ระบบการทำเกษตรทางเลือก

จากสภาพปัญหา การเกษตร ที่เกิดขึ้น ทำให้แนวคิด ที่มุ่งแสวงหาทางออก แก่สังคมการเกษตร ได้มีทางเลือกใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย และหลายแนวทางเหล่านั้น เราอาจคุ้นชินกันดี และก็ปฎิเสธ แนวคิดการทำการเกษตรแผนใหม่ ไม่ได้

แม้ว่าเกษตรกรรมแบบเคมี จะยังคงเป็นกระแสหลัก ของระบบการเกษตรในประเทศนี้อยู่ แต่แนวโน้ม ของการทำการเกษตรกรรม ด้วยวิธีแบบนี้ กำลังเริ่มเห็นผล และชัดเจนขึ้นในด้าน การ ละ ละ และเลิก

เพราะสังเกตุได้ง่าย ๆ ในช่องทีวีดิจิตอลในยุคนี้ แม้เมื่อก่อน จะมีโฆษณา ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มากมาย โดยเฉพาะ ปุ๋ยเคมี แต่ปัจจุบัน เปลี่ยนไปเป็น ปุ๋ยชีวภาพ ที่อ้างอิงที่มาจาก ธรรมชาติ กันมากขึ้น

นั่นเพราะปัจจุบัน เกษตรทางเลือก ได้กลายเป็นกระแส ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากความล้มเหลวของ ระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ และได้ก่อให้เกิด ผลกระทบมากมาย หลายประการ ขณะเดียวกัน เกษตรกรรมแบบทางเลือก ก็เป็นที่สนใจ ของหน่วยงานของรัฐ และเอกชน หลายองค์กร

เกษตรทางเลือกคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

เกษตรกรรมทางเลือก เป็นการทำการเกษตรในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่ เกษตรเคมี เหมือนสมัยเดิมดังที่ใช้กันอยู่ แต่เป็น การทำการเกษตร ที่เน้นการใช้ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และ วัสดุปกคลุมดิน รวมไปถึง การผสมผสาน ด้วยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อพึ่งพาอาศัยกัน ลดการไถพรวน และงดเว้น หรือลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์ และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้น้อยลง จนถึงขั้นไม่ใช้เลย

และเมื่อความต้องการพืชผักที่ไม่มีสารพิษเกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรักสุขภาพ และแผ่ขยายแตกตัว ไปยังกลุ่มผู้มีอันจะกิน ในระดับเริ่มแรก กระทั่งปัจจุบัน คนทั่วไป ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย และด้วย ราคาที่เข้าถึง ไม่แพงเหมือนก่อน ทำให้การเกษตรแบบทางเลือก เป็นแนวทางที่ เกษตรกร น่าจะอยู่รอดได้

ระบบเกษตรทางเลือก จะมีเป้าหมายในการ “ผลิตอาหารและปัจจัยที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิต มากกว่าการผลิตเพื่อจำหน่าย หรือการส่งออก”

เกษตรกร จึงไม่ต้องวิ่งไปตามกระแสของตลาด อาหารที่ผลิตได้ ก็เป็นอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยจาก สารพิษตกค้าง ดังนั้น ระบบเกษตรทางเลือก จึงมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเปิดโอกาสให้ สมาชิก ในครอบครัว สามารถทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีความสุข และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ได้อย่างกลมกลืน

ปัจจุบันระบบเกษตรทางเลือก มีอยู่หลายกลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีหลักการ และวิธีการที่ใกล้เคียงกัน จะมีแตกต่างกันบ้าง ตามแนวคิด และวิธีปฏิบัติ ไปตามสภาพทางสังคม และวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้น ๆ

ระบบเกษตรทางเลือกที่มีในปัจจุบัน

ซึ่งเกษตรทางเลือกทั้ง 6 ระบบแบบนี้ ล้วนมีจุดเด่นต่างกัน และมีกรรมวิธีการปรับใช้ ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่ และสามารถ ผสมผสานระบบการเกษตร ได้มากกว่า 2 ระบบ มาว่ากันในรายละเอียดดังนี้

เกษตรธรรมชาติ Natural Farming

มีเป้าหมายในการทำเกษตร ด้วยวิธีการเน้นในเรื่องของ การปรับปรุงดิน ให้อุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ และจัดระบบนิเวศ ให้เกื้อกูลกัน ผลิตอาหารที่มีรสชาติตามธรรมชาติ และไม่มีสารพิษ ผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษ จากกระบวนการผลิต

เกษตรธรรมชาติ Natural Farming

และระบบนี้เป็น ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติ โดยจุดเด่นของเกษตรธรรมชาติคือ การฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศ และการลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก

เกษตรอินทรีย์ Organic Farming

เน้นในเรื่อง หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงฮอร์โมนต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ตลอดจน ไม่ใช้พืช หรือสัตว์ ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม ที่อาจเกิดพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับปรุงบำรุงดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ การปลูกพืชหมุนเวียน

ทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียงตามรอยพ่อหลวง

รวมทั้งใช้หลักการควบคุมศัตรูพืช โดยชีวภาพ และเน้นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัจจุบันในส่วนของ ฮอร์โมนกระตุ้นการเติบโตของพืช และสัตว์ มักถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังถือว่าเป็น ระบบเกษตรอินทรีย์อยู่ เนื่องจากฮอร์โมนดัดแปลงนั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อสภาพแลดล้อม อีกทั้งที่มาของวัตถุดิบก็มาจากธรรมชาติ จึงยังคงสามารถอนุญาตให้ใช้ได้เป็นบางชนิด ดูเพิ่มเติม สารทดแทนเคมี ที่สามารถใช้กับ การทำเกษตรอินทรีย์ ได้

เกษตรยั่งยืน Sustainable Agriculture

ระบบเกษตรยั่งยืน เป็นการทำ การเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีทั้ง การปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ที่ผสมกัน และมีความเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน อย่างลงตัว แต่เนื่องจาก ระบบเกษตรยั่งยืน เป็นระบบเกษตร ที่มีความหมายค่อนข้างใกล้เคียงกับ ระบบเกษตรผสมผสาน และ ระบบเกษตรธรรมชาติ แต่จะเน้น ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืน

เกษตรยั่งยืน Sustainable Agriculture

ดังนั้น ระบบการเกษตรแบบใดก็ตาม ที่มีรูปแบบที่ทำให้เกิดความมั่นคงต่อเกษตรกร และมีผลในระยะยาว จึงจะถูกรวมเข้ามาอยู่ใน ระบบเกษตรยั่งยืน อาทิเช่น เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร และ เกษตรผสมผสาน

เกษตรผสมผสาน Integrated Farming

หรือการทำเกษตรผสมผสาน มีความแตกต่างจาก การทำเกษตรหลาย ๆ อย่างที่เรียกว่า ไร่นาสวนผสม หรือ Mixed Farming ตรงที่ เกษตรผสมผสาน มีการจัดการกิจกรรมการผลิต ผสมผสานเกื้อกูลกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างสูงสุด มิใช่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ อย่าง เพื่อลดความเสี่ยง จากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนเป็นหลัก อย่างการทำไร่นาสวนผสม เช่น

เกษตรผสมผสาน Integrated Farming

เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ไว้บนบ่อปลา เพื่อให้ขี้หมูขี้ไก่ เป็นอาหารปลา และนำมาเป็นปุ๋ยบำรุง แปลงผัก ผลไม้ ส่วนผลผลิตของผักผลไม้ที่ได้ ก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารให้แก่สัตว์เลี้ยง ลดต้นทุนการผลิตอีกต่อหนึ่ง

แต่บางครั้ง การทำไร่นาสวนผสม อาจมีกลไกการเกื้อกูลกัน จากกิจกรรมการผลิตได้บ้าง แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อย มิใช่เกิดจากความรู้ความเข้าใจ และการจัดการของเกษตรกร อย่างไรก็ตาม การทำไร่นาสวนผสม อาจเป็นบันไดขั้นต้นของ การทำเกษตรผสมผสาน ได้อีกทางหนึ่ง

เกษตรทฤษฎีใหม่ New Theory Agriculture

เกษตรทฤษฎีใหม่ มีแนวคิดและ ทฤษฎี ในการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกิดจากพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถในการที่ได้ทรงคิด ดัดแปลงปรับปรุง และแก้ไขให้การพัฒนาโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักสำคัญคือ ความเรียบง่าย ทั้งนี้ทรงใช้คำว่า Simplify หรือ Simplicity ทั้งในแนวคิดและด้านเทคนิควิชาการ จะต้องสมเหตุสมผล ทำให้รวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนต้องมุ่งไปสู่ วิถีแห่งการพัฒนา ที่ยั่งยืน ซึ่งมีหลักการ และรูปแบบในการทำเกษตร ตามเงื่อนไขคือ…

เกษตรทฤษฎีใหม่

เป็นรูปแบบย่อยของ ระบบเศรษฐกิจพอเพียง กับการทำเกษตร ที่เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก ประมาณไม่เกิน 20 ไร่ โดยให้เกษตรกร สามารถทำการเกษตร เพื่อเลี้ยงตนเองได้แบบค่อยเป็นค่อยไป ตามกำลัง และทำกิจกรรมการเกษตรหลายอย่าง เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ โดยให้แบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่

ให้มีแหล่งน้ำในไร่นา เพื่อใช้ในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง 30% ของพื้นที่ ให้มีพื้นที่ทำนา ปลูกข้าวในฤดูฝนไว้บริโภค ให้พอเพียงตลอดปี 30% ของพื้นที่ ให้มีพื้นที่เพื่อการเพราะปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล พืชสมุนไพร 30% ของพื้นที่ และให้มีพื้นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ 10% ของพื้นที่

โดยความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้ง 4 ในพื้นที่รวมทั้งหมด จะเป็นการทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ การหมุนเวียนการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน ปัจจัยการผลิต หรือเศษเหลือใช้จากพื้นที่หนึ่ง ไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงวิธีของการเกษตรแบบผสมผสาน โดยมีพื้นฐานอยู่ที่ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง และเป็นการเพิ่มเติมถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้ง 4 ส่วน ที่พระองค์ท่านได้มีสายพระเนตรอันยาวไกล เห็นถึงประโยชน์จากการหมุนเวียนของวัสดุเหลือใช้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น

วนเกษตร Agro Forestry

หมายถึง การใช้ที่ดินในการผลิตพืช และสัตว์ให้มากชนิด หรือมีความซับซ้อนและหลากหลายทางชีวภาพ ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า การทำเกษตรร่วมกันกับ การอนุรักษ์ป่าไม้ โดยมีรากฐานหรือปัจจัยการผลิต ที่มาจากท้องถิ่นเอง

วนเกษตร

ทั้งนี้ การทำวนเกษตร จะมีลักษณะแตกต่าง หรือผันแปรไปตามสภาพพื้นที่ รวมถึง ทัศนคติ ความเชื้อ วัฒนธรรม ประเพณี และความรู้ ความสามารถ ในการจัดการของแต่ละท้องถิ่นเอง

คร่าว ๆ เกี่ยวกับ ระบบการเกษตร ที่หลายคนอาจสับสน ซึ่งผู้เรียบเรียงเองในบางครั้งก็ยังสับสนว่า ระบบไหนเป็นแบบไหนในบางครั้ง จึงต้องมานั่งทบทวนระบบ กันในเนื้อหานี้ อีกครั้ง เพื่อความเข้าใจให้ดีขึ้น และหวังว่า คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่น ไม่มากก็น้อย

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาแม่โจ้ www.maejonaturalfarming.org
เรียบเรียง : www.kasetorganic.com

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

บทความน่ารู้

ต้นพุดกังหัน เหมาะเป็นไม้ในสวนไว้ใกล้บ้าน

พุดกังหัน หรือ Pinwheel Jasmine เป็นไม้พุ่ม ระดับความสู

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ใช้อะไรเป็นสารทดแทนเคมี ในการทำเกษตรอินทรีย์

ปัญหาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเกษตรกรที่ลงมือทำเกษตรอินทรีย์ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

แนะนำการปลูกหัวผักกาดแดง ให้อร่อยและได้คุณค่า

ประเทศไทยเรามีการทำเกษตรอินทรีย์กับผักสวนครัวกันกว้างขว

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

สายพันธุ์ข้าวไทย

รู้จักข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย

ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมานี้ ถ้าถามว่ารู้จัก ข้าวไรซ์เบอร

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกมะเขือเทศลูกท้ออย่างไร ให้ลูกดกและผลใหญ่

มะเขือเทศ เป็นผักสวนครัวอีกชนิดที่ปลูกง่าย และแนะนำเลยว

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

มอลโทเดกซ์ทริน มันคือแป้ง

ก็แป้งจริง ๆ นั่นแหละ แต่เป็นแป้งที่รับประทานได้ เกิดจา

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา