การดูแลและฟื้นฟูต้นไม้หลังน้ำท่วม

ประเทศไทยในยุคนี้ ดูเหมือนน้ำจะท่วมทุกปีแล้วล่ะ อาจเพราะเราบริหารจัดการน้ำกันไม่ดีพอ หรือเพราะธรรมชาติลงโทษแรงขึ้น แต่ถึงกระนั้น ความหนักหนาของการท่วมในแต่ละครั้งก็มากขึ้นเรื่อยๆ

กระทั่งปี 2554 พายุเข้าประเทศกันมาติดๆ 3-4 ลูก แต่ละลูกใหญ่กินพื้นที่ 2-3 จังหวัด ท่วมกันนับหมื่นนับแสนครัวเรือน ผ่านมา 10 ปีคิดว่าจะได้บทเรียน กลายเป็นปี 2564 ท่วมหนักกว่าเดิม จากพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อนก็ท่วมสูงถึง 2 เมตร หากเป็นปัญหาเดิมคงท่วมในพื้นที่เดิม แต่นี่เปล่าเลย เขื่อนแตก ตะหากที่ทำน้ำท่วมหนัก

แต่ถึงอย่างไรก็ขอให้ทุกครัวเรือนผ่านพ้นวิกฤติน้ำท่วมนี้ไปได้โดยปลอดภัย สำหรับบ้านไหนที่น้ำเริ่มลดแล้ว และต้องการจัดการแก้ปัญหาต้นไม้และสวนสวยๆ กำลังมองหาวิธีจัดการดูแลต้นไม้หลังน้ำท่วม หรือจะเป็นการฟื้นฟูไม้ผลและการปลูกไม้ผลหลังประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากปล่อยเอาไว้ ต้นไม้บางต้นอาจยืนต้นตายไปโดยไร้การเหลียวแล

ยิ่งไปกว่านั้นหากต้นไม้เหล่านั้นเป็นพืชเศรษฐกิจที่เป็นรายได้หลักของครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งฟื้นฟูเป็นการด่วน ก่อนอื่นต้องมาสังเกตุก่อนว่า ต้นไม้ชนิดไหนไหนควรรีบเข้าไปจัดการ ต้นไม้ชนิดไหนไม่ต้องดูแลเพราะเค้าฟื้นฟูตัวเองได้

อาการของต้นไม้ที่ใกล้ตายจากน้ำท่วม

ต้นไม้พวกนี้มักจะแสดงอาการและบ่งบอกว่าแย่แล้ว และต้องรีบดำเนินการช่วยเหลือด่วนที่สุดภายหลังน้ำลด หากช่วยได้ถูกต้องและทัน ต้นไม้และพืชผลก็อาจยังรอดและเติบโตได้ดีต่อไปในภายหลัง

  • ต้นไม้ที่มีอาการใบเหลือง แม้จะไม่เด่นชัดในวันแรกที่ท่วม แต่จะพบชัดเจนมากขึ้นในวันต่อมา และมักจะพบอาการดังกล่าวเกิดขึ้นที่ใบมีอายุมาก หรือใบที่อยู่ทางส่วนโคนของกิ่งในแต่ละกิ่งย่อย และจะเหลืองเข้มมากขึ้นเรื่อยๆ จนร่วงหล่น ส่วนอาการซีดเหลืองนั้นมักจะพบในกรณีที่ต้นไม้ถูกน้ำท่วมขังต่อเนื่อง และนอกจากนี้ยังพบอาการใบลู่หรือห้อยลงแบบไม่สดใสอีกด้วย
  • อาการทิ้งใบ ดอก และผล ระบบรากต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมขังจะก่อให้เกิดสภาวะเครียดขี้นมา ซึ่งความเครียดนี้ ส่งผลให้ต้นไม้มีการกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนเอทธิลีนในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ทำให้ต้นไม้ทิ้งดอกและผล จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงเกือบหมดต้น ส่วนการทิ้งใบนั้นมักจะพบในส่วนใบที่มีอายุมากกว่าใบที่อ่อนกว่า สังเกตได้จากใบที่อยู่ทางส่วนล่างของกิ่งกระจายไปทุกบริเวณของต้น แต่ไม้ผลบางชนิดอาจจะไม่แสดงอาการทิ้งใบแต่จะยืนต้นตายทั้งที่มีใบเต็มตันก็ได้ เช่น มะม่วง ขนุน
  • ต้นไม้ที่เอนเหมือนจะล้ม เพราะรากไม่สามารถยึดเกาะดินได้อย่างมั่นคง ทำให้ต้นไม้เหล่านี้อาจล้มลงทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนและสวนสวยๆ จำเป็นต้องหาไม้ค้ำยันให้ต้นตั้งตรงตามเดิม
  • การสร้างรูเปิด กรณีที่ต้นไม้ถูกน้ำท่วมสูงเกือบถึงกลางต้น ต้นไม้จะสร้างรูเปิดขึ้น ซึ่งมักจะสร้างอยู่ตรงกลางส่วนของลำต้นบริเวณเหนือผิวน้ำที่ท่วมขังเพียงเล็กน้อย เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงราก ถ้าต้นไม้มีการสร้างรูเปิดมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดมากเท่านั้น กรณีนี้เราทำได้เพียงภาวนาไม่ให้ระดับน้ำสูงขึ้นจนปิดรูเหล่านั้น
การดูแลต้นไม้และพืช หลังน้ำท่วมลด

เมื่อเกิดน้ำท่วม ส่วนใหญ่ปัญหาของต้นไม้จะเกิดจากรากขาดออกซิเจน รากที่ใช้ในการสร้างพลังงานเพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้น เนื่องจากน้ำจะแทรกซึมเข้าไปตามช่องว่างของอากาศที่มีอยู่ในดิน ทำให้ต้นไม้ไม่มีออกซิเจนอย่างเพียงพอ เหมือนกับคน หากขาดอากาศก็อาจตาย ยิ่งถ้าน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อัตราการรอดก็จะลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีระบบรากไม่ลึกพอที่จะหนีน้ำท่วมได้

หรือต้นไม้ที่มีรากอากาศอยู่มากที่รอบโคนต้น เช่น มะม่วง ทุเรียน ขนุน ไม้ผลบางชนิดไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขัง แม้จะไม่นานก็ตาม

การดูแลต้นไม้และพืช หลังน้ำท่วมลด

การแก้ปัญหาต้นไม้และพืชผลโดนน้ำท่วมขัง

  • อย่าเหยียบย่ำพื้นดินในบริเวณโคนต้นไม้โดยเด็ดขาด เพราะบริเวณโคนรากของต้นไม้โดยทั่วไปจะเป็นรากอากาศ หากต้นไม้มีรากฝอยมาก จะทำให้รากช้ำ และจมลงในดินที่ชุ่มน้ำทำให้เกิดการขาดอากาศซ้ำ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าหลังน้ำท่วมและน้ำลดแล้ว ดินอาจไม่แข็งพอจะให้ต้นไม้ยึด จึงทำการเหยียบหรือกดหน้าดินทับเข้าไปอีก ทำแบบนี้จะทำให้ต้นไม้ตายเร็วขึ้น
  • ทำให้เกิดสภาพน้ำมีการเคลื่อนไหว หากพื้นที่ใดมีการท่วมขังเป็นเวลานาน ทางแก้ง่ายๆ คือ ทำให้น้ำในบริเวณโคนต้นมีการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างออกซิเจนในน้ำ จะทำให้รากพืชสามารถดูดซับออกซิเจนได้บางส่วน ข้อสังเกตุคือ หากมีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา แม้เป็นน้ำท่วมขังเวลานาน ต้นไม้บางชนิดที่ไม่ทนน้ำท่วมก็จะอยู่รอดได้ยาวนานขึ้น ต่างจากน้ำนิ่งที่ท่วมขัง แม้ท่วมไม่นาน ต้นไม้ก็อาจตายเร็วขึ้น
  • เสริมคันดินและสูบน้ำออก เป็นวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หากเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานเกินจะรอ
  • ใช้กังหันตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับต้นไม้ หากไม่สามารถทำให้น้ำเคลื่อนไหวในสภาพท่วมขังได้ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเพื่อช่วยทุนแรงในการเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช

การดูแลต้นไม้ภายหลังน้ำลด

  • เมื่อระดับน้ำลดแล้ว แต่ดินยังเปียกหรือชุ่มน้ำอยู่ ห้ามเดินย่ำผิวดินโดยเด็ดขาด เนื่องจากดินรอบระบบรากยังอิ่มตัวด้วยน้ำ ควรปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งไปอย่างนั้นประมาณ 2 วัน หรือให้หน้าดินแห้งเสียก่อน
  • ถ้าต้นไม้ทรงตัวไม่ดีและทำท่าว่าจะล้ม อย่ากดดินให้แน่น หรืออย่าเติมดินเข้าไปเพิ่ม เพราะระหว่างนี้รากยังไม่สามารถหาอาหารได้ ควรหาไม้มาค้ำยันไว้กันล้มแทนเป็นลำดับแรก
  • เมื่อหน้าดินเริ่มแห้งหมาด ให้ใช้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบให้แก่พืช ปุ๋ยที่มี NPK ในอัตรา 1:1:1 ผสมกับน้ำตาลทราย 1% ฉีดพ่นให้กับต้นไม้ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน /ครั้ง เพื่อฟื้นคืนสภาพต้นโดยเร็วและเร่งสร้างระบบรากที่ต้นไม้ให้เร็วขึ้น
  • การสำรวจควรดูที่ใบ หากเหลือง เหี่ยว ไม่สดใส ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง การตัดแต่งกิ่งจะช่วยจำกัดให้รากที่เสียหายได้ฟื้นฟูสภาพ ไม่ต้องส่งสารอาหารมาเลี้ยงกิ่งและใบ และทำให้แสงแดดส่องถึงดีขึ้น ไม่เกิดโรคและแมลงซ้ำ
  • พืชคลุมดินส่วนใหญ่จะตายหมด ให้ลอกขุดทิ้งไปเลย ส่วนต้นที่พอจะรอดได้ ให้รีบขุดขึ้นมาตัดส่วนที่เน่าออกและนำไปพักฟื้นที่กระถางต้นไม้ชั่วคราวก่อน
  • ในช่วง 5 วันแรกหลังน้ำลด ไม่ควรให้น้ำหรือปุ๋ย หรือยาต่างๆ แก่ต้นไม้ เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวได้เองแล้วจึงค่อยให้น้ำ แต่ควรให้น้อยๆ แล้วควรให้ปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบแทน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของราก
  • เมื่อต้นไม้ฟื้นตัวดีแล้วค่อยบูรณะ ปรับพื้นที่ ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย เพื่อให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น

ในพื้นที่ที่มีปัญหาของโรกรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืชหรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล (ริโดมิล) หรือ อีโฟไซท์-อลูมินั่ม (กาลิเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจาก เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) หรือไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.)

การดูแลต้นไม้และพืช หลังน้ำท่วมลด

สำหรับโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) , ไรซ๊อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือ สเคลอโรเที่ยม (Sclerotium spp.) ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (เทอร์ราคลอร์, บลาสสิโคล) นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเล็กน้อย

เรื่องราวของการดูแลต้นไม้ในช่วงฝนตกหนักน้ำท่วมขัง หรือในสภาพที่บ้านเมืองเกิดปัญหาน้ำท่วม อุทกภัยร้ายแรงนั้น สาระความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่นำเสนอนี้ คงพอเป็นแนวคิดในการวางแผนเพื่อหาวิธีการในการป้องกันและดูแลรักษาต้นไม้ในสวนของท่าน ให้สามารถยืนต้นและให้ผลผลิตต่อไปได้ไม่มากก็น้อย

ส่วนต้นที่ไม่รอดก็ต้องจำใจตัดทิ้งและปลูกขึ้นใหม่ทดแทน เพราะน้ำที่ท่วมขังในระดับอุทกภัยนั้น เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะกินเวลานานเพียงใด ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นปัญหาภายนอก

ก็ขอเป็นกำลังใจให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน ได้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดี

ด้วยความปรารภนาดีจาก kasetorganic.com

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ทำอย่างไรให้ต้นเตี้ยลูกดก

มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งที่น่าปลูกไว้ติ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ผักสวนครัวอะไร เป็นสมุนไพรที่แก้โรคเบาหวานได้

อยากรู้ว่าผักสวนครัวรั้วกินได้อะไรที่แก้โรคเบาหวานได้ ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

วิธีการปลูกบวบเหลี่ยม ไว้กินเอง

ปลูกบวบเหลี่ยม ไม่ยาก มีเพื่อน ๆ สมาชิกหลายท่านสนใจการป

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกถั่วฝักยาวแบบอินทรีย์

ถั่วฝักยาว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบจะทุกชนิด แต่ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกพืชอะไรที่ต้องการน้ำน้อย ทนแล้ง และให้ผลผลิตดี

ตัวอย่างโครงการปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย กลุ่มพืชทนแล้ง

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

บอนกระดาด หรือ บอนกระดาษ กันแน่?

บอนกระดาด หลายคนรู้จัก แต่มักเขียนกันผิดว่าเป็น “

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา