มะขามเปรี้ยวยักษ์ ปลูกครั้งเดียวอยู่ชั่วลูกหลาน

ต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ และไม่ต้องดูแลมากนัก ถือเป็นพืชทนแล้ง ทนฝนอีกหนึ่งชนิดที่น่าปลูก

แถมเป็นไม้ยืนต้นอายุยืนยาว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพแวดล้อม แม้ในพื้นที่ที่แห้งแล้งมาก ๆ โดยธรรมชาติของต้นมะขาม จะมีความแข็งแรงทนทานมาก

มะขามเปรี้ยวจะเริ่มสลัดใบในช่วง มีนาคม-เมษายน ในช่วงหน้าร้อนยิ่งแล้งก็ยิ่งร่วง แต่หลังจากที่รับน้ำในต้นฤดูฝน มะขามเปรี้ยวก็จะแตกใบอ่อน และในการแตกใบอ่อนก็จะออกดอกติดฝัก มะขามจะออกดอกหลายชุดใน 1 ปี แต่ในหนึ่งชุดนั้นจะมีหลายชุดประมาณ 10-20 ชุด

ชุดแรก จะออกในช่วงต้นฝนประมาณพฤษภาคมแต่ก็ยังติดฝักไม่มากนัก บางครั้งเจอลมฝนนิดหน่อยก็อาจจะร่วงไปเสียส่วนใหญ่

ชุดที่สอง จะเริ่มติดมากขึ้นในแต่ละรุ่น การสุกก็จะอยู่ไล่เลี่ยกัน ใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงฝักแก่ ประมาณ 3-4 เดือน ถ้าจะเก็บฝักดิบในการนำไปแช่อิ่ม ให้เก็บช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ชุดแรกฝักแก่ประมาณธันวาคม แล้วก็ไล่ไปเรื่อยจนถึงชุดสุดท้าย อาจเก็บฝักแก่ประมาณมีนาคม

ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์

มะขามเปรี้ยวยักษ์ พันธุ์ฝักใหญ่ เป็นไม้ผลไม้ยืนต้น ที่ให้ผลผลิตในระยะยาว ปลูกและดูแลง่าย หลังจากปลูกไปแล้ว 3 ปีก็จะติดฝักให้ผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความสมบูรณ์และอายุของต้น การปลูกก็ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน ระยะปลูกประมาณ 8×8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 25 ต้น ซึ่งลักษณะต้นจะเป็นทรงพุ่มเตี้ย เมื่อติดดอก ออกฝักจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเป็นฝักดาบ น้ำหนักฝัก ฝักดิบ 3-4 ฝักต่อ 1 กก. ฝักสุก 14-18 ฝักต่อ 1 กก. น้ำหนักเนื้อมะขามเมื่อแกะเปลือกและเมล็ดแล้ว หนัก 700-750 กรัมต่อมะขามสุก 1 กก. ความเปรี้ยวจัดว่าเปรี้ยวกว่ามะขามบ้านธรรมดา 2-3 เท่าโดยประมาณ

วิธีจะดูว่าฝักมะขามจะเก็บได้หรือยังในฝักแก่หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า มะขามกอก เราจะสังเกตจากสีของเปลือกมะขามจะมีสีน้ำตาลนวลๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลเหลือง เวลาสุกให้ใช้นิ้วดีดเบาๆ จะมีเสียงออกกลวงๆ แต่ถ้ายังไม่สุกเสียงในการดีดฝักจะออกแน่นๆ ในฝักที่สุกแล้วใช้นิ้วขูดที่ผิวของฝักจะไม่เป็นริ้วรอย เนื้อจะแห้งยุบตัวแยกออกจากเปลือก

ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์

โรคของมะขามเปรี้ยวยักษ์

โรคที่อาจจะเกิดคือโรคของแมลงรบกวนมากัดกินใบอ่อนบ้างแต่ไม่มาก ส่วนอีกโรคคือโรคราแป้งขาว จะเกิดเชื้อระบาดรุนแรง ในสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง ซึ่งจะทำให้ต้นมะขามโทรม ถ้าเป็นในช่วงออกดอกติดฝักจะทำให้ลดจำนวนลง มักเกิดในช่วงปลายฝนเราสามารถใช้กำมะถันผงฉีดพ่นช่วงเย็นๆ ประมาณ 1-2 ครั้ง ราแป้งก็จะหายไป

วิธีการปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ให้ได้ผลดี

การปลูกมะขามเปรี๊ยวจะใช้ระยะ 8×8 – 10×10 เมตร หรือ 5×5 วา ไร่หนึ่งปลูก 16-25 ต้นต่อไร่ เพราะมะขามเป็นไม้ผลไผลที่เก็บกินได้ระยะยาวเป็นร้อยปี ถ้าปลูกชิดมากจะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี๊ยว เพราะมะขามเปรี๊ยวจะชอบแดดจัด น้ำน้อย ถ้าปลูกที่ร่มมะขามจะไม่โต ไม่ติดฝักให้ และถ้าบำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยมากเกินไปก็จะไม่ติดฝัก ต้นจะสวยแต่ใบ

มะขามเปรี้ยวยักษ์

การเตรียมหลุมปลูก

หากดินแข็งให้ขุดหน้าดินกว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร หาเศษหญ้าปุ๋ยคอก (ขี้วัว) รองก้นหลุม ถ้าดินในที่นั้นแห้งแล้งน้ำน้อยใช้กากมะพร้าวชิ้นใหญ่ ลงไปที่ก้นหลุมกลบดินตามเดิม แล้วขุดดินมา 1 หน้าจอบ และนำต้นพันธ์มะขามเปรี๊ยวยักษ์ ลงปลูกในระดับดินอยู่ใต้ผ้าทาบ 1 อาทิตย์

หลังจากลงปลูกจึงกรีดผ้าทาบออก ต้องหาไม้มาช่วยค้ำต้นกันลมโยกต้น รดน้ำวันละครั้งในช่วงแรก หลังจากนั้นให้ทิ้งช่วงประมาณ 6 เดือน หรือ 2 อาทิตย์ต่อครั้งหากเร่งต้นให้โต จากนั้นให้ใส่ปุ๋ยคอกอัตราส่วน 100 – 200 กรัมต่อ 1 ต้น ในปีแรกแบ่งเป็น 2 ครั้ง คือ 6 เดือนต่อครั้ง สำหรับปีต่อไปจำนวน 200 – 300 กรัมตามลำดับ และปีต่อไปให้เพิ่มปุ๋ยมากขึ้นตามทรงพุ่มของต้น

มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ต่าง ๆ

การดูแลรักษา

การดูแล ก็เหมือนไม้ผลทั่วไป หลังจากปีที่ 2 และขึ้นปีที่ 3 ถ้าอยากให้มะขามติดฝัก ควรหยุดน้ำหยุดปุ๋ย ให้ต้นสลัดใบในช่วงหน้าร้อน พอต้นฝน ฝนตกลงมามะขามก็จะแตกใบอ่อนและดอกจะติดฝักให้ หลังจากออกดอกติดฝักให้บำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยและเด็ดฝักฝักอ่อนทิ้งบ้างหากได้ฝักเยอะเกินจำเป็น เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้ เนื่องจากเมื่อมะขามติดฝักแล้ว ต้นจะเริ่มโตช้าลงเพราะมะขามจะนำอาหารไปเลี้ยงฝักหมด

การให้ปุ๋ย

เมื่อมะขามให้ฝักควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้งจะช่วยให้ฝักใหญ่ได้น้ำหนักมาก และให้น้ำในระยะปลูกใหม่ไม่ขาด ถ้าฝนไม่ตกเพิ่ม ต้องรดน้ำ 1-2 ครั้ง/วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพดิน หรือประมาณ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง) จนกว่ามะขามยักษ์จะเริ่มเป็นจากนั้นทิ้งให้ห่างประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง

ความต้องการของตลาด

ทางด้านการตลาดนั้น น่าสนใจ เพราะมะขามเปรี้ยวยักษ์จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่แพ้พืชหลักอื่น เนื่องจากตลาดมีความต้องการเป็นจำนวนมากราคามะขามเปรี้ยวแกะเมล็ดแล้วจะมีราคากิโลกรัมละ 20-40 บาท มะขามฝักใหญ่แบบสดจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-20 บาท

มะขามเปรี้ยวเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยา และเครื่องใช้ในครัวเรือน และยังทำเป็นในรูปอุตสาหกรรมได้อีก เช่นโรงงานน้ำพริก เครื่องปรุงน้ำพริกมะขามเปียกสำเร็จรูป สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ เครื่องสำอาง ไวน์ แยม ซอสมะขาม ลูกอม เครื่องดื่ม ชามะขาม เยลลี่ ยาระบาย ยาลูกกกลอน ฯลฯ ตลาดสำหรับมะขามเปรี้ยวถือว่ากว้างมากเหมาะสำหรับเป็นไม้ผลในการแปรรูปเป็นระบบอุตสาหกรรม และยังมีตลาดสำหรับการส่งออกอีก

ทางด้านผู้รับซื้อ มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ เพื่อไป ทำมะขามเปียก เนื่องจากน้ำหนักหายไปเยอะ หลังจาแกะเปลือกและเมล็ดออกแล้ว น้ำหนักจะหายไปประมาณ 60-70% จากราคาที่รับซื้อกันก็ไม่เกิน 20 บาท หักค่าใช่จ่ายแล้วราคาที่เกษตรกรได้จริงที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม และถ้าน้ำหนักฝักแห้งต่อต้นอยู่ที่ 500 กก. หลังแกะแล้วน้ำหนักหายไป 70% ก็จะได้อยู่ที่ต้นละ 150 กก x 10 บาท เท่ากับขายได้ต้นละ 1,500 บาท โดยประมาณ

สำหรับมะขามเปียก ถ้าคิดที่ราคากลางก็จะได้ 150 กก. x 40 บาท เท่ากับต้นละ 6,000 บาท ถ้าเป็นมะขามสด ต่อต้นอยู่ที่ 500-1,000 กก. คิดที่ 700 กก แล้วกัน น้ำหนักไม่หาย x โลละ 7-8 บาท เท่ากับขายได้ต้นละ 4,900 – 5,600 บาท

ราคาซื้อขายมะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ต่าง ๆ

ราคามะขามเปียก ตลาดไท

ในช่วง 5-6 ปีก่อน มะขามเปียกแกะเม็ด(มีก้าน) ขายกันที่กิโลกรัมละ 35 – 40 บาท มะขามเปียกแกะเม็ด (ไม่มีก้าน) กิโลกรัมละ 40 – 45 บาท และมะขามเปียกมีเม็ด กิโลกรัมลา 18 – 20 บาท (ราคา ณ 6 มิถุนายน 2556) ปัญหาสำคัญของเกษตรคือ ราคาขายไม่ได้กำไรมาก

แต่ปัจจุบัน (ราคา ณ 21 พฤศจิกายน 2566) มะขามเปียกแกะเม็ด (ไม่มีก้าน) ราคาที่ 60-70 บาทต่อกิโลกรัม ในร้านค้าออนไลน์ เฉพาะเนื้อมะขาม (แบบแกะเมล็ดแล้ว) ราคาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 85 บาท โดยปัจจุบัน ช่องทางการจำหน่ายมีมากมาย เกษตรกรผู้ปลูกไม่จำเป็นต้องโดนพ่อค้าคนกลางกดราคาอีกต่อไป

เกษตรกรสามารถแปรรูปมะขามเปรี้ยวเพื่อจำหน่ายอีกทางหนึ่ง เนื่องจากมะขามเปียกจะถูกซื้อเข้าห้องเย็นในราคาถูกช่วงที่ผลผลิตออกมามากๆ และจะถูกกักตุนไว้ช่วงมะขามขาดตลาดก็จะนำออกมาขายในราคาที่สูงขึ้นกว่าเท่าตัวหรือมากกว่า เพราะมะขามเปียกถ้าแช่เย็นจะอยู่ได้เป็นปี แต่ผลผลิตที่ออกจากไร่จะมีแค่ปีละครั้งเท่านั้น รายจ่ายที่เป็นต้นทุนค่าดูแลไม่มาก แต่หากมีผลผลิตมักต้องจ้างแรงงานเพื่อทำการคัดแยกและแปรสภาพตามความต้องการ อาจมีต้นทุนที่สูงตามจำนวนผลผลิตที่ได้

ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ พันธุ์ไหนถึงจะดี

มีพันธุ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ ที่น่าสนใจรวมไปถึงให้ผลผลิตที่สูง และตลาดต้องการ มีจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปากช่อง 1, ดกกิ่งหัก, ฝักตรงราชบุรี และพันธุ์สระแก้ว

มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ปากช่อง 1
มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ฝักตรงราชบุรี
มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ดกกิ่งหัก
มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์สระแก้ว

ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ เทคโนโลยีชาวบ้าน
www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_241627

มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ปากช่อง 1 จะมีความโดดเด่น ฝักอ้วนและใหญ่ มีเนื้อเยอะ สีสวย เปลือกหนา ติดฝักดก แต่มีข้อด้อย คือ ตรงฝักจะมีลักษณะโค้งและสั้น เหมาะสำหรับแปรรูปเป็นมะขามเปียก

มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ดกกิ่งหัก จะมีความโดดเด่นที่ฝักกลม ตรง ยาว ติดฝักดก แต่มีข้อด้อย คือ ตรงฝักเล็ก เนื้อฝักสุกสีซีด

มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์ฝักตรงราชบุรี จะมีความโดดเด่นเนื้อสุกสีน้ำตาลแดงติดฝักและดก แต่มีข้อด้อย คือ ฝักแบน เนื้อฝักสุกน้อย

มะขามเปรี้ยวยักษ์พันธุ์สระแก้ว จะมีความโดดเด่น ฝักใหญ่ และมีลักษณะยาว ติดฝักดก แต่มีข้อด้อย คือ ฝักแบน เนื้อฝักสุกน้อย

แหล่งเรียนรู้การปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์

  • ที่สวน วิรัตน์ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา แหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับผู้ที่รักการเษตรและรักธรรมชาติ โทร.081-929-6124
  • ไร่มะขามเปรี้ยวยักษ์ คุณ ชุมพล ต.ทัพหลวง อ.เมือง จ. นครปฐม โทร.081-297-1250

อ้างอิงข้อมูล : talaadthai.com / kasetporpeang.com / glamdring.baac.or.th

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

การแก้ปัญหาดินเค็ม ให้สามารถปลูกพืชผักได้

ปัญหาดินเค็ม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบเจอกับผม เนื่องจากปีก่อนโดนน้ำท่วมหนัก เลยต้องวางโครงการปลูกบ้าน

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ข้าวบัสมาติ หนึ่งในพันธุ์ข้าวหอมเมล็ดยาว

ข้าวบัสมาติ เป็นพันธุ์ข้าวหอม เมล็ดยาว ปลูกกันมากในอินเดีย ปากีสถาน แตกหน่อเป็นพันธุ์ข้าวหอมหลายสายพ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ต้นมันปู ยอดผักรสดี ประโยชน์มากมาย

ต้นมันปู มันอียาง หรือ นกนอนทะเล ผักพื้นบ้านที่มากด้วยคุณประโยชน์ แถมยังเป็นที่นิยมของคนทุกภาค

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
อยากทําเกษตร ควรเริ่มต้นอย่างไร

เคล็ดลับในการทำเกษตร ให้ประสบความสำเร็จสำหรับมือใหม่ อยากทําเกษตร เริ่มต้นอย่างไร ควรรู้อะไรบ้าง และ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ยุคนี้ ปลูกผักสวนครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำอย่างไร

การปลูกผักกินเองตามมีตามเกิด กับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้แบบพอเพียง ต่างกันโดยสิ้นเชิง

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
หมอนเพื่อสุขภาพ ที่ทำจากเปลือกถั่วงอก

หมอนเพื่อสุขภาพ จำเป็นสำหรับคนยุคนี้ เพราะทุกเวลา คนเราต้องนอน และ หมอน เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งขาดไม่ได้

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
โปรโมชั่น non stop

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา