อ่านมาตรงนี้มีหลายคนสงสัย เงินกินยังไม่พอให้เอาไปซื้อทองคำซะแล้ว
คือจะบอกว่า เกษตรกรโดยทั่วไป เป็นหนี้ไม่เถียง แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อย มีเงินเก็บนะ ส่วนคนเป็นหนี้ก็อาจผ่านบทความนี้ไปก่อน ไว้มีเงินพอเก็บแล้วค่อยกลับมาว่ากันใหม่ เพราะตอนนี้ขอบอกเฉพาะคนที่พอจะมีเงินเก็บ แล้วไม่เดือดร้อน ก็เลยอยากแนะนำแนวทางในการออมเงินสำหรับอนาคต ไว้ซักนิด นั่นคือการลงทุนกับทองคำ
ยกตัวอย่างเช่น มีเงินเก็บเดือนนี้ 2,000 -5,000 บาท เราเก็บไว้ก่อน รวมไว้ให้ได้ซักครึ่งหนึ่งของราคาทองคำ 1 บาท (ราคาทองคำปัจจุบัน ณ 12 ตุลาคม 2566) จาก Gold Price by GTA ซึ่งเป็นการเปิดเผยราคาทองคำ ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำดังนี้
ทองคำแท่ง 96.5% ขายออกบาทละ 32,200.00 บาท / รับซื้อคืน 32,100.00 บาท และ ทองรูปพรรณ 96.5% ขายออกบาทละ 32,700.00 บาท / รับซื้อคืน 31,517.64 บาท จากข้อมูลข้างต้น เราอาจเก็บเงินสะสมเอาไว้ประมาณ 15,000 – 16,000 บาท แล้วไปซื้อทองคำไว้ก่อน
ควรลงทุนกับทองคำแท่ง หรือ ทองคำรูปพรรณ
ถ้าจะลงทุนกับทองคำ แล้วเลือกไม่ถูก ระหว่าง ทองคำแท่ง กับ ทองคำรูปพรรณ จะเลือกซื้อแบบไหนดี ถึงจะได้กำไร เอาเป็นว่านี่คือแนวทางในการเลือก สำหรับผู้มีเงินน้อย
ทองคำแท่ง นิยมซื้อไปเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ คือ ทองคำแท่ง 96.5% ส่วนทองคำแท่ง 99.99% จะหายาก ไม่ค่อยนิยม และไม่แพร่หลายเท่าไหร่ การซื้อทองคำแท่งขั้นต่ำ ที่สามารถซื้อได้ คือ แท่งทองน้ำหนัก 1 บาท, 2 บาท, 5 บาท, 10 บาท หรือ 1 กิโลกรัม
ค่ากำเหน็จทองคำแท่ง เรียกว่า ค่าบล็อค (เป็นค่าขึ้นรูปแลทำลวดลาย) อยู่ที่ประมาณบาทละ 100-400 บาท ถ้าทองคำแท่งนั้นเป็นลวดลายพิเศษหรูหรา ก็อาจจะมีค่ากำเหน็จสูงกว่านี้
ทองรูปพรรณ ส่วนนี้เนื้อทองจะมีความบริสุทธิ์ 2 แบบ คือ 96.5% และ 99.99% ราคาวัดตามน้ำหนัก ส่วนใหญ่จะเท่ากัน แต่ทองแท้ 99.99% ไม่ค่อยมีคนนิยมเท่าไหร่ จะพูดยังไงดี ทองก็คือทอง สุดท้ายก็ต้องมาวัดกันที่น้ำหนักทองเพื่อประเมินราคาอยู่ดี
ค่ากำเหน็จทองคำรูปพรรณ ประมาณบาทละ 500-800 บาท หากเป็นลายสวย ๆ และทำยาก หรือมีรายละเอียดที่ซับซ้อน อาจอยู่ที่ 1,000-3,000 บาท แพงกว่าค่ากำเหน็จของทองคำแท่งมาก สำหรับทองคำรูปพรรณ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการลงทุนมากนัก
มีเงินน้อย ควรลงทุนในทองคำแบบไหนถึงจะดี
อย่างที่บอก เก็บให้ได้ครึ่งหนึ่งของราคาทอง 1 บาทก่อน แล้วค่อยไปซื้อ เพราะจะคุ้มกับค่ากำเหน็จที่ต้องจ่าย จำไว้เสมอว่า การซื้อทอง เวลาจะซื้อ เราต้องบวกราคาค่ากำเหน็จ ไม่ว่าจะทองแท่งหรือทองรูปพรรณ มีค่ากำเหน็จทั้งนั้น แต่ทองแท่งจะถูกกว่า เวลาจะขาย เราก็ได้แค่น้ำหนักทอง ไม่ได้ค่ากำเหน็จคืน เพราะฉะนั้นเวลาจะลงทุนซื้อทอง ต้องจดเอาไว้ให้ดี ว่าค่ากำเหน็จเท่าไหร่ เวลาขายเราจะได้คำนวณถูกว่า ได้กำไรหรือขาดทุน
สำหรับผู้เขียน หากมีเงินน้อย แนะนำให้สะสมไปให้ถึงจำนวนครึ่งหนึ่งของราคาทองคำ 1 บาทก่อน แต่หากใจแข็งพอ เก็บให้พอกับราคาทองคำ 1 บาท แล้วไปซื้อเลย ร้านไหนก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปเลือกมาก ยิ่งราคาทองที่กำลังลง 100-200 บาทนี่ถือว่าดีแน่นอน เพราะซื้อช่วงนี้ ได้ราคาถูกแน่ ๆ (ต่างกันที่ค่ากำเหน็จ) แล้วค่อยเอาไปขายช่วงขาขึ้น เพราะราคาทอง ยิ่งนานวันก็ยิ่งเพิ่ม
ตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยเจอทองลงหนัก ๆ หลายพันบาทเลย มีแต่ขึ้นกับขึ้น แต่ถ้าทุนน้อย ไม่คุ้มกับค่ากำเหน็จ และอยากมีเครื่องประดับไว้ใส่ด้วย ก็อาจเลือกซื้อทองรูปพรรณเอามาเป็นเครื่องประดับ ใส่แล้วเก็บเอาไว้ ก็ได้ มีเงิน 2,000-5,000 บาท ก็ซื้อทองได้แล้ว ซื้อได้ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณ แต่จะไม่คุ้มกับค่ากำเหน็จ ก็เลยแนะนำว่า เก็บเงินให้เยอะ ๆ ไว้ก่อนอย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของราคาทองคำ 1 บาท
การคิดค่ากำเหน็จทองคำ
เวลาไปซื้อทองคำ ที่ร้านทอง เขาจะคิดราคาทองจาก ค่าเนื้อทอง หรือน้ำหนักทอง และบวก ค่ากำเหน็จ หากซื้อทองคำ น้ำหนักน้อยกว่า 1 บาท เช่น 2 สลึง, 1 สลึง, ครึ่งสลึง หรือทอง 1 กรัม เฉพาะค่ากำเหน็จต่อชิ้น อาจไม่แตกต่างกับค่ากำเหน็จของทองที่น้ำหนัก 1 บาท เพราะค่ากำเหน็จนี้ คิดตามความยากง่ายของการผลิตทอง ไม่เกี่ยวกับน้ำหนักทอง และบางร้านซื้อเท่าไหร่ก็คิดราคาเดียว
ลองคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าเราเก็บเงิน 5,000 บาท ทุกเดือนไปจนครบ 1 ปี เราจะได้เงิน 60,000 บาท เงินจะไม่งอกเงยไปไหน ข้อดีคือเราสามารถเอามาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ เรียกว่า มีสภาพคล่องดีมาก
แต่ถ้าเราเอาเงิน 4,500 บาท ไปซื้อทองทุกเดือน (จะได้น้ำหนัก 0.125 กรัม) เราจะได้ 12 ก้อน หักค่ากำเหน็จ ก้อนละ 100 บาท (ถ้าเป็นทองรูปพรรณ อาจมีค่ากำเหน็จที่ราว ๆ 500 บาท) เราจะได้ทอง 12 ก้อน / หรือ 12 เส้น กรณีเป็นสร้อยทอง หากวัดน้ำหนักแล้วเราจะได้ทองคำรวมเป็น 1.5 บาท โดยลงทุนไปทั้งหมด 55,000 บาท + นิดหน่อยจากค่ากำเหน็จ
กรณีเก็บเงิน ใน 1 ปี เราจะมีเงิน 60,000 บาท หากนำไปซื้อทองจริง ๆ จะได้ประมาณเกือบ ๆ 2 บาท หรือต้องจ่ายเพิ่มอีก 1-2 พันบาท รวมๆ แล้วต้องจ่าย 66,000 บาท หรือจะเก็บไว้แค่ 60,000 บาทไม่ซื้อทอง
แต่ถ้าเราซื้อทองเดือนละ 4,500 บาท (บวกลบนิดหน่อย) เราจะได้ทอง 0.125 กรัม ใน 1 ปี รวมกัน 12 ก้อน มีน้ำหนักรวม 1.5 บาท เราอาจจ่ายเงินไปประมาณ 55,000 บาท +นิดหน่อยจากราคาค่ากำเหน็จ
และใน 1 ปีนั้น ราคาทองอาจขึ้นไปถึงบาทละ 35,000 บาทแล้ว อยู่ดี ๆ ก็มีเงินงอกเพิ่มมาเฉย ๆ 4,000-5,000 บาท
แล้วอย่างนี้ คิดว่าเราจะเอาเงินไปทำอะไรดี
ข้อแนะนำในการซื้อทอง
ทุกครั้งที่คุณซื้อทอง ตาต้องมองตราชั่ง เพราะทองคำที่ดูเหมือนก้อนใหญ่ อาจมีน้ำหนักน้อยกว่าที่เห็น หากน้ำหนักไม่ถึงปริมาณที่ตกลงซื้อขายกัน ก็ไม่ควรซื้อมา เพราะจะขาดทุน และในวงการเขาจะเรียกว่า เป็นทองไม่เต็มบาท
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
ธรรมชาติน่ายลในนครโฮจิมินห์
แนะนำ 3 สถานที่ท่องเที่ยวโฮจิมินห์ ที่เดินทางสะดวก เข้าถึงได้ฟรี และเป็นสถานที่เที่ยวที่จะได้สัมผัสก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมลูกชก ผลไม้โบราณ นานกว่าจะออกลูก
ว่าด้วยเรื่อง “ลูกชก” กับวันก่อนเขียนเรื่อง มะพร้าวทะเล ไปแล้ว ว่าเป็นผลไม้โบราณและหายาก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมสร้างรายได้จากผักแอโรโพนิกส์ Aeroponics ทำอย่างไร
แอโรโพนิกส์ Aeroponics คล้ายกับไฮโดรโปนิกส์ Hydroponics ซึ่งเป็นการปลูกผักไร้ดิน แต่ไม่ได้เหมือนกันท
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเพาะเมล็ดองุ่นไว้ปลูกในกระถางหน้าบ้าน ทำอย่างไรถึงได้ผล
ปลูกองุ่นในกระถาง ให้ได้ผล เพราะฝนกำลังจะไปแล้ว ถึงคราวเข้าช่วงฤดูหนาวกันแล้ว หนาวนี้ พืชที่นึกถึงเป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการปลูกถั่วฝักยาวในกระถางให้ได้ผลดีทำอย่างไร
กลับมาเรียบเรียงใหม่หลังจากสอบถามกันเข้ามามากมายกับ เคล็ดลับ การปลูกถั่วฝักยาวในกระถาง อย่างไรให้ได้
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมประโยชน์ของการทำเกษตรอินทรีย์แบบทฤษฎีใหม่มีอะไรบ้าง
หลายคนสังสัยกันว่า เกษตรทฤษฎีใหม่มีประโยชน์อย่างไรกับชาวเกษตรกร ซึ่งประโยชน์ของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ น
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช