ถั่วฝักยาวไร้ค้าง คือถั่วที่ถูกปรับปรุงสายพันธุ์ ให้ไม่จำเป็นต้องทำค้างให้ต้นถั่วเกาะเพื่อเติบโต ให้ผลผลิตเหมือนถั่วฝักยาวปกติ
ในการปลูกถั่วฝักยาวโดยทั่วไปจะเป็น การทำค้างให้ต้นถั่วเกาะ วิธีการนี้จะช่วยให้ต้นถั่วงอกงามได้ดี ทำให้ได้ผลผลิตสูง ต้นไม่ช้ำ โตเร็ว และให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี
ตามปกติ ถั่วหลายสายพันธุ์มักเติบโตได้ดี ในดินแทบทุกชนิด มีความต้องการน้ำไม่มากนัก ตลาดต้องการสูง นิยมนำมาบริโภคกันมาก เพราะนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
ถั่วฝักยาว นอกจากจะเป็นผักสวนครัว ที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว การปลูกต้นถั่ว ยังสามารถช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะรากของต้นถั่ว สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศไว้ในดินได้นาน
การปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งการปลูกพืชตระกูลถั่ว แบบทั่วไป แต่ต้นถั่วที่ใช้จะเป็นถั่วชนิดหนึ่ง ที่ถูกปรับปรุงพันธุ์มานาน ในการปลูกแบบทั่วไป จึงไม่จำเป็นต้องใช้ค้างช่วยเกาะ เพื่อเติบโต จุดประสงค์หลักของสายพันธุ์นี้ ก็คือ ปรับปรุงมาเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ในส่วนของการทำค้าง และลดพื้นที่การปลูกให้แคบลง รวมทั้ง เพิ่มความสะดวกสบายในการปลูก และเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตเร็ว ทนต่อโรคแมลง
พันธุ์ถั่วฝักยาวไร้ค้าง
ถั่วฝักยาวไร้ค้างพันธุ์ มข. 25 ได้รับการปรับปรุงขึ้นที่คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 โดยเกิดจากการผสมระหว่างถั่วพุ่มกับถั่วฝักยาว โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อให้มีลำต้นตั้งตรง และแข็งแรง รวมทั้งมีฝักที่ยาว และการเติบโตโดยไม่ต้องใช้ค้าง
สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนทราย ทนอากาศร้อนได้ มีความต้องการแสงแดดส่องตลอดทั้งวัน ประมาณ 9-10 ชั่วโมง ถ้าปลูกในที่ร่มหรืออากาศเย็น ลำต้นจะเลื้อยเล็กน้อย สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล แต่การเจริญเติบโตนั้นจะหยุดชะงักเมื่อมีอากาศเย็น ถั่วชนิดนี้สามารถทนอากาศร้อน และแห้งแล้งได้ ดีกว่า ถั่วฝักยาวธรรมดา เพราะต้องการน้ำที่น้อยกว่า จึงได้สายพันธุ์ว่าเป็น ถั่วฝักยาวไร้ค้าง
ปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง และการเตรียมดิน
ดินที่เหมาะสม คือดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหารเช่น ฟอสฟอรัสและ โปแตสเซียม อยู่อย่างเพียงพอ มีระดับความเป็นกรด-ด่าง (พี.เอช) อยู่ระหว่าง 5-6.5 เตรียมดินเหมือนกับการปลูกพืชผักทั่ว ๆ ไป คือมีการไถตากดินทิ้งไว้เพื่อให้วัชพืชตายแล้วจึงไถพรวนให้ร่วนซุย
ก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้ายควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่ และใส่อีกครั้ง 10 กก./ไร่ เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ ถ้าดินเป็นกรดมากควรใส่ปูนขาวประมาณ 80 กก./ไร่ โดยหว่านก่อนการไถพรวน
วิธีการปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง ให้ได้ผลผลิตดี
ควรปลูกเป็นแถวเพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและ เก็บฝักสด ใช้ระยะแถว 50 ซม. ระยะต้น 30 ซม. หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น (ห้ามเอาไว้เกิน 1 ต้นเป็นอันขาด หลังจากปลูกได้ 15 วัน ถ้าไม่ถอนแยก จะทำให้ลำต้นไม่ ค่อยแข็งแรง และเมื่อมีลมพัดลำต้นจะเสียดสีกันทำให้เกิดแผลและเน่าตายในที่สุด) โดยการปลูกนั้น ใช้เมล็ดพันธุ์และความลึกในการปลูกคือ
– ถ้าปลูกระยะ 30×50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กก./ไร่
– ถ้าปลูกระยะ 20×50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3.5 กก./ไร่
ถ้าดินปลูกเป็นดินเหนียวควรปลูกตื้นกว่าดิน ทราย ถ้าดินมีความชื้นพอดีควรปลูกลึกประมาณ 2-3 ซม. ก็พอ ถ้าดินมีความชื้นต่ำ อาจปลูกลึก 3-5 ซม. จึงจะทำให้เมล็ดงอกได้ดี
การดูแลรักษา
การให้น้ำจะให้น้ำก่อนปลูก หรือหลังปลูกก็ได้ อย่าให้น้ำจนเปียกแฉะเพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า หรือรากเน่าได้ การให้น้ำแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน ถ้าดินมีความชื้นอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ
การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เมื่อเตรียมดินปลูก อัตรา 20 กก./ไร่ และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ การใส่ครั้งที่ 2 ควรเปิดร่องห่างต้น 15-20 ซม. ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 40 กก./ไร่ โดยโรยลงไปในร่อง แล้วกลบ พร้อมกับการกลบโคนถั่วฝักยาวไร้ค้าง เพื่อป้องกันต้นล้ม
ถั่วไร้ค้าง ถั่วฝักยาวพันธุ์ใหม่ที่ตลาดต้องการสูง
การกำจัดวัชพืช
หลังปลูกให้ฉีดสารป้องกันวัชพืชแลสโซก่อนงอกจะป้องกันได้ 2-3 สัปดาห์ โดยใช้อัตรา 450 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร พ่นหลัง ปลูก ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ส่วนการกำจัดวัชพืชหลังงอกให้ใช้การตายหญ้าด้วยจอบ ควรระวังอย่าให้จอบ หรือเครื่องมือ ที่ใช้ถูกลำต้น เพราะจะทำให้ลำต้นเป็นแผลและเน่าตายในที่สุด
การเก็บเกี่ยว
ถั่วฝักยาวไร้ค้าง สามารถเก็บฝักสดครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 42-45 วัน หลังปลูกและจะเก็บได้เรื่อย ๆ ทุกๆ 5-7 วัน หลังจาก เก็บฝักสด ชุดแรก ควรพ่นสารป้องกันแมลงและหนอนมาเจาะทำลายต้นและดอกถั่วไร้ค้างสามารถเก็บผล ผลิตได้ 3-4 ครั้ง เมื่อเก็บฝักหมดควรไถกลบ เพื่อให้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อีก
โรค แมลงศัตรูพืชของถั่วฝักยาว
โรคที่พบคือ โรคโคนเน่า และ ฝักเน่า การป้องกันใช้ เบนแลท อัตรา 6-8 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพร้อมสาร ฆ่าแมลง หรือ ใช้คลุกเมล็ดก่อนปลูกก็ได้ อย่าให้แปลงมีน้ำหรือชุ่มมากเกิน
แมลงที่สำคัญ คือ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบด่าง (ไวรัส) จะสังเกตได้ง่ายถ้าปรากฏว่ามีมดดำ หรือมดคันไฟ ไต่อยู่ในแปลงหรือตามต้นถั่วแสดงว่าเพลี้ยอ่อนจะเริ่มมา ให้รีบพ่นสารเคมีก่อนที่เพลี้ยอ่อนจะปรากฏ เพราะถ้าเพลี้ยอ่อนมาดูดน้ำเลี้ยงก็จะปลดปล่อยเชื้อไวรัสที่อยู่ในต่อม น้ำลายได้กับถั่วฝักยาว ทำให้ต้นพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต
โรคและแมลงศัตรูของถั่วฝักยาว
ศึกษาข้อมูลจาก การทดลองปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง พบเจอโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดที่สามารถกำจัดได้ไม่ยาก
การป้องกันโรคที่เกิดกับถั่วฝักยาวการปลูกถั่วฝักยาวในกระถางให้ได้ผลดีทำอย่างไร
กลับมาเรียบเรียงใหม่หลังจากสอบถามกันเข้ามามากมายกับ เคล
อ่านเพิ่มเติมส.ค.
แมลงเพลี้ยอ่อน หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบหนอนเจาะฝัก ทำความเสียหายอยู่เป็นระยะ ๆ ควรป้องกันตั้งแต่ถั่วอายุ 7-10 วัน ใช้อะไซดรินพ่นป้องกันเพลี้ยอ่อนและแมลง ต่าง ๆ หลังจากนั้นควรฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ตามความจำเป็น เมื่อถั่วเริ่ม ออกดอกและพบว่ามีผีเสื้อตัวเล็ก ๆ ลายน้ำตาลมาบินอยู่ในแปลงควรฉีดพ่นอีก 1 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง
การคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
เมื่อต้องการเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์เพื่อ การปลูก ถั่วฝักยาวไร้ค้าง ในคราวต่อไป ควรเลือกจากต้นที่มีลำต้นทรงพุ่มเป็นฝักยาวเพื่อเอาเมล็ดทำพันธุ์ปลูกต่อไป การปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ควรปลูกในช่วงปลายสิงหาคม-กลางกันยายน จะได้เมล็ดพันธุ์ดีไม่เชื้อราเจือปน หรือช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ จะได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีและผลผลิตสูงกว่าปลูกฤดูอื่นๆ เมื่อเก็บมาแล้ว ควรตากแดด 3-4 แดดให้แห้งสนิท
ระหว่างที่ตากจะมีมอดมาวางไข่ไว้ตามผิวของเมล็ดไข่จะมีสีขาว คล้ายจุดเล็กๆ ซึ่งฟักตัวกลายเป็นหนอนภายใน 24 ชั่วโมง ตัวหนอนจะเจาะกินเข้าไปในเมล็ด ดังนั้นหลังจากตากแดดจนแห้งสนิท ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารกันแมลง แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด หรือถุงพลาสติกปิดปากให้แน่นแล้วเก็บในที่เย็นและมีอากาศแห้งต่อไป
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
รอบรู้เรื่อง โคกหนองนาโมเดล
โคกหนองนาโมเดล ซึ่งความจริงแล้ว โมเดลนี้จะฮิตกันมากในช่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
การแก้ปัญหาดินเค็ม ให้สามารถปลูกพืชผักได้
ปัญหาดินเค็ม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบเจอกับผม เนื่องจากป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
เชื้อราในดิน ปัญหาของคนปลูกผักในกระถาง
ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยสำหรับคนที่ชอบปลูกผักพื้นที่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เทคนิคการบำรุงดินให้สมบูรณ์
การบำรุงดิน ถือเป็นหัวใจหลักสำหรับการทำเกษตร โดยเฉพาะผู
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ผักสวนครัวในกระสอบ ปลูกง่าย โตเร็ว ผลผลิตดี
ปลูกผักสวนครัวในกระสอบ แปลงผักในพื้นที่น้อย กับผักสวนคร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เลี้ยงไส้เดือนอย่างไร เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
สมัยก่อนมีขายกันไม่มาก เพราะเป็นช่วงที่คนยังไม่รู้จัก แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช