การปลูกถั่วฝักยาวในกระถางให้ได้ผลดีทำอย่างไร

กลับมาเรียบเรียงใหม่หลังจากสอบถามกันเข้ามามากมายกับ เคล็ดลับ การปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง อย่างไรให้ได้ผล พร้อมข้อแนะนำในการปลูกผักพื้นที่น้อย สร้างรายได้ ทำแปลงปลูกถั่วฝักยาวลงดินในแบบต่างๆ

ถั่วฝักยาว เป็นพันธุ์พืชเถาว์ไม้เลื้อย จำเป็นต้องใช้พืชหรือวัสดุอื่นเพื่อจับยึดเกาะให้แตกยอดชูใบโตเพื่อยืดหาแสง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำค้างหรือที่ยึดเกาะให้แก่ต้นถั่วฝักยาว เพื่อพืชจะเติบโตได้ดี และถึงแม้ว่าพืชตระกูลถั่วนั้นจะมีแร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง โคบอลท์ และกำมะถัน สูงกว่าพืชชนิดอื่น

ตัวของมันเองก็จำเป็นต้องได้สารอาหารเหล่านี้มาช่วยในการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ ธาตุแมงกานีส (Mn) และ ธาตุโมลิบดีนัม (Mo) (หากสนใจเรื่องธาตุอหารสำหรับพืช อ่าน : ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช) หากต้นถั่วฝักยาวขาดสารอาหาร Mn และ Mo จะทำให้ถั่วฝักยาวไม่โตและไร้ผลผลิต

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชตระกูลถั่ว

การขาดธาตุอาหารบางอย่างรุนแรงจะทำให้ถั่วมีอาการผิดปกติ หรือแม้แต่การมีธาตุอาหารบางชนิดที่มากเกินไปด้วย โดยเฉพาะถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วดำ ถั่วกระด้าง และถั่วเหลือง เช่น

  • ธาตุแมงกานีส (Mn) ถั่วเป็นพืชที่มีการตอบสนองที่ค่อนข้างไว จะมีอาการปรากฏให้เห็นที่ใบ บริเวณยอดหรือส่วนของต้นที่อ่อน เช่น เป็นแผลจุดละเอียดสีเทา หรือสีเหลือง แผลเป็นแอ่ง อาการใบด่างลายสีเหลืองสลับเขียวระหว่างเนื้อใบและเส้นใบ
  • ธาตุโมลิบดีนัม (Mo) มักพบว่าถั่วที่ปลูกในดินที่เป็นกรดจัด (pH4.2 – 5.0) จะขาดธาตุอาหาร Mo มากที่สุด และจะมีอาการปรากฏให้เห็นที่ใบเช่นกัน มีการเปลี่ยนสีของเนื้อใบจากเขียวกลายเป็นเขียวปนนํ้าตาลแล้วเหลืองปนนํ้าตาล ใบไม่สมบูรณ์ ใบเล็กและเหลือง
อาการขาดธาตุอาหารของต้นพืช และสารอาหารที่ต้องการ

การขาดธาตุแมงกานีส (Mn) ของถั่วฝักยาว

อาการที่พืชแสดงออกมา จะปรากฏตรวจตรงส่วนใบเด่นชัดที่สุด และในบริเวณยอดที่อ่อน โดยจะแสดงอาการออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น เป็นแผลจุดละเอียดสีเทา (gray speck) หรือสีเหลือง แผลเป็นแอ่ง หรือเกิดอาการใบด่างลายสีเหลืองสลับเขียวระหว่างเนื้อใบและเส้นใบ

อาการผิดปกติเหล่านี้ มักปรากฏให้เห็นเมื่อถั่วมีอายุในช่วง 4-6 สัปดาห์ ใบจะค่อย ๆ ซีดเหลืองขยายวงกว้างทั้งใบแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล บางครั้งอาจมีอาการขอบใบม้วนขึ้นบน ในกรณีที่การขาดธาตุอาหาร Mn รุนแรง ใบจะแห้งตายแล้วร่วงหลุดจากต้นแม้จะเป็นใบที่ยังไม่แก่จัด ส่วนยอดหรือปลายและตา จะแห้งตายในลักษณะ die-back แม้จะมีการผสมเกสรในดอก แต่ไม่มีการสร้างฝัก หรือมีฝักแต่ภายในไม่มีเมล็ด

การขาดธาตุแมงกานีสของถั่วฝักยาว หากเกิดขึ้นภายหลังที่ติดฝัก และสร้างเมล็ดแล้ว อาการจะไปแสดงออกที่เมล็ดถั่วภายในฝัก โดยจะเกิดแผลขึ้นที่เมล็ด ลักษณะเป็นแผลยุบตัวลงสีน้ำตาลเข้มหรือดำอยู่ทั่วไปเรียกว่า marsh spot และต้นถั่วฝักยาวจะไม่มีการเจริญเติบโต ต้นแคระ

แม้ความต้องการธาตุอาหาหารแมงกานิส (Mn) ในถั่วฝักยาวจะอยู่ในปริมาณที่น้อยเนื่องจากเป็นธาตุอาหารรอง แต่ส่วนใหญ่อาการที่เกิดขึ้นมักเกิดจากการได้ปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินความจำเป็น และจะก่อให้เกิดอาการในลักษณะเดียวกันกับการขาดธาตุอาหาร

สำหรับปริมาณ Mn ที่มีอยู่ในส่วนประกอบของถั่วนั้นพบว่า ถั่ว bean เช่น ถั่วแขก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง มีปริมาณ Mn เป็นส่วนประกอบราว 39 – 40 ppm. ในขณะที่ถั่ว pea เช่น ถั่วลันเตา ถั่วพอดพีมี Mn อยู่ราว 15.7 ppm.

ปกติแล้วอาการขาด Mn ในพืชทั่วๆ ไปมักจะพบน้อย เนื่องจากในดินธรรมดามักจะมี Mn อยู่ในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการของพืชนอกจากดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างที่มี pH เกินกว่า 6.5 ขึ้นไป หรือดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง

อาการขาดแมงกานีสในพืช การปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง

การแก้ไขอาการเมื่อพืชขาดธาตุ Mn หรือได้รับมากเกินไป

ให้แก้ความเป็นด่างของดินปลูก โดยการใส่ปุ๋ยที่อาจก่อให้เกิดกรดลงในดินที่เป็นด่าง โดยเฉพาะดินแปลงเพาะกล้า เช่น แมงกานีสซัลเฟต แอมโมเนียมซัลเฟต หรือผงกำมะถัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่า pH ของดิน ว่าสูงมากน้อยแค่ไหน

ข้อแนะนำ : การปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง แล้วต้นถั่วเกิดอาการเหล่านี้ สามารถใช้น้ำซักผ้าผสมกับฉี่ราดลงรอบโคนต้นได้เลย (แต่ห้ามโดนโคนต้นถั่ว) หรือใช้ผสมดินปลูกก็ได้

หรือใช้ Mn SO4 หรือ (NH4)2SO4 คือ แอมโมเนียมซัลเฟต ผสมนํ้าฉีดพ่นให้กับพืชที่ขาดโดยตรง โดยใช้ในอัตราส่วน 100 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ทำการฉีดทันทีที่พืซแสดงอาการ และฉีดซ้ำต่อมาทุกๆ 10 วัน จนกว่าจะหาย

ในกรณีที่พืชได้รับ Mn มากเกินไปจนเป็นอันตราย มักจะพบในดินที่เป็นกรด ก็ให้แก้ความเป็นกรดของดินให้เป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย โดยการเติมปูนขาวหรือปูนมาลลงไป และระวังเรื่องการใช้ปุ๋ยพวกแอมโมเนีย หรือแมงกานีสซัลเฟต เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเป็นกรดมากขึ้น

อาการขาดธาตุโมลิบดีนัม (Mo) ของถั่วฝักยาว

ส่วนใหญ่จะพบว่าขาดในถั่วฝักยาวที่ปลูกในดินที่เป็นกรดจัด ค่า pH ตั้งแต่ 4.2 ถึง 5.0

อาการที่แสดงออกมาจะปรากฏให้เห็นที่ใบ เริ่มจากการยุบสลายตัวลงของเนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบใหญ่บริเวณขอบใบ มีการเปลี่ยนสีของเนื้อใบ จากเขียวไปเหลืองจนเป็นนํ้าตาลในที่สุด ใบมักไม่สมบูรณ์ เนื้อใบที่แสดงอาการจะบางผิดปกติ ทำให้เกิดอาการขาดหลุดหรือแหว่ง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเนื้อใบบริเวณขอบหรือริมใบ ใบมีขนาดเล็กลงแม้โตเต็มที่และแก่เร็ว ด้านในอาจหดย่นหรือเป็นคลื่นใบ และจะหลุดร่วงออกจากต้นในเวลาไม่นาน ต้นถั่วที่แสดงอาการขาด Mo รุนแรงจะไม่ให้ฝัก แต่ถ้าไม่รุนแรง อาจมีฝักได้ปกติ แต่จะไม่ได้คุณภาพมาก

โมลิบดีนัมก็เป็นธาตุอาหารรอง พืชต้องการเพียงเล็กน้อย ในดินปกติจะมีเพียงพอ ส่วนใหญ่มักจะขาดในดินที่เป็นกรดจัด เพราะ Mo ที่มีอยู่จะอยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำ พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ พืชจะใช้ Mo ได้ดีในดินที่เป็นกลาง หรือดินที่เป็นกรดและด่างอ่อนๆ เท่านั้น

การแก้อาการต้นถั่วฝักยาวขาดโมลิบดีนัม (Mo)

หลีกเลี่ยงการปลูกถั่วฝักยาวในดินที่เป็นกรด หากไม่สามารถเลี่ยงได้ ก็ให้แก้การเป็นกรดของดินด้วยการเติมปูนขาวหรือปูนมาร์ลลงไป แล้วตรวจวัดค่า pH จนกระทั่งได้เป็นกลางหรือด่างอ่อนๆ ในกรณีพืชที่ปลูกแล้วแสดงอาการขาดให้เห็น ภายหลังก็ให้ฉีดพ่นด้วยแอมโมเนียม หรือโซเดียมโมลิบเดทที่ละลายนํ้าให้กับต้นพืชโดยตรง ก็จะช่วยแก้อาการได้

ถั่วฝักยาวที่สามารถนำมาปลูกในกระถางได้

การปลูกพืชในกระถางนั้น สิ่งจำเป็นคือต้องพิจารณาถึงการหยั่งรากลึก/ตื้น ของพืชที่ทำการปลูก โดยปกติถั่วฝักยาวมีระบบรากแก้ว แต่ก็ไม่ลึกมาก สามารถปลูกลงภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตรได้ ต้นถั่วฝักยาวจะมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 2 เมตร (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสงและพื้นที่ปลูกด้วย)

เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกถั่วฝักยาว ไม่ว่าจะในกระถางหรือแปลงสวน หากทำเป็นรายได้เสริม แนะนำสายพันธุ์ถั่วฝักยาวที่เหมาะกับความต้องการของตลาด จะแบ่งเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ

  • พันธุ์ถั่วเนื้อ ถั่วจะมีฝักอวบ ไม่ยาวมาก เนื้อเยอะ บางพันธุ์อาจไม่ต้องทำค้าง พันธุ์ที่นิยมปลูก เช่น
    ราชินี ตราดอกแดง, ยอดเพชรเกษม ตราตะวันต้นกล้า, จอมพล ตราตะวันกล้า, สุดสาคร ตราเจียไต๋, นาคา ตราแวนด้า ซีดส์, ลำน้ำชี ตราศรแดง, สายทิพย์ ตราภูเขาทอง, แอร์กรีน 99 ตราหยดฝน, แม่น้ำปิง ตราแม่น้ำ, เมล็ดถั่วฝักยาว ดกพิจิตร, รังสิต ตราดอกแตง หรือ สามแฝด ตรางอบทอง
  • พันธุ์ถั่วเส้น ถั่วจะมีฝักเรียวยาว ตรงสวย เนื้อไม่เยอะมาก จำเป็นต้องทำค้าง เนื่องจากฝักมีความยาวมากกว่าพันธุ์เนื้อ พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่
    เขียวดกโกลด์ ตราศรแดง, ศรสวรรค์ ตราภูเขา, มังกรหยก เบอร์ 9 ตราตะวันต้นกล้า

สำหรับวัสดุที่สามารถนำมาใช้เป็นกระถางต้นถั่วฝักยาว อาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า ถุงปุ๋ย ถัง กะละมัง หม้อ ไห ฯลฯ ที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตรได้ และแนะนำให้วางบนพื้นดิน เพื่อให้ได้รับความชื้นอย่างเพียงพอ หากวางบนพื้นปูนหรือกระเบื้องหรืออื่นๆ ควรคำนึงถึงความร้อนด้านใต้กระถาง เพราะต้นถั่วฝักยาวแม้ชอบอากาศร้อนแต่ดินปลูกต้องไม่แห้งเกินไปและต้องมีความชื้นเพียงพอ ถ้าอากาศร้อนเกินไปหรือฝนตกชุก จะทำให้ดอกและฝักร่วง และต้องการแสงแดดตลอดวัน ถั่วฝักยาวจะให้ผลผลิตสูงในฤดูฝน ส่วนพันธุ์ถั่วฝักยาวไร้ค้าง ที่มีจุดเด่นคือต้นเตี้ยลูกดก อาจใช้กระถางปลูกแบบแขวนที่ระดับความสูงประมาณ 1-2 เมตร เพื่อให้ต้นถั่วได้แทงยอดแล้วยอดห้อยไหลลงด้านล่าง

การปลูกถั่วฝักยาวแบบไร้ค้าง ในกระถาง

ถั่วฝักยาวจะเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะกับการปลูกมากที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย เพราะมีการระบายน้ำได้ดี ไม่สะสมความชื้นมาก รากแผ่ขยายได้มาก ดินทรายจะสภาพความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.8

วิธีการปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง

ส่วนใหญ่แล้วการปลูกถั่วฝักยาวในกระถางจะเน้นไปในด้านไม้ประดับมากกว่าเน้นเรื่องผลผลิต อาจเพื่อให้ร่มเงา ให้ต้นถั่วไต่เลื้อยไปบนนั่งร้านหรือระแนงด้านข้าง ไว้เป็นที่บังแดด การใช้เทคนิคการจัดสวนแบบง่าย ๆ ก็สามารถเรียกความสนใจจากผู้พบเห็นได้เพราะนอกจากจะเป็นผักที่รับประทานได้แล้ว ก็มีผลผลิตให้ด้วย ทรงพุ่มถั่วฝักยาวนั้น อาจจะดูสวยงามคล้ายกับม่านบาหลี เพียงแต่ผลที่ห้อยลงมาของต้นถั่วฝักยาวอาจดูไม่สวยงามนัก ที่สำคัญ หากเน้นสร้างความสวยงามก็แนะนำว่าควรระวังเรื่องสัตว์เลื้อยคลานบ้าง แต่การปลูกถั่วฝักยาวในกระถางนั้น ก็สามารถให้ผลผลิตที่เพียงพอแก่ครัวเรือนได้ดีมาก อายุต้นถั่วฝักยาวอยู่ที่ 2 เดือน นับจากวันเพาะเมล็ด ประมาณ 45-50 วัน ก็ให้ผลผลิต อายุเมล็ดภัณฑ์คือ 2 ปีที่สามารถนำมาเพาะเป็นต้นอ่อนได้ใหม่

การปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้างในกระถาง

การทําค้างให้ต้นถั่วฝักยาว และการเพิ่มผลผลิต

ถั่วฝักยาวเมื่อมีอายุประมาณ 15 – 20 วัน จะมีใบจริง 4 – 5 ใบ และเริ่มทอดยอด หรือเลื้อยหาที่เกาะ ควรหาไม้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว ยาว 2 – 2.5 เมตร ปักใกล้หลุมเพื่อให้ถั่วฝักยาวพันหรือเลื้อยขึ้นไปเกาะ ในระยะแรกต้องช่วยจับยอดให้พันไม้ค้าง โดยให้พันทวนเข็มนาฬิกา การเพิ่มผลผลิตให้ถั่วฝักยาวสามารถทำได้โดยเมื่อต้นถั่วมีความสูงประมาณ 1 เมตร ให้เด็ดยอด เพื่อให้ต้นถั่วได้แตกยอดใหม่หลายแห่ง แต่ใน 1 ต้นไม่ควรให้มียอดมากเกินไป ประมาณ 3-4 ยอดก็เพียงพอ หากมีเกินกว่านี้ จะต้องไปเน้นเรื่องดินปลูกในกระถาง อาจต้องเพิ่มปุ๋ยในทุกสัปดาห์ เพราะต้นถั่วฝักยาวเป็นพืชอายุสั้น เจริญเติบโตเร็ว มีอายุราว 2 เดือน

การทําค้างให้ต้นถั่วฝักยาวในกระถาง และการเพิ่มผลผลิต
การทําค้างให้ต้นถั่วฝักยาวในกระถาง และการเพิ่มผลผลิต
การปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง

ในเรื่องของการพรวนดินและกำจัดวัชพืช สำหรับพืชกระถางอาจไม่จำเป็นมากนัก แต่หากมีการปลูกลงดิน ก็แนะนำว่าในช่วงประมาณ 7 – 10 วันแรกหลังปลูก ควรถอนหญ้า เพื่อป้องกันการแย่งอาหารจากต้นถั่วฝักยาว และควรถอนอีกครั้งพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เพื่อไม่ให้แย่งปุ๋ยจากต้นถั่วฝักยาว หลังจากนั้นไม่ค่อยมีความจำเป็นแล้ว เนื่องจากต้นถั่วฝักยาวจะเจริญคลุมพื้นที่ปลูก สำหรับการตัดแต่งกิ่ง ควรมีการตัดแต่งกิ่งช่วงด้านล่าง เพื่อไม่ให้ต้นโทรม และทำให้ฝักเต่ง ไม่ลีบ โดยเฉพาะในฤดูฝน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้ฝักนอนอยู่บนดิน จะทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย และเมล็ดที่แก่จะงอกหากฝักสัมผัสดินในเวลานาน

เทคนิคการผสมดินลงในกระถางปลูก

เนื่องจากดินปลูกไม้กระถางอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ดินปลูกจึงควรมีลักษณะร่วนโปร่ง อุ้มน้ำ หรือเก็บความชื้นได้ดี สามารถระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ดินทั่วไปมีคุณสมบัติทางเคมี และทางกายภาพที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมเป็นเครื่องปลูกไม้กระถางจึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพโดยมีวัสดุอื่นๆ เป็นส่วนผสมที่เหมาะสม เช่น อินทรีวัตถุ ประกอบด้วย เศษซากใบไม้ผุ เปลือกไม้แห้ง แกลบ ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ฟางข้าว และเปลือกถั่ว การใช้ปุ๋ยคอก อย่างขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้ไก่ และขี้ค้างคาว และการใช้ดินทราย อิฐป่น และถ่านป่นผสมเข้าด้วยกัน

การปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง

วัสดุดังกล่าวเมื่อนำมาผสมกับดินธรรมชาติแล้วจะมีคุณสมบัติร่วน โปร่ง มีน้ำหนักเบา อินทรีวัตถุ นอกจากจะช่วยปรับสภาพเนื้อดินให้ดีขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของไม้กระถาง คือเป็นปุ๋ยโดยตรงกับพืช แต่อาจจะไม่มากเหมือนปุ๋ยเคมีก็ตาม

ดินปลูกที่ดีสำหรับไม้กระถางต้องคงทน มีอายุการใช้งานได้นาน ไม่สลายหรือยุบตัวเร็ว ดินปลูกที่มีส่วนผสมของเปลือกถั่ว แกลบ เปลือกไม้แห้ง กาบมะพร้าว จะอยู่ได้นานกว่าดินที่มีส่วนผสมจากใบไม้ผุ ฟางข้าว หรือ หญ้าแห้ง

ผักที่สามารถปลูกในกระถางได้ดี เช่น ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องแต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เทคนิคและวิธีการ

การปลูกพริกขี้หนูแบบธรรมชาติทำอย่างไร

หลายท่านแอบถามมาว่าลงเรื่องปลูกพริกขี้หนูแล้ว อยากจะรู้

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกอะไรดีในพื้นที่น้ำท่วมบ่อย แล้วได้ผลผลิตสูง

พื้นที่น้ำท่วมถึงส่วนใหญ่มักเป็นปัญหากับเกษตรกร เนื่องจ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

มะม่วงหาวมะนาวโห่ ดีอย่างไร ทำไมถึงควรปลูกไว้ติดบ้าน

มะม่วงหาวมะนาวโห่ หากใครปลูกไว้ติดบ้าน ท่าว่าดีนักแล แต

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ใช้อะไรเป็นสารทดแทนเคมี ในการทำเกษตรอินทรีย์

ปัญหาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเกษตรกรที่ลงมือทำเกษตรอินทรีย์ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

สายพันธุ์ข้าวไทย

ข้าวลืมผัว ข้าวเหนียวที่อร่อยจนลืมเหลือให้ผัวจริงหรือ

พันธุ์ข้าวเหนียวที่หญิงส่วนใหญ่ได้กิน อร่อยจนลืมผัวจริง

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกถั่วฝักยาวแบบอินทรีย์

ถั่วฝักยาว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบจะทุกชนิด แต่ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา