ปลูกบวบเหลี่ยม ไม่ยาก มีเพื่อน ๆ สมาชิกหลายท่านสนใจการปลูกผักไม้เลื้อย แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ให้ปลูกแล้วได้ประโยชน์ ทั้งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
และผลผลิตที่สามารถกินได้ โดยวัตถุประสงค์หลักคือ อยากปลูกให้สวย และโต ไว้ก่อน เรื่องจะมีผลผลิตให้กินนั้น อีกเรื่องหนึ่ง และเคยลงรูปสวย ๆ เกี่ยวกับแปลงผักไม้เลื้อยที่ ไม่ธรรมดา มาหลายรูปใน social network อย่าง facebook
แรงขอมา ก็จัดให้เลย เพราะวิธีการปลูกบวบเหลี่ยม หรือ Angled Gourd จริง ๆ ไม่ได้ยากอะไร แต่ก็ไม่ง่าย และผักชนิดนี้ก็สามารถขึ้นและให้ผลผลิตได้แม้แต่กับการใช้วิธีการปลูกผักในกระถาง
โดยเริ่มต้นก็ต้องศึกษาธรรมชาติของ บวบเหลี่ยม ไว้ก่อนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรซึ่งจะอธิบายย่อ ๆ ดังนี้ บวบเหลี่ยม เป็นพืชผักที่อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luffa acutangula
บวบเหลี่ยมนั้น เป็นผักที่ใช้บริโภค ส่วนของผล สามารถนำมาประกอบ เป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้ม แกง ผัด หรือจิ้มน้ำพริก มีรสหวาน นอกจานี้บวบยังเป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษ คือ ทนแล้ง ทนฝน โรคและแมลงไม่รบกวน
บวบเหลี่ยม เป็นพืชเถาเลื้อยและมีอายุสั้น มีมือจับเกาะช่วยพยุงลำต้น บวบเหลี่ยมต่างจากบวบชนิดอื่นตรง ที่ผลมีลักษณะเป็นเหลี่ยม หลายเหลี่ยม ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ในต้นเดียวกัน เช่นเดียวกับบวบหอม แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่ใบเลี้ยงของต้นกล้า
บวบเหลี่ยมมีสีเขียว ใบแก่มีสีเขียวอ่อนกว่าใบใหญ่กว่าเล็กน้อย ลอนบนใบตื้นกว่า ดอกจะบานในเวลาเย็น โดยบานตั้งแต่เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป มีเหลี่ยมตามความยาวของผลตั้งแต่ขั้วจรดปลายผล ผิวผลค่อนข้างขรุขระ สีเขียวแก่ สำหรับพันธุ์ของบวบเหลี่ยมที่ปลูกในบ้านเรา ยังไม่มีการจำแนกรายละเอียดออกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ถือเป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะปลูกกันมานาน และมักเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์เองต่อกันไป
บวบ แต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างไร
บวบ เป็น ผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่ปลูกง่าย บ้านเรามีอยู่หลายชนิด โดยที่รู้จักกันดี จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด (บ้างก็คิดว่ามีแค่ 3 ชนิด) แต่ บวบทั้งหมดนั้น อยู่ในวงษ์เดียวกัน คือ cucurbitaceac และเป็นไม้เถา ดอกสีเหลืองเหมือนกัน คือ บวมเหลี่ยม บวมหอม หรือบวมกลม บวมขม และบวบงู
บวมเหลี่ยม
บวมหอม
บวมขม
บวมงู
- บวมเหลี่ยม ทางพฤกษศาสตร์ คือ Luffa acutangula (Linn.) Roxb. เป็นไม้เถาเลื้อย สามารถเกาะขึ้นไปตามต้นไม้ หรือร้านที่ทำไว้ให้ ใบเถา มีขนปลุกคลุม ดอกสีเหลืองอ่อนผมยาว โคนเล็กกว่าปลาย มีเหลี่ยมเป็นสันคมตามยาวของผล แถบอินเดียว-เอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยนิยมปลูกทั่วไปในทุกภาค ภาคเหนือเรียกมะนอยเหลี่ยมหรือมะนอยข้อง
- บวมหอม หรือบวมกลม ชื่อ ทางพฤกษศาสาตร์ คือ Luffa cylindrica Roem. ลักษณะต่าง ๆ คล้ายบวบเหลี่ยม แต่ผลกลมยาว ไม่มีเหลี่ยม เป็นรูปทรงกระบอก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยนิยมปลูกในภาคเหนือและอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ ภาคเหนือเรียกมะนอยอ้มหรือมะบวมอ้ม
- บวมขม ชื่อทาง พฤกษศาสตร์ คือ Trichosanthes cucumerina Linn. เป็นบวบชนิดเดียวกับ บวบหอม แต่บวบขมนั้นมี ผลเล็กสั้น และมีรสขมมาก มักขึ้นเองในป่าหรือตามที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่กินเป็นผัก แต่ใช้เป็นยาหรือประโยชน์ด้านอื่น ภาคเหนือเรียกมะนอยขม
- บวบงู หรือทางพฤกษศาสตร์ คือ Trichosanthes anguia Linn. มีลักษณะทั่วไปคล้าย บวบเหลี่ยม แต่ดอกขนาดเล็กกว่า ผลกลมยาวปลายแหลมและบิด สีผลเขียวลายขาว เมื่อสุกมีสีแสดแดงทั้งผล และนิ่มเละ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียอาคเนย์และจีน นิยมปลูกทั่วไปโดยเฉพาะภาคอีสาน ภาคเหนือ เรียกหมากงูเงี้ยว ภาคเหนือเรียกมะนอยงู
บวบเหลี่ยม สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
การปลูกบวบเหลี่ยมนั้น สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และดินค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย ในดินมีความชื้นสูงพอเหมาะสม่ำเสมอ ควรได้รับแสงแดดเต็มที่ในระหว่างการปลูก อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
การเตรียมดินสำหรับปลูก เนื่องจากบวบเหลี่ยมเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ดินที่ใช้หรือกระถางที่ใช้ควมีความลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุกเคล้าลงไปในดิน โดยเฉพาะดินทราย และดินเหนียว ต้องใส่ให้มาก เพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นและ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ ปูนขาว ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ย่อยดินและ พรวนดิน ให้ละเอียดร่วนโปร่งพร้อมที่จะปลูกได้
ปลูกบวบเหลี่ยม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร การปลูกให้หยอดเมล็ดพันธุ์โดยตรงลง ในแปลงหลุมละ 4-5 เมล็ด ฝังให้ลึกลงไปในดินประมาณ 2-4 เซนติเมตร จากนั้นกลบเมล็ดด้วยดินร่วนหรือปุ๋ยคอกหนาประมาณ 1 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เมื่อต้นกล้างอกอายุได้ประมาณ 10-15 วันหรือมีใบจริง 2-4 ใบ ให้ถอนแยกต้นที่ อ่อนแอ หรือต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เหลือไว้หลุมละ 3 ต้น แต่ไม่เป็นอุปสรรคหากปลูกในกระถาง ซึ่งสามารถหยอดเมล็ดในหลุมปลูกได้ประมาณ 8-10 เมล็ดเลยทีเดียว
การทำค้างบวบเหลี่ยม จำเป็นอย่างมาก เมื่อบวบเหลี่ยมเริ่มเลื้อยหรือเมื่ออายุประมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้บวบเลื้อยเกาะขึ้นไป โดยใช้ลวดหรือสลิง ขึงเป็นรูปตาข่ายให้แข็งแรง โดยขึงเป็นตาราง 4 เหลี่ยมพาดขวางประมาณ 2-3 ช่วง ทุก ๆ ระยะ 40-50 เซนติเมตร
การดูแลรักษาบวบเหลี่ยม ก็ไม่ยากนัก ส่วนใหญ่เน้นการให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ ไม่ควรให้บวบเหลี่ยมขาดน้ำ ในระยะออกดอกและติดผล เพราะทำให้ดอกร่วงและ ไม่ติดผล
ระบบการให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้ผลดี และหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอยเพราะจะทำให้เกิดปัญหาโรคทางใบได้ หลายท่านบอกปลูกแล้วทำไมไม่ติดผล สำคัญที่การใส่ปุ๋ย
เรื่องการใส่ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม และควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือแอมโมเนียมไนเตรท เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตในช่วงแรก
แต่ต้องระมัดระวังไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเฝือใบ การใส่ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ใส่ครั้งแรกในตอน ปลูกแบบรองพื้น แล้วพรวนดินกลบ
และใส่ครั้งที่สองเมื่อบวบอายุประมาณ 20-30 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแล้วพรวนดินกลบ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรใส่เพียงครั้งเดียว แบบโรยข้าง เมื่อบวบอายุประมาณ 7-10 วัน
ปลูกบวบเหลี่ยม ต้องระวังโครคและแมลงอะไรบ้าง
โรคราน้ำค้างของบวบเหลี่ยม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis อาการเริ่มแรก จะพบเป็นจุดสีเหลืองซีด ขนาด เล็กทางด้านหน้าใบ จุดดังกล่าวจะขยายออกเป็นรูปเหลี่ยมตามลักษณะของเส้นใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบในเวลาเช้าจะพบเขม่าสีเทา ดำ ตรงบริเวณแผลนั้น ซึ่งเป็นส่วนของเชื้อและเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผลมีลักษณะแห้ง ยุบตัวลง เมื่อแผลรวมกันมาก ๆ จะทำให้เกิด อาการ ใบไหม้
การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง คลุกเมล็ดด้วยเมทาแลคซิลอัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เก็บใบแก่ ๆ ที่แสดงอาการ ของโรค ใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปเผาทำลาย นอกจากนี้ฉีดพ่นด้วย คลอโรทาโรนิลหรือแมลโคเซป ในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เต่าแตง เต่าแตงมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดสีดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola frontalis และชนิดสีแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola similis แต่ส่วนใหญ่จะพบสีแดง เต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดลำตัวยาว 0.8 เซนติเมตร ปีกคู่แรกแข็งเป็นมัน ลำตัวค่อนข้างยาว เคลื่อนไหวช้า จะพบเสมอเวลากลางวันที่มีแดดจัด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน ลักษณะหนอนสีขาวยาวตัวเต็มวัย ของเต่าแตงสามารถมีอายุได้ถึง 100 วัน เต่าแตงตัวเมียวางไข่เดี่ยว ๆ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ อายุไข่ 8-15 วัน อายุตัวอ่อน 18-35 วัน อายุดักแด้ 4-14 วัน
ลักษณะการทำลาย โดยตัวแก่จะกัดกินใบ หากเกิดการระบาดรุนแรงทำให้ชะงักการทอดยอดได้ ส่วนตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินโดย กัดกินราก บวบที่ถูกเต่าแตงเข้าทำลายจะทำให้ผลผลิตลดลงและผลมีขนาดเล็กลง
การป้องกันกำจัดเต่าแตง หมั่นตรวจดูบวบ ในเวลา เช้าที่แดดยังไม่จัด การจับทำลายด้วยมือจะช่วยได้มาก ภายหลังเก็บเกี่ยวผลหมดแล้วไม่ ควร ปล่อย ต้นบวบทิ้งไว้บนแปลง ควรถอนทำลาย มิฉะนั้นอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเต่าแตงต่อไปได้
ปลูกบวบเหลี่ยมขึ้นแล้ว อย่าลืมบวบพันธุ์อื่น หรือผักไม้เลื้อยพันธุ์อื่นร่วมด้วยก็ดี เนื่องจากบวบเหลี่ยมจะมีอายุสั้น หากปลูกชนิดเดียวเมื่อผักหมดอายุอาจทำให้ดูไม่สวยได้
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
บทความน่ารู้
ทำเกษตร แค่ไหนถึงเรียกว่า พอเพียง
เกษตรพอเพียง เอ่ยคำนี้แล้วหลายคนร้องยี้ เพราะในความนึกค
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ปลูกแก้วมังกรนอกฤดู 2 ไร่ได้กำไรหลักแสน
ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย นอกจากพื้นที่เพาะปลูกต่าง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
การเพาะเห็ดในโอ่ง วิธีทำให้ได้ผลผลิตดี
การเพาะเห็ด ใช่ว่าจะจำกัดแค่เทคนิคเดิม ๆ เพราะมีหลายปัจ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
การปลูกข่า เทคนิควิธีปลูกแบบพอเพียง
การปลูกข่า สร้างรายได้ นับวัน ข่า มีมูลค่าในเชิงการค้า
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ทำยังไงให้มะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ได้ผลดกและคุณภาพดี
มะนาววงปูน ปลูกผักพื้นที่น้อย สร้างรายได้ ที่รู้จักกันด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
พริกขี้หนูหัวเรือพันธุ์ใหม่ สร้างรายได้ยั่งยืน
พริกขี้หนูหัวเรือ พันธุ์ใหม่ ที่อยากแนะนำ หลังจากที่ได้
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช