วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องการเพาะเห็ด และเคยนำเสนอไปแล้วเกี่ยวกับเห็ดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเห็ดตับเต่า การเพาะเห็ดฟาง และอื่นๆ ซึ่งสามารถทำรายได้แก่เกษตรกรให้สามารถอยู่รอดได้ในหลายครอบครัวมาแล้ว สำหรับวันนี้ ทีมงานเกษตรอินทรีย์ ก็อยากจะนำเสนอเรื่องของการเพาะเห็ดลม ใครสนใจอ่านกันได้เลย
หากต้องการดูเนื้อหาน่าสนใจเกี่ยวกับ การเพาะเห็ดฟางสู้แล้ง หรือ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า กดดูได้เลยจากลิ้ง
เห็ดลม คืออะไร ข้อมูลทั่วไปของเห็ดลม
เห็ดลม หรือรู้จักกันในชื่ออื่นว่า เห็ดกระด้างดำ หรือเห็ดกระด้าง เห็ดบด เห็ดชนิดนี้จัดอยู่ในสกุล Lentinus เป็นเห็ดขอนชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานได้ เห็ดลมมีจำหน่ายมากในปลายฤดูฝน และต้นฤดูหนาว มีมากในแถบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
โดยผู้ขายจะเก็บเห็ดมาจากขอนไม้ในป่าเพื่อนำมาจำหน่ายตามข้างทาง เห็ดลมจัดว่าเป็นเห็ดที่มีเนื้อแห้งและเหนียวคล้ายหนัง ชาวบ้านจะเก็บเห็ดชนิดนี้ร้อยเป็นพวงมาลับ หรือขายปนกับผักที่ใช้ประกอบแกงแคที่มีชื่อทางภาคเหนือ
เห็ดกระด้างหรือเห็ดลม เป็นชื่อที่เรียกกันทางภาคเหนือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดบด เห็ดขอนดำ หรือ เห็ดกระด้าง ในธรรมชาติมักพบขึ้นกับไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง รัง เหียง ตะเคียน และไม้กระบาก เป็นต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus polychrous Lev.
เผยเทคนิคการเพาะเห็ดลมที่ได้ผลจริง
ข้อมูลยืนยันโดยกองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาถึงวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดลมนี้เมื่อปี 2530 และสามารถทำให้เห็ดลมอยู่ได้ในระดับที่เป็นการค้าได้ โดยขั้นตอนและวิธีการเพาะเห็ดลมนั้น ก็จะคล้ายๆ กับการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกทั่วไปที่มีการเพาะเลี้ยงเห็ดสกุลนางรมโดยประกอบด้วยขั้นตอนการเพาะเห็ดลม 4 ขั้นตอนหลัก คือ
- การผลิตหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์
- การทำหัวเชื้อเห็ด
- การเพาะเห็ด (ก้อนเชื้อ/เพาะในท่อนไม้)
- การเปิดดอกและการเก็บเกี่ยว
การเพาะเห็ดลมแบบพอเพียง ทำเองได้ไม่ยาก
เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นานข้ามปี เวลาจะนำมาปรุงอาหารก็นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพเหมือนเห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่มีรสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำไปแกงซุปหรือลาบให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ มีความกรุบเหนียว ลื่นลิ้น จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ๆ เป็นแหล่งผลิตด้วยราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่นๆ
เห็ดลมนั้นตกกิโลกรัมละ 80-200 บาท แล้วแต่ฤดูกาลเกษตรกรบางรายสามารถทำรายได้สูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า ซึ่งกรมวิชาการเกษตร โดยอัญชลี (2540ข) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีไว้บริการและจำหน่ายแก่เกษตรก ร พร้อมทั้งได้วิจัยและพัฒนาสูตรวัสดุเพาะ ซึ่งมีหลายสูตรด้วยกัน คือ…
สูตรเพาะเห็ดลม ด้วยวัสดุเพาะที่ 1 (อัญชลี, 2540ข) ด้วยส่วนประกอบดังนี้
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือไม้มะม่วง มะขาม 100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
- รำ 3-5 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- น้ำ 65-75 กิโลกรัม (ลิตร)
สูตรเพาะเห็ดลม ด้วยวัสดุเพาะที่ 2 (พิมพ์กานต์, 2540) ด้วยส่วนประกอบดังนี้
- ไม้เบญพรรณ 100 กิโลกรัม
- แอมโมเนียมชัลเฟต 1 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับ รำละเอียด 3 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัมปรับความชื้นประมาณ 50 – 55 เปอร์เซ็นต์
วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการทำเห็ด
- ถุงพลาสติกใสทนร้อนขนาด 3X13 นิ้ว
- คอขวดพลาสติกทนร้อน
- สำลี ยางรัด
- หม้อนึ่งลูกทุ่ง
- วัสดุเพาะตามสูตร
- โรงพักบ่มเลี้ยงใยและโรงเรือนเปิดดอก
เทคนิคและวิธีการในการเพาะเห็ดลม ด้วยสูตรสำเร็จ
ผสมสูตรสำหรับการเพาะเห็ดลม และวัสดุเพาะของเฉพาะสูตรเพาะเห็ดที่ต้องการ ผสมเข้าด้วยกัน โดยนำน้ำตาลละลายในน้ำจากนั้นนำไปรดบนขี้เลื่อย ซึ่งผสมกับรำไว้เรียบร้อยแล้ว ผสมจนเข้ากันดี จึงนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น หลังจากนั้นให้รวบปากถุง รวบคอขวด จีบและพับปากถุง ดึงให้ตึงรัดด้วยยางวง แล้วอุดด้วยฝ้ายหรือสำลี และนำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือฝาครอบพลาสติกมาปิดไว้ ป้องกันไม่ให้สำลีเปียก ขณะทำการนึ่งวัสดุเพาะ
เสร็จแล้วนำไปเรียงในหม้อนึ่งลูกทุ่ง เต็มแล้วจึงปิดฝา แล้วนึ่งโดยไม่ใช้ความดันเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง โดยใช้ไฟสม่ำเสมอสังเกตุให้ไอน้ำพุ่งตรงตลอดเวลา ต้องพยายามเติมเชื้อเพลิงให้สม่ำ เสมอด้วย เมื่อได้เวลาแล้ว นำมาทิ้งไว้ให้เย็นในที่สะอาด และ อากาศโปร่ง แล้วนำเชื้อ ขยายมาถ่ายลงถุงเพาะ พยายามใส่เชื้อขยายภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถุงเพาะเย็นแล้ว มิฉะนั้นเส้นใยจะเดินไม่ตรง เนื่องจากจะมีเชื้อปนเปื้อนเข้ามาแทรกได้
การพักบ่มเส้นใยเห็ดลม
เส้นใยที่เจริญในถุงวัสดุเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 30-35 วัน จึงจะเติม ถุงเพาะเพื่อเส้นใยเดินเต็มถุงต้องพักบ่มเส้นใยต่อไป จนเส้นใยเริ่มสร้างสีน้ำตาล โดย เฉลี่ยจะใช้เวลา 80-90 วัน จึงนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส
สร้างโรงเรือนสำหรับเปิดดอกเห็ดลม
คล้ายโรงเรือนของเห็ดขอนขาว สามารถมุงด้วยพลาสติกและพรางแสงด้วยซาแลน ไม่จำเป็นต้องใช้แฝกหรือจาก เพราะเป็นเห็ดที่ชอบอุณหภูมิสูง โดยให้มีความชื้น 70-80 % ในการเปิดดอกเห็ดลม เห็ดจะออกดอกได้ดี เมื่ออากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวัน ต่อกลางคนต่างกันมาก
ภาพโรงเรือนเพาะเห็ดลมที่ “ฟาร์มเห็ด ชุติมา” : https://hug-hed.blogspot.com
มีเกษตรกรที่ชำนาญการเพาะเห็ดลมในภาคอีสาน นิยมกระตุ้นให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอโดยปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเที่ยงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจตายได้ หากอุณหภูมิขึ้นสูงมาก ก็จะระบายความร้อนโดยการรดน้ำด้วย สปริงเกอร์ ส่วนในเวลากลางคนจะเปิดโรงเปิดดอก ให้ได้รับความเย็นและอากาศ ถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้สนใจเห็ดลม ควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ
นอกจากนี้เกษตรกรบางราย อาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่ม แล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมกองไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญ ต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดกระด้างแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น
การเก็บผลผลิตเห็ดลม
การเก็บดอกเห็ด เก็บในระยะที่ดอกเห็ดมีอายุ 2-3 วัน หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่มีราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือทำแห้งผลผลิตเฉลี่ยของเห็ดกระด้า งประมาณ 100-250 กรัมต่อถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน การตลาด ราคาของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80-100 บาท สามารถจำหน่ายในรูปของดอกเห็ดสดและเห็ดแห้ง
ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกเลยระยะดังกล่าว จะทำให้ดอกเห็ดทีได้เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
แหล่งจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดลม
- สวนเห็ดบ้านอรัญญิก จ.กรุงเทพฯ 02-8898740-7.(02) 441-0369, 441-9263
- ศูนย์ไบโอเทค เลขที่ 19/7 ม.11 ต.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร.(02) 908-3010-3
- ฟาร์มเห็ดนางฟ้าคุณแดง นครราชสีมา โทร.0-4435-7084
- ฟาร์มเห็ดรุจิรา กาฬสินธ์ โทร.0-4382-0960
หมู่บ้านเพาะเห็ดที่ใหญ่สุดในประเทศไทย ที่ บ้านโนนสูง จังหวัดกาฬสินธ์ แหล่งเพาะเห็ดลมส่วนใหญ่ถูกกระจายไปยังภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับการเพาะเห็ดลมที่นี่ เมื่อทำการเปิดดอกครั้งแรกก็ได้ทุนคืนแล้ว เพราะเห็ดลมราคาสูงมาก ขายส่งกิโลกรัมละ 100-110 บาท แล้วในปัจจุบัน
ขอบคุณเนื้อหาที่ให้อ้างอิง จาก rakbankerd.com / kasetporpeang.com / แฟนเพจเกษตรพอเพียง
เรียบเรียง kasetorganic.com
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
ปลูกหอมแดงในกระถางอย่างไรให้ได้ผล
ปลูกหอมแดงในกระถาง ใครว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราอยากจะปลูกไว้ในกระถาง ฟังไม่ผิดหรอกว่าเราจะปลูก หอมแดงใน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมยุคนี้ ปลูกผักสวนครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำอย่างไร
การปลูกผักกินเองตามมีตามเกิด กับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้แบบพอเพียง ต่างกันโดยสิ้นเชิง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมพืชต้องการแร่ธาตุและสารอาหารอะไรที่จำเป็น
เนื้อหาก่อนหน้านั้น ว่าด้วยเรื่อง อาการขาดธาตุอาหารของพืช และสารอาหารที่พืชต้องการ ไปแล้วแต่ยังไม่จบ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเปลือกลำไย ใช้ไล่ยุงและแมลงรบกวนได้ดี
รู้หรือไม่ เปลือกลำไยไล่แมลง และใช้ไล่ยุง ได้ ในสมัยก่อน เรารู้กันว่า เปลือกส้ม ดอกไม้บางชนิด สามารถ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมสวนครัวรีไซเคิล
จั่วหัวแบบนี้อาจจะงงเล็กน้อย แต่หากอ่านต่อไปเรื่อยๆ (หากยังไม่รู้สึกเบื่อ) ก็จะเข้าใจว่า ทำไมต้องรีไ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมน้ำปลาแท้ กับสารฮิสตามีน
น้ำปลาแท้ ดีกว่าอย่างไร? เริ่มต้นเรื่อง ก็ดูเหมือนว่า จะไปเกี่ยวกับอาหารซะแล้ว จริง ๆ ไม่อยากให้ผิดจ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
ปลดล็อคกระท่อม 2564 เราทำอะไรได้บ้าง
เศษอาหารและใบไม้ ใช้ทำปุ๋ยอะไรได้บ้าง
ปลูกมะเขือเทศในช่วงฤดูหนาว ทำอย่างไร