ต้นอ่อนทานตะวัน แนะนำเกี่ยวกับ วิธีการเพาะเมล็ด รวมไปถึง การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน เพื่อขยายพันธุ์จาก เมล็ดดอกทานตะวัน ทำง่าย สร้างรายได้ดี
เพราะยุคนี้สุขภาพต้องมาก่อน หยุดยาวช่วงโควิด-19 ไม่มีอะไรทำ นี่เลย มีเมล็ดทานตะวันอยู่หลังจากเก็บมาจากสวนหลังบ้านไม่กี่ต้น กะว่าจะขยายพันธุ์เอาไว้ปลูกช่วงหน้าฝน จนตอนนี้ฝนเริ่มมาแล้ว แถมวันหยุดแบบจำเป็นๆ แบบนี้ ลุกขึ้นมาปลูกต้นทานตะวันกันซะเลย วิธีการก็ไม่ได้วุ่นวายอะไรมาก
ต้นอ่อนทานตะวัน มีสรรพคุณเยอะ จนเรียกว่า ครอบจักรวาลด้าน สุขภาพ กันเลยทีเดียว แถมยังเป็นที่นิยมสำหรับคนรักสุขภาพทั่วไป โดยเฉพาะในเมนูอาหารที่หลากหลาย สาเหตุคงเป็นเพราะ ต้นอ่อนทานตะวัน นั้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ ถึง 2 เท่า มีวิตามินหลายชนิดทั้ง วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินเหล่านี้ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ ด้านวิตามินบี 1 บี 6 บี 12 ก็ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมได้อีกด้วย
จากประโยชน์ข้างต้น จึงทำให้ ต้นอ่อนทานตะวัน มีราคาสูง ทั้งๆ ที่จริงแล้ว วิธีปลูกต้นอ่อนทานตะวัน จากการเพาะเมล็ดดอกทานตะวันนั้นไม่ได้ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เงินมากมายและไม่ต้องใช้เวลานาน แต่สามารถเก็บเกี่ยวมาปรุงอาหารได้ภายในระยะเวลาเพียง 7 วัน รู้อย่างนี้แล้ว เรามาลงมือเพาะต้นอ่อนทานตะวันกันเลย
วิธีปลูกต้นอ่อนทานตะวัน เริ่มจากการเพาะเมล็ดก่อน
เริ่มจากการนำเมล็ดทานตะวันที่ยังไม่ได้อบ หรือคั่วมาก่อนเลย โดยวัสดุเพาะมีดังนี้
เตรียมอุปกรณ์ สำหรับการเพาะเมล็ดทานตะวัน
- ภาชนะสำหรับเพาะเมล็ด เช่น ถาด หรือตะกร้า ตะแกรงพลาสติก
- ดิน หากไม่ใช้ดิน สามารถใช้กระสอบป่าน หรือขุยมะพร้าวก็ได้
- เมล็ดทานตะวันเปลือกสีดำล้วนเท่านั้น นำไปตากแดดจัด 1 วันก่อนเพาะ
- น้ำสะอาด ใส่ฟ็อกกี้สำหรับฉีด
ขั้นตอนการเพาะเมล็ดต้นอ่อนทานตะวัน
ก่อนอื่นนำเมล็ดทานตะวันที่ตากแดดจัดๆ ไว้ 1 วันเต็มมาแช่น้ำประมาณ 5-6 ชั่วโมงเพื่อให้เม็ดอ่อนอมน้ำให้เต็มที่ก่อน
เหตุที่ต้องนำเมล็ดทานตะวันไปตากแดดไว้ก่อนนั้น ก็เพื่อให้เปลือกอ้าออกได้ง่ายขึ้น เมล็ดอ่อนด้านในจะแทงรากออกมาได้เร็วขึ้น
เมื่อครบกำหนดให้นำเมล็ดที่แช่น้ำมาพักไว้ พร้อมสำหรับการเพาะงอก จากนั้นนำเมล็ดไปบ่มในผ้าขนหนู หรือกระสอบป่านประมาณ 1 วัน (หรือ 24 ชั่วโมง) ระหว่างการบ่ม ให้พลิกคนเมล็ดให้ได้รับความชื้นทั่วถึงทุก ๆ 5-6 ชั่วโมงต่อครั้ง เมล็ดไหนที่พร้อมจะงอก จะมีตุ่ม ๆ แสดงให้เห็นว่าพร้อมจะงอกแล้ว
หากไม่มีเวลาบ่ม ให้แช่น้ำประมาณ 6 ชั่วโมงยาวๆ เลย แล้วเทน้ำออกให้หมด เมล็ดจะยังมีความชื้นอยู่ ให้นำเมล็ดใส่ภาชนะสำหรับปลูกแล้วปิดด้วยผ้าบางๆ ป้องกันการสูญเสียความชื้น ประมาณ 8-10 ชม. เมล็ดทานตะวันก็พร้อมจะงอกแล้วเช่นกัน
เมื่อเมล็ดมีตุ่มพร้อมจะมีการแทงรากออกมาแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการปลูกต้นอ่อนทานตะวันกันเลย
ขั้นตอนและวิธีการปลูกต้นอ่อนทานตะวัน
คัดเลือกเมล็ดที่มีตุ่ม ที่พร้อมจะงอก และเตรียมดิน หรือขุยมะพร้าว ใส่ถาดที่เตรียมไว้ หรือนำเมล็ดเรียงลงบนกระสอบป่านที่เตรียมไว้ หากปลูกด้วยดินหรือขุยมะพร้าว ก็ให้นำเมล็ดเรียงเป็นแถวๆ หรือตามชอบ และโรยปิดด้วยวัสดุปลูกทับบางๆ อีกชั้น
ฉีดน้ำหรือพรมน้ำให้พอเปียก และวางไว้ในที่แสงน้อยๆ ไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป รอประมาณ 2-3 วันก็จะเห็นต้นอ่อนต้นทานตะวันเริ่มงอกออกมาจากถาดปลูกแล้ว
และไม่ควรปล่อยให้ต้นยาวมากเกินไป ให้ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ก็ตัดเอามาใช้ประโยชน์ได้แล้ว
เทคนิคการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตต้นอ่อนทานตะวัน
ในขั้นตอนการนำเมล็ดลงปลูกกับวัสดุปลูก เช่นการใส่ในถาด หรือภาชนะต่างๆ ให้นำถาดมาซ้อน ๆ กันได้หลายชั้น จะทำให้ได้ต้นอ่อนทานตะวันเพิ่มขึ้น และประหยัดพื้นที่ในการปลูกด้วย และหากถาดที่ใช้เพาะเป็นแบบเดียวกัน ก็จะง่ายต่อการจัดการ
การตัดต้นอ่อนทานตะวันออกไปใช้ประโยชน์
ปกติแล้ว ระยะเวลาในการปลูกเริ่มจากการนำเมล็ดที่พร้อมจะงอกแล้วมาลงถาดหรือลงแปลงปลูกนั้น จะใช้เวลาเพียง 7 วันก็สามารถตัดต้นอ่อนทานตะวันออกได้แล้ว บางครั้งก็ใช้เวลาเพียง 5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเมล็ดทานตะวันที่นำมาปลูกด้วย
ก่อนวันตัด 1-2 วัน หากนำถาดปลูกมาไว้ที่มีแสง จะทำให้ต้นอ่อนทานตะวันชูต้นสูงและยาวขึ้น เมื่อโดนแสงยามเช้า ต้นจะยาวและเขียวสวย ซึ่งโดยมาก การตัดเพื่อไปใช้ประโยชน์ มักจะตัดกันในวันที่ 6 -7 ของการเพาะ แต่ก็อาจจะรอให้ต้นอ่อนยาวแล้วค่อยตัดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการ
ข้อสังเกตในการตัด ถ้าเห็นใบจริงแทรกออกมาจากปลายต้นอ่อน แสดงว่าถึงเวลาตัดได้แล้ว
การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน ควรปลูกในช่วงหน้าร้อน และหน้าฝน แต่ช่วงหน้าหนาวต้นอ่อนทานตะวันจะโตช้า หรือไม่โตเท่าไหร่ หากโต ต้นก็ไม่ยาว ยิ่งถ้าอากาศไม่ร้อน ไม่มีความชื้น ก็จะไม่งอกเลยด้วยซ้ำ
เห็นอย่างนี้แล้ว ไม่ลองมาปลูกต้นอ่อนทานตะวันกันดู เพราะขั้นตอนง่ายมาก คล้ายกับการเพาะถั่วงอก แถมหากทำได้ผลดี ก็สามารถขายได้ราคาอีกด้วย เพราะตลาดมีความต้องการสูงแน่นอน
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
บทความน่ารู้
เนียมหูเสือ หรือ หูเสือ สมุนแก้หวัด
จากเรื่องราวที่ รพ.อภัยภูเบศร แจกต้น “เนียมหูเสือ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
การปลูกข่า เทคนิควิธีปลูกแบบพอเพียง
การปลูกข่า สร้างรายได้ นับวัน ข่า มีมูลค่าในเชิงการค้า
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมสายพันธุ์ข้าวไทย
ข้าวอะไรที่คนไทยไม่เคยได้กิน
ข้าวหอมมะลิแท้ๆ ที่คนไทยบางคน อาจยังไม่เคยได้สัมผัสถึงร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปราชญ์ชาวบ้าน
ปราชญ์แห่งวังน้ำเขียวคือใคร
หากเอ่ยถึงเรื่องผักปลอดสารพิษ หลายคนคงคุ้นหูว่าคืออะไร
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย
เศษอาหารและใบไม้ ใช้ทำปุ๋ยอะไรได้บ้าง
ปัญหาดินขาดปุ๋ยและธาตุอาหาร เพราะสภาพดินไม่เอื้อต่อการเ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคและวิธีการ
ปลูกพืชกลับหัว ทำอย่างไรถึงได้ผล
ปลูกพืชกลับหัว หรือพืชตีกลับ หรือการปลูกพืชผักแบบกลับหั
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เทคนิค วิธีการ
พื้นที่น้อย
การทำปุ๋ย
ขยายพันธุ์พืช