ว่าด้วยเรื่อง การตอนมะละกอ เพราะสมาชิกหลายคน เข้ามาบ่นถึงเกี่ยวกับเรื่องของ มะละกอ GMO กันมาก และสอบถามมาว่า มีเทคนิคอะไรที่จะทำให้รู้ว่า มะละกอที่ปลูกอยู่ข้างบ้าน เป็นมะละกอ GMO หรือไม่
เรื่องนี้บอกตรง ๆ เลยว่า ไม่รู้วิธีคัดแยก จริง ๆ ว่าต้นไหนเป็น GMO หรือไม่เป็น แม้จะด้วยสายตา หรือใช้ความชำนาญ หรือเครื่องไม้เครื่องมือใด แต่หากมีวิธีดู รบกวนบอกเข้ามาด้วนก็ดี จะได้เขียนเล่าถึงวิธีการคัดแยก เพราะผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านพืช GMO เท่าไหร่
แต่ถึงจะอย่างไร หากไม่มั่นใจก็อาจหลีกเลี่ยง แต่หากมั่นใจและต้องการขยายพันธุ์มะละกอ ก็แนะนำให้ได้ แต่ท้ายที่สุด ในความคิดผมเอง มะละกอเนี่ย หาพันธุ์แท้ยากแล้วล่ะ ไม่ว่าจะเพราะสภาวะแวดล้อมบังคับ ทำให้เกิดการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ จากแท้ กับ GMO หรือจะอะไรก็ตาม จะเป็น GMO แบบตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ดี แต่เพราะเราต้องอยู่กับมันไป มันแก้ไขกันได้ยากแล้ว
ส่วนหากใครต้องการ จะขยายต้นพันธุ์ ที่มั่นใจว่า แท้แน่นอน วิธีหนึ่งที่แนะนำคือ การตอนมะละกอ เพราะรับประกันได้ว่า ไม่กลายพันธุ์แน่นอน ส่วนใครจะทำแล้วนำไปปลูกได้ผลผลิตดี ปลูกมะละกอ 1 ไร่ ได้เงินแสน หรือยังไม่ได้จับเงินแสน ก็ขอเอาใจช่วยกันต่อไป
พืช GMO สามารถตรวจได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
ใครที่กลัวว่า จะได้มะละกอ GMO หรือกลัวว่า จะไปซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ ไม่แท้ หรือไม่มั่นใจ ก็ขอบอกว่า วิธีที่จะทราบผลว่าพืชนั้นเป็น GMO ไหม ไม่ใช่การตรวจสอบด้วยสายตา เพราะไม่มีใครทำได้ แต่จำเป็นต้องใช้ วิธีการทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการตรวจสอบ โดยอาศัยหลักที่ว่า
พืช GMO ทุกชนิด จะประกอบด้วยสารพันธุกรรม 2 ตัว คือ 35S – promotor และ NOS – terminator การตรวจสอบหา GMO ใช้วิธีการที่เรียกว่า พีซีอาร์ (PCR : Polymerase Chain Reaction) วิธีนี้สามารถใช้ตรวจสอบหา GMO ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ได้
การตรวจหาใช้หลักการที่ว่าสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอสามารถจำลองตัวเอง (DNA replication) ได้โดยอาศัยดีเอ็นเอสายหนึ่งเป็นต้นแบบซึ่งหากใส่สารเคมีที่จำเป็นต่อการจำลองตัวของดีเอ็นเอเข้าไปก็จะได้ดีเอ็นเอจำนวนมากสำหรับการตรวจหาได้
ซึ่งขั้นตอนเบื้องต้นของเทคนิค PCR คือ จะต้องทำการสกัดแยกสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอออกมาจากตัวอย่างที่เราสงสัยว่าจะเป็น GMO จากนั้นทำการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอที่ต้องการ โดยใช้สารเคมีที่จำเป็นต่อการจำลองตัวของดีเอ็นเอนั้นลงไป หากมีชิ้นดีเอ็นเอที่ต้องการตรวจสอบอยู่ก็จะมีการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอให้เราสามารถนำมาตรวจสอบได้
ส่วนการตรวจหา GMO นั้น นอกจากจะใช้วิธี PCR นี้แล้วยังมีวิธีอื่น ๆ อีกเช่น การตรวจหาความต้านทานต่อสารปฏิชีวนะในตัวอย่าง การตรวจหาด้วยวิธีไอบริไดเซชั่น โดยทั่วไปในห้องปฏิบัติการมักนิยมใช้วิธี PCR ในการตรวจหา GMO มากกว่าเนื่องจากให้ผลที่ค่อนข้าง รวดเร็วและแม่นยำ
การตอนมะละกอ เทคนิคและวิธีการที่ได้ผล 100%
กลับมาที่มะละกอ เมื่อเราไม่มั่นใจในแหล่งอื่น แต่เราอาจมั่นใจในต้นที่เราปลูก แต่จะคอยให้ต้น มีลูก คอยเก็บเมล็ดก็คงจะลำบาก อีกทั้ง เราไม่สามารถควบคุม การผสมข้ามสายพันธุ์ได้ ในระบบเปิด หากต้นข้างเคียงยังมีสายพันธุ์ผสมอยู่ ก็มีความเป็นไปได้ที่ ผลผลิตออกมาจะเป็น GMO
หรือบางครั้งปลูกแล้วไม่ได้กินลูกกิลผลก็มี การตอนมะละกอ จึงเป็นวิธีที่ ตัดปัญหาทุกอย่าง หลายคนถามว่า มะละกอเค้าตอนกันได้ด้วยเหรอ บอกว่า ทำได้ ทำง่ายด้วย ถ้าดูรูปแล้ว รู้เลยว่าทำยังไง
ข้อดีของการตอนมะละกอ คือ สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ประหยัดรายจ่ายเมล็ดพันธุ์ กิ่งมะละกอที่ผ่านการตอน และนำมาปลูก จะเจริญเติบโตได้เร็วกว่า และมีลักษณะต้นเตี้ย และมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยว เร็วกว่า ไม่เสี่ยงกลายพันธุ์
วัสดุที่ใช้ในการตอนกิ่งมะละกอ
- มีดขนาดเล็ก
- เชือกหรือยาง
- ถุงพลาสติกขนาด 3×5 นิ้ว
- ขลุยมะพร้าว
- ดินร่วน
- ลิ่มไม้ ควรเป็นไม้เนื้อแข็งที่ผุยาก หรือวัสดุอื่น ที่ใช้กั้นไม่ให้ต้นมะละกอสมานแผลได้
เคล็ดลับ การตอนมะละกอให้ติดราก
วิธีทำก็ง่ายๆ สำหรับการตอนมะละกอให้ได้ผล ติดราก อัตรารอดสูง และผลดก
ก่อนจะเลือกตัดต้นมะละกอทิ้ง ลองทำการตอนก่อน หรือไม่อย่างนั้นก็อาจทำการตัดต้นมะละกอให้เหลือความสูงประมาณตามเหมาะสม ไม่เกิน 3 เดือน ต้นมะละกอที่ตัดจะแตกกิ่งออกมา 5-6 กิ่ง ก็สามารถที่จะทำการตอนกิ่งได้เพิ่มอีกด้วยวิธีการดังนี้
- คัดเลือกต้นมะละกอแม่พันธุ์ที่เป็นพันธุ์ดี ผลสวยและลูกดก หรือต้นพันธุ์ตามต้องการ
- เฉือนกิ่งพันธุ์ จากล่างไปบนเป็นปากฉลาม จากนั้นใช้ลิ่มไม้เล็กๆ ขัดไว้เพื่อไม่ให้แผลสมานกันได้ เพื่อบังคับรากให้งอกออกจากจุดนี้
- นำดินร่วนและขลุยมะพร้าวมาผสมกันในอัตราส่วน 3:1 บรรจุถุงพลาสติก
- ผ่าถุงพลาสติกตรงกลาง รดน้ำให้ชุ่มแล้วบีบให้พอหมาดๆ (ถ้าแห้งไปหรือแฉะไป รากจะออกยากอาจใช้เวลานาน) แล้วนำไปวางทับรอยแผลที่เฉือนไว้ มัดถุงด้วยเชือกให้แน่น
- เฉือนท่อน้ำเลี้ยงด้านล่าง ห่างจากกิ่งตอนประมาณ 3-5 นิ้ว จะทำให้รากงอกเร็วขึ้น ภายใน 30-45 วัน รากจะงอกออกมาเต็มที่ สามารถตัดไปปลูกได้
ในการตอนกิ่งมะละกอที่งอกออกจากต้นแม่พันธุ์ โดยปกติจะตอนกิ่งที่ยาวประมาณ 20-35 เซนติเมตร แต่กิ่งสั้นกว่านี้ก็สามารถตอนได้ แต่ต้องเลือกขนาดถุงพลาสติกที่มาหุ้มกิ่งให้เหมาะสม
การตอนโดยใช้กิ่งเล็กและสั้น เมื่อนำไปปลูกจะออกผลกองกับดินเลย แต่ถ้าตอนโดยใช้กิ่งยาวและใหญ่ ตอนนำไปปลูกจะออกผลสูงเหนือเข่า รากมะละกอจะลงลึกถึง 2 เมตร ในช่วงฤดูแล้ง แต่ในช่วงฤดูฝน รากมะละกอจะอยู่ที่ประมาณ 4 นิ้ว
สำหรับต้นมะละกอที่ได้จากการตอนมะละกอนั้น จะได้เป็นกิ่ง รากจะมีการเจริญเติบโตออกทางด้านข้าง ทำให้มีลำต้นที่แข็งแรง รวมทั้งรากของมะละกอตอนกิ่งจะมีความดก แต่สั้นมาก จึงต้องมีการบำรุงด้วยปุ๋ยที่มากกว่า อาจหักโค่นได้ง่าย และควรป้องกันเรื่องน้ำท่วมขัง ต้นจะตายได้ง่ายกว่าเนื่องจากระบบราก
ภาพ : www.youtube.com/watch?v=BDgeEwg6gcw
เรียบเรียง : kasetorganics.org
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
การขยายพันธุ์พืช
การเพาะเมล็ดแบบไม่ใช้ดิน ทำอย่างไร ง่ายที่สุด
ปกติจะใช้วิธีทั่วไปคือ ฝังเมล็ดผักไว้ในดิน รดน้ำเรื่อยๆ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ต้นมะกอกโอลีฟ พืชทนแล้งที่เหมาะสำหรับคนขี้เกียจ
มะกอกโอลีฟ ไว้ในสวนดีจริงหรือไม่ ช่วงนี้ผู้เขียนบ้าจัดส
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เศษอาหารและใบไม้ ใช้ทำปุ๋ยอะไรได้บ้าง
ปัญหาดินขาดปุ๋ยและธาตุอาหาร เพราะสภาพดินไม่เอื้อต่อการเ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ระบบการทำเกษตรทางเลือก
จากสภาพปัญหา การเกษตร ที่เกิดขึ้น ทำให้แนวคิด ที่มุ่งแส
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
การแก้ปัญหาดินเค็ม ให้สามารถปลูกพืชผักได้
ปัญหาดินเค็ม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบเจอกับผม เนื่องจากป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมสายพันธุ์ข้าวไทย
ข้าวลืมผัว ข้าวเหนียวที่อร่อยจนลืมเหลือให้ผัวจริงหรือ
พันธุ์ข้าวเหนียวที่หญิงส่วนใหญ่ได้กิน อร่อยจนลืมผัวจริง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช