รู้จักข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย

ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมานี้ ถ้าถามว่ารู้จัก ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Rice Berry) กันไหม มีหลายคนอาจยังไม่รู้ แต่เชื่อว่าในปัจจุบันนี้ หลายคนก็ตอบว่าจัก แต่รู้จักแค่ไหนวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจนั้นกัน

ช่วงหนึ่งในอดีตนั้น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังไม่ถูกรู้จักกันในวงกว้าง แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นดาวรุ่งในวงการข้าวไทยแบบรวดเร็ว ก็เนื่องมาจากทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัท ชิงตั๊ก กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ในการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 700 ตัน

ซึ่งบริษัท ชิงตั๊ก กรุ๊ป จำกัด นั้นได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการผลิตเป็นจำนวนเงิน 49,000,000 บาท (สี่สิบเก้าล้านบาทถ้วน) และให้การสนับสนุนในเรื่องภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกันมีเกษตรกรบางรายนำ “ข้าวไรซ์เบอร์รี่” ไปแปรรูปและสร้างรายได้สูงถึงไร่ละสองแสนบาทเลยทีเดียว

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Rice Berry) คือข้าวอะไร

ข้าวพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ร่วมมือกับคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการปรับปรุงพันธุ์ โดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ยื่นจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จากนั้นได้ทำการศึกษาเพาะปลูก จนสามารถส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกได้อย่างกว้างขวาง

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย

พันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวดอกมะลิ105 จึงไม่เป็นสีดำ แต่มีลักษณะเป็นสีแดงแบบลูกเบอร์รี่ (ลูกหม่อน) ที่สุกแล้ว

รูปร่างเมล็ดเรียวยาวเมื่อหุ้งป็นข้าวเจ้าจะมีลักษณะเป็นสีม่วงเข้ม มีความนุ่มนวลแต่ยืดหยุ่นรสชาติอมหวาน มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้นยังสะดวกในการหุงโดยสามารถปรับปริมาณการใส่น้ำได้ตามความชอบว่าจะรับประทานแบบใด หรือจะทำเป็นข้าวต้มก็ได้

ที่สำคัญคือ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และสามารถต้านทานโรคไหม้ในข้าวได้ดีมากอีกทั้งทนทานต่อสภาพธาตุเหล็กเป็นพิษในดินได้อีกด้วย

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ไทย มีคุณสมบัติเด่นอะไร

ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของ “ข้าวไรซ์เบอร์รี่” ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยตลาดเป้าหมายที่สำคัญของข้าวไรซ์เบอร์รี่ แบ่งออกเป็น 2 ตลาดใหญ่ๆ คือ

  1. ข้าวไรซ์เบอร์รี่สำหรับบริโภค ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทย ทำให้มีความแตกต่างจากข้าวทั่วๆไปในท้องตลาด โดยเฉพาะคุณสมบัติที่โดดเด่นเรื่องการต้านอนุมูลอิสระส่งผลให้ตลาดข้าวไรซ์เบอร์รี่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนรักสุขภาพ
  2. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ จากจุดเด่นเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้มีการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เช่น น้ำมันรำข้าว วุ้นข้าวไรซ์เบอร์รี่ ไอศกรีมจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฯลฯ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ดูจะทำเงินให้แก่เกษตรกรมากคือ การแปรรูปเป็นน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ และนำไปจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย

หัวใจแห่งความสำเร็จของข้าวไรซ์เบอร์รี่ คือประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ โดยจากการศึกษาพบว่า ข้าวยิ่งมีสีม่วงเข้มมากเท่าใดประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 35.3-214.7 umole/g เมื่อนำเข้าข้าวสายพันธุ์ต่างๆ มาเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำชาเขียวพบว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเกือบ 100 เท่าเลยทีเดียวข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่จึงเป็นแหล่งอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง การที่ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งได้

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของคนไทย

นอกจาก สารต้านอนุมูลอิสระสูง แล้ว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังมีสารอื่นๆ ที่เป็นประโยนช์ในเมล็ดข้าว อาทิ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, มีกรดโฟลิก (โฟเลต) ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ฯลฯ ขณะที่ในส่วนของรำข้าวและน้ำมันรำข้าว ก็มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงเหมาะสำหรับนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย

แต่ก็ไม่ได้มีแค่ประโยชน์อย่างเดียว โทษของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็มีเหมือนกัน แต่เล็กน้อยมากหากเทียบกับประโยชน์ เช่น มีสารแทนนินในเมล็ดข้าว แต่สามารถทำให้หายไปได้เมื่อมีการหุงสุก หรือมีกากใยอาหารสูง และเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลได้มาก จึงทำให้ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเบาหวาน รับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณต่อวันไม่เกิน 6-7 ทัพพี (ดูเพิ่มเติมเรื่อง โทษของข้าวไรซ์เบอร์รี่)

ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นและแตกต่างจากข้าวทั่วไป รวมทั้งโอกาสทางการตลาดที่ชัดเจน ทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ก้าวขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่และเป็นความหวังใหม่ในการปลูกข้าวของเกษตรกรไทย

อ้างอิงเนื้อหาจาก นิตยสารข้าวไทย ฉบับที่ 43 หน้า 64-65

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เทคนิคและวิธีการ

การปลูกขนุน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ขนุน เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ การปลูกก็ง่าย เพราะสามารถเ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

อยากทําเกษตร ควรเริ่มต้นอย่างไร

เคล็ดลับในการทำเกษตร ให้ประสบความสำเร็จสำหรับมือใหม่ อย

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

ปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย

ประโยชน์ของปุ๋ยคอก ดีอย่างไร ทำไมถึงจำเป็น

นอกจากปุ๋ยเคมี ที่เป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินแล้ว ปุ๋ยอ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เกษตรในพื้นที่น้อย

การปลูกขมิ้นชันในกระถางสร้างรายได้เพิ่ม

ใครอยากปลูกผักพื้นที่น้อย สร้างรายได้ แนะนำให้อ่านเรื่อ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

แก่นตะวัน สมุนไพรต่างประเทศ

แก่นตะวัน ชื้อนี้มีใครเคยได้ยินมาบ้าง มีหลายชื่อเรียก ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

จุลินทรีย์ EM มีดีอย่างไร

จุลินทรีย์ EM ขาดไม่ได้สำหรับ การทำเกษตรอินทรีย์ ในยุคป

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

You need to login to contact with the Listing Owner. Click Here to log in.

error: อนุญาตแบบมีที่มา