การปลูกข่า สร้างรายได้ นับวัน ข่า มีมูลค่าในเชิงการค้า ที่เป็นประโยชน์โดยตรง แถมสามารถ ขายได้ ทั้งข่าอ่อน และข่าแก่
และมีตลาดข่า รองรับมากมาย ที่สำคัญนั้น การเตรียมปลูก เพื่อผลผลิต ก็ไม่ยาก แถมข่ายังเป็น พืชทนแล้ง และเป็น พืชทนน้ำท่วม ได้ดี
และประโยชน์ทางอ้อมสำหรับ การปลูกข่า นั้นก็เป็น ระบบการป้องกันแมลง ได้อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะหากปลูกแซม หรือปลูกดักในทิศทางที่ แมลง ชอบมาก่อกวนเอาไว้ ก็จะช่วยลด การเข้าทำลาย ของแมลง ในพืชผลอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน เพราะแมลง ไม่ถูกโรคกับ พืชที่มีกลิ่นฉุน โดยเฉพาะข่า ขิง ตะไคร้ และพืชอีกหลายชนิด
สำหรับ วิธีการปลูกข่าให้ได้ผลผลิตที่ดี ในพื้นที่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ แห้งแล้ง อย่างช่วงหน้าร้อน ในประเทศไทยนั้น จะแล้งมากทุกปีอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็สามารถ ปลูกข่า ให้ได้ผลดีมาก ๆ เช่นกัน เนื่องจากพืชชนิดนี้ น้ำน้อยก็อยู่ได้ น้ำท่วมก็ยิ่งงอกงาม
ข่า ลักษณะทั่วไป
เป็นพืชที่มีลำต้นใต้ดิน หรือที่เราเรียกกันว่า “เหง้า” อยู่ในวงศ์ ขิง กระชาย ขมิ้น จัดเป็นไม้ล้มลุก เป็น พืชสมุนไพร ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งการประกอบอาหาร ดับกลิ่น และแก้สารพัดโรค และอาการผิดปกติหลายอย่าง
มีชื่อสามัญที่เรียกกันอีกหลายชื่อ เช่น กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ต้นข่า ต้นอ่อนรับประทานได้
ดอกข่า รับประทานได้ มีรสชาติเผ็ดซ่าเล็กน้อย
การปลูกข่า ขั้นตอนปลูกที่ได้ผลดีสุด
การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบชื้น ดินร่วนซุย แต่ไม่ชอบแฉะและน้ำขัง หากพื้นที่ไหนมีน้ำขังก็คงเป็นเรื่องยากสักหน่อยสำหรับ การปลูกข่า หรืออาจะแก้ไขด้วยการไถเปิดหน้าดินแล้วก่อนขึ้นเป็นคัน
แต่หากเป็นพื้นที่ราบปกติแล้วก็สามารถไถเปิดหน้าดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร แล้วคลุกกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน
หรือหากเป็น การปลูกข่าเพื่อใช้รับประทาน ในครัวเรือนก็สามารถใช้จอบขุดขึ้นแปลงเล็กๆ หรือขุดหลุมแล้วคลุกดินด้วยปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักได้ไม่ยุ่งยาก
การเตรียมต้นพันธุ์ข่า สำหรับปลูก ข่าเป็นพืชที่ปลูกง่าย แต่หากท่านใดมีโอกาสก็อยากจะแนะนำ ต้นพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ ที่มีอายุได้ 8 – 9 เดือน เพราะมีตามาก และรากงอกใหม่ได้ง่าย เพียงแค่แยกแง่ง ตัดใบ ตัดรากออกให้หมด แล้วล้างให้สะอาดก็เป็นอันใช้ได้
แต่หากท่านไหน ไม่สามารถหา ต้นพันธุ์ข่า ได้นั้น ก็สามารถหาซื้อเอาตาม ตลาดนัดทั่วไปก็ได้ โดยคัดเลือก หัว หรือ แง่ง ที่มี ตาตามข้อ ตัดแต่งส่วนที่เน่าหรือช้ำออก เพราะอาจทำให้แผลนั้น ลุกลามและทำลายหัวที่จะปลูกในภายหลังได้
เมื่อคัดเลือกทำความสะอาดเสร็จแล้ว ก็นำไป แช่ในน้ำยากันเชื้อรา หลังจากนั้น ก็นำไป เพาะชำ ในแกลบดำ หรือ วัสดุปลูกชนิดอ่อน เช่น แกลบ หรือ ขุยมะพร้าว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม เป็นเวลา 10 – 15 วัน เพื่อรอให้ รากงอก และแทงยอดออกมาใหม่
หากท่านใด นิยมการปลูกแบบบ้าน ๆ ก็ไม่ต้อง พิถีพิถัน อะไรมาก สามารถปักหัวข่าลงดิน แล้วรดน้ำได้เลย แต่ถ้าหากอยากให้อัตราการรอดสูง ก็อาจจะต้องพึ่งพาการอนุบาลเสียเล็กน้อย เพื่อศิริมงคลแก่ชีวิต
วิธีการปลูกข่า
การปลูกนั้น ไม่มีอะไรยุ่งยาก เกินไปกว่า การขุดหลุม เพราะต้องขุดให้ลึก ประมาณ 10 เซนติเมตร และกว้าง 30 เซนติเมตร อาจรองก้นหลุมด้วย ใบสะเดา ใบยาสูบหั่นฝอย หรือ พืชที่มีกลิ่นฉุน เพื่อดักทางแมลง หรือหนอน แล้วตามด้วย ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอกเก่า (หลีกเลี่ยงการใช้มูลวัวโดยตรง เพราะง่ายต่อการแพร่ของหนอนกอ)
เมื่อนำวัสดุรองก้นหลุมแล้ว จึงกลบดินถม แล้วนำเหง้า หรือหน่อข่าที่เตรียมไว้ มาวางในหลุม แล้วกลมดิน ให้สูงจากปากหลุมอีก 10 ซม. (รวมแล้วดินจะสูงประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร)
การวางหน่อ ก็ให้ตาของ หน่อข่า ชี้ขึ้นด้านบน โดยทิ้งระยะห่างระหว่างกอที่ 1 – 1.2 เมตร แล้วคลุมด้วยฟาง หรือวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่น เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ จากการถูกแดดเผา
หรืออาจไม่ต้องใช้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ เพราะข่าเป็นพืชปลูกง่าย แต่ในระยะแตกยอดอ่อน อาจต้องการน้ำที่มากพอสมควร เพราะหากดินแข็งไป น้ำไม่มี หน่อจะแห้งเอาง่าย ๆ
แนะนำให้หา วัสดุคลุม จะดีกว่า เพื่อรักษาความชื้นในดิน ในยามที่ขี้เกียจรดน้ำ และถึงแม้จะดูยุ่งยากในช่วงแรก แต่ก็เป็นผลดีในระยะยาวด้วย
การดูแลรักษาข่า หลังการปลูก
ถึงแม้ว่าข่า จะเป็นพืช ที่ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก (ทนแล้ง ทนน้ำท่วม) โตได้ตามมีตามเกิด แต่หากต้องการ ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ก็เห็นทีจะต้อง บำรุงให้งาม เพื่อให้ขายได้ราคา
ท่านอื่น ไม่แน่ใจว่าจะใช้อะไร แต่สำหรับผู้เขียน นิยมใช้ ปุ๋ยหมักทำเอง ที่ได้จากการ หมักผักตบชวา กับมูลไก่ และแกลบ โดยใส่บริเวณโคนต้น จำนวน 0.5 กิโลกรัมต่อต้น ใส่เดือนละครั้ง เพราะความขี้เกียจ
หากเป็น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ก็คงจะใส่น้อยกว่านี้ ตามอัตราส่วน ในเรื่องของการให้น้ำ หรือการรดน้ำนั้น หากเพื่อน ๆ มีฟางหรือวัสดุคลุมดินไว้ ก็จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดี ทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อย
โดยอาจจะรดน้ำแค่อาทิตย์ละครั้ง แต่หากไม่มีวัสดุคลุมดิน ก็ควรดูจากระดับความชื้นในดิน และสำหรับไร่ผู้เขียนเอง ก็เพิ่มเติมด้วยการรด น้ำหมักชีวภาพ ทุกอาทิตย์เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในดินไปในตัว
การปลูกข่าอ่อนสร้างรายได้
ชาวบ้านห้วยขะยูง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กว่า 100 หลังคาเรือน แห่ ปลูกข่า เป็นอาชีพเสริม ควบคู่กับการทำนา เน้นเก็บข่าอ่อนป้อนตลาดที่สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ สร้างรายได้ให้เกษตรกร เลี้ยงครอบครัวตลอดทั้งปี
เรื่องราวของเกษตรกร ที่บ้านห้วยขะยูง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี หันมาปลูกข่า เน้นเก็บเกี่ยวข่าอ่อนเพื่อส่งตลาดนับร้อยๆ ครอบครัวที่ว่านี้ มีการเขียนนำเสนอจากสำนักข่าวว่า
ได้ไปดูกิจการ ของชาวบ้าน ที่ร่ำลือว่าเป็น หมู่บ้านตัวอย่าง ที่ไม่มีการอพยพแรงงานไปต่างถิ่น และเป็น หมู่บ้านที่ชาวบ้านไม่เป็นหนี้สิน อีกด้วย
เพราะแต่ละครอบครัว จะมีรายได้จากการขาย ข่าอ่อน เดือนละเป็นหลักหมื่นบาท ทุกวันนี้ บ้านห้วยขะยูง เป็นแหล่งใหญ่ที่สุดที่มี การปลูกข่าอ่อน ส่งขายภาคอีสาน โดยมีตลาดหลักที่รับซื้อคือที่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ แม้ในพื้นที่จังหวัดอื่น อย่างที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ แต่มีการปลูกน้อยกว่า
นางเทียน มังคะรินทร์ เกษตรกรวัย 65 ปี ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ ปลูกข่าอ่อน เป็นอาชีพเสริม ที่บ้านห้วยขะยูง
นางเทียน บอกว่า ยึดอาชีพ ปลูกข่าพันธุ์พื้นเมือง ขายสืบทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ โดยแต่ละครอบครัว จะปลูกข่า ไม่น้อยกว่า ครอบครัวละ 1 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตออกขาย สร้างรายได้เสริมให้ครอบครัว ไม่ต่ำกว่ารายละ 1 หมื่นบาทต่อเดือน หรือเฉลี่ยต่อวัน อย่างต่ำครอบครัวละ 200-500 บาท ทำให้ชาวบ้านห้วยขะยูง ไม่เดือดร้อน และ ไม่มีหนี้สิน เหมือนกับที่อื่น
ที่สำคัญ นางเทียนบอกว่า อาชีพการปลูกข่าอ่อนขาย เป็นอาชีพที่ดีเพราะ การปลูกข่า ไม่ต้องดูแลมาก ข่าไม่มีโรครบกวนเหมือนพืชชนิดอื่น
นอกจากนี้ ข่ายังเป็น พืชที่ต้องการน้ำน้อย รดน้ำเพียงเดือนละ 2 ครั้ง และใส่ปุ๋ยธรรมชาติ มูลสัตว์ ก็เจริญเติบโตได้ดี หลังจากปลูกลงดินประมาณ 6 เดือน สามารถเก็บผลผลิตขายได้
โดยการขุด ข่าอ่อน นำมาลอกเอาลำต้นที่แก่ออก จะเหลือลำต้นอวบอ้วนสีขาวนวลอยู่ข้างใน ซึ่ง ลำอ่อน หรือ หัวข่าอ่อน นั้น จะนำมามัดขายส่ง มัดละ 6-7 บาท โดยจะมี พ่อค้าแม่ค้า มารับซื้อถึงบ้าน ส่วน ข่าอ่อน คนอีสานนิยมรับประทานกันมาก โดยนำไปต้มจิ้มน้ำพริก หรือแกง
ข่าอ่อน ถือเป็น พืชสมุนไพรปลอดสารพิษ ที่รับประทานแล้ว มีผลดีต่อร่างกายอีกด้วย
ข่า ประโยชน์มากมาย
ข่านั้น มีมูลค่าในเชิงการค้า ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรง จากการปลูกข่า ซึ่งข่านั้น ขายได้ทั้ง ข่าอ่อน และข่าแก่ หากมีตลาดข่าอ่อนรองรับ ก็แนะนำให้ เตรียมการปลูก เพื่อผลิตข่าอ่อนได้เลย
เพราะราคาดี และขายง่ายกว่าข่าแก่มาก ส่วนประโยชน์ทางอ้อม สำหรับการปลูกข่า นั้นก็เป็น ระบบการป้องกันแมลง ได้อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะหากปลูกแซม หรือ ปลูกข่าดักทิศทางแมลงไว้ ก็จะช่วย ลดการเข้าทำลาย พืชผลอื่น ๆ ของแมลง ได้ด้วยเช่นกัน เพราะแมลงไม่ถูกกับพืชที่มีกลิ่นฉุน
ประโยชน์ทางยา
เป็นยาร้อน เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณ ช่วยขับลม ให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหาร การปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด
ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า
ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ชัดเจนว่า ข่า มีประโยชน์มากมาย แถมยังทำรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แถมยังสามารถปลูกติดบ้านไว้ทุกครัวเรือน เพราะข่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
การเลี้ยงสัตว์
เลี้ยงกุ้งเครฟิช เริ่มต้นอย่างไร
อยากเลี้ยงกุ้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เรามีคำตอบสำหรับ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
วิธีการปลูกต้นไม้และเลี้ยงยังไงให้รอดตาย สำหรับมือใหม่
หลายคนต้อง Work From Home เพราะเจอกับพิษร้ายของ covid-1
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ระบบน้ำหยดทำเองแบบง่ายและประหยัด
ระบบน้ำหยดทำเอง ไปเจอภูมิปัญญาชาวบ้านมา อยากแนะนำมาก แต
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
แนะนำการปลูกหัวผักกาดแดง ให้อร่อยและได้คุณค่า
ประเทศไทยเรามีการทำเกษตรอินทรีย์กับผักสวนครัวกันกว้างขว
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
เพาะเห็ดฟางในตะกร้าขาย ทำอย่างไรถึงรวยได้
ส่วนใหญ่ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าแบบทั่วไปที่ทำได้ง่าย ใช
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ใช้อะไรเป็นสารทดแทนเคมี ในการทำเกษตรอินทรีย์
ปัญหาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเกษตรกรที่ลงมือทำเกษตรอินทรีย์ท
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช