มารู้จักกับต้นทุเรียนเทศกันดีกว่า เจ้านี่ชาวบ้านบางแห่งเรียกว่า ทุเรียนน้ำ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Soursop, Prickly Custard Apple
ทุเรียนเทศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona muricata L. และได้ชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลด (ภาคอีสาน) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่าและกระดังงา มีลักษณะใบเดี่ยว กลีบดอกแข็ง มีกลิ่นหอมตอนเช้า ผลมีรูปร่างคล้ายทุเรียน มีหนามแต่ไม่แหลมมาก เปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแก่สีดำ ปลูกมากในแถบอเมริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชที่ชอบที่ที่มีความชื้นสูง
มีงานวิจัยในแถบทะเลแคริบเบียน ที่แสดงให้เห็นว่าทุเรียนเทศ มีความเชื่อมโยงกับโรคพาร์คินสัน เพราะมีสาร annonacin ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้สูง มีการวิจัยออกมาว่าในประเทศที่มีการใช้ เมล็ดทุเรียนเทศ เป็นยาพื้นเมืองไว้สำหรับฆ่าพยาธิ พบว่าคนไข้มักเป็นโรคพาร์คินสัน
ดังนั้น การรับประทานจึงควรเลี่ยงการกินเมล็ด เนื่องจากในผลสด 1 ผล มีสาร annonacin สูงถึง 15 มิลลิกรัม และ 1 กระป๋องของน้ำผลไม้เพื่อการค้ามี annonacin ถึง 36 มิลลิกรัม สารตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลในสมอง ทำให้มีอาการแบบพาร์คินสัน
ควรหลีกเลี่ยงการกินผลทุเรียนเทศมากเกินไป
แม้จะเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ ในยาที่ขายในตลาดในชื่อ Triamazon. โดยยาตัวนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นยาในอังกฤษ แต่มีการวิจัยออกมาว่าในประเทศที่มีการใช้เมล็ดเป็นยาพื้นเมืองสำหรับฆ่าพยาธิมีประสิทธิภาพมาก แต่ไม่แนะนำสำหรับคนที่เป็นพาร์คินสัน
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ทุเรียนเทศ น้อยหน่า และน้อยโหน่ง
ผลทุเรียนเทศ เปลือกมีหนาม
แต่ผลเล็กกว่าทุเรียน
ผลน้อยหน่า กลีบเปลือกจะหนา
ไม่มีหนาม ร่องเปลือกลึก
ผลน้อยโหน่ง เปลือกมีปุ่มแต่ไม่แหลม
ร่องเปลือกไม่ลึก
แหล่งเพาะปลูกทุเรียนเทศในประเทศไทย
การสำรวจตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี ลงไปจนถึงจังหวัดสงขลา รวม 12 จังหวัด สามารถพบตัวอย่างถึง 145 จุด จุดสำรวจที่พบมากที่สุดได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบมากถึง 32 จุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดตรัง พบตัวอย่างเพียง 25 จุด ส่วนจังหวัดที่พบน้อยที่สุดได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ที่พบตัวอย่างต้นทุเรียนเทศเพียง 1 จุด สภาพสวนที่พบ จำแนกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ
- พื้นที่สวน ส่วนใหญ่จะพบ ต้นทุเรียนเทศ ในสภาพที่ปลูกอยู่รอบๆ ที่อยู่อาศัยร่วมกับพืชอื่นๆ ในสวนบ้านทั่วไป ส่วนใหญ่จะมี 1-2 ต้นเท่านั้น อายุของต้นที่พบมีอายุตั้งแต่อายุ 2 ถึงประมาณ 50- 60 ปี จุดประสงค์การปลูกทุเรียนเทศ ส่วนใหญ่เพื่อใช้รับประทานผลสดในครัวเรือน หรือแบ่งปันให้เพื่อนบ้าน
- สวนสมรม มี 2 สวนที่มียังมีการปลูกร่วมกับพืชอื่นๆ ในลักษณะหลายชั้นเรือนยอด ไม่มีการจัดระยะปลูกที่แน่นอน มีการเก็บผลผลิตสวน ไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นเป็นประจำ ขนาดของสวนที่พบ ประมาณ 12 ไร่ จำนวนต้นที่พบแทรกอยู่ในสวนประมาณ 30-60 ต้น พืชร่วมที่ปลูกได้แก่ มะพร้าว มะม่วง กล้วย ต้นสะเดาช้าง สะตอ ส่วนผลทุเรียนเทศ สามารถจำหน่ายในราคาผลละ 10 -20 บาทหรือในราคากิโลกรัมละ 25 บาท
- หน่วยงานราชการ มีปลูกใน 3 หน่วยราชการ ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง และศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี ในสถานที่ ที่กล่าวมานี้ มีการจัดระยะปลูกเป็นแถวเป็นแนวที่ระยะปลูก 5 X 5 เมตร บทบาททุเรียนเทศในกรณีนี้ จึงน่าจะเป็นแหล่งรวบรวม และศึกษาการเพาะปลูกได้เป็นอย่างดี
- ในที่สาธารณะกรณีนี้พบน้อย จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าสถานะภาพของทุเรียนเทศ ในฐานะการเป็นพืชร่วมในสวนบ้าน หรือสวนสมรม จึงมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของในประเทศไทย แต่มีแนวโน้มว่าจะลดหรือสูญหายไปจากสวนเหล่านี้
สรรพคุณทางยาของทุเรียนเทศ
ทุเรียนเทศสามารถใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ได้หลายรูปแบบ ได้แก่รับประทานผลสด การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำผลไม้พร้อมดื่ม ไวน์ ในด้านสรรพคุณทางสมุนไพร มีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น
- เมล็ด ใช้เป็นยาแก้โรคบิด ใช้เป็นยาสมาน ทำให้อาเจียน ใช้เบื่อปลา หรือนำไปใช้เป็นยาฆ่าแมลง
- ใบ ขยี้ทั้งใบผสมกับปูนแดง ใช้ทาแก้ท้องอืด หรือนำใบมาตัดส่วนโคนและปลายใบออก นำไปต้มกับน้ำเกลือ เพื่อรักษาอาการปวดฟัน
- ราก ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าว ประคบจะช่วยให้หายจากอาการเจ็บปวดจากการโดนครีบปลาแทง
- ผลสด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
- wikipedia.org ทุเรียนเทศ
- ทุเรียนเทศในสวนบ้านภาคใต้ของประเทศไทย Soursop (Annona muricata Linn.) in Traditional Homegardens of Southern Thailand ยืนยง วาณิชย์ปกรณ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
- farmkaset.org
- kasetorganics.org
บทบาทของทุเรียนเทศพบว่า มีแนวโน้มจะหายไปจากสวน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพความเจริญของพื้นที่ ที่ถูกแปรเปลี่ยนเป็นบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัย เนื่องจากส่วนใหญ่ถูกปลูกไว้ใกล้บ้านจึงนับเป็นภัยคุกคามโดยตรง ประกอบกับความนิยมในการบริโภคนับวันจะน้อยลงไปเรื่อย ๆ
เทคนิคการปลูกทุเรียนเทศ
ไม้ลักษณะนี้ จะชอบดินร่วน มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดครึ่งวันถึงรำไร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในบ้าน ในการปลูกเป็นการค้านิยมปลูกในประเทศมาเลเซีย โดยมีระยะปลูก 4 + 4 เมตร ให้ผลได้ในปีที่ 4 ได้ผลผลิตประมาณ 1.5 – 2 ตันต่อไร่ต่อปี
ทำอย่างไรต้นทุเรียนเทศถึงจะโตได้ดี
สภาพแวดล้อมที่เจริญเติบโตได้ดีนั้น มักพบว่าดินที่มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง (pH) 3-7 จะเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีที่สุด
การขยายพันธุ์ทุเรียนเทศ
การเพาะเมล็ดทำได้โดยการนำเมล็ดมาเพาะ เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน แต่ต้นกล้าจะโตช้าและออกดอกเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด และทาบกิ่ง
โรคและแมลงที่ปรากฎ อยู่ในระหว่างการศึกษา คาดว่าน่าจะเป็นลักษณะเดียวกับน้อยหน้า
การใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศ
ผลกินได้ไหม โดยปกตินิยมนำผลมาประกอบเป็นอาหาร ในประเทศไทย มีการนำผลแก่มารับประทาน ในภาคใต้นิยมนำผลอ่อนมาทำแกงส้ม และเชื่อม ในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย นิยมนำผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมารับประทานเป็นผักเคียง ผลแก่นำมาทำขนมหวาน เช่น นำเนื้อมาผสมในไอศกรีม เครื่องดื่มนมผสมผลไม้รวม เยลลี่ น้ำผลไม้ ในประเทศมาเลเซีย มีการทำน้ำทุเรียนเทศอัดกระปํอง ซึ่งได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผลจะประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน เอ วิตามิน ซี นำตาลและกรดอินทรีย์อีกหลายชนิด
สรรพคุณทางยาของทุเรียนเทศ ได้แก่ ผลสุกรับประทานแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลดิบรับประทานแก้โรคบิด เมล็ดใช้สมานแผลห้ามเลือด ใช้เบื่อปลาและฆ่าแมลง ส่วนใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้ไอ ปวดตามข้อ ใบชาที่ทำให้แห้งโดยการใช้วิธีการ Air Dry จะช่วยทำให้ประโยชน์ในการรักษาและฆ่าเชื้อแบคทีเรียนั้นเข้มข้นขึ้น เมื่อใบแห้งแล้ว ฉีกใบเป็นชิ้นเล็กๆ และตวงให้ได้ 1 ถ้วยตวงต่อน้ำ 1 ลิตร นำไปต้ม และลดไฟให้ต่ำ เคี่ยวอีก 20 นาที ใช้ดื่ม 3 ถ้วยต่อวัน 30 นาทีก่อนมื้ออาหาร ดื่มน้ำชาแบบนี้ทุกวันเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย (บ้างก็ว่าสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้)
ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม พบว่ามีน้ำ 83.2 กรัม ให้พลังงาน 59 กิโลแคลลอรี ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรท 15.1 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 1.0 กรัม แคลเซียม 14 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม วิตามินบี1 มี 0.08 มิลลิกรัม และวิตามินซี 24 มิลลิกรัม (วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์. 2541)
ทุเรียนเทศ กับความต้องการของตลาด
หลายคนถามกันเข้ามาว่า ทุเรียนเทศมีขายที่ไหน คำตอบคือ จะมีขายในตลาดนัดท้องถิ่นตามฤดูกาล แต่พบไม่บ่อยนัก อาจจะเนื่องมาจากขาดความคุ้นเคยและความตระหนักถึงคุณค่า ตลอดจนการแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ ในฤดูกาลเดียวกัน นอกจากนี้เนื้อในทุเรียนเทศแกะรับประทานยาก จึงนิยมนำไปแปรรูปในลักษณะไอศกรีม น้ำผลไม้ ดังเช่นที่เป็นที่นิยมในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ผลที่วางขายในตลาดนัดคณะทรัพยากรธรรมชาติในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549 ราคาผลที่ขายกันอยู่ที่ กิโลกรัมละ 25 บาท โดยผลขนาดย่อมมีราคาประมาณ 10 บาทต่อผล
ลู่ทางการพัฒนาทุเรียนเทศในเชิงอุตสาหกรรมเกษตร มีความเป็นไปได้สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และสะดวกต่อการรับทานมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันน้ำทุเรียนเทศเข้มข้นยังไม่มีวางขายในประเทศไทย ยังไม่มีการนำเนื้อมาทำไอศกรีม หรือเยลลี่เหมือนดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
อ้างอิงข้อมูล
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคและวิธีการ
วิธีปลูกแก้วมังกรในกระถาง และริมรั้วแบบง่าย แต่ได้ผลดี
รู้หรือไม่ว่า ต้นแก้วมังกร ไม่ได้ต้องการดินมากก็โตได้ ป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
เปลือกลำไย ใช้ไล่ยุงและแมลงรบกวนได้ดี
รู้หรือไม่ เปลือกลำไยไล่แมลง และใช้ไล่ยุง ได้ ในสมัยก่อ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรในพื้นที่น้อย
ไอเดียปลูกผักในขวดพลาสติก ทำง่ายและประหยัด
จากครั้งก่อน เราได้แนะนำ การปลูกผักสวนครัวในกระสอบ กันไ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
จะปลูกพริกชี้ฟ้ายังไง ให้ได้ผลใหญ่และลูกดก
ขึ้นชื่อว่าพริกก็เผ็ดเป็นธรรมดา ขนาดเม็ดเล็กๆ ยังเผ็ดจี
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปราชญ์ชาวบ้าน
ปราชญ์แห่งวังน้ำเขียวคือใคร
หากเอ่ยถึงเรื่องผักปลอดสารพิษ หลายคนคงคุ้นหูว่าคืออะไร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบทความน่ารู้
ทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว สร้างรายได้มากกว่า
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มักจะได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช