หน้าฝนควรปลูกผักอะไรดี ถึงจะรอด

เข้าหน้าฝน อะไร ๆ ก็จะดูเฉอะแฉะไปหมด ปลูกผักหน้าฝน คิดง่ายไป ว่ามีน้ำเยอะแล้วต้นไม้ ผัก หญ้า จะชอบ แต่เปล่าเลย เพราะการที่จะน้ำเกินความพอดี จะกลายเป็นเรื่องแย่ได้

หน้าฝนบางฤดูกาล ก็มาเร็วไปเร็ว แต่ถึงจะหน้าฝน แต่บางพื้นที่กลับเจอกับความแห้งแล้งก็ยังมี แต่สำหรับเรื่องน้ำที่มีเกินความจำเป็นในหน้าฝน เพื่อความเหมาะสมในการปลูกพืช ผัก เกษตรกรต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์พืช ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว และโรคเน่าทั้งหลาย ประกอบเข้าด้วยกัน

เพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้แปลงผักเกิดความเสียหายตามมา ซึ่งวันนี้ จะแนะนำเรื่อง การปลูกพืชผักตามฤดูกาล เพื่อแก้ปัญหากันก่อน

การเลือกปลูกพืชผัก ให้เหมาะสมกับฤดูกาล ฤดูไหน ปลูกอะไรดี

โดยเฉพาะในหน้าฝน น้ำเยอะ นอกจากจะหาทางแก้ปัญหาน้ำท่วม หรือฝนแล้ง แล้ว ยังต้องทำให้แปลงผัก เกิดความเสียหายน้อยที่สุด การเริ่มต้นวางแผนการปลูก ควรทำตามแนะนำดังนี้

  • ช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม
    ควรเลือกวิธี การปลูกผักในฤดูหนาว เช่น หอมแบ่ง กุยช่าย กระเทียมหัว ขึ้นฉ่าย กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลีห่อ กะหล่ำปม กะหล่ำดอก มะเขือเทศ และถั่วแระญี่ปุ่น
  • ช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
    ควรมี การปลูกผักในฤดูร้อน ผักที่แนะนำให้ปลูก คือผักจำพวก ผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงไทย มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักคะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง และ ผักกาดขาว
    แนะนำ พืชทนแล้ง พืชที่ต้องการน้ำน้อย
  • ช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
    ควรเลือกวิธี การปลูกผักในฤดูฝน ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม กวางตุ้งไต้หวัน ข้าวโพดหวาน และ หอมแดง
  • ช่วงปลายฤดูฝน ฝนตกมาก ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
    ควรใช้วิธี การปลูกผัก ช่วงปลาย ฤดูฝน เข้า ฤดูหนาว ปลูกจำพวกผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า หอมแบ่ง มันแกว มันเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว ผักกาดหอม ผักบุ้งจีน พริกชี้ฟ้าและพริกขี้หนู
  • พืช ผัก ที่สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ปลูกได้ตลอดปี
    ผักต่างๆ เหล่านี้ เป็น ผักที่สามารถปลูกได้ทั้งปี ได้แก่ ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ตั้งโอ๋ ผักบุ้งจีน แตงโม ผักชี หอมแบ่ง ถั่วฝักยาว มะระ บวบ ฟัก
มะระขี้นก ผักสวนครัวรั้วกินได้

ฤดูฝนควรปลูกอะไรดี

หลายคำถามที่ว่า หน้าฝนปลูกผักอะไรดี ปลูกผักในหน้าฝน หรือในฤดูฝนเนี่ย สิ่งที่ควรจะปลูก จะต้องคำนึงถึงหลายอย่าง ข้อดีคือประหยัดน้ำ แต่ข้อเสียคือ มีน้ำมากเกินไป และอาจรวมถึง บางวันตกหนักทั้งวัน บางวันแห้งแล้ง ผักอาจทนไม่ไหว เหี่ยวเฉาตาย เป็นโรคเน่า ขาดทุนทำมาหากิน ช่วงฤดูฝนนี้ จึงขอแนะนำว่าควรจะ หน้าฝนควรปลูกบวบเหลี่ยม

เพราะผักชนิดอื่น หากผลหรือใบจมอยู่ใต้น้ำ ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ได้กำไรอยู่ดี แถมอาจต้องเจอกับภาวะขาดทุน จะมีก็แต่ผักกระเฉด ผักบุ้ง ที่ทนน้ำได้ดี แต่ผักกระเฉด ปลูกแล้วทำรายได้น้อย เมื่อเทียบกับแรงและเวลาที่เสียไป เคยลองแล้วไม่คุ้มเหนื่อย หันมาปลูกบัว เพื่อเก็บดอกขายรายได้ดีกว่า ผักบุ้งไทย ก็รายได้ดีไม่แพ้กัน แต่เมล็ดพันธุ์แต่ละพื้นที่ก็ราคาแพงไม่เท่ากันอีกทดลองมาหมดแล้ว

ปลูกบวบเหลี่ยมในฤดูฝน มีข้อดีหลายอย่าง

บวบเหลี่ยม เป็นบวบที่มีรสอร่อยและคนนิยมรับประทานกันมากที่สุด บวบเหลี่ยมจะผลิดอก ออกผลสะพรั่งให้พวกเรากินกันได้ในทุกฤดู ต่างไปจากบวบหอมที่หารับประทานได้เฉพาะช่วงหน้าฝน ในขณะที่บวบงู ก็จะออกผลดกในช่วงปลายฝนต่อต้นฤดูหนาว “บวบเหลี่ยม จึงเป็นตัวแทนของเหล่าบวบ ที่มีให้คนไทยบริโภคได้ครบทั้ง 3 ฤดูเลย” ทีเดียว

บวบเหลี่ยมเป็นชื่อที่คนภาคกลางเรียกกัน แต่ทางภาคเหนือจะมีสำเนียงใช้เรียกที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น หมักนอย มะนอยเหลี่ยม บางแห่งก็เรียกกันว่า มะนอยเลียม คนบางท้องถิ่นเรียกมะนอยเฉยๆ มีบ้างที่เรียกแปลกออกไปกว่านั้นอีก เช่น มะนอยข้อง มะนอยงู

ส่วนชื่อสามัญของเขาเรียกได้ทั้ง Angled Gourd หรือ Angled Loofah ก็ได้ แต่ชื่อทางพฤกษศาสตร์ มีอยู่เพียงชื่อเดียวเท่านั้น คือ Luffa acutangula Roxb. ซึ่งจัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกับแตงกวา แตงไทย ที่เคยเขียนถึงไปแล้วนั่นคือ วงศ์ Cucurbitaceae

หน้าฝนควรปลูกอะไรดี
ปลูกบวบเหลี่ยมในหน้าฝน

การปลูกบวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยมเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ควรขุดไถดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดินโดยเฉพาะดินทรายและดินเหนียวต้องใส่ให้มาก เพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมย่อยดินและพรวนดินให้ละเอียดร่วนโปร่งพร้อมที่จะปลูกได้ ทั้งหมดนี้ทำก่อนเข้าฤดูฝน หรือช่วงฝนทิ้งช่วงประมาณ 1 อาทิตย์

ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร การปลูกให้หยอดเมล็ดพันธุ์โดยตรงลงในแปลงหลุมละ 4-5 เมล็ด ฝังให้ลึกลงไปในดินประมาณ 2-4 เซนติเมตร จากนั้นกลบเมล็ดด้วยดินร่วนหรือปุ๋ยคอกหนาประมาณ 1 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

เมื่อต้นกล้างอกอายุได้ประมาณ 10-15 วันหรือมีใบจริง 2-4 ใบ ให้ถอนแยกต้นที่อ่อนแอหรือต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เหลือไว้หลุมละ 3 ต้น ในช่วงฝนตกการรดน้ำจะทำได้ง่ายโดยไม่ต้องลงมือทำเองเลย กล้าบวบจะไม่เสียหายและจะมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ

หน้าฝนควรปลูกบวบเหลี่ยม

เมื่อบวบเหลี่ยมเริ่มเลื้อยหรือเมื่ออายุประมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้บวบเลื้อยเกาะขึ้นไป การปลูกแบบปล่อยให้ต้นเลื้อยไปตามพื้นดินโดยไม่ทำค้างหรือร้าน จะทำให้ผลบวบมีรูปร่างงอโค้งไม่สวย ไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ การทำค้างให้บวบเหลี่ยมสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

  • ปักไม้ค้างยาว 2 – 2 1/2 เมตรทุกหลุม แล้วเอนปลายเข้าหากัน มัดไว้ด้วยกัน แล้วใช้ไม้ค้างพาดขวางประมาณ 2-3 ช่วง ทุกๆ ระยะ 40-50 เซนติเมตร
  • ทำเป็นร้านโดยใช้ไม้ค้างผูกเป็นร้านสูงประมาณ 1 1/2 – 2 เมตร หรือระยะสูงพอเหมาะที่สะดวกต่อการทำงาน
  • อาจใช้ค้างธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เช่น ไม้พุ่มเล็กๆ รั้วบ้าน ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกแบบสวนครัว

การให้น้ำควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ควรให้บวบเหลี่ยมขาดน้ำในระยะออกดอกและติดผล เพราะทำให้ดอกร่วงและไม่ติดผลระบบการให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้ผลดี และหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอยเพราะจะทำให้เกิดปัญหาโรคทางใบได้ สำหรับการดูแลรักษาและการใส่ปุ๋ย

บวบเหลี่ยมเป็นผักกินผล ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของธาตุไนโตรเจน 1 ส่วน ฟอสฟอรัส 1 ส่วน และโปแตสเซียม 1 1/2 – 2 ส่วน เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตรอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ และควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรทประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตในช่วงแรก

การหมุนเวียนของไนโตรเจน
อาการของต้นพืชแบบไหนที่แปลว่าขาดสารอาหาร

ถ้าคุณอยากปลูกพืชผัก ผลไม้ หรือพืชพันธุ์ต่างๆ ให้งอกงาม

พืชต้องการแร่ธาตุและสารอาหารอะไรที่จำเป็น

เนื้อหาก่อนหน้านั้น ว่าด้วยเรื่อง อาการขาดธาตุอาหารของพ

แต่ต้องระมัดระวังไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเฝือใบ การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ใส่ครั้งแรกในตอนปลูกแบบรองพื้นแล้วพรวนดินกลบ และใส่ครั้งที่สองเมื่อบวบอายุประมาณ 20-30 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแล้วพรวนดินกลบ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรใส่เพียงครั้งเดียวแบบโรยข้าง เมื่อบวบอายุประมาณ 7-10 วัน

อายุการเก็บเกี่ยวของบวบเหลี่ยมประมาณ 45-60 วันหลังจากหยอดเมล็ด ควรเลือกเก็บเกี่ยวผลขณะที่ยังอ่อนอยู่ เนื้อผลอ่อนนุ่มได้ขนาดพอเหมาะ ซึ่งผลจะมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ควรเก็บเกี่ยวก่อนที่ผลเริ่มแข็งและพองออก ไม่ควรทิ้งให้ผลแก่คาติดต้น เพราจะทำให้ผลผลิตลดลง

โรคและปัญหาในการปลูก บวบเหลี่ยม ช่วงฤดูฝน

โรคราน้ำค้างของบวบเหลี่ยม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis อาการเริ่มแรกจะพบเป็นจุดสีเหลืองซีดขนาดเล็กทางด้านหน้าใบ จุดดังกล่าวจะขยายออกเป็นรูปเหลี่ยมตามลักษณะของเส้นใบ

เมื่อพลิกดูใต้ใบในเวลาเช้าจะพบเขม่าสีเทาดำตรงบริเวณแผลนั้น ซึ่งเป็นส่วนของเชื้อและเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผลมีลักษณะแห้งยุบตัวลง เมื่อแผลรวมกันมากๆ จะทำให้เกิดอาการใบไหม้

การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดด้วยเมทาแลคซิลอัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เก็บใบแก่ๆ ที่แสดงอาการของโรคใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปเผาทำลาย นอกจากนี้ฉีดพ่นด้วย คลอโรทาโรนิลหรือแมลโคเซป ในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

แมลงเต่าแตง เต่าแตงมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดสีดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola frontalis และชนิดสีแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola similis แต่ส่วนใหญ่จะพบสีแดง เต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดลำตัวยาว 0.8 เซนติเมตร ปีกคู่แรกแข็งเป็นมัน ลำตัวค่อนข้างยาว เคลื่อนไหวช้า จะพบเสมอเวลากลางวันที่มีแดดจัด

ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน ลักษณะหนอนสีขาวยาวตัวเต็มวัยของเต่าแตงสามารถมีอายุได้ถึง 100 วัน เต่าแตงตัวเมียวางไข่เดี่ยวๆ เป็นกลุ่มเล็กๆ อายุไข่ 8-15 วัน อายุตัวอ่อน 18-35 วัน อายุดักแด้ 4-14 วัน ลักษณะการทำลาย โดยตัวแก่จะกัดกินใบ หากเกิดการระบาดรุนแรงทำให้ชะงักการทอดยอดได้

ส่วนตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินโดยกัดกินราก บวบที่ถูกเต่าแตงเข้าทำลายจะทำให้ผลผลิตลดลงและผลมีขนาดเล็กลง การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูบวบในเวลาเช้าที่แดดยังไม่จัด การจับทำลายด้วยมือจะช่วยได้มาก ภายหลังเก็บเกี่ยวผลหมดแล้วไม่ควรปล่อยต้นบวบทิ้งไว้บนแปลง ควรถอนทำลาย มิฉะนั้นอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเต่าแตงต่อไปได้

หากการระบาดรุนแรงควรเลือกใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น คาร์บาริลหรือเซฟวิน 85 ในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเป็นครั้งคราว สำหรับเซฟวิน 85 ไม่ควรใช้เกินอัตราที่แนะนำ เพราะอาจทำให้ใบไหม้ได้

หน้าฝนนี้ก็มีบวบเหลี่ยมให้รับประทานกันโดยไม่ต้องไปซื้อหากันแล้ว

เนื้อหาเกี่ยวกับน้ำท่วม และการปลูกพืชผักในช่วงหน้าฝน

ปลูกอะไรดีในพื้นที่น้ำท่วมบ่อย แล้วได้ผลผลิตสูง

พื้นที่น้ำท่วมถึงส่วนใหญ่มักเป็นปัญหากับเกษตรกร เนื่องจ

การดูแลและฟื้นฟูต้นไม้หลังน้ำท่วม

ประเทศไทยในยุคนี้ ดูเหมือนน้ำจะท่วมทุกปีแล้วล่ะ อาจเพรา

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

บทความน่ารู้

การออกแบบโคกหนองนาโมเดล เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

บทความนี้จะมาแนะนำเรื่อง การออกแบบโคกหนองนา โดยเน้นถึงจ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ผลไม้ที่ออกผลทั้งปี มีอะไรบ้าง ปลูกแล้วมีกินตลอด

มีสวนมีไร่ แนะนำให้ปลูกผลไม้ที่ออกผลทั้งปี ปลูกแค่ไม่กี

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

เกษตรผสมผสาน 1 ไร่ พอเพียง รวยได้จริงหรือ?

เกษตรผสมผสาน มีพื้นที่เพียง 1 ไร่ ทำเกษตรอย่างไรให้รวย

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

การขยายพันธุ์พืช

ปลูกกล้วยแบบผ่าหน่อ ทำง่าย ได้ต้นเยอะ

การปลูกกล้วยแบบผ่าหน่อ เริ่มแนวคิดนี้จากบทความของ คุณคม

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เกษตรในพื้นที่น้อย

ทำอย่างไรถึงจะปลูกพริกหยวกในกระถางให้ได้ผล

เป็นไปได้เหรอถ้าเราจะปลูก พริกหยวกในกระถาง แล้วจะได้ผลด

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

ปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย

ประโยชน์ของปุ๋ยคอก ดีอย่างไร ทำไมถึงจำเป็น

นอกจากปุ๋ยเคมี ที่เป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินแล้ว ปุ๋ยอ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา