เมื่อหลายปีก่อน กระแสทุเรียนเทศรักษามะเร็ง ฟีเวอร์จัด ลามไปถึงการนำทุเรียนเทศไปรักษาเบาหวานด้วย
ระยะหลัง ๆ กระแสเริ่มเบาบาง แต่ก็ยังคงมีบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและมะเร็ง จะให้ความสำคัญกับ ทุเรียนเทศ กันอย่างไม่น้อย เพราะเข้าใจว่ามีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายชนิด ที่ภายหลัง ได้เจอการเผยแพร่สรรพคุณของ “ใบทุเรียนเทศ” ว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีกว่ายาเคมีบำบัด
และมีผลิตภัณฑ์จากใบทุเรียนเทศ ออกวางจำหน่ายในตลาดหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ แคปซูล ชาชง รวมไปถึง มีการแนะนำให้ใช้ชาชงใบทุเรียนเทศ ร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดด้วย สิ่งเหล่านี้เท็จจริงอย่างไร
วันนี้ ในฐานะผู้ที่อยู่กับทุเรียนเทศมานานหลายปี จึงอยากจะเขียนเกี่ยวกับการใช้ทุเรียนเทศรักษาโรค ว่าสามารถทำได้จริง หรือส่วนต่าง ๆ ของเจ้าต้นทุเรียนเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็น ใบ ราก ผล เมล็ด มีสรรพคุณทางยาจริงหรือไม่ และมีสรรพคุณทางด้านใดบ้าง ลองมาอ่านกันเลย หากสนใจปลูกไว้ซักต้น อาจลองศึกษาได้จากลิ้ง ทุเรียนเทศ นี้
อ้างถึงการเปิดเผยข้อมูลของ นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นพิษเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการของทุเรียนเทศ หลังมีรายงานวิจัยจากต่างประเทศพบว่า “พืชชนิดนี้มีสารที่มีพิษต่อเซลล์ประสาท และหากบริโภคในปริมาณมาก จะมีผลต่อการทำงานของไต”
โดยรายงานการวิจัยนี้พบว่า สารสกัดจาก “ใบทุเรียนเทศ” มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด ตับ ตับอ่อนและผิวหนังในหลอดทดลอง จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดมีฤทธิ์ระงับปวด ต้านการอักเสบ ลดน้ำตาลและไขมันในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ และมีรายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า สารสกัดด้วยเอทานอลของใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของก้อนเนื้องอกผิวหนัง
นอกจากนี้ สารสกัดยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของมะเร็งตับอ่อน และยังสามารถลดการแพร่กระจายของมะเร็ง ไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่น ตับ ต่อมน้ำเหลือง และรังไข่ ซึ่งจากการแยกสารสำคัญที่มีอยู่ในทุเรียนเทศ ที่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง พบว่า คือ สารกลุ่ม annonaceous acetogenins
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุเรียนเทศ สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นยารักษามะเร็ง หรืออาจใช้ร่วมกับเคมีบำบัดในอนาคต แต่มีข้อมูลการวิจัยใหม่ พบว่า สารแอนโนนาซิน ที่มีอยู่ในพืชชนิดนี้ มีพิษต่อเซลล์ประสาท นอกจากนี้ในรายงานการวิจัยจากประเทศกานา พบว่า หนูทดลองที่ได้รับสารสกัดใบทุเรียนเทศในปริมาณสูง มีผลต่อการทำงานของไต
ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนเทศที่มีสรรพคุณทางยา
ทุเรียนเทศจัดเป็นพืชสมุนไพร และมีสรรพคุณทางยาอยู่หลายส่วน แต่ก็ยังคงต้องมีงานวิจัยมารองรับด้วยว่า มีความสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการป่วยได้จริง โดยหมอชาวบ้านได้อ้างถึงสรรพคุณต่าง ๆ ไว้ดังนี้
- เมล็ด ใช้เป็นยาแก้โรคบิด ใช้เป็นยาสมาน ทำให้อาเจียน ใช้เบื่อปลา หรือนำไปใช้เป็นยาฆ่าแมลง
- ใบ ขยี้ทั้งใบผสมกับปูนแดง ใช้ทาแก้ท้องอืด หรือนำใบมาตัดส่วนโคนและปลายใบออก นำไปต้มกับน้ำเกลือ เพื่อรักษาอาการปวดฟัน ใบสดมีผลลดความดันโลหิตและมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด (จากผลการทดลองในสัตว์ทดลองเท่านั้น)
- ราก ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าว ประคบจะช่วยให้หายจากอาการเจ็บปวดจากการโดนครีบปลาแทง
- ผลสด ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้
แนะนำผลิตภัณฑ์จากทุเรียนเทศ
- ต้นกล้าทุเรียนเทศ ไม่อยากซื้ออะไรบ่อย ๆ ก็ลงทุนซื้อต้นไปปลูกเองกันได้เลย
- ชาจากใบทุเรียนเทศ ไว้ชงดื่มเพื่อสุขภาพ
ใบทุเรียนเทศกับผลทางยา
ส่วนใหญ่ สรรพคุณที่ออกมา จะมาในรูปแบบของการวิจัยในสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่มีผลวิจัยรองรับถึงสรรพคุณในการรักษาโรคจริงจัง และนอกจากนี้ การรับประทานสารสกัดใบทุเรียนเทศไปนาน ๆ จะมีผลทำให้จุลชีพที่ดี (normal flora) ในระบบทางเดินอาหารถูกทำลาย
เนื่องจากใบทุเรียนเทศ มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ และอาจมีผลทำให้เกิดอาการ atypical parkinsonism เนื่องจากสารกลุ่ม annonaceous acetogenins ที่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อสมอง
ในขณะที่การศึกษาความเป็นพิษของ น้ำต้มจากใบทุเรียนเทศ โดยป้อนให้สัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการอย่าง หนูขาว พบว่า ค่า LD50 มีค่า <5 กรัม/กิโลกรัม ถือได้ว่า น้ำต้มใบทุเรียนเทศมีความปลอดภัย (จากการคำนวน การดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา จะได้รับสารสกัดน้ำต้ม 211 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน)
การศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง ของน้ำต้มใบทุเรียนเทศในหนูขาว ทั้งเพศผู้และเพศเมีย เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ขนาดความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลลดน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือดได้ โดยเฉพาะ low density lipoprotein (LDL-cholesterol) และเพิ่มระดับของ high density lipoprotein (HDL-cholesterol) โดยไม่เป็นพิษต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
แต่ขนาดความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลทำให้น้ำหนักตัวหนูลดลง และทำให้มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และขนาดความเข้มข้น 2,500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลเป็นพิษต่อไต ทำให้ระดับเอนไซม์ creatinine สูงขึ้น ผลงานวิจัยนี้แสดงว่า
การบริโภคน้ำต้มใบทุเรียนเทศ ในปริมาณน้อย จะเป็นประโยชน์ทั้งเรื่องน้ำตาลในเลือดและระดับไขมันในเลือด
ส่วนการบริโภคในปริมาณที่มาก จะเป็นพิษต่อไตและมดลูก ฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน
อ้างอิงข้อมูลงานวิจัยใบทุเรียนเทศกับสรรพคุณทางยา จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การใช้ทุเรียนเทศทางการแพทย์
การนำทุเรียนเทศ มาใช้บำบัดเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั้น ยังต้องผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย ด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น การศึกษาด้านกลไกออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารสำคัญออกฤทธิ์ชนิดต่างๆ การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน รวมไปถึง การศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัย
ซึ่งสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กำลังรวบรวมวัตถุดิบใบทุเรียนเทศในประเทศไทย มาศึกษาความเป็นพิษเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นข้อมูลคุ้มครองผู้บริโภค และวางแผนศึกษาวิจัยเพื่อหาทางนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคต ดังนั้นแล้วจึงขอเตือนว่า
การบริโภคทุเรียนเทศ ควรบริโภคแต่น้อยเอาไว้ก่อน รวมไปถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ทุเรียนเทศสกัด ที่อ้างถึงการรักษาโรคชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะเป็นรูปแบบใด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
อ้างอิงข้อมูลทุเรียนเทศทางการแพทย์จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ https://rmsctrang.go.th/articles/detail/43/frontpage
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
บทความน่ารู้
การถนอมมะนาว ไว้ใช้ตอนราคาแพง
แม้ว่าช่วงนี้จะผ่านพ้นอากาศหนาวจัดมาได้สองสามวัน แต่ในบ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
ประโยชน์ของปุ๋ยคอก ดีอย่างไร ทำไมถึงจำเป็น
นอกจากปุ๋ยเคมี ที่เป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินแล้ว ปุ๋ยอ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ปลูกผักในขวด ทำอย่างไรให้งอกงาม
การปลูกผักในขวด ถือเป็น ไอเดีย ที่ยังเป็นที่นิยมสำหรับใ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
การปลูกตั้งโอ๋ ผักสวนครัวมากประโยชน์ในพื้นที่จำกัด
หลายคนยังสับสนกับผักสวนครัวสองชนิดนี้ คือ ตั้งโอ๋ กับ ค
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เศษอาหารและใบไม้ ใช้ทำปุ๋ยอะไรได้บ้าง
ปัญหาดินขาดปุ๋ยและธาตุอาหาร เพราะสภาพดินไม่เอื้อต่อการเ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ไม้ผล 50 ชนิด ที่ควรปลูกไว้ติดสวน
สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ในสวนนั้น ควรปลูกอะไรบ้าง เราขอแ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช