ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยสำหรับคนที่ชอบปลูกผักพื้นที่น้อย สร้างรายได้ นั่นก็คือ สารอาหารในดินไม่เพียงพอ ดินไม่มีคุณภาพ และเชื้อราในดิน
ปัญหาเหล่านี้แม้จะมีทางแก้ได้หลายวิธีแต่ก็ทำให้เกิดความวุ่นวายและรำคาญเป็นอย่างมาก อีกทั้งอาจทำให้ต้นไม้ในกระถางโตไม่ได้คุณภาพและไม่มีผลผลิต ซ้ำร้ายอาจกลับบ้านเก่า
ถึงต้องย้ำอยู่เสมอว่า การเตรียมดินสำหรับปลูก จึงเป็นหัวใจหลัก ต้นไม้ผักหรือผลไม้ที่จะนำลงกระถางปลูก จะรอดหรือโตได้ก็เพราะดิน แม้เราจะคิดว่าใส่ปุ๋ยและเพิ่มแร่ธาตุลงกระถางก็เพียงพอ แต่กระถางไม่ใช่ร่องสวน หรือในแปลงปลูก
การพรวนดินหรือใส่ปุ๋ยไม่ใช่คำตอบที่ดีนักเพราะปุ๋ยจะสัมผัสกับรากไม้โดยตรง และการพรวนดินในกระถางก็ทำได้ยาก โรคต่างๆ จึงเกิดได้ง่ายกว่าในแปลงปลูก
การทำให้ดินในกระถางดีมีคุณภาพตั้งแต่เริ่มแรกของการปลูกนั้นสำคัญ และจะสามารถแก้ปัญหาและกำจัดปัญหาจำพวกเชื้อราในดินสำหรับกระถางปลูกได้ง่าย
วิธีกำจัดเชื้อราในดิน และเพิ่มธาตุอาหารให้ดินในกระถาง
วิธีแรกอาจไม่มีปัญหาหากผักหรือต้นไม้ในกระถางไม่โตมากนัก คือ เปลี่ยนดิน หรือเปลี่ยนกระถางใหม่ ทำเหมือนการปลูกใหม่ ใช้ดินที่เตรียมไว้อย่างดีนำมาผสมใหม่ นั่นคือ การผสมใบมะรุมเข้ากับปุ๋ยหมักและดินที่เตรียมไว้ โดยสามารถใช้ใบมะรุมสด ใบอ่อน ใบแก่ ร่วมกันได้ ใบมะรุมเมื่อย่อยสลายจะช่วยเพิ่มไนโตรเจน ช่วยให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย พืชผักเจริญเติบโตดีและที่สำคัญ
ด้วยคุณสมบัติพิเศษของสมุนไพรมะรุมจะมีสารกำจัดเชื้อรา ซึ่งเมื่อใบมะรุมถูกผสมลงในดินจะทำให้เชื้อราชนิดต่างๆ ที่อยู่ในดินถูกกำจัดไป
วิธีที่สองใช้การผสมปูนขาวหรือปูนมานลงในดินขณะพรวนดิน หรือใช้ปูนขาวหรือปูนมานรองก้นกระถางก่อน เพราะจะช่วยปรับสมดุลให้กับดินแล้วก็ยังสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อราในดินได้ดี
วิธีที่สามใช้น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่านหรือเผาแกลบมาผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 200 แล้วพ่นหรือราดบริเวณโคนต้นพืช ก็จะสามารถกำจัดเชื้อราได้ดีอีกวิธีหนึ่ง ควรราดซ้ำทุก 7 วัน
ไม่แนะนำการกำจัดเชื้อราในดินด้วยสารเคมีกับการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์
หากต้นไม้หรือพืชมีอาการติดเชื้อรามากให้ราดสารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น oxadizyl. ethazol benalaxy metalaxyl โดยราดสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ในกรณีที่โคนต้นมีอาการโรคเน่าเป็นแผลเน่าช้ำ เปลือกแตก ยางไหล ใช้มีดถากหรือขูดแล้วทาด้วยสารเคมี phosetyylal หรือ metalaxyl 25% + mancozeb หรือ cycloheximide
วิธีการทาสารเคมีกำจัดเชื้อรา คือให้ทาบริเวณโคนต้น เมื่อทาเสร็จแล้วต้องปล่อยทิ้งให้แห้งก่อนกลบดินใหม่ที่สะอาดทับโคนรากนั้นเหมือนการปลูกต้นไม้ปกติ
สารฆ่าเชื้อราในดิน เช่น ไวตาแว้กซ์ บลาสซิโคล เทอร์ราโซล เทอร์ราคลอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ราดดินตรงจุดที่เกิดโรคและบริเวณต้นใกล้เคียงกับจุดที่เป็นโรคนั้นให้ทั่วในพื้นที่ที่โรคนี้ชอบระบาดเนื่องจากมีเชื้ออยู่ในดิน และควรราดสารดังกล่าวลงในหลุมปลูกที่ใหม่ซ้ำอีก 1-2 ครั้ง ทิ้งระยะห่างกัน 4 สัปดาห์ ภายหลังจากย้ายต้นไม้ไปลงหลุมปลูกนั้นแล้ว เพื่อให้แน่ใจแล้วว่าเชื้อราได้ถูกกำจัดสิ้นซาก
ขอให้สนุกกับการทำเกษตรอินทรีย์
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
ปลูกมะเขือเทศในช่วงฤดูหนาว ทำอย่างไร
ปลูกมะเขือเทศในหน้าหนาว ฤดูหนาวก็เป็นอีกหนึ่งฤดูกาลที่เ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
การดูแลและฟื้นฟูต้นไม้หลังน้ำท่วม
ประเทศไทยในยุคนี้ ดูเหมือนน้ำจะท่วมทุกปีแล้วล่ะ อาจเพรา
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ทำเกษตร แค่ไหนถึงเรียกว่า พอเพียง
เกษตรพอเพียง เอ่ยคำนี้แล้วหลายคนร้องยี้ เพราะในความนึกค
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ปลูกขมิ้นชันสร้างรายได้หลักแสนได้จริงหรือไม่
ขมิ้นชัน ปลูกแล้วรับเงินแสน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรื
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ต้นพญานาคราช ปลูกและดูแลอย่างไรให้งาม
คนที่ชอบต้นไม้และจัดสวน คงไม่มีใครไม่รู้จัก ต้นว่านนาคร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
สนใจกาแฟเวียดนาม เชิญทางนี้
เมื่อนึกถึงแหล่งผลิตกาแฟ หลายคนอาจนึงถึงประเทศใหญ่อย่าง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช