ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มีชื่อเต็มว่า “Thung Kula Rong-Hai Thai Hom Mali Rice” เป็นข้าวชนิดแรกที่ได้ขึ้นทะเบียน ข้าว GI
คำนิยามของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจาก ข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อแสง คือ พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในฤดูนาปี และจะมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติเป็นพิเศษเฉพาะถิ่น
พื้นที่ปลูกโดยรวมอยู่ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ จํานวนพื้นที่ทั้งสิ้น 2,107,690 ไร่
ทุ่งกุลาร้องไห้ เดิมมีชื่อว่า ทุ่งหมาหลง หรือ ทุ่งป่าหลาน ซึ่งตํานานกล่าวว่า มีพ่อค้าชาวกุลา เดินเร่ขายสินค้าผ่านเข้ามาในทุ่งกว้างแห่งนี้ จนเมื่อยล้า ก็ยังไม่พ้นสักที เดินหาทางออกอยู่นาน จนต้องร้องไห้โฮทุกครั้งที่มีคนถาม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อ ทุ่งนี้ว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ข้าวที่ดีที่สุดคือ ข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้
เพราะต้องผ่านกระบวนการผลิต ในพื้นที่เพาะปลูก ต้องอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด เท่านั้น เกษตรกรผู้ปลูก ต้องขึ้นทะเบียนก่อนการเริ่มเพาะปลูกทุกปี และต้องมีการจดทะเบียนข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิต มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการขนย้ายเข้าโรงสี ด้านเมล็ดพันธุ์ ต้องเป็นพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ที่มาจากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่เชื่อถือได้ และเป็นไปตามมาตรฐานในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเท่านั้น
และต้องทำการปลูกในระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม เก็บเกี่ยวระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม หลังเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องตากข้าว 2-3 วันเพื่อลดความชื้นให้ได้ค่ามาตรฐาน ที่ดีที่สุด
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีสีขาวนวลคล้ายดอกมะลิ กลิ่นหอมแรง
พันธุ์ กข. 15 เมล็ดข้าวสารมีสีขาวใส และกลิ่นหอม
ลักษณะทางกายภาพของข้าวชนิดนี้ มีเมล็ดที่ยาวเรียว และไม่มีหางข้าว เมล็ดที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วเมล็ดข้าวจะมีความยาวกว่า 7 มิลลิเมตร สัดส่วนความยาวต่อความกว้างต้องมากกว่า 3.2 มีท้องไข่น้อยกว่าร้อยละ 6 และจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งยากที่จะเลียนแบบได้
คนไทยเข้าใจว่า ข้าวเมล็ดยาวที่มีกลิ่นหอม คือข้าวหอมมะลิ ซึ่งจริง ๆ ไม่ถูกทั้งหมด
ปัจจุบัน ข้าวหอมมะลิ ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือ พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 แต่ราคาข้าวหอมมะลิไม่ดีอย่างที่คาดไว้ คนทั่วไปคิดว่ามีราคาแพง ดังนั้น ข้าวคุณภาพแท้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปส่งออกมากกว่าการนำมาบริโภคในประเทศ ดูเพิ่มเติมเรื่อง ข้าวคุณภาพที่คนไทยไม่ได้กิน และผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ดังนั้น ข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยเฉลี่ย 80-100 ถังต่อไร่ และปลูกได้หลายครั้งต่อปี สามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถัง และปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนาเน้นการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มากกว่า
ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ
ข้าวปทุมธานี 1 ลักษณะคล้ายหอมมะลิ 105 และ กข. 15
พันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ที่มีกลิ่นอ่อนกว่า ส่วนใหญ่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นข้าวหอมมะลิ และมีชื่อเรียกติดปากว่า ข้าวหอมปทุม
เกรดในการจำหน่ายข้าวหอมมะลิ ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ยังแบ่งชั้นข้าวหอมมะลิออกเป็น ข้าวหอมมะลิชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5% ข้าวหอมมะลิชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15% ข้าวหอมมะลิชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30% ผู้บริโภคซึ่งต้องการข้าวหอมมะลิแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงยังอาจไม่ถูกใจเมื่อซื้อไปหุงรับประทาน และการหาซื้อได้ในท้องตลาด อาจเป็นไปได้ยากในบางพื้นที่
ต่อยอดข้าวหอมมะลิ เป็นสายพันธุ์ใหม่
ข้าวหอมนิล หรือข้าวสีนิล คือข้าวเมล็ดสีม่วงเข้มจนเกือบดำ ที่กำลังมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น เป็นข้าวที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง ลูกของข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเรียวยาว สีม่วงเข้ม กลิ่นหอม เมื่อหุงสุก จะมีสีม่วงอ่อน เมล็ดข้าวมีความนุ่มและมีกลิ่นหอม คุณสมบัติพิเศษคือ มีโปรตีนสูงเป็นสองเท่าของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียม และวิตามินบีหลายชนิด
การวิเคราะห์สีม่วงดำของข้าวหอมนิล พบว่าเป็นสีที่มีสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่เรียกว่า สารแอนไทไซยานิน ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในปริมาณที่สูงกว่าที่พบในองุ่นแดง ลูกพรุน
โดยคุณค่าทางอาหารของข้าวอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ดและสีของข้าว การบริโภคข้าวสีนิลจึงเป็นวิถีทางหนึ่งของการบริโภคเพื่อสุขภาพ เยื่อใยของเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันการดูดซึมไขมันชนิดอิ่มตัวเข้าสู่กระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี สารแอนไทไซยานินช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด บรรเทาโรคเบาหวาน บำรุงสายตา ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร เม็ดเลือดขาว
ข้าวหอมนิล หรือ ข้าวสีนิล
ข้าวกล้องหอมมะลิแดง
ข้าวกล้องหอมมะลิแดง เป็นข้าวกล้องจากนาอินทรีย์ มีขั้นตอนการผลิตโดยใช้ปุยหมักจากธรรมชาติ น้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชใดๆ ทั้งสิ้น จะได้เมล็ดสวยงาม สีโดยไม่ขัดขาว จะได้เป็นเมล็ดข้าวสีแดงโดดเด่นกว่าข้าวกล้องทั่วไป
ข้าวหอมมะลิแดง เมล็ดข้าวเรียวยาวเยื่อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลแดงเข้ม เมื่อหุงแล้วได้เนื้อข้าวร่วน ให้รสสัมผัสคล้ายข้าวหอมมะลิที่มีความเคี้ยวมันและทรงคุณค่า โดยบริษัท เดอะสุขขะเฮ้าส์ (ไทยแลนด์) ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในระบบอินทรีย์และทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบ Fair trade กับเกษตรกรในแถบภาคเหนือตอนบนได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง และอุตรดิตถ์
ประโยชน์ของข้าวกล้องหอมมะลิแดงคือ เนื้อเกรนของข้าวแท้ๆช่วยให้อิ่มเร็ว และอิ่มท้องนาน ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และเปี่ยมวิตามิน B ช่วยรักษาภูมิแพ้ เต็มไปด้วยไฟเบอร์ช่วยการขับถ่ายและดูดซับไขมัน
อุดมธาตุเหล็กและทองแดงที่ช่วยบำรุงเลือด เหมาะกับผู้เป็นโลหิตจางและผู้หญิงมีประจำเดือน มากคุณค่าของ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ช่วยบำรุงสมอง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ไนอะซิน ทำให้ผิวหนังแข็งแรง และมีประสาทที่ฉับไว แคโรทินในข้าวจะแปลงสภาพเป็นวิตามินเอในร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา
ข้าวกล้องหอมมะลิแดงมีคุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการ โดยจะมีดัชนีน้ำตาลต่ำ ช่วยในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวานได้ดี และจากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้วมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในช่วงเวลา 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ 10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และปริมาณน้ำตาลกลูโคสหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาที มีค่าเพียง 8.59 กรัมต่อ 100 กรัม
แสดงให้เห็นว่า ข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลที่เหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทาน เพราะเมื่อรับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป
ที่สำคัญในข้าวกล้องทุกชนิดจะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ทองแดง ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ลูทีน สูง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) คือสารที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย
ในข้าวกล้องหอมมะลิแดง มีสารทองแดง ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินอี และลูทีนสูง ซึ่งการบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว
(ที่มาข้อมูลข้าวกล้องหอมมะลิแดง : บทความคุณค่าทางโภชนาการของสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่น, มูลนิธิข้าวขวัญ)
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคการเพาะเห็ดลมแบบพอเพียง
วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องการเพาะเห็ด และเคยนำเสนอไปแล้วเกี่ยวกับเห็ดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเห็ด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมหน้าฝนควรปลูกผักอะไรดี ถึงจะรอด
เข้าหน้าฝน อะไร ๆ ก็จะดูเฉอะแฉะไปหมด ปลูกผักหน้าฝน คิดง่ายไป ว่ามีน้ำเยอะแล้วต้นไม้ ผัก หญ้า จะชอบ แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมผู้เชี่ยวชาญการขยายพันธุ์ผลไม้
ลุงเอาหินถ่วงปลายผลบวบตั้งแต่เล็ก ได้ผลบวบโตยาวจนคนอึ้งไปตามกัน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมมะม่วงกิมหงส์ พันธุ์เขียวสามรส ให้ผลตลอดปี
มะม่วงเขียวสามรส มะม่วงกิมหงส์ ดูการปลูกที่ให้ผลผลิตตลอดปี ปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก สายพันธุ์ที่ตลาดต้องก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมหัวเชื้อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำใช้เองยังไงให้แดง
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือ Photosynthetic Microorganisms : PSB และหัวเชื้อจุลินทรีย์
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมสภาพดินปนทราย ปลูกพืชอะไรถึงจะดี
ดินปนทราย ปลูกอะไรดี พื้นที่การเกษตรในประเทศไทย แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค การทำเกษตรเพื
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช