เกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

เกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอน มีหลักการทำและมีข้อปฎิบัติง่าย ๆ คือ ผลิตให้ตัวเองอยู่ได้ ตามกำลัง

รวมพลังในชุมชน เพื่อเพิ่ม ความเข้มแข็ง และอยู่รอด และสุดท้าย ก็คือ การขยายฐานความเข้มแข็ง ออกไปให้กว้าง เพื่อความเป็นอยู่ที่มั่นคงขึ้น มีอำนาจต่อรองในตลาดได้ ซึ่งในรายละเอียด จะมีดังนี้

เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 หัวใจหลัก

ขั้นตอนการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ต้องสามารถจัดสรรทรัพยากร ดินและน้ำ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดความลงตัว และใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ การแบ่งพื้นที่ทํากิน ตามหลัก เกษตรทฤษฎีใหม่ ให้จัดสรรด้วยการ แบ่งพื้นที่ทำกิน ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนน้ำ ส่วนข้าว ส่วนพืชผัก ผลไม้ และส่วนที่อยู่อาศัย ตามสัดส่วนที่เหมาะสม และยืดหยุ่นได้

การแบ่งพื้นที่ทํากินตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่

  • 30% ส่วนแรก ให้ขุดสระน้ำ เพราะการทำเกษตร จำเป็นต้องใช้น้ำ และสามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำที่ต้องการเพื่อเป็นอาหารปลาหรืออาหารในครัวเรือนได้ด้วย
  • 30% ส่วนที่สอง พื้นที่ทำนา เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลัก จะทำให้ลดรายจ่ายค่าอาหารได้
  • 30% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวนเช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร ปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก
  • 10% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่แบบพอเพียง

เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 พลังชุมชน

คือการรวมพลังชุมชน โดยแนะนำให้เกษตรกร รวมพลังกันในรูปแบบของ กลุ่ม ชุมชน หรือ สหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการใน 6 ด้าน

  1. ด้านการผลิต ซึ่งเกษตรกร ต้องร่วมมือกันผลิต เริ่มตั้งแต่เตรียมดิน หาพันธุ์พืช ปุ๋ย บริหารจัดการน้ำ และอื่น ๆ เพื่อทำการเพาะปลูก พืชเกษตร ให้ได้ผลดี
  2. ด้านการตลาด เมื่อมีผลผลิต ต้องเตรียมการขาย ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูป จัดหาตลาด ตลอดจนการรวมตัวกัน เพื่อให้ได้สินค้า ในจำนวนมากพอ เพื่อให้ได้เปรียบในการ ต่อรองราคาสินค้า รวมไปถึง การลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ลงด้วย
  3. ด้านความเป็นอยู่ เกษตรกร ต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ เช่น มีอาหารเพียงพอในที่ทำกิน มีเงินเพียงพอสำหรับ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และมี ความพอเพียง มีรายได้เพิ่มเติมจากการ จำหน่ายสินค้า ที่ตนผลิตขึ้น มีอาชีพมั่นคง
  4. ด้านสวัสดิการ โดยในแต่ละชุมชน จะต้องมีสวัสดิการ และบริการที่จำเป็น เช่น อนามัย โรงพยาบาลชุมชน กองทุนกู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
  5. ด้านการศึกษา ชุมชน ต้องมีบทบาท ในการส่งเสริมการศึกษา เยาวชนในชุมชนของตัวเอง ต้องมีโอกาสได้เรียนหนังสือ มีกองทุนเพื่อการศึกษา และสร้างอาชีพ
  6. ด้านสังคมและศาสนา ชุมชน ต้องร่วมกัน พัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
ชุมชนเข้มแข็ง

เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 3 แหล่งเงินทุน

จำเป็นต้องติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งทุน  เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน หรือหน่วยงานที่สามารถเป็น ผู้ช่วยเหลือด้านการลงทุน และพัฒนา คุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ฝ่ายเกษตรกร และฝ่ายองค์กร จะได้รับ ประโยชน์ ร่วมกันคือ

  • เกษตรกร จำหน่ายสินค้าได้ในราคาสูง ตลอดจนสามารถส่งออกสินค้า ไปจำหน่ายได้ยังตลาดต่างชาติโดยไม่ถูกกดราคา
  • หน่วยงาน ห้างร้าน หรือองค์กร สามารถรับซื้อสินค้าได้โดยตรงกับเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
  • เกษตรกร สามารถซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ได้ในราคาทุน เนื่องจากมี สหกรณ์ เป็นตัวกลางช่วยในการจัดหา
  • การพัฒนาสินค้า และผลิตภัณฑ์ในชุมชน จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยดำเนินการ จึงไม่ต้องกังวล เรื่องทิศทางตลาด หรือแนวโน้ม ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสีย
ทฤษฎีใหม่ขั้้นสาม ส่งออกสินค้าคุณภาพ

ทำครบทุก 3 ส่วน ดังข้างต้นนี้ จึงถือเป็น การทำ เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามรอยพระราชดำริของในหลวง ร.9 ได้อย่างสมบูรณ์จริง

การทำ เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามรอยพระราชดำริ ร.9 ที่ได้ผลจริง

ขั้นตอนการทำ เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักพระราชดำริ ร.9 ในแบบ 3 ระดับ ขั้นต้น ขั้นกลาง จนถึงขั้นสูงสุด เรื่องใกล้ตัวที่เราลืมคิดกับ แนวคิดการอยู่รอด

สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำอย่างไรถึงได้ผล

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา