เทคนิคการบำรุงดินให้สมบูรณ์

การบำรุงดิน ถือเป็นหัวใจหลักสำหรับการทำเกษตร โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเน้นในเรื่องการเพาะปลูกเป็นหลัก และเพื่อให้พืช ได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด จะเป็นไม้ยืนต้นปลูกเพื่อใช้สอย หรือพืชที่ใช้เป็นแหล่งอาหาร ล่วนต้องพึ่งพาดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมี เป็นการให้สารอาหารแก่พืชโดยตรงก็จริง แต่ไม่ได้เป็นการบำรุงดิน

ซ้ำร้าย วิธีเหล่านี้ล้วนเป็นการบั่นทอนให้ดินเสื่อมคุณภาพลงเรื่อย ๆ ถือเป็นการทำลายดินให้ตายลงอย่างช้า ๆ หากสังเกตุดูอาการดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมี ติดต่อกันในระยะเวลานาน ๆ มักทำให้ดินเหล่านั้น แห้งกรัง เค็ม เปรี้ยว ซึ่งจะมากน้อย ขึ้นอยู่กับธาตุและสารเคมีที่มีการสะสมมาอย่างยาวนาน แต่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ดังนั้น การบำรุงดินที่ดี ควรเป็นการทำให้ดินกลับมามีชีวิต และเติบโตได้เอง โดยที่ผู้ดูแล ทำน้อยแต่ได้มาก

การบำรุงดินที่ทุกคนก็รู้ดี

นับแต่ที่เราได้เรียนรู้มา มักจะมีการพูดกันว่า “การปลูกพืชหมุนเวียน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว จะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด” ข้อความเหล่านี้ ที่ถูกสอนกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

และปัจจุบันก็ยังคงความจริงอยู่ ทุกคนสามารถนำมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องคิด จากตัวอย่างที่เห็น ๆ ก็สังเกตุได้ว่า ร้านขายต้นไม้ต่าง ๆ มักนิยมนำ ใบก้ามปูมาทำปุ๋ย ควบคู่กับแกลบ หรือเปลือกมะพร้าวสับละเอียด แต่เราเคยสอบถามกันไหม ถึงเคล็ดลับในการใช้สิ่งเหล่านั้น

หนึ่งในเทคนิคที่ใช้กันบ่อย ๆ คือ การนำใบแห้งของพืชตระกูลถั่ว มาทำปุ๋ยบำรุงดิน จะได้ดินดีมีคุณภาพดี

ถ้าพูดถึงพืชตระกูลถั่ว ประเทศไทยเรามีหลายร้อยชนิด เริ่มตั้งแต่พืชตระกูลถั่วที่ใหญ่ที่สุด เช่น มะแต้ มะค่า มะขามเทศ จามจุรี ก้ามปู

จนถึงพืชตระกูลถั่วที่เล็กที่สุด เช่น ถั่วมะแฮะ ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วขอ พืชตระกูลถั่วเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อดินเป็นอย่างมาก

ถ้าหากเรารู้ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง จะทำให้เราได้ ปุ๋ยบำรุงดิน ที่มีคุณภาพมากกว่าปุ๋ยเคมีหลายเท่า แต่หากนำไปใช้ไม่ถูกวิธี ก็ไม่ต่างกับการเอาเกลือไปให้มด คือได้ประโยชน์ แต่ได้น้อย

เทคนิคการบำรุงดินโดยพืชตระกูลถั่ว
เทคนิคการบำรุงดิน

7 วิธีการบำรุงดิน ที่ได้ผลที่สุด

  • ใช้ปุ๋ยคอก การใช้มูลสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารไปได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช เช่น ฟาง แกลบฯ รองพื้นคอกสัตว์ เพื่อดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย
  • ใช้ปุ๋ยหมัก การนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่าง ๆ ผักตบชวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอย มาหมักจนเน่าเปื่อยแล้วนำไปใช้ในไร่นาหรือสวน
  • ใช้ปุ๋ยพืชสด การไถกลบส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก อาจปลูกแล้วไถกลบในช่วงที่ออกดอกหรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินไปไถกลบลงในดิน พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ กระถินยักษ์ และแหนแดง เป็นต้น
  • ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วคาโลโปโกเนียม
  • ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นของดินเนื่องจากเม็ดฝน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัว ก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
  • ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและเปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่น ๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือของสัตว์ เช่น เลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้
  • ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน
เทคนิคการบำรุงดิน
เทคนิคการบำรุงดิน

บทสรุป

การปรับปรุงและบำรุงดิน ควรใช้หลาย ๆ วิธีดังกล่าวที่บอกไว้ข้างต้น ร่วมกัน เพราะการนำหลายวิธีเข้ามาผสมและปรับปรุงเป็นสูตรของตัวเอง จะสามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาล

แต่หากใช้เพียงวิธีเดียว อาจต้องทำในปริมาณที่มาก ต้นทุนการผลิตจึงสูง และอาจไม่คุ้มค่าในเรื่องของการลงทุน จึงควรพิจารณาถึง ปริมาณการใช้ ตามกำลังความสามารถที่มี แต่ถ้าใช้การบำรุงดินแบบหลาย ๆ วิธีร่วมกัน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละชนิด ก็สามารลดปริมาณลงตามสัดส่วน แต่พอนำมารวมกันแล้วก็จะได้ปริมาณที่มากอยู่

เพื่อจะช่วยลดค่าใช้จ่าย และต้นทุนการผลิตลงได้ ควรต้องมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทำไว้ทุกวัน ทุกเดือน หรือทุกปี เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ให้มีคุณภาพสูงอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ต่อการเพาะปลูกในระยะยาวต่อไป

เทคนิคการบำรุงดิน

เคล็ดลับการใช้ใบก้ามปู ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ใบก้ามปูแห้ง มีธาตุอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโต ทำให้พืชมีใบสีเขียวสวย ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช หากพืชขาดไนโตรเจน จะโตช้า แคระ ใบเหลือง

แต่รู้หรือไม่ว่า ไนโตรเจน มีในสภาพแวดล้อมทุกชนิด เราเคยสังเกตุไหมว่า รดน้ำเท่าไหร่ต้นไม้ก็ไม่เขียวสวย แต่พอฝนตกครั้งเดียว ใบเขียวชอุ่ม นั่นเพราะเม็ดฝน ดึงไนโตรเจนในอากาศลงมาในดิน ทำให้พืชสามารถใช้ได้ทันที ทั้งรับจากทางใบ และทางราก และพืชก็ไม่ได้ต้องการไนโตรเจนตลอดเวลา

การนำใบก้ามปูแห้งมาใส่ลงในดินเพียว ๆ ไม่ทำให้พืชดูดซึมไนโตรเจนได้ การทำให้แร่ธาตุจากใบไม้แห้งชนิดต่าง ๆ รวมถึงใบก้ามปู ซึมลงดินและพร้อมที่จะรอให้รากพืชนำไปใช้ จะต้องมีการแปรสภาพใบไม้แห้งเสียก่อน ร้านปุ๋ยไม่เคยบอก ร้านต้นไม้ไม่เคยแนะนำ เพราะสิ่งนี้คือความลับ

  • เผาใบก้ามปู (แต่อย่าให้เป็นเถ้า) รากพืชดูดซึมแร่ธาตุได้ดีกว่า
  • หมักใบก้ามปูให้เปื่อย พร้อมย่อยสลาย 60-70% ช่วยให้รากพืชนำธาตุอาหารไปใช้ได้ดีกว่า
  • ใบไม้แห้งอื่น ๆ หมักให้เปื่อย 50% ขึ้นไป พืชสามารถนำไปใช้ได้ดีกว่า

การนำใบไม้แห้ง ที่ยังไม่ผ่านการหมัก หรือการเผามาบ้างแล้ว มาใช้ทันที กว่าแร่ธาตุจะถูกปลดปล่อยลงดิน ก็อาจใช้เวลานานมากเกินไปจนต้นไม้รอไม่ไหว และตายในที่สุด หลายคนจึงบ่นว่า ใส่ใบถั่วแล้วทำไมพืชยังตาย ก็เพราะสาเหตุนี้แหละ

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เทคนิคและวิธีการ

ผักเมืองนอกในต่างแดน ผักสลัดต่างประเทศ ดีจริงหรือไม่

ชึ้นชื่อว่าผัก หลายคนคงชอบรับประทาน โดยเฉพาะผักสลัด และ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ต้นประยงค์ ควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้าน

ต้นประยงค์ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ ที่มีกลิ่นหอมละมุน เป็นเอกลั

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 10 ข้อ และการนําไปใช้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 10 ข้อ (ไม่ใช่แค่ 5 ข้อ) กับก

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ประโยชน์ของการทำเกษตรอินทรีย์แบบทฤษฎีใหม่มีอะไรบ้าง

หลายคนสังสัยกันว่า เกษตรทฤษฎีใหม่มีประโยชน์อย่างไรกับชา

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว สร้างรายได้มากกว่า

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มักจะได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงสร้างรายได้

วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง คล้ายการเพาะแบบกองเตี้ย แต่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา