แนะ เลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน ถ้าอยากมีรายได้เสริม 3 เดือนเห็นผล เพิ่มเติมจากรายได้หลักและมีการลงทุนไม่สูงมาก
หรืออยากทำอาชีพเสริมแต่ไม่มีต้นทุนมากพอ และพอมีพื้นที่อยู่บ้างเล็กน้อยในบริเวณบ้าน
วันนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำ อาชีพอิสระ ที่น่าสนใจ คือ เลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน ซึ่งเป็น อาชีพ ที่ลงทุนด้วย เงินลงทุน ไม่มากนัก แต่รายได้ดี เนื่องจาก ปลาดุก ตลาดรับซื้อค่อนข้างกว้าง ขายได้แน่ ๆ
หรือคุณจะเลี้ยงไว้เพื่อ บริโภค ภายในครอบครัวของคุณก็ได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ทำบัญชีครัวเรือนได้ไม่ขัดสน
แนะนำ ปลาดุกบิ๊กอุย เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ปลาชนิดนี้ สามารถนำมาเลี้ยงได้ทั้งใน บ่อปูนซีเมนต์ บ่อพลาสติก หรือบ่อดิน อีกทั้งยังมีภูมิต้านทานต่อโรค ค่อนข้างสูง
เลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน เริ่มต้นวิธีการ
แนะนำ เลี้ยง ปลาดุกอุย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” เป็นปลาที่มีการผสม ข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง ปลาดุกรัสเซีย กับ ปลาดุกอุย โดยใช้ ปลาดุกรัสเซียเพศเมีย และปลาดุกอุยเพศผู้ ลูกปลาจะมีลักษณะใกล้เคียงกับ ปลาดุกอุยมาก คืออัตราการเจริญเติบโตสูง
และมีความทนทานต่อโรคสูง เกษตรกรนิยมเลี้ยงกันมาก และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดี ราคาถูก และเป็นการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
อาหารเลี้ยงปลาดุก ต้องแล้วแต่ ขนาดของตัวปลา โดยปกติแล้ว จะมีรายละเอียดการให้อาหารดังนี้
- ปลาขนาดเล็ก ถ้าเป็นปลาขนาดเล็ก (2-3 เซนติเมตร) ควรเป็นอาหารเม็ด ผสมข้าวสุก คลุกกับน้ำแล้วปั้นให้เป็นก้อน
- ปลาโต ถ้าปลาโตแล้วจนมีความยาว 15 เซนติเมตร ขึ้นไป จะใช้อาหารเม็ด, รำละเอียด, เศษผัก หรือเศษอาหาร ใช้อัตราส่วน 2 : 4 : 4 หรือใครจะใช้เป็น อาหารเม็ด เพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้นทุนมันจะสูงกว่า อาหารผสมแบบนี้
- ลูกปลา ถ้าลูกปลามีขนาด 10 ตัว ต่อกิโลกรัม คุณก็หาผักตบชวา หรือผักบุ้งใส่ลงไปในวงปูน ที่เลี้ยงปลาดุก แล้วก็ค่อยลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลงเรื่อย ๆ
เมื่อปลาหิวจัด มันก็จะกินผักตบชวา หรือผักบุ้งเป็นอาหาร ในช่วงเย็น เราก็ให้ อาหารเม็ด กินเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว สำหรับปลาดุก 1 ปูนวง และในหนึ่งบ่อเราจะใช้ผักตบชวาประมาณ 4 กอ ต่อ 7 วัน ซึ่งปลาจะกัดกินบริเวณใบและยอดอ่อนจนหมด เหลือไว้เพียงลำต้นแก่ ๆ เท่านั้น
จำนวนในการเลี้ยง ปลาดุก ควรเลี้ยง 70 ตัว / หนึ่งปูนวงนะ จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ 5 วัน ต่อครั้ง และในแต่ละครั้งจะ เปิดน้ำ ที่เลี้ยงปลาออกทิ้งจนหมด จากนั้นก็ดูดน้ำใหม่มาใส่ทันที วงปูนที่เราใช้เลี้ยงปลานั้น จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร และสูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นบ่อปูน วงก็ทำพื้นปูนปิด และต่อท่อพลาสติกเพื่อใช้ในการถ่ายน้ำออก
ในการเลี้ยงปลาดุกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน นี้ จะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 เดือนกว่า ๆ คุณจะได้ปลาดุกขนาด 4 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ราคาขายของปลาดุก ในขณะนี้ตกกิโลละ 40 – 60 บาท (update ราคา ณ 15 มิถุนายน 2565)
- ราคาปลาดุกเลี้ยงเบอร์ใหญ่ 54.50 บาท/กก.
- ราคาปลาดุกเลี้ยงเบอร์เล็ก 40.00 บาท/กก.
เลี้ยงปลาดุก วิธีการแบบทั่วไป
- ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาว เพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
- อัตราการเลี้ยงปล่อยลูกปลา ในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร
- การปล่อยปลา แช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อย ๆ ปล่อยลงบ่อ ช่วงแรกที่ปล่อยให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ อาทิตย์จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม.
- การถ่ายเทน้ำ ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3 เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้
แนะนำ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุก
การให้อาหารปลาดุก
การให้อาหารปลา การเลี้ยงปลา 1 รุ่น ใช้เวลา 3 เดือน อาหารเสริม (ไส้ไก่ ไก่บด) ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 2 กระสอบ โดยให้วันละ 2.5 กก./1 มื้อ/ 1,000 ตัว ให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้ ตัวปลวก แมลงเม่า และแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน ให้อาหารเป็นเวลาวันละ 2 มื้อ เช้า – เย็น
โรคปลาดุกและการป้องกัน
การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยง มักจะเกิดจากปัญหา คุณภาพของน้ำ ในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของ การให้อาหารมากเกินไป จนอาหารเหลือ ทำให้เน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้ โดยต้องหมั่นสังเกตว่า เมื่อปลาหยุดกินอาหาร จะต้องหยุดให้อาหารทันที
เพราะปลาดุกลูกผสม มีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ ๆ ถึงแม้จะกินอิ่มแล้ว ถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคาย หรือสำรอกอาหารเก่าทิ้ง แล้วกินอาหารใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ ไม่ควรเกิน 4% – 5% ของน้ำหนักตัวปลา หากมีอาหารเหลือ ให้ช้อนทิ้งทันที
วิธีป้องกันและกำจัดโรคปลาดุก
- ควรใช้ EM ขยาย จำนวน 2 ลิตร/สัปดาห์
- ซื้อพันธุ์ปลา จากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นปลาแข็งแรง และปราศจากโรค
- หมั่นตรวจดูอาการของปลา อย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นอาการผิดปกติ ต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
- อย่าให้อาหารจนเหลือ หรือมากเกินไป
- เมื่อสังเกตุว่าน้ำมีกลิ่นเหม็น ให้ถ่ายน้ำ 20% ทุกวันจนกว่าน้ำจะมีกลิ่นลดลงหรือไม่มีเลย
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
การปลูกต้นอะโวคาโด ลงดินหรือในกระถาง แบบไหนให้ผลดก
การปลูกต้นอะโวคาโด แบบไหนให้ลูกดก ผลผลิตดี เทียบการปลูกในกระถาง หรือลงดิน วิธีไหนดีกว่า แนะนำเทคนิคก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเนียมหูเสือ หรือ หูเสือ สมุนแก้หวัด
จากเรื่องราวที่ รพ.อภัยภูเบศร แจกต้น “เนียมหูเสือ” ไป 100 ต้นในงานเฮลธ์แคร์ 2023 เพื่อให
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมยุคนี้ ปลูกผักสวนครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำอย่างไร
การปลูกผักกินเองตามมีตามเกิด กับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้แบบพอเพียง ต่างกันโดยสิ้นเชิง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกแก้วมังกรนอกฤดู 2 ไร่ได้กำไรหลักแสน
ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย นอกจากพื้นที่เพาะปลูกต่าง ๆ จะมีความอุดมสมบูรณ์มากสามารถเพาะปลูกพืชผัก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกหอมแดงในกระถางอย่างไรให้ได้ผล
ปลูกหอมแดงในกระถาง ใครว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราอยากจะปลูกไว้ในกระถาง ฟังไม่ผิดหรอกว่าเราจะปลูก หอมแดงใน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกมะเขือยาว เทคนิคที่ได้ผลจริง
ปลูกมะเขือยาว ไว้ติดบ้าน รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน เพราะเป็น ผักสวนครัว ที่สามารถนำมาทำเป็นเมนูได้หล
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
การปลูกขมิ้นชันในกระถางสร้างรายได้เพิ่ม
การทำสวนครัวแบบผสมผสาน
ปราชญ์แห่งวังน้ำเขียวคือใคร