บทความนี่ เขียนเพื่อที่จะเชิดชูปราชญ์ชาวบ้านในประเทศไทย คือคุณสุทัศน์ รอดคลองตัน
ท่านอยู่บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดประจำจังหวัด ในการเลี้ยงปลาหมอไทยมีผลผลิตถึงปีละไม่น้อยกว่า 5 ตัน
สาเหตุเพราะบังเอิญได้ดูรายการ The Master ทาง Gift Channel แล้วชื่นชมมากเลยอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านเป็นปราชญ์ชาวบ้านโดยแท้ ขออนุญาตินำองค์ความรู้ที่ทา่งปราชญ์บันทึกไว้เพื่อเผยแพร่ต่อไปเกี่ยวกับเรื่องปลาหมอไทย เพราะทุกวันนี้ปลาชนิดนี้หาได้จากธรรมชาติยากมากแล้ว ยกเว้นในบางพื้นที่ ตามต่างจังหวัดยังคงมีอยู่ แต่การจะหาปลาชนิดนี้มารับประทานตามร้านขายของ ร้านข้าว หรืออาหารตามสั่งทั่วไปนั้น หายากยิ่ง
การรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านกับ การเลี้ยงปลาหมอไทย โดย นายสุทัศน์ รอดคลองตัน ประธานศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มธรรมชาติเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวัดสมุทรสาคร
ในการดำเนินชีวิต เริ่มจากการที่ทำกิจกรรมการเกษตรที่หลากหลาย เช่น ทำนา ทำสวน หาปลาธรรมชาติ และปรับมาทำการเกษตรที่เน้นการทำสวน การเลี้ยงปลา และการเลี้ยงกบ แต่ประสบปัญหาด้านเงินทุนไม่เพียงพอ จึงต้องไปทำงานเป็นแรงงานที่ต่างประเทศ เพื่อสะสมเงินทุน และได้กลับมาทำการเกษตรอีกครั้ง
โดยปรับเปลี่ยนแนวคิดใช้ชีวิตในภาคเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่การเลี้ยงเพาะพันธุ์ปลาและกบ เพื่อไว้บริโภคและจำหน่าย จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน โดยประโยชน์ขององค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อเกษตรกรและชุมชน
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพเลี้ยงปลาหมอไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- เลี้ยงไว้เป็นอาหารในครัวเรือน เหลือจากรับประทานก็นำมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
- สามารถลดต้นทุนการผลิตโดยรู้วิธีการให้อาหารและการทำอาหารสดแทนอาหารสำเร็จรูปได้
ปราชญ์ชาวบ้านแนะนำขั้นตอนการเลี้ยงปลาหมอไทย
โดยมีวัสดุ และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงตามแบบดังนี้
- พื้นที่เลี้ยงตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป
- บ่อซีเมนต์
- อาหารปลาเล็ก กลาง ใหญ่
- น้ำจุลลินทรีย์ชีวภาพ
- ลูกปลาหมอ
การเตรียมบ่อเพื่อเลี้ยงปลาหมอไทย
- บ่อขุดใหม่ ให้ตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็นำน้ำเข้า ความลึกของน้ำเริ่มต้นที่ 1 เมตร ประมาณ 1 วัน ก็ปล่อยปลา เมื่อปล่อยปลาแล้วก็ค่อยๆ เติมน้ำ ให้มีความลึกประมาณ 2 เมตร จนตลอดอายุการเลี้ยง สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเลี้ยงมาก่อน ขอแนะนำให้ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงประมาณ 1 งานหรือ 1 ไร่ เพื่อง่ายต่อการดูแล
- บ่อที่มีอยู่แล้ว ให้เอาน้ำออกให้หมดและตากบ่อให้แห้ง เพื่อกำจัดศัตรูของลูกปลาหมอคือ ปลาช่อน ตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็เอาน้ำเข้าและก็ปล่อยปลา ความลึกของน้ำเท่ากัน
- บ่อซีเมนต์ เติมน้ำตามปกติ จากนั้นก็ปล่อยปลา หลังจากที่ปล่อยปลาแล้วไม่ต้องเติมสารอะไรเลย เช่น น้ำยาปรับสภาพน้ำหรืออื่นๆ
อัตราการปล่อยลูกปลาหมอไทย
- พื้นที่ขนาด 1 งาน สามารถปล่อยได้ 5,000 ตัว
- พื้นที่ขนาด 1 ไร่ สามารถปล่อยได้ 20,000 ตัว
- บ่อซีเมนต์ สามารถปล่อยได้ตารางเมตรละ 15 ตัว
การให้อาหารปลาหมอไทย
- เมื่อปล่อยปลาลงในน้ำแล้ว ก็ให้กินอาหารไฮเกรดเม็ดเล็ก ไประยะหนึ่งหรือประมาณ 1 เดือน ในปริมาณมื้อละ 1 กิโลกรัม ต่อปลา 5,000 ตัว เลี้ยง 3 มื้อแล้วก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณในแต่ละมื้อให้มากขึ้นตามความเหมาะสม
- จากนั้นในช่วงเดือนที่ 2 ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กขนาดพิเศษหรือจะดูจากขนาดของปลาว่าปลามีขนาดที่จะกินอาหารเม็ดขนาดนี้ได้หรือยัง จากนั้นก็ค่อยเปลี่ยน
- จากนั้นก็ค่อยเปลี่ยนขนาดของอาหารตามความเหมาะสมของขนาดปลา ใช้อาหารปลาดุกเลี้ยงไปประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นเริ่มเข้าเดือนที่ 4-5 ก็เอาอาหารสด เช่น ไส้ปลา ไส้ไก่ ปลาเป็ด หัวไก่ มาบดผสมกับรำให้ปลากิน แทนอาหารสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุน
- จากที่เคยเลี้ยงอาหาร 3 มื้อ ก็ให้ลดลงเหลือ 2 มื้อ อาจจะเป็นอาหารสำเร็จรูปมื้อเย็นก็อาจจะเป็นอาหารสด ให้เลี้ยงในลักษณะนี้ไปประมาณ 5-6 เดือน ปลาหมอก็จะมีขนาด 5-7 ตัวต่อกิโลกรัม
ลักษณะการเลี้ยง เหมือนกับการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไว้ในน้ำสีเขียวข้น แต่ไม่ใช่เน่า เพื่อให้ปลามีการเจริญเติบโต ถ้าน้ำข้นมากเกินไปก็ให้เติมน้ำให้ล้นออก
ราคาของปลาโดยประมาณ
- ห้องเย็น จะรับซื้อขนาดปลาที่ 8,7,6,4,3 ตัวต่อกิโลกรัม ในราคาต่างกัน เริ่มต้นที่ 40 บาท สำหรับขนาดเล็กสุด 7,8,9,ตัวต่อกิโลกรัม ราคาแพงสุดที่ 90 บาท ในขนาดใหญ่ที่สุด 4,3,2 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาปลาทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแหล่งรับซื้อที่ต่างกัน
- สะพานปลา จะรับซื้อปลาทุกขนาด ราคาก็ต่างกัน ตามขนาดของปลา ราคาก็จะถูกกว่าห้องเย็นไม่กี่บาท แต่เขารับซื้อหมด ปลาที่ส่งสะพานปลาจะต้องส่งเป็นปลาเป็นๆ และจะต้องเข้าแพปลาในช่วงเช้าๆ เพื่อจะได้ราคาที่ดี
วิธีการจับปลาหมอไทย
- ตีอวนลากปลาหมอให้ปลาในบ่อ เหลือบางที่สุดจากนั้นก็วิดน้ำแห้งและจับก้นบ่อ
- ปลาที่เอาขึ้นมาแล้ว ควรจะคัดขนาดแยกขังไว้ เพื่อง่ายต่อการจำหน่าย
สรุปต้นทุนการเลี้ยงโดยเฉลี่ย
- ต้นทุนอาหารโดยเฉลี่ย ประมาณ 2-3 บาท ต่อ 1 ตัว ปลา 10,000 ตัว กินอาหารประมาณ 20,000-30,000 บาท
ราคาลูกปลาหมอที่จะหน่าย
– 25 สตางค์ ขนาดเท่าเมล็ดฟักทอง
– 35 สตางค์ ขนาด 2 เซนติเมตร
– 45 สตางค์ ขนาด 1 นิ้ว - ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการจะเลี้ยงและกำลังเลี้ยง
– สำรวจตลาดใกล้บ้านก่อน เพื่อง่ายต่อการจำหน่าย
– สำรวจแหล่งอาหารที่สามารถลดต้นทุนการเลี้ยง อาหารที่เลี้ยงจะต้องเป็นอาหารปลากินเนื้อเท่านั้น
– ผู้ที่เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ต้องหมั่นเติมน้ำให้ล้นออกทุกวัน อย่าปล่อยให้น้ำเน่า
– ระวังอย่าให้ศัตรูของปลาหมอเข้าไปในบ่อในช่วงที่มีขนาดเล็กอยู่ เช่น ปลาช่อน ตัวเงินตัวทอง
การเกื้อกูลขององค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่แหล่งน้ำเพียงพอและเหมาะสมกับองค์ความรู้การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ โดยไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น/ดั้งเดิม กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้องค์ความรู้ประกอบอาชีพ เพื่อบริโภคและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างพอเพียง ซึ่งในพื้นที่เดียวกันสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้หลายชนิด พร้อมปลูกพืชผักสวนครัว และผลไม้ ไม้ป่าเศรษฐกิจ
การสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรที่สืบสาน หรือต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น/ดั้งเดิมใช้เทคโนโลยีชีวภาพช่วยบำบัดน้ำเสียเป็นน้ำดี พัฒนาพลังงานหน้าดิน เช่น แก๊สชีวภาพใช้กับเครื่องยนต์เพื่อหมุนเวียนน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
สุทัศน์ รอดคลองตัน ปราชญ์ชาวบ้านและประธานศูนย์ฯ กล่าวว่า ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านกลุ่มธรรมชาติฯ มีแนวทางการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมุ่งเผยแพร่องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านประมง การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ แก๊สชีวภาพจากมูลสุกร การเผาถ่านและอื่น ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้
ขณะเดียวกันยังมุ่งเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาการเกษตร การลดต้นทุนการผลิต การตลาด การวางแผนการผลิต พร้อมช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดและรูปแบบในการประกอบอาชีพการเกษตร มาใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันศูนย์เครือข่ายฯของเราได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ฝึกอบรมและช่วยปรับกระบวนทัศน์เกษตรกรในโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯไป แล้วกว่า 400 ราย มีทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เลี้ยงปลาในบ่อดิน และเกษตรกรผู้ปลูกพืช ซึ่งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร 3 วัน 2 คืน จากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านฯแห่งนี้ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่และแปลงของตนเองได้ ทั้งอาชีพหลักและสร้างอาชีพเสริม ในปี 2554 ได้มีแผนดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 8 รุ่น รุ่นละประมาณ 80 ราย
การปรับกระบวนทัศน์หรือปรับแนวคิดเกษตรกรที่เป็นหนี้นับเป็นเรื่องดีที่ช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรรู้วิธีคิดแบบใหม่ ทั้งยังช่วยให้รู้ถึงต้นเหตุของการเป็นหนี้และสามารถนำประสบการณ์ในอดีตมาวางแผนปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพในปัจจุบันได้ แต่ไม่มั่นใจว่าจะได้ครบทั้ง 100% หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรมีการกระตุ้นและติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมให้มีการลดละเลิกใช้สารเคมี รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับลดต้นทุนการผลิตลง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือและมีรายได้เพิ่มขึ้น น่าจะสามารถช่วยแก้ไขและลดปัญหาหนี้สินได้ระดับหนึ่ง
ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณสุทัศน์ ได้หมุนเวียนน้ำใช้ภายในฟาร์ม โดยสูบน้ำจากบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งน้ำจากบ่อเลี้ยงกบมีปริมาณอาหารธรรมชาติ มากทำให้ปลาเจริญเติบโตดี และนำน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงปลาไปใช้เพาะไรน้ำจืด เพื่อเป็นอาหารของลูกปลาหมอไทยไม่มีการทิ้งน้ำเสียจากการเลี้ยงสัตว์น้ำลงในคูคลองสาธารณะ
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่สนใจในการเลี้ยงปลาหมอไทย ฟาร์มของคุณสุทัศน์ใช้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จากประวัติและผลงานการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนการเสียสละเพื่อส่วนรวมของคุณสุทัศน์ รอดคลองตัน ทำให้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น แห่งชาติสาขาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำปี 2544 เพื่อเป็นเกียรติประวัติและเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรอื่นต่อไป
หากสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้ในศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านกลุ่มธรรมชาติเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ (ตำบลคลองตัน) หรือต้องการลูกพันธุ์ปลาหมอไทย ปลานิล ปลาสลิด กบ ติดต่อได้ที่ บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ 3 ต.คลองตัน อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร โทร. 08-6178-2209
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
ปลูกพืช ใช้ปุ๋ยใส่ผักอย่างไร ให้ติดผลและงอกงาม
วงการปุ๋ยใส่ผัก และการทำเกษตรมือใหม่หลายคน มักเคยประสบป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
รอบรู้เรื่อง โคกหนองนาโมเดล
โคกหนองนาโมเดล ซึ่งความจริงแล้ว โมเดลนี้จะฮิตกันมากในช่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ระบบการทำเกษตรทางเลือก
จากสภาพปัญหา การเกษตร ที่เกิดขึ้น ทำให้แนวคิด ที่มุ่งแส
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เลี้ยงไส้เดือนอย่างไร เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
สมัยก่อนมีขายกันไม่มาก เพราะเป็นช่วงที่คนยังไม่รู้จัก แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
กล้วยด่างฟลอริด้า สวยยังไง ทำไมแพง
กล้วยด่างฟลอริด้า กล้วยด่างที่ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมสายพันธุ์ข้าวไทย
เส้นก๋วยเตี๋ยวแปรรูป นวัตกรรมอาหารจานเส้น
เส้นก๋วยเตี๋ยวแปรรูป กับการย้อนอดีตไปยังต้นกำเนิดของ เส
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช