ข้าววัชพืช หรือ หญ้าข้าวผี ข้าวที่ชาวนาไม่ต้องการ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Oryza rufipogon Griff
ข้าวชนิดนี้ แต่เดิมคือ ข้าวป่า ที่หากจำแนกออกจะมีหลายสายพันธุ์ แต่โดยมาก ข้าวป่าพวกนี้ จะกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ เนื่องจากถูกผสมกับข้าวพันธุ์ดีในแปลงนาข้าว แต่ลักษณะเฉพาะตัวของข้าวชนิดนี้คือ เติบโตเร็ว สุกเร็ว เมื่อสุกแล้วเมล็ดจะร่วงทันที จึงทำให้ไม่เป็นที่ต้องการของชาวนา และการกำจัด ก็เป็นไปค่อนข้างยากลำบาก
ข้าววัชพืช ต่างกับข้าวทั่วไปอย่างไร
ข้าวที่ปลูกในแปลงนาทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยเฉพาะ สายพันธุ์ข้าวไทย ก็มีมากมาย จะเรียกในที่นี้ว่า ข้าวปลูก ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกคัดเลือกแล้ว ตามลักษณะความต้องการ เช่น ให้ผลผลิตสูง หรือให้มีสีขาว หรือสีอื่น ๆ ตามสายพันธุ์ คุณภาพหุงต้ม นุ่มและหอม รสชาติดี ต้านทานโรคและแมลง
ข้าวป่า ถือเป็นบรรพบุรุษของข้าวที่เราใช้ปลูกในปัจจุบัน เป็นข้าวท้องถิ่นตามธรรมชาติ ทั้งในที่ลุ่ม และที่ดอน ข้าวป่า แม้แบ่งได้หลายชนิด แต่มีลักษณะสำคัญ ที่ข้าวป่าทุกชนิดมี นั่นก็คือ เมล็ดในรวงเดียวกัน สุกแก่ไม่พร้อมกัน อาจเริ่มตั้งแต่ 9-30 วัน และเมื่อสุกแก่แล้ว ก็จะร่วงจากรวงทันที เมล็ดมีระยะพักตัวนานหลายปี เมล็ดข้าวเปลือกมีหลายสี มีหางยาว เม็ดข้าวสารเล็ก
ข้าววัชพืช เป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจาก ข้าวป่า อีกทอดหนึ่ง โดยรวมเอาข้อเด่นและข้อด้อยไว้ในสายพันธุ์เดียวกัน แต่ลักษณะเด่นคือ เติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว แต่ไม่เป็นที่ต้องการสำหรับชาวนา ไม่ว่าประเทศไหน ๆ ก็ตาม
ข้าววัชพืช และการระบาด
พบการระบาดรุนแรงครั้งแรก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี
การระบาด เริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2548 ข้าววัชพืช ก็กลายเป็นปัญหาร้ายแรง ที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตม จำนวนหลายแสนไร่ ทั้งในเขตภาคกลาง จนถึงเหนือตอนล่าง ทำความเสียหายต่อผลผลิตข้าวได้ตั้งแต่ 10-100%
การทำความเข้าใจว่า ข้าววัชพืช คืออะไร ต้องเริ่มจาก การแยกแยะความแตกต่าง ระหว่าง
ข้าวปลูก ข้าวป่า และ ข้าววัชพืช
ให้ได้เสียก่อนเป็นอันดับแรก และโดยปกติ หากมองดูผิวเผินในแปลงนา เราก็อาจทราบได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความแตกต่างดังกล่าว สามารถจำแนกได้ดังนี้
- ข้าวปลูก ลักษณะเมล็ดจะยาว ไม่มีหาง ออกรวงใกล้เคียงกัน สุกแก่พร้อมกันทั้งรวง และเมล็ดข้าวเต็มมากกว่า 95% เมล็ดร่วงยากเมื่อเอามือลูบรวง
- ข้าวป่า เมล็ดสั้นป้อม หางยาวกว่า 10 เท่าของเมล็ด สังเกตุได้ชัดเจน ออกรวงไม่พร้อมกัน สุกแก่ไม่พร้อมกันทั้งรวง ข้าวเต็มเมล็ดประมาณ 5-10% เมล็ดร่วงง่ายเมื่อเอามือลูบรวง
- ข้าววัชพืช บางชนิดมีเมล็ดสั้นป้อม บางชนิดมีเมล็ดยาว ไม่มีหาง หรือมีแต่ไม่ยาวมาก ออกรวงไม่พร้อมกัน สุกแก่ไม่พร้อมกัน บางชนิดสุกแก่พร้อมกัน ข้าวเต็มเมล็ดจะมีประมาณ 50-95% เมื่อเอามือลูบเมล็ดจะร่วงง่ายมาก แต่บางชนิดก็ร่วงยาก
การจำแนกข้าววัชพืชในแปลงนา
ข้าวปลูก ข้าวที่ชาวนาใช้ปลูกกันทั่วไป ตามปกติ ส่วนสายพันธุ์นั้น ขึ้นอยู่กับการคัดเลือก และความต้องการ หากในประเทศไทย มักจะเป็น สายพันธุ์ข้าว GI เพราะเป็นข้าวที่มีสายพันธุ์ดี ถูกคัดเลือกให้มีลักษณะ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด สามารถปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ ให้ผลผลิตสูง สีสวย หุงขึ้นหม้อ เหมาะจะนำไปรับประทาน ส่วนสายพันธุ์ที่ร่วนแข็ง ก็จะถูกพัฒนาไปในส่วนของ อาหารสัตว์
ทุกสายพันธุ์ ล้วนแต่นำข้อดีของข้าวป่ามาใช้ เช่น ความต้านทานต่อโรค และแมลงศตรูพืชที่สำคัญหลายชนิด เจริญเติบโตเร็ว เมล็ดจะสุกแก่ใกล้เคียงกัน โดยช่วงเก็บเกี่ยวเร็วสุด ประมาณ 28-30 วัน ก็พร้อม โดยตัดคุณสมบัติเรื่อง หางของข้าวเปลือก และขนาดของเมล็ดที่เล็ก ออกไปโดยสิ้นเชิง
ข้าวป่า บรรพบุรุษของข้าวสารพันธุ์ปัจจุบัน คุณสมบัติเด่นคือ เมล็ดในรวงเดียวกันจะสุกแก่ไม่พร้อมกัน แต่จะสุกในช่วงตั้งแต่ 9-30 วัน เมื่อสุกแก่ก็จะหลุดร่วงได้เอง และเมล็ดข้าวป่า มีระยะพักตัวที่หลากหลาย ตั้งแต่ ไม่มีระยะพักตัวเลย คือหล่นลงดินแล้วงอกเลยภายใน 1-2 วัน ไปจนถึง ระยะพักตัวนานหลายปี คือสามารถเก็บไว้ปลูกได้ในปีถัดไป หรือในอีกหลายปีก็ได้ เรียกว่า อัตราการอยู่รอดสูงมาก อีกทั้งยังคงอัตราการงอกไว้สูงอีกด้วย
เมล็ดข้าวเปลือก และข้าวกล้องของข้าวป่านั้น จะมีหลายสี บางชนิดเมล็ดอาจมีหางยาวกว่า 10 เท่าตัวของเมล็ดข้าว และมีหลายสีสัน ข้อดีตรงส่วนนี้คือ สามารถกระจายตัวไปได้ไกลด้วยแรงลม หรือสัตว์ต่าง ๆ และเมล็ดเล็ก ไม่ถูกย่อยจากน้ำย่อยของสัตว์ได้โดยง่าย ทำให้ข้าวป่า สามารถเติบโตอยู่ได้ในหลากหลายพื้นที่ กระจายพันธุ์ไปได้ทั่วทิศในวงกว้าง
ข้าววัชพืช หรือหญ้าข้าวผี มีลักษณะเหมือนต้นข้าวทั่วไป เราอาจแยกไม่ออกเลย หากอยู่ในระยะกล้า มีชื่อเรียกต่างกันออกไป ตามท้องถิ่น ตามลักษณะเด่นของมัน เช่น ข้าวหาง เพราะมีหางยาวเหมือนข้าวป่า หรือเหมาเรียกข้าวป่าว่า ข้าววัชพืช ไปเลยก็มี
บางแห่งเรียกว่า ข้าวดีด ข้าวเด้ง เพราะเมล็ดแก่เร็ว เมื่อถูกลมพัด หรือคนไปสัมผัสรวง เมล็ดก็จะร่วงทันที บางแห่งเรียก ข้าวลาย เพราะเมล็ดมีเปลือกลาย บางแห่งเรียก ข้าวแดง เพราะเมื่อแกะเปลือกออก จะพบว่าเมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง บางแห่งเรียก ข้าวดาวกระจาย เพราะจากลักษณะรวง จะกางออก และเมื่อเมล็ดแก่ จะร่วงและกระเด็นกระจายไปรอบ ๆ ต้นข้าว
จากการศึกษาของหน่วยงานหลายแห่ง พบว่า
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ กับข้าวปลูก
โดยข้าวลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีการกระจายตัวของสายพันธุ์เป็นหลายลักษณะ โดยอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่า และระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืชลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญเติบโตในแปลงนา โดยลักษณะส่วนใหญ่ ไม่เป็นที่ต้องการของเกษตรกร
เพราะการระบาดหรือมีข้าววัชพืชในแปลงนาจำนวนมาก นั่นหมายถึงการที่ชาวนาจะได้ข้าวที่มีทั้งคุณภาพของเมล็ดและปริมาณที่ลดลงเป็นจำนวนมาก
ข้าววัชพืช ปัญหาที่แก้ไม่ตกของชาวนา
ด้วยมีสายพันธุ์มาจากข้าวป่าเข้มข้น และเป็นนักสู้ชั้นสูง ทำให้ข้าววัชพืชมีการเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีจนไปแย่งธาตุอาหารจากข้าวปลูกเดิมจนหมดทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่ลดลง
แถมข้าววัชพืชบางชนิดนั้น จะมีช่วงระยะเวลาการออกดอกเร็วกว่าข้าวปลูก มีการผสมพันธุ์เร็วกว่าทำให้ได้เมล็ดข้าวไวกว่าข้าวปลูก ก่อนเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวปลูกตามปกติ ข้าววัชพืชก็ได้เมล็ดพร้อมที่จะงอกเป็นต้นใหม่และร่วงลงก่อนการเกี่ยวข้าว และมักจะหลุดรอดการเก็บเกี่ยวข้าวทุกครั้ง
ทำให้มีเมล็ดที่พร้อมจะงอกสะสมอยู่ในแปลงนามากมาย ซึ่งจะเพิ่มความหนาแน่นในฤดูต่อไป ๆ และทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้ลดลงไปเรื่อย ๆ หากมีการระบาดหนัก
แม้ว่าจะมีการเก็บเกี่ยวข้าววัชพืชไปเพิ่มรายได้และได้น้ำหนักดีจริง แต่เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงที่ปะปนอยู่กับข้าวปลูก หรือเปอร์เซ็นเนื้อแป้งเต็มเมล็ดที่ได้น้อย ทำให้ถูกตัดราคารับซื้อจากโรงสีอยู่บ่อย ๆ เรียกได้ว่า ต้นทุนเท่าเดิมแต่ผลผลิตลดลง แบบนี้ก็อยู่ไม่ได้
อ้างอิงเนื้อหา นิตยสารข้าวไทย หน้า 64 ปีที่ 6 ฉบับที่ 37
เรียบเรียงใหม่โดย www.kasetorganic.com
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
การเลี้ยงสัตว์
แนะวิธีแก้ปัญหางูเข้าบ้านควรทำอย่างไร
ปัญหางูเข้าบ้านที่มักกวนใจกับผู้ที่มีลูกเด็กเล็กแดงหรือ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ปลูกผักบนต้นกล้วยงอกจริงหรือไม่ ความจริงที่ไม่มีใครบอก
หลายคนสงสัยว่าการปลูกผักบนต้นกล้วยได้ผลจริงไหม เพราะในส
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
เพาะเมล็ดมะกรูด เพื่อปลูกลงในกระถาง
เพาะเมล็ดมะกรูด บอกตามตรง ผมกำลังหลงไหลการ เพาะเมล็ดพืช
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ต้นพุดกังหัน เหมาะเป็นไม้ในสวนไว้ใกล้บ้าน
พุดกังหัน หรือ Pinwheel Jasmine เป็นไม้พุ่ม ระดับความสู
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ลูกชก ผลไม้โบราณ นานกว่าจะออกลูก
ว่าด้วยเรื่อง “ลูกชก” กับวันก่อนเขียนเรื่อง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ส่วนใหนของต้นทุเรียนเทศที่รักษาโรคได้
เมื่อหลายปีก่อน กระแสทุเรียนเทศรักษามะเร็ง ฟีเวอร์จัด ล
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช