ปราชญ์แห่งวังน้ำเขียวคือใคร

หากเอ่ยถึงเรื่องผักปลอดสารพิษ หลายคนคงคุ้นหูว่าคืออะไร แต่น้อยคนนักจะคิดถึงว่า เกษตรกรผู้อยู่เบื้องหลังผักปลอดสารพิษเหล่านั้น เป็นเช่นไร

วันนี้จะมาย้อนดูเรื่องราวและความเป็นมาของเกษตรกรผู้หนึ่ง ที่ฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการจากในยุคหนึ่งที่ผักปลอดสารพิษมีราคาแพงและจับต้องได้ยาก สู่การเป็นนักเกษตรที่ทำให้ผักปลอดสารพิษในสวน สามารถเข้าถึงผู้คน และทุกคนสามารถจับต้องได้

ไกร ชมน้อย หรือลุงไกร เจ้าของสวนลุงไกร วัย 58 ปี ปราชญ์เดินดิน กินอยู่แบบพอเพียงแห่งบ้านไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา พื้นที่สีเขียวอันเงียบสงบที่หลายคนเรียกขานกันว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์ แดนอีสาน เนื่องด้วยเพราะแวดล้อมไปด้วยขุนเขาที่สลับซับซ้อนเรียงรายอยู่โดยรอบ ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สุดแสนสวยงาม อีกทั้งอากาศก็สดชื่น เย็นสบายตลอดทั้งปี

ชีวิตไกร ชมน้อย ปราชญ์แห่งวังน้ำเขียว ปลูกผักปลอดสารพิษมาแล้ว 24 ปี เมื่อก่อนปลูกผักส่งขายทั้งห้างใหญ่ห้างเล็ก ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมานักต่อนัก ขายจนเลิกขายไปนานเพราะเมื่อคิดแล้วไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่าย ที่ต้องเสียไปกับการขนส่งและการจัดการ

จนวันนี้ ลุงไกร เลือกที่จะขายผักที่สวนของตัวเองเท่านั้น ลุงบอกว่า ใครมาถึงสวนลุงไกร รับรองว่าได้กินผักแน่นอน

สวนลุงไกร วังน้ำเขียว ศิลปินปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ
สวนลุงไกร วังน้ำเขียว ศิลปินปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ

ขายผักปลอดสารพิษแค่หน้าสวน อยู่ได้อย่างไรในยุคเศรษฐกิจแบบนี้

เราจะมาค้นหาความลับแห่งปราชญ์ชาวบ้านผู้นี้ ที่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษขาย แถมไม่ได้ส่งขายที่ไหน ขายเฉพาะหน้าสวนเท่านั้น เค้าทำอย่างไรถึงอยู่รอดได้ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ เคล็ดลับคืออะไร

สวนลุงไกร วังน้ำเขียว ศิลปินปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ

ลุงไกร เล่าว่า แต่เดิมจากเคยส่งห้างสรรพสินค้าใหญ่ ส่งผักให้ร้านสเต็กซิสเลอร์ มีกำหนดการแน่ชัด สั่งผักจำนวนเท่าไหร่ ส่งวันไหน ก็ต้องเก็บส่งไม่ให้ขาด ต้องมีรถส่ง ต้องมีคนขับรถ ต้องมีโทรศัพท์ มีฝ่ายบัญชีตามเงินจ่ายเงิน ภาระมาก รายจ่ายก็มาก

เพราะความรับผิดชอบในหน้าที่ด้วย จึงทำให้เครียด แต่ถ้ามีคนขับรถมา 8 กิโลเมตร เพื่อมาซื้อผักเราแค่ 1 กิโลกรัม ถ้าเราไม่มีให้อะไรจะเกิดขึ้น จากเหตุผลของความรับผิดชอบที่ว่า

” มาหาลุงไกรคือต้องมาซื้อผัก และต้องได้ผักกลับไป “

ถ้ามีรถมา 10 คัน ซื้อคันละ 1 กิโลกรัม ก็คือ 10 กิโลกรัม แต่บางครั้งไม่มีผักให้เขา เราก็เสียชื่อ ไม่ให้ก็โดนว่า คนในท้องถิ่น คนพื้นที่ คนใกล้บ้าน แต่ไม่มีผักให้เขา เพราะส่งตลาดใหญ่หมด สิ่งเหล่านี้เป็นอำนาจในเรื่องของการซื้อ เราก็มองว่ามันเครียด มันทุกข์ จนเราต้องหยุดและบอกกับคนอื่นว่า ต่อแต่นี้ถ้าเราทำ เรากล้าปลูก คุณต้องกล้าซื้อนะ เราจะมีผักรอไว้ให้คุณทุกครั้ง เพื่อเราจะได้สร้างความเข้มแข็ง เราทำส่งตลาดใหญ่มาเกือบ 10 ปี ถามว่าได้อะไร ก็ได้แค่กิน แต่เราหยุดและปรับมาทำแบบใหม่ เราได้กินและมีความสุขด้วย ไม่ต้องเครียดไม่ต้องจัดการมาก พอเพียง

สวนลุงไกร วังน้ำเขียว ศิลปินปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ

ความพอเพียง ความพอดี คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นได้ ในเมื่อเรามีความสุขอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนให้ทุกข์

เมื่อปรับวิธีการขายผักปลอดสารพิษที่มี เป็นขายในพื้นที่เท่านั้น ทำให้สามารถประหยัดรายจ่ายในเรื่องของการขนส่ง คนขับรถ และแรงงานอื่นๆ ได้อีกมาก ตอนแรกยกเลิกส่งให้เหลือเฉพาะภาคอีสานเท่านั้น มันก็ยังไม่นิ่ง ยังต้องรับกับความต้องการของตลาดในช่วงไฮซีซั่น จากที่เคยคิดไว้ว่าตลาดต้องตามเรา คือปลูกอะไรตลาดต้องการหมด กลายเป็นเราต้องปลูกตามที่ตลาดต้องการ ถ้าไม่มีคุณภาพ ต้นทุนก็เพิ่มอีก ยังไม่จบง่ายๆ ชีวิตไม่มีความสุข

แถมปัญหาของการทำเกษตร ที่คนส่วนใหญ่มองแล้วว่าต้องเป็นเรื่องของออแกนิค เรื่องของเกษตรอินทรีย์ มันทำให้เราควบคุมคุณภาพได้ไม่ดีนัก ปัญหาคือแมลง 4 ตัว หมัด หนอน เต่าแดง เพลี้ยไฟ มี 4 เรื่องที่เราไม่ชนะ เพราะเราไม่มีระบบจัดการที่ดีพอ

จนสุดท้าย ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน และมีโอกาสได้พบเห็นการทำเกษตรในต่างแดน จึงตัดสินใจเริ่มทดลองปลูกผักสลัด โดยเป็นผู้บุกเบิกปลูกผักสลัดที่วังน้ำเขียวเป็นรายแรก ก่อนที่โครงการในพระราชดำริจะเข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ กันในคราวหลังจากนั้นเป็นต้นมา

ปลูกผักตามที่ตลาดต้องการ หรือให้ตลาดต้องการผักที่ปลูก

เจ้าของสวนลุงไกร ยอมรับว่า เริ่มทำการเกษตรทั้งๆ ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการเกษตรมาก่อน โดยอพยพครอบครัวมาปักหลักทำการเกษตรที่ อ.วังน้ำเขียว เมื่อเกือบ 21-22 ปีที่แล้ว ตอนแรกเลือกปลูกผักสลัด เพราะมองว่าอย่างไรก็ต้องขายได้เพราะตลาดต้องการสูงต่อเนื่อง

อีกทั้งหากว่าทำให้ผักมีผลผลิตได้ และมีคุณภาพดี อย่างไรเสียก็ยังขายได้ เพราะยังไม่มีใครปลูกได้ในพื้นที่นั้น ยังไงต้องซื้อกับเราแน่ๆ ช่วงนั้นบางคนเขาก็มองว่าไอ้คนนี้บ้า เอาผักเมืองหนาวมาปลูกในแผ่นดินอีสาน แต่ก็ไม่เคยสนใจคำพูดเหล่านั้น ส่วนการทำตลาดจะใช้วิธีการขายตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ลดปัญหาการกดราคาทำกำไร

สวนลุงไกร วังน้ำเขียว ศิลปินปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ
สวนลุงไกร วังน้ำเขียว ศิลปินปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ

หลังวางระบบในการจัดการด้านเกษตร ในช่วงแรกได้ติดต่อส่งผักสลัดเข้าเลมอนฟาร์ม ทำให้ต้องกลับมานั่งคิดใหม่ว่าทำอย่างไรจึงจะผลิตผักได้คุณภาพดี และเป็นที่ต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

เพราะต้องการเป็นผู้นำการผลิต ไม่จำเป็นต้องเน้นปริมาณ แต่เอาคุณภาพไว้ก่อน และพยายามมองหาผักใหม่ๆ มาทดลองปลูกเสมอ และประเมินความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ต้องให้ตลาดตามเราถึงจะดี ไม่ใช่เราไปตามตลาด เพราะจะไม่ทัน กว่าผักจะโตตลาดก็วายเสียแล้ว และเมื่อได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ก็เก็บตัวอย่างเพื่อนำเสนอสู่ตลาดก่อน

เคล็ดลับการปลูกผักของลุงไกร ให้รอดจากแมลงศัตรูพืช

คำว่าปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ ไร้สารพิษ เห็นมาเยอะแล้ว เพลี้ยลงคืนเดียวไม่ได้สักหัว แต่เรามีวิธีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ลุงไกรใช้วิธีการโยนผักให้กระจายกันออกไป คือไม่ปลูกผักชนิดเดียวกันใกล้กันมากๆ ซึ่งเมื่อก่อนปลูกเป็นแนวเพื่อส่งตลาด คืนเดียวหายหมด ผักออแกนิคส์ก็หน้าหงิกได้เหมือนกัน แสดงว่าต้องใช้วิธีการใหม่

ลุงไกรเป็นคนช่างสังเกต จึงปรับวิธีแบ่งโซนปลูกผัก เช่น อาทิตย์หนึ่งทำผัก 10 แปลง โดยจะปลูกให้อยู่ตรงโน้น 5 แปลง ปลูกตรงนั้นอีก 3 แปลง ตรงนี้อีก 2 แปลง แมลงลงก็กินยังไงก็ได้ไม่หมด

แต่ถ้าปลูกทีเดียว 10 แปลง รับรองหมด เหลือก็แค่เศษซาก ขายไม่ได้ มันแพร่เร็วมาก แต่ถ้าเราโยนผักออกไปแต่ละที มันกินไม่หมด อย่างน้อยก็มีเหลือซักแปลงสองแปลง เพราะลุงไกรเข้าใจธรรมชาติของแมลง ว่ามักจะเกิดมาตามฤดูกาล อย่างน้อยแมลงก็มีขุนพลเหมือนเข้าตี ถ้าเข้าใจธรรมชาติก็สูญเสียไม่มาก ดังนั้น การจัดโซนนิ่งให้ผักจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวางผักต้องสร้างความแตกต่าง ถ้าคนบอกว่ายังเลือกกิน แมลงก็เลือกกินเหมือนกัน

สมแล้วที่ ลุงไกร คือปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ แห่งวังน้ำเขียว

สวนลุงไกร วังน้ำเขียว ศิลปินปราชญ์ชาวบ้านด้านผักปลอดสารพิษ

ปัจจุบันลุงไกรใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนแห่งวังน้ำเขียวนี้อย่างมีความสุข ร้องเพลงให้ผักฟังทุกวัน มีคนไปเยี่ยมเยือนดูสวนผักเมืองหนาวของแกไม่ขาดสาย ได้ความสุขทั้งคนไปเยือนและคนต้อนรับ แถมได้ผักติดมือไปทุกคน

แม้ลุงจะรักในความเป็นศิลปิน แต่ก็ไม่เคยทอดทิ้งอาชีพเกษตรกรรม จึงถือเป็นเกษตรศิลปินที่น่ายกย่องและน่าเอาเป็นแบบอย่างเลยทีเดียว

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปราชญ์ชาวบ้านด้านต่างๆ กดดูเลยตามลิ้ง

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เทคนิคและวิธีการ

การปลูกแก้วมังกร เริ่มต้นวิธีง่าย ๆ แต่ได้ผลผลิตจริง

แก้วมังกร เป็นผลไม้นอกสายตาของนักเกษตร มีน้อยบ้านที่จะป

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

วานิลลา ปลูกในประเทศไทยได้จริงไหม

วานิลลา กล้วยไม้ชนิดหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายคน และ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ไม้ผล 50 ชนิด ที่ควรปลูกไว้ติดสวน

สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ในสวนนั้น ควรปลูกอะไรบ้าง เราขอแ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

สายพันธุ์ข้าวไทย

ขาวบ้านนา 432 ข้าวพื้นเมืองที่เหมาะทำเส้น

จากข้าวพื้นเมืองสู่สุดยอดอาหารจานเส้นแบบไทย ของข้าวพื้น

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกพริกขี้หนูสวนยังไงให้ลูกดกเต็มต้น เทคนิค วิธีการ

ปลูกพริกขี้หนูให้ดก แต่พอปลูกแล้วก็ไม่ขึ้น หรือขึ้นแล้ว

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงสร้างรายได้

วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง คล้ายการเพาะแบบกองเตี้ย แต่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา