ปลาชะโอน สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ เลี้ยงง่ายจริงหรือไม่

ปัจจุบันนี้หลายภาคส่วน โดยเฉพาะกรมประมง ได้ผลักดันให้เกษตรกรหันมาสนใจ การเลี้ยงปลาชะโอน ซึ่งหวังว่าจะเป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถสร้างรายได้

จากในงาน วันเกษตรและของดี ครบ 50 ปี ประจำปี 2566 จัดขึ้นที่ควนขนุน พัทลุง ไว้ว่า “ปลาชะโอน” เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไปของประเทศไทย และมีชุกชุมที่ ต.โตนด อ.ควนขนุน

แต่ปัจจุบัน เพราะความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และความต้องการของตลาดสูง ทำให้ปลาชะโอน มีปริมาณลดลง กรมประมงจึงเล็งเห็นว่า ควรมีการฟื้นฟูพันธุ์ปลาชนิดนี้ในธรรมชาติให้กลับมาสมบูรณ์ เพื่อตอบโจทย์ในหลายด้าน ทั้งการสร้างรายได้และอาชีพ ตลอดจนพลิกฟื้นเศรษฐกิจในชุมชน

โดยประมงจังหวัดพัทลุง ร่วมกับผู้นำชุมชนท้องถิ่น มีการจัดฝึกอบรมเกษตรกร ให้เข้าโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (กลุ่มสัตว์น้ำจืด) หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพ การเลี้ยงปลาชะโอน ของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ แลลลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าผลผลิตและรายได้ ให้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

และพร้อมผลักดัน ให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร และชุมชนท้องถิ่น ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

ปลาจะโอน ยังไม่โอน

ภาพด้านบนนี้ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา ให้ดูแบบขำ ๆ เฉย ๆ

ประวัติความเป็นมาของ ปลาชะโอน

ปลาชะโอน เป็นปลาน้ำจืดวงศ์เดียวกับปลาเนื้ออ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok bimaculatus มีลักษณะและรูปร่างคือ หัวสั้น ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโต ตาจะอยู่เหนือมุมปาก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงท้อง และมีหนวดใต้คาง แต่สั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน

มีชื่อเรียกหลายอย่าง ต่างออกไปตามท้องถิ่น เช่น ปลาสยุมพร, ปลาเนื้ออ่อน ในภาษาอีสานเรียก ปลาเซือม ทางใต้เรียกว่า ปลาโอน มักอาศัยอยู่เป็นฝูงในแหล่งน้ำนิ่ง และพบได้ในแม่น้ำ และแหล่งน้ำของทุกภาคในประเทศไทย เฉพาะตัวที่สวย สีเผือก นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

ความแตกต่างระหว่าง ปลาชะโอน และปลากราย

ปลาชะโอน สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่

ปลาชะโอน มีจุดข้างลำตัว (ค่อนไปทางหัว) และที่โคนหาง หากอยู่ในน้ำขุ่น สีจะขาว

ปลาชะโอน สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่

ปลาชะโอน ที่เลี้ยงในน้ำใส สีตัวจะออกคล้ำ หรือดำ

ปลากราย

ปลากราย มีจุดหลายจุดข้างลำตัว ค่อนไปทางหาง

ลำตัวมีสีตามสภาพของแหล่งน้ำที่อาศัย แตกต่างจากปลายกราย (บางคนสับสนระหว่างปลากรายกับปลาชะโอน)

  • หากอาศัยในแหล่งน้ำใส สีตัวจะออกคล้ำจนถึงดำ เห็นจุดประเลือนลาง
  • หากอาศัยในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำขุ่น สีตัวจะออกขาว หรือขาวขุ่น ขาวซีด
  • ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณกลางลำตัวค่อนไปทางส่วนหัว และแต้มจุดที่โคนหาง

ขนาดตัวพบได้ทั่วไป มีขนาดประมาณ 15–20 เซนติเมตร จากสถิติพบขนาดตัวใหญ่สุดประมาณ 40 เซนติเมตร

ปลาชะโอน เป็นปลากินเนื้อ ส่วนใหญ่หากเลี้ยงระบบฟาร์ม จะให้อาหารประเภท โรติเฟอร์, ไรแดงขนาดเล็ก ปลาตัวโตจะให้อาหารเป็น ลูกปลาขนาดเล็ก หรือกุ้งฝอย หรืออาหารปลากินเนื้อทั่วไปได้

การเลี้ยงปลาชะโอน

สามารถใช้พ่อแม่พันธุ์ในธรรมชาติได้ ซึ่งในกลุ่มปลาเนื้ออ่อนนั้น จะมีการสืบพันธุ์ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม หรือช่วงฤดูฝน หากใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ทราบอายุจริง ควรใช้ปลาอายุอย่างน้อย 6 เดือน แม่ปลาจึงจะเริ่มมีไข่ในรุ่นแรก

ปลาชะโอน 1 ตัว ออกไข่ประมาณ 15,000-20,000 ฟอง ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะฟักออกมาเป็นตัวภายใน 1 วัน โดยก่อนการฟัก ไข่จะมีขนาดเพิ่มเป็น 2 เท่า โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.4 มิลลิเมตร

เมื่อไข่ฟัก ลูกปลาจะมีสีเหลืองใส ยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร อาศัยอยู่รอบบริเวณเดิม โดยจะลอยอยู่ในน้ำนิ่ง ๆ เมื่อผ่านไปประมาณ 6 ชั่วโมง จึงจะค่อยเริ่มว่ายน้ำตามแม่ปลา

ลูกปลาชะโอน
ปลาชะโอน

ระหว่างนี้ ภายใน 36 ชั่วโมง ลูกปลาจะมีการพัฒนาอวัยวะจนสมบูรณ์ เช่น มีครีบหูใหญ่มากกว่าลำตัว เมื่อถุงไข่แดงยุบจนหมด จะสามารถกินอาหารได้ ซึ่งระยะนี้ลูกปลาจะมีปากกว้างประมาณ 0.1 มิลลิเมตร

จากรายงานการวิจัยของกรมประมง (ชลธิศักดิ์และคณะ (2547) ได้ศึกษาพัฒนาการของลูกปลาชะโอนวัยอ่อน) รวมเวลาตั้งแต่ไข่ปลาได้รับการผสม จนฟักเป็นตัวจะใช้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 27-28 องศาเซลเซียส ลูกปลาจะมีถุงไข่แดงติดอยู่ เป็นเวลาประมาณ 2 วัน จึงจะยุบหมด

อาหารที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับลูกปลาชะโอน คือ ไข่แดงต้ม และไรแดงขนาดเล็ก เมื่อลูกปลามีอายุ 7 วัน จะมีรูปร่างเหมือนพ่อแม่พันธุ์

ปลาชะโอน สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่

การให้อาหารลูกปลา หลังจากผ่านจากการฟัก 2 วันก็เริ่มให้อาหารได้แล้ว ควรใช้อาหารเช่น ไข่แดงละลายน้ำ (ต้มหรือดิบก็ได้) ไรแดง รวมถึงโรติเฟอร์ และควรหาวัสดุมาให้ลูกปลาหลบซ่อน

เพราะลูกปลาจะชอบหลบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มืด ไม่มีแสง และจะออกว่ายน้ำเล่นในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปกติของปลากินเนื้อเกือบทุกชนิด

เมื่ออนุบาลลูกปลาไปประมาณ 20 วัน จะได้ความยาวตัวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในระยะนี้ก็สามารถนำลูกปลาไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินได้แล้ว ประมาณ 6 เดือนก็สามารถจับไปจำหน่ายได้แล้ว

ปลาชะโอน สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

บทความน่ารู้

ต้นโทงเทงไทย และเรื่องน่าสนใจของพืชชนิดนี้

ต้นโทงเทง ถ้าเป็นลูกโทงเทงฝรั่ง เขาเรียกว่า Cape Gooseb

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

เกษตรทฤษฎีใหม่ หลักการทำอย่างไรถึงได้ผลจริง

เกษตรทฤษฎีใหม่ กับตัวอย่างการทำ ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อการแ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

จะปลูกพริกชี้ฟ้ายังไง ให้ได้ผลใหญ่และลูกดก

ขึ้นชื่อว่าพริกก็เผ็ดเป็นธรรมดา ขนาดเม็ดเล็กๆ ยังเผ็ดจี

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

แก่นตะวัน สมุนไพรต่างประเทศ

แก่นตะวัน ชื้อนี้มีใครเคยได้ยินมาบ้าง มีหลายชื่อเรียก ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

อยากทําเกษตร ควรเริ่มต้นอย่างไร

เคล็ดลับในการทำเกษตร ให้ประสบความสำเร็จสำหรับมือใหม่ อย

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ผักปลัง ก้านแดง ก้านเขียว สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ผักปลัง โดยเฉพาะพันธุ์สีแดง มีประโยชน์มากมายเกินที่ใครจ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา