ผักไฮโดรโปนิกส์ ที่มาจากการปลูกโดยไม่ใช้ดิน นอกจากจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสุขภาพคนไทยแล้ว ยังจะเป็นหนึ่งในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในหลายชุมชน เช่นที่ชุมชนใกล้เคียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส) มีแปลงผักไฮโดรโปนิกส์สำหรับเป็นโครงการอาหารกลางวันเด็กๆ อยู่ด้วย
อาจารย์อารักษ์ ธีระอำพน อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ลงไปสู่โรงเรียน ถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาของชุมชนให้ได้รู้เกี่ยวกับการปลูกผักด้วยวิธีการที่ไม่ต้องใช้ดินตามที่ว่ามาข้างต้น

ผักไฮโดรโปนิกส์ หรือผักไร้ดิน คืออะไร
“ผักไฮโดรโปนิกส์” หรือ “ผักไร้ดิน” คือการปลูกผักในรูปแบบหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องมีดินปลูก จึงเป็นที่มาของคำเรียกสั้นๆ ว่า “การปลูกผักไร้ดิน” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เคยมีมาก่อนในอดีตนานแล้ว และในปัจจุบันกระแสการหันมาใสใจในอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทยมีมากขึ้นเช่น ผักปลอดสารพิษ ผักกางมุ้ง ฯลฯ
และผักไฮโดรโปนิกส์ ก็ถือเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะนอกจากจะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างแล้ว ยังเป็นการทำเกษตรที่มีการลงทุนต่ำ ใช้ทุนไม่มาก ใช้พื้นที่น้อย และยังได้ผลผลิตดี มีสีสันน่ารับประทาน รสชาติดี และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้ ได้อีกด้วย
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ
เทคโนโลยีการปลูกผักไร้ดิน เป็นการจัดการด้านเกษตรที่ง่าย และช่วยบ่มเพาะให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจในหลายๆ ด้าน เพราะสามารถทำได้เอง ใช้เวลาไม่นาน และต้นทุนไม่แพง
วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ หรือผักไม่ใช้ดิน
ผักไร้ดิน ผักไฮโดรโปนิกส์ ผักไม่ใช้ดิน แล้วแต่จะเรียก หลักๆ ก็คือเป็นการปลูกพืชผักแบบไม่ต้องใช้ดิน มีหลักการอยู่ 2 แบบ คือ…
- การปลูกในน้ำ โดยบริเวณรอบๆ รากของพืช จะเป็นการใช้ของเหลวผสมแร่ธาตุอาหารสำหรับพืชทดแทนดินปลูก รากพืชจะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม เพื่อเจริญเติบโต
- การปลูกในวัสดุแข็ง เช่น แกลบ ทราย ขุยมะพร้าว หินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นวัสดุปลูกที่ไม่ได้ให้ธาตุอาหารกับพืชแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นวัสดุที่ช่วยค้ำและพยุงราก แต่สารอาหารที่ได้รับจะอยู่ในรูปแบบของเหลวเหมือนข้อแรก

ระบบปลูกไฮโดรโปนิกส์แบบปลูกในน้ำ

ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบปลูกในวัสดุแข็ง
ในอดีตกระแสความนิยมของการปลูกพืชไร้ดิน หรือไฮโดรโปนิกส์ในรูปแบบต่างๆ นี้ เป็นไปเนื่องจากความพยายามของบริษัทนำเข้าอุปกรณ์การปลูกที่ต้องการจะขายสินค้าและทำกำไรจากสินค้า มากกว่าจะเป็นกระแสบริโภคนิยมอย่างแท้จริง จึงทำให้การปลูกผักไร้ดินในช่วงแรกไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก และซบเซาไปพักหนึ่ง
ก่อนที่จะกลับมาได้รับความนิยมขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ในเมืองไทยเองก็มีคนที่หันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น และปลุกกระแสการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้น และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้บริโภค มีตลาดรองรับ แม้แต่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็เล็งเห็นความสำคัญของการขยายตัว จึงให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านนี้ ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาทำมากขึ้น ก่อให้เกิดรูปแบบ เทคนิค และเทคโนโลยีในการผลิตที่หลากหลาย กลายเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคตามมา
Download : เอกสารส่งเสริมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จาก BOI

ผักอะไรบ้างที่สามารถปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์
พืชผักที่นิยมปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ หรือปลูกแบบไม่ต้องใช้ดินได้ มีกว่า 90% ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นประเภทพืชผักที่ใช้รับประทานในชีวิตประจำวัน เ่ช่น
- กลุ่มผักสลัด หรือผักกาดหอมต่างประเทศ
ในอดีตที่ต้องนำเข้ากิโลกรัมละหลายร้อยบาท แต่ปัจจุบันสามารถลดการนำเข้าได้เกือบ 100 % - กลุ่มพืชผักตะวันออก
เช่น คะน้า กว้างตุ้ง คะน้าฮ่องกง ผักกาดขาว ซึ่งมีคนสนใจทำตรงนี้มากขึ้น และผลตอบรับค่อนข้างดี เพราะตลาดกว้าง - กลุ่มผลไม้
ระบบไฮโดรโปนิกส์ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผักต่างประเทศเท่านั้น การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน กับพืชผักที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง เช่น แตงเทศหรือแตงแคนตาลูป ก็สามารถให้ผลสำเร็จที่งดงาม

กลุ่มผักสลัด

กลุมพืชผักตะวันออก

กลุ่มผลไม้เศรษฐกิจ
การปลูกผักไร้ดิน หรือผักไฮโดรโปนิกส์ ในสภาพแวดล้อมปกติจะต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก และอาจมีสารพิษตกค้าง ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
แต่หากปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้ปลอดภัยจากสารเคมี ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ รวมทั้งสามารถควบคุมคุณภาพได้ด้วย และแม้แต่พืชผักและพืชสมุนไพร เช่น สะระแหน่ วอเตอร์เครส หญ้าปักกิ่งหรือหญ้าเทวดา ก็สามารถตอบสนองต่อการปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ได้เป็นอย่างดี
สารและแร่ธาตุสำคัญสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นคือ ปุ๋ยชนิด A และ B ที่เหมาะสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยเฉพาะ
เคล็ดลับการเลือกซื้อปุ๋ย A B สำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
- เลือกซื้อปุ๋ยเอบีที่ผสมเหล็กม่วง
เพราะเหล็กม่วงมีความทนต่อค่า pH มากกว่า ทำให้พืชมีสีเข้มสวย ร้านค้าส่วนใหญ่ที่ผสมขายจะไม่นิยมผสมเหล็กม่วงในสูตรปุ๋ย เพราะมีราคาแพงกว่าเหล็กแดงและเหลือง - สังเกตุความเข้มข้นของปุ๋ยก่อนเทียบราคา
เพราะในตลาด ปุ๋ยเอบีมีความเข้มข้นไม่เท่ากัน คือ 1:100 และ 1:200 ดังนั้น ถ้าราคาปุ๋ยเท่ากันในปริมาณที่เท่ากัน ควรเลือกตัวที่มีความเข้มข้นมากกว่า คือ 1:200

ปุ๋ยสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ชนิดผง

ปุ๋ยสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ชนิดน้ำ
- ควรเลือกซื้อปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูก
เช่น ถ้าต้องการปลูกพืชกินใบ อย่างผักสลัด คะน้า ผักชี หรือผักบุ้ง ควรใช้ปุ๋ยสำหรับพืชกินใบ ถ้าต้องการปลูกไม้ผล เช่นเมล่อนหรือสตรอเบอร์รี ก็ควรเลือกสูตรปู๋ยบำรุงผล ซึ่งจะเป็นสูตรต่างกันกับชนิดแรก และวิธีการให้ปุ๋ยก็ไม่เหมือนกัน - ควรเลือกซื้อปุ๋ยแห้งไปผสมเอง
เพราะปุ๋ยที่ผสมเป็นปุ๋ยน้ำแล้ว มีอายุการเก็บที่สั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มตกตะกอนภายใน 4 – 5 เดือน ทำให้ธาตุอาหารบางตัวหายไป ถ้านำไปใช้กับพืช จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตได้ดี