ลูกชก ผลไม้โบราณ นานกว่าจะออกลูก

ว่าด้วยเรื่อง “ลูกชก” กับวันก่อนเขียนเรื่อง มะพร้าวทะเล ไปแล้ว ว่าเป็นผลไม้โบราณและหายาก เพราะเริ่มปลูกจากเมล็ดก็ใช้เวลา 1 ปีถึงจะมีรากงอก กว่าจะโตใช้เวลา 20-40 ปีถึงจะออกลูกให้ผล และกว่าผลจะสุกงอมจนรับประทานได้ก็ต้องรออีก 7 ปี

รวมแล้วมะพร้าวทะเลหากนับเวลาเมื่อเริ่มปลูก จนกระทั่งได้ผลผลิตที่สามารถเอามารับประทานกันได้ แบบเฉลี่ยรวดเร็วที่สุดก็อยู่ที่ประมาณ 28-30 ปี ในระหว่างนี้ก็ต้องลุ้นกันเอาว่า เมื่ออายุผ่านไป 20 ปีแล้วจะติดลูกหรือไม่ด้วย เพราะบางต้นก็ต้องรอยาวไปจนอายุ 30-40 ปีโน่น เรียกว่าแก่กันไปเลย และมะพร้าวทะเลนั้นมีอายุต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 400 ปี

เรียกว่าเป็นต้นไม้ปลูกไว้ให้ลูกให้หลานโดยแท้ อายุยาวนานกว่าจะให้ผลผลิตได้ ใครรอไม่ได้ก็ไปก่อนเลย อุอิ

ส่วนวันนี้ก็ตามสัญญา จะเขียนเรื่องต้นพืชตระกูลเดียวกันกับมะพร้าว ปาล์ม อีกชนิดหนึ่ง ที่กว่าจะออกลูกก็ใช้เวลาครึ่งชีวิตเหมือนกัน นั่นก็คือ “ลูกชก” ลองมาอ่านกันเลย

ลูกชก ลูกชิด ลูกลาน ลูกต๋าว เป็นชนิดเดียวกันไหม

เราเคยสงสัยกันว่า ลูกชก กับลูกชิด เป็นผลไม้ชนิดเดียวกันไหม แล้วลูกลาน ลูกต๋าว ฯลฯ เม็ดเล็กๆ กินเป็นขนมหวานหรือโรยหน้าไอศกรีม มันน่าจะเป็นพืชชนิดเดียวกัน แต่สงสัยทำไมมันเรียกต่างกัน บ้างก็ว่าคนละชนิด บ้างก็ว่า เป็นชนิดเดียวกัน สุดท้ายคืออะไรกันแน่

ลูกชก ลูกชิด ลูกลาน ลูกต๋าว เป็นชนิดเดียวกันไหม

ลูกชก

ลูกชก ลูกชิด ลูกลาน ลูกต๋าว เป็นชนิดเดียวกันไหม

ลูกลาน

ลูกต๋าว

ลูกชก ลูกชิด ลูกลาน ลูกต๋าว เป็นชนิดเดียวกันไหม

ลูกชิด / ลูกต๋าว

  • ลูกชก : ทางภาคใต้ คือผลไม้ที่มีลักษณะคล้ายผลตาลหรือมะพร้าวขนาดเล็ก ในหนึ่งผลมีเมล็ดอยู่ 3 เมล็ด
  • ลูกลาน : ทางภาคอีสานเรียกชื่อนี้ ซึ่งได้มาจาก ต้นลาน แต่ในหนึ่งผลมีแค่เมล็ดเดียว
  • ลูกต๋าว : ในภาคเหนือ ต๋าวเป็นพืชดึกดำบรรพ์ ลำต้นสูง ออกลูกเป็นทลายใหญ่ ในแต่ละผลมีเมล็ดเรียงชิดกันอยู่ 2 เมล็ด
  • ลูกชิด : เป็นชื่อเรียกที่คนภาคกลางส่วนใหญ่เข้าใจ จะเหมาหมดทั้งลูกชก ลูกลาน ลูกตาล ลูกต๋าว แต่คนทั่วไปส่วนใหญ่จะเรียก ลูกต๋าว ว่า ลูกชิด

จะเห็นได้ว่า ลูกชก กับ ผลไม้ชนิดต่างๆ นั้น ไม่ได้เป็นผลไม้ชนิดเดียวกัน แต่เป็น ต่างชนิดกัน

ลูกชก คืออะไร ใช่ลูกชิดหรือไม่

ลูกชก เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น บ้างก็รู้จักกันในนาม “ลูกกินแม่” เนื่องจากเป็นพืชที่ออกลูกครั้งเดียว และจะตายลงในเวลา 4-5 ปีถัดไปหลังให้ผลผลิต แต่สามารถปลูกทดแทนได้

การปลูกต้นชก : เนื่องจากต้นชกชอบสภาวะแวดล้อมที่อากาศเย็นชื้น ทางภาคใต้ที่มีภูเขาและพื้นที่สูงจึงเหมาะแก่การเจริญเติบโต และให้ผลผลิตที่มีรสชาติดีกว่าทางภาคอื่นของประเทศไทย

ต้นชกที่จะปลูกและให้ผลผลิตนั้น จะต้องมีต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย (เหมือนการปลูกอินทผลัม หากไม่มีต้นตัวผู้ ก็ไม่มีผลผลิต) และการปลูกก็จะต้องลุ้นเอาว่า จะได้ต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมีย

ลูกชก มีลักษณะลูกคล้ายลูกตาล หรือผลมะพร้าวขนาดเล็ก เกาะติดกันเป็นทะลาย ยาวเป็นพวงลงมา 1 ทลายมีผลมากกว่า 50 ผลขึ้นไป ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้นแม่
และภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 3 เมล็ด

ลูกชก ลูกชิด ลูกลาน ลูกต๋าว เป็นชนิดเดียวกันไหม

ทำไมต้นชก ถึงเป็นผลไม้ที่โบราณ

ต้นชก เป็นพืชยืนต้นลักษณะคล้ายต้นปาล์ม เจริญเติบโตตามแนวภูเขาหิน มีลําต้นตรง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าต้นตาล สูงประมาณ 20-25 เมตร ใบยาวประมาณ 3 เมตร คล้ายใบมะพร้าวแต่ใหญ่และแข็งแรงกว่า ก้านใบและทางใบเหยียดตรงกว่าทางมะพร้าว มีรกสีดําตามกาบใบหนาแน่น

ต้นชก กว่าจะให้ผลผลิต ต้องเป็นต้นเพศเมียเท่านั้น และต้องมีอายุอย่างน้อย 25 ปีขึ้นไปถึงจะพร้อมให้ผลผลิต อายุต่ำกว่านี้จะไม่ออกดอก

ต้นชกตัวเมียปีหนึ่งจะให้ดอกออกผล 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ส่วนต้นตัวผู้จะมีแต่ดอกไม่มีผล การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เชิงเขาหรือเนินเขาในป่าเขตร้อนชื้น ซึ่งมีมากเป็นพิเศษในพื้นที่ หมู่ที่ 1,2 และ 7 ตําบลบางเตย อําเภอเมือง จังหวัดพังงา

ต้นชกและลูกชก
การเก็บผลลูกชกบนต้นชก

ความเข้าใจระหว่างลูกชก ลูกชิด และลูกต๋าว คือชนิดเดียวกัน

ด้วยเหตุผลมากมายที่หลายคนเข้าใจกันผิดๆ ว่า ลูกชก ก็คือลูกชิด หรือลูกต๋าวนั่นแหละ  เป็นผลไม้ชนิดเดียวกัน เพราะที่บ่งบอกว่า ลูกชก ก็คือ ลูกชิด ที่มันแบนๆ เพราะผ่านการหนีบมา แต่ถ้าได้กลมๆ คือมาจากใช้หางช้อนแคะออกมา

ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะลูกชก ต่อให้ใช้ที่หนีบ บีบออกมา สุดท้ายมันก็จะออกมากลมอยู่ดี แต่ที่เขาไม่หนีบ เพราะเมล็ดมันเล็ก หนีบไปเมล็ดจะแตกไม่สวย ชาวพังงาเลยใช้หางช้อนแกงแกะเอาทีละเม็ดๆ จะได้สวยกว่า และหากลองสังเกตุดูดีๆ เมล็ดชก จะเล็ก กลม มากกว่าเมล็ดของลูกชิด เพราะต่อให้ลูกชิด (ลูกต๋าว) กลม ก็ไม่เล็กเท่าลูกชก

แต่เพราะเป็นพืชตระกูลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ลูกชิด ลูกต๋าว หรือลูกชก ก็รับประทานได้อร่อยไม่แพ้กัน และในความเป็นจริง ความพิเศษของพืชเหล่านี้ที่เหมือนกันก็คือ ใช้เวลายาวนานในการให้ผลผลิต

ลูกชก เป็นพืชสกุลปาล์ม คนละอย่างกับต๋าวหรือตาว ข้อแตกต่างระหว่างต๋าวกับชกคือ ใบต๋าวมีใบย่อยเรียงกันเป็นระเบียบในระนาบเดียวกัน แต่ใบชกมีใบย่อยเรียงตัวหลายระดับ ผลก็แตกต่างกันอย่างชัดเจน

ลูกชก และการแกลูกชก

ชก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arenga pinnata Werr.

ต๋าวหรือตาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arenga westerhoutti Griff.

หากจะหาลูกชกมารับประทาน ต้องไปที่พังงาเท่านั้น และไม่ได้มีกันทุกวันทุกเดือน แต่จะมีให้รับประทานกันเฉพาะในช่วงต้นปีไปจนถึงกลางๆ ปีเท่านั้นนะ และอย่าลืมต้นชก 1 ต้น ต้องเป็นต้นตัวเมียเท่านั้น และต้องรอถึง 25 ปีเลยนะ ถึงจะมีลูกให้มารับประทานกัน

ลูกชกลอยแก้ว
แกงส้มลูกชก

กรรมวิธีการผลิตก็ไม่ยาก หลังจากปีนเก็บทะลายชกมาแล้วก็ต้องนำมาต้มก่อน ไม่สามารถรับประทานดิบได้เพราะจะฝาดและมียางมาก

หากผ่านความร้อนแล้ว รสชาติก็จะหนึบๆ กรุบกรอบ ประมาณกินลูกจากผสมแห้ว ไม่หนึบเหนียวเหมือนกับลูกชิดหรือลูกจากเพียวๆ ได้ความกรอบกรุบของผลไม้เลอค่า เพิ่มความหวานด้วยน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง เมนูฮิตก็คือ ลูกชกลอยแก้ว

หรือจะนำลูกชกมาทำเป็นอาหารคาวก็อร่อยรสชาติดีกว่าแกงไข่ปลาริวกิวอีกนะเออ ลองแล้วจะติดใจ หากินได้ปีละครั้งเดียว

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

บทความน่ารู้

ไม้ผล 50 ชนิด ที่ควรปลูกไว้ติดสวน

สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ในสวนนั้น ควรปลูกอะไรบ้าง เราขอแ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

สร้างรายได้ด้วยการปลูกสละ

จากข้อมูลที่แนะนำเข้ามา ว่าการปลูกสละ สามารถสร้างรายได้

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ฟ้าทะลายโจร กับ โควิด-19 บางเรื่องที่คุณยังไม่รู้

เราคงไม่ต้องบอกถึงข้อมูลของ “ฟ้าทะลายโจร” ก

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

เกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

เกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอน มีหลักการทำและมีข้อปฎิบัติง่าย

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

การปลูกขนุน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ขนุน เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ การปลูกก็ง่าย เพราะสามารถเ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ต้นพุดกังหัน เหมาะเป็นไม้ในสวนไว้ใกล้บ้าน

พุดกังหัน หรือ Pinwheel Jasmine เป็นไม้พุ่ม ระดับความสู

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา