืช จะต้องจัดทำวิธีการปลูกพืชที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้พืชที่ปลูกได้รับผลกระทบจากความเค็มของเกลือ ที่มีอยู่ในดินให้น้อยที่สุด ดังตัวอย่างในรูปการเตรียมแปลงปลูกพืชโดยปกติจะยกร่องแล้วปลูกตรงกลางร่อง โดยวิธีการนี้เกลือจะเคลื่อนไปสะสมในบริเวณกลางร่องพอดี
เนื่องจากเป็นที่สูงและมีการระเหยน้ำสูงสุด ทำให้เมล็ดพืชหรือต้นพืชได้รับผล กระทบจากความเค็ม แต่ในบริเวณริมร่องทั้ง 2 ข้างจะมีความเค็มที่น้อยกว่า ดังนั้นบริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืช โดยอาศัยหลักการนี้จึงเป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืช โดยอาศัยหลักการนี้ สามารถดัดแปลงร่างของแปลงให้เป็นแบบต่าง ๆ โดยให้มีส่วนสูงไว้คอยดึงดูดชื้นเพื่อให้เป็นการสะสมเกลือไว้ในบริเวณนี้แล้วจึงปลูกพืชในบริเวณที่ต่ำกว่า
พืชทนเค็ม ทางเลือกสำหรับพื้นที่ดินเค็ม
ดินเค็ม ปลูกอะไรได้บ้าง สามารถแบ่งหมวดหมู่ออกเป็นชั้นคุณภาพของดิน เริ่มจาก เค็มน้อย เค็มปานกลาง เค็มมาก และเค็มจัด ดังนี้
พื้นที่ดินเค็มน้อย สามารถปลูกได้ในพื้นที่เค็มน้อย โดยเปอร์เซ็นต์ของเกลือ โดยประมาณอยู่ที่ 0.12-0.2 ซึ่งดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.12-0.25 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 2-4 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชที่ไม่ทนเค็มจะเริ่มแสดงอาการ เช่น การเจริญเติบโตลดลง ใบสีเข้มขึ้น ใบหนาขึ้น ปลายใบไหม้ ปลายใบม้วนงอ ผลผลิตลดลง แต่พืชทนเค็มบางชนิดสามารถขึ้นได้ตามปกติ สามารถปลูกพืชทนเค็มในพื้นที่ดินเค็มน้อยได้ดังนี้
- กลุ่มพืชสวน ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย แตงร้าน แตงไทย
- กลุ่มพืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วแขก ถั่วปากอ้า งา
- กลุ่มไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ อาโวกาโด กล้วย ลิ้นจี่ มะนาว ส้ม มะม่วง
พื้นที่ดินเค็มปานกลาง ชั้นคุณภาพของดินที่มีเปอร์เซ็นต์ของเกลือ โดยประมาณอยู่ที่ 0.2-0.4 ซึ่งดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.25-0.50 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 4-8 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชสามัญธรรมดา โดยทั่วไป จะแสดงอาการบ้างเล็กน้อย เนื่องจากความเค็มในดิน ดังนั้นก่อนมีการปลูกพืชจึงต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเสียก่อนด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด สามารถปลูกพืชทนเค็มในระดับปานกลางได้ดังนี้
- กลุ่มพืชสวน ได้แก่ บวบ กะหล่ำดอก พริกยักษ์ กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้ำเต้า กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ข้าวโพดหวาน แตงโม ผักกาดหอม องุ่น สับปะรด ผักชี
- กลุ่มไม้ดอก ได้แก่ เยอบีร่า
- กลุ่มพืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าว ป่าน โสนพื้นเมือง ทานตะวัน ปอแก้ว ข้าวโพด หม่อน ข้าวฟ่าง หญ้าเจ้าชู้ มันสำปะหลัง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วอัญชัญ
- กลุ่มไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ ทับทิม ปาล์มน้ำมัน ชมพู่ มะกอก แค มะเดื่อ
พื้นที่ดินเค็มมาก ชั้นคุณภาพของดินที่มีเปอร์เซ็นต์ของเกลือ โดยประมาณอยู่ที่ 0.4-0.8 สามารถปลูกพืชทนเค็มได้ดังนี้
- กลุ่มพืชสวน ได้แก่ ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม แคนตาลูป
- กลุ่มไม้ดอก ได้แก่ บานบุรี บานไม่รู้โรย กุหลาบ ชบา เฟื่องฟ้า
- กลุ่มพืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม แคนตาลูป
- กลุ่มไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก ฝรั่ง ยูลาลิปตัส มะม่วงหิมพานต์ มะยม สมอ
พื้นที่ดินเค็มจัด ชั้นคุณภาพของดินที่มีเปอร์เซ็นต์ของเกลือ โดยประมาณมากกว่า 0.8 และเหมาะกับพืชชอบเกลือเท่านั้นที่เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ ดินเค็มจัดคือดินที่มีปริมาณเกลือในดิน ประมาณ 0.5-1.0 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมือ วัดความเค็มได้ 8-16 เดซิซีเมนต่อเมตร มีพืชบางชนิดเท่านั้นทีสามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ สามารถปลูกพืชทนเค็มสำหรับพื้นที่นี้ได้ดังนี้
- พืชสวน ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กระเพรา ผักบุ้งจีน ชะอม
- ไม้ดอก ได้แก่ คุณนายตื่นสาย เข็ม เขียวหมื่นปี แพรเซี่ยงไฮ้ เล็บมือนาง
- พืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ฝ้าย หญ้าแพรก หญ้าไฮบริเนเบียร์ หญ้าชันอากาศ หญ้าแห้วหมู ป่านศรนารายณ์ หญ้าดิ๊กซี่ หญ้าคัลลา
- ไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ ละมุด พุทรา มะขาม มะพร้าว อินทผลัม สน สะเดา มะเขือเทศ
การทนเค็มของพืช
นั้นนอกจากจะขึ้นกับชนิดและพันธุ์แล้ว วิธีการดูแลรักษามีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชมาก เนื่องจากดิน น้ำ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลร่วมกันต่อการทนเค็มของพืช พืชที่อยู่ในสภาพแวดล้อมในที่อากาศเย็นและชุ่มชื้นจะทนเค็มได้มากขึ้น กว่าสภาพอากาศร้อนและแห้ง ผลผลิตของพืชหลายชนิดลดลงมากขึ้นเมื่อความชื้นในอากาศลดลง
การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม ทำให้ผลผลิตพืชในพื้นที่ดินเค็มเพิ่มขึ้น โครงสร้างดินเลวหรือมีชั้นดินดาน เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของรากพืช การเคลื่อนย้ายของน้ำ และธาตุอาหารในดิน
ดังนั้นการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของดินหรือการไถพวนลึกทำลายชั้นดินดาน จะช่วยลดช้อจำกัดทางกายภาพทำให้รากพืชสามารถชอนใขได้ดีขึ้น
ข้อควรระวังในการให้น้ำ แก่พืชในพื้นที่ดินเค็ม คือ หากปริมาณน้ำในดินลดลงทำให้ความเข้มข้นของเกลือมากขึ้น การให้น้ำในปริมาณมากเกินไปทำให้การถ่ายเทอากาศในดินทำได้ไม่ดี โดยเฉพาะในดินเหนียวจะทำให้ระบายน้ำได้ยาก และการให้น้ำแบบสปริงเกอร์จะทำให้เกิดความเสียหายได้ ถ้ามีน้ำเค็มค้างอยู่บนใบพืช
สอบถามได้ที่กลุ่มปรับปรุงดินเค็มสำหรับการปลูกพืชทนเค็ม ที่กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 579-5546