นอกจากปุ๋ยเคมี ที่เป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์อย่าง ปุ๋ยคอก ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นยิ่งยวดที่เกษตรกรควรใช้
ทำไมปุ๋ยคอก ถึงจำเป็นและมีประโยชน์ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นชาวเกษตรอินทรีย์ จึงอยากชวนมาดูเนื้อหาในเรื่องนี้กัน..
ประโยชน์ของปุ๋ยคอก มีอะไรบ้าง
ปุ๋ยที่ได้จากการขับถ่ายของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย เป็ด ไก่ หมู กระต่าย ไส้เดือน โดยเฉพาะ สัตว์กินพืชทั้งหลาย ถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อพืช และระบบนิเวศน์
โดยปกติ ปุ๋ยคอกจะเป็นปุ๋ยที่นิยมใช้สำหรับชาวไร่ ชาวสวน ถึงแม้ว่าตัวมูลสัตว์ที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ย จะมีปริมาณธาตุอาหาร NPK ต่ำ แต่ปุ๋ยคอกก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะเรื่องการเป็นตัวช่วยทำให้ดินโปร่ง และร่วนซุยมากยิ่งขึ้น
การปรับปรุงดินที่ดีที่สุด จำเป็นต้องใช้ ปุ๋ยคอก
ธาตุอาหารหลัก (NPK) ที่พืชต้องการ
- ไนโตรเจน (N) สำหรับบำรุงใบ
- ฟอสฟอรัส (P) สำหรับบำรุงลำต้น ดอกและผล
- โฟตัสเซียม (K) สำหรับบำรุงราก
ดูเพิ่มเติมเรื่อง พืชต้องการธาตุอาหารอะไรบ้าง
ผลการวิเคราะห์ค่า PH และธาตุอาหารหลัก NPK ในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ
อ้างอิงจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/1526
สูตรการทำปุ๋ยคอกสไตล์ชาวบ้าน ที่เขารู้กันเฉพาะวงใน
ขี้หมูกินหัว ขี้วัวกินใบ ขี้ไก่กินผล
ส่วนขี้คนของเราเนี่ย มีประโยชน์น้อยมาก หรือแทบจะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย หากเทียบกับขี้สัตว์ หรือมูลสัตว์ทั้งหลาย
เปรียบเทียบปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ
ถ้าจะให้เปรียบเทียบสารอาหารหรือปุ๋ยคอกที่ได้จากสัตว์ดังกล่าวข้างต้นว่า สัตว์ประเภทไหนให้ปุ๋ยและได้ปริมาณสารอาหารมากกว่ากัน เราสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
- ขี้เป็ด ขี้ไก่ – ให้ปริมาณสารอาหาร มากสุด
- ขี้หมู – ให้ปริมาณสารอาหาร ระดับกลาง
- ขี้วัว ขี้ควาย – ให้ปริมาณสารอาหาร น้อยสุด
ถ้าจะลองสรุปคร่าว ๆ สัตว์เล็กอย่างเป็ดไก่ ปุ๋ยที่ได้จะมีปริมาณสารอาหารมากว่าสัตว์ใหญ่อย่างหมู วัวและควาย และเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่ผู้ปลูกต้นไม้ทุกคนควรทราบก็คือ
ปริมาณสารอาหารที่ได้จากปุ๋ยคอก ถ้าเป็นปุ๋ยใหม่ จะให้สารอาหารที่มากกว่าปุ๋ยเก่า ดังนั้น เวลาเลือกซื้อ หรือต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรเลือกปุ๋ยที่ผ่านการหมักมาแล้วไม่นาน
ปุ๋ยมูลไส้เดือน มีประโยชน์แค่ไหน
มูลไส้เดือน ถือเป็นปุ๋ยคอกชนิดหนึ่ง ที่ถือว่ามีประโยชน์สูง และให้แร่ธาตุอาหารหลัก NPK มากชนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้เหมาะกับการนำมาใช้สำหรับทำเกษตรมากนัก ลองสังเกตุดูตามรายการนี้
มูลไส้เดือนที่นำมาใช้เป็นปุ๋ยคอก จะมีธาตุอาหารหลักคือ
- N ไนโตรเจน 0.995%
- P ฟอสฟอรัส 0.669%
- K โพเทสเซียม 1.487%
ปุ๋ยมูลไส้เดือน จะเหมาะสำหรับการบำรุงต้น ราก และใช้ในช่วงที่พืชกำลังเติบโตเท่านั้น
พูดง่าย ๆ คือ พืชที่อยู่ในระยะเพาะกล้า หรือต้องฟื้นฟูหลังเกิดความเสียหาย หากนำปุ๋ยมูลไส้เดือนมาใช้เสริม จะช่วยให้พืชเติบโตและแข็งแรงดีกว่าปุ๋ยคอกชนิดอื่น ๆ
สามารถใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูก และวัสดุเพาะกล้าได้ตามสะดวก ทั้งยังช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี และเก็บความชื้นได้มากขึ้น ช่วยให้ระบบรากพืชกระจายตัวในดินได้ดีขึ้น
บทสรุปเรื่องปุ๋ยคอก
หากเกษตรกร หรือผู้นิยมชื่นชอบในการปลูกผักผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ การจะทำปุ๋ยคอกใช้เอง ด้วยการนำมูลสัตว์มาใช้โดยตรง หรือจะผ่านการหมักร่วมกับเศษฟาง เศษหญ้าแห้ง เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินนั้น สามารถทำได้ แต่มีข้อแนะนำจากผู้เขียนคือ
- มูลสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการหมัก มีความเข้มข้นของค่า pH สูง ดังนั้นจึงไม่ควรนำมาใช้กับพืชผักโดยตรง
- มูลสัตว์ ควรนำมาผสมกับปุ๋ยชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยเสริมสร้าง และเพิ่มเติมธาตุอาหารที่อาจจะขาดหาย หรือไม่เพียงพอ แล้วหมักไว้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อช่วยทำให้ค่า pH เป็นกลาง อีกทั้งยังสามารถกำจัดแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายแก่รากพืชได้ด้วย โดยการตากแดดให้แห้งประมาณ 3-5 วันก่อนนำมาหมัก
- ส่วนผสมที่ใช้หมักกับมูลสัตว์ เพื่อทำเป็นปุ๋ยคอก ควรใช้ปุ๋ยหมักจากเศษหญ้า เศษอาหาร ถ่าน แกลบ ดินท้องถิ่น และทำการผสมและหมักไว้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จึงสามารถนำมาใช้งานได้
- ปุ๋ยคอกที่ได้ อาจมีธาตุอาหารที่ลดลง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่เยอะขึ้น และสามารถใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
ภาพ
https://www.myhomemygardening.com/
https://www.diyinspirenow.com/
https://www.baanlaesuan.com/
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
เกษตรแบบพอเพียง ทำอย่างไรถึงได้ผล
ในหลวง ร.9 ท่านบอกเราตั้งแต่ปี 2517 พระองค์ทรงเน้นการมี
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
สร้างรายได้ด้วยการปลูกสละ
จากข้อมูลที่แนะนำเข้ามา ว่าการปลูกสละ สามารถสร้างรายได้
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ปลูกมะละกอ 1 ไร่อย่างไรให้ได้เดือนละแสน
เชื่อหรือไม่ว่า ปลูกมะละกอ 1 ไร่ สร้างรายได้เดือนละแสน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ปลูกผักบุ้งในโอ่งอย่างไรให้ได้กินตลอดปี
ผักบุ้ง ผักสวนครัวและผักท้องถิ่นที่ชาวไทยเราคุ้นเคยเป็น
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เลี้ยงไส้เดือนอย่างไร เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
สมัยก่อนมีขายกันไม่มาก เพราะเป็นช่วงที่คนยังไม่รู้จัก แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ปลูกถั่วฝักยาวแบบอินทรีย์
ถั่วฝักยาว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบจะทุกชนิด แต่ท
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช