ผักสวนครัวรั้วกินได้ เอ่ยถึงถึงเรื่องนี้ หลายคนก็นึกออก แต่อยากให้รู้เกี่ยวกับความหมายของคำนี้ก่อนว่ามีที่มาอย่างไร
ผักสวนครัว แยกเป็น 2 คำคือ ผัก + สวนครัว
- ผัก หมายถึงพืชที่นำมารับประทานได้ ส่วนใหญ่คือการนำใบ ต้น กิ่ง หน่อ หรือผล มารับประทานคู่กับอาหารจานหลัก
- สวนครัว คือ พืชผักที่สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้
ผลไม้ หมายถึง ผลของพืช จะเป็นผลที่รับประทานได้หรือไม่ได้ ก็เรียกรวมๆ กันว่า ผลไม้ ซึ่งผลไม้บางผักบางชนิดก็จัดเป็นผักได้เช่นกัน เช่น มะนาว แตงกวา ข้าวโพดอ่อน
การปลูกผักสวนครัว เพื่อจำหน่ายส่วนใหญ่ ก็ยกแปลงปลูกกันทีละเยอะๆ เพื่อความเพียงพอต่อตลาดที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีบ้างที่เป็นภาคครัวเรือน นิยมใช้รั้วบ้านในการปลูก เพราะสวนครัวบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากก็ให้ผลผลิตดี
อย่างการปลูกให้ให้เลื้อยคลุมรั้ว ก็เพื่อประโยชน์หลายทาง ทั้งสวยงามและสามารถนำมารับประทานได้ทันที และนี่ก็จะเสนอ ผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่นิยมปลูกกันทั่วไป 9 ชนิด เรียกว่าควรมีติดบ้านไว้เลยจะดีกว่า
พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 9 ชนิด ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีไว้ติดบ้าน
บอกเลยว่า ปลูกไว้ไม่เสียหาย ผักสวนครัว 9 ชนิดนี้ เป็นผักยอดฮิตที่ห่างครัวไม่ได้เลยทีเดียว
กะเพรา
ผักยอดฮิตของคนไทยและต่างชาติบางคน รวมทั้งผู้เขียนเอง ชอบที่สุดในบรรดาอาหารมีผักเป็นส่วนประกอบ หลากหลายเมนูยอดฮิตจนกลายเป็นเมนูติดปากสิ้นคิดไปแล้ว
กะเพราเป็นผักสวนครัวที่คนนิยมบริโภค ความต้องการไม่มีวันหมด หากปลูกไว้ริมรั้วซักต้น รับรองว่า ไม่นานก็จะมีอีกหลายๆ ต้นขึ้นตามๆ กันมาเพราะเป็นผักที่ขึ้นง่าย ไม่ต้องดูแลมาก แค่รดน้ำนานๆ ครั้ง ก็ได้ใบกะเพราอร่อยๆ มาทำเมนูอาหารได้แล้ว
กะเพราสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด บางครั้งไม่ได้ปลูกก็ขึ้นมาเป็นดง ส่วนใหญ่นิยมปลูกตามข้างทาง ริมรั้ว ใบมีกลิ่นหอม เป็นพันธุ์ไม้ต้นเตี้ย สามารถปลูกได้ทั้งกะเพราขาว และ กะเพราแดง สรรพคุณมากมายตั้งแต่ ราก ใบ เมล็ด
หากบำรุงดินดีๆ ใบกะเพราจะใหญ่และให้รสชาติอร่อย นำเข้าครัวไปทำอาหารเมนูต่างๆ ได้อร่อยนัก
พริกขี้หนู
พริกขี้หนู เป็นอีกหนึ่งสวนครัวที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนไทย เรียกว่า อยู่คู่ครัวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ไม่มีอะไรจะกิน ตำพริก เกลือ กะปิ กินกับข้าวสวยร้อนๆ แกล้มกับผักสวนครัวชนิดอื่นๆ เราก็อยู่รอดกันมาแล้ว
พริกขี้หนู มีหลายสายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างและความเผ็ด แต่การปลูกพริกขี้หนู ก็ไม่ได้ยาก นิยมการหว่านเมล็ดลงในแปลง กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ไม่นานต้นพริกก็งอก
พริกขี้หนูเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี (แต่การขาดน้ำ เมล็ดพริกจะไม่ค่อยโต) การดูแลรักษาต้นพริกขี้หนู ถ้ามีความชื้นในดินสูง ควรพรวนดินให้น้ำระเหยออกจากดิน ไม่อย่างนั้นพริกจะไม่โต และเป็นโรคง่าย หากดินแห้งไปและไม่อาจให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอ ควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้น
เทคนิคที่ทำให้พริกลูกดกมี 2 วิธีคือ การแกล้งพริก และการเด็ดยอด การแกล้งพริกคือ การปลูกแล้วให้ยอดพริกชี้ลงดิน (ปลูกพืชกลับหัว) ส่วนการเด็ดยอดจะทำให้พริกแตกยอดอ่อนออกมามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้พริกที่มีลูกดกมากขึ้น
ตะไคร้
ตะไคร้ เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เติบโตง่าย น้ำท่วมก็ไม่ตาย แต่เป็นพืชที่ทนแล้งหนักๆ ไม่ได้ หากขาดน้ำ ต้นจะลีบ เหี่ยว และแห้งตายในที่สุด ตะไคร้ถือเป็นผักสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในเครื่องเทศ มีความหอม สรรพคุณต่างๆ ล้วนดีหมด สำหรับครัวไทยจะขาดตะไคร้ไม่ได้เลย
ตะไคร้ มีประโยชน์ในการป้องกันหน้าดิน ปลูกไว้ข้างๆ บ่อกันการกัดเซาะของน้ำได้ดี ใบตะไคร้มีกลิ่นหอม นำมาเผาให้เกิดควันใช้ไล่ยุงได้ เป็นผักสวนครัวที่ไม่ต้องดูแลมาก แค่ดินมีความชุ่มชื้นก็จะแตกหน่อออกมามากมาย การปลูกก็ไม่ยาก เอาหน่อตะไคร้ฝังดินไว้ ไม่ต้องลึกมาก รดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ไม่นานก็แตกหน่อออกมาเป็นกอ
ตะไคร้เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ หากไม่ขาดน้ำ จะสามารถอยู่รอดได้ชั่วลูกหลานเลยทีเดียว โดยจะแตกหน่อไปเรื่อยๆ เรียกว่า ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ยาวๆ
มะเขือเทศ
มะเขือเทศมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในบ้านคือมะเขือเทศสีดา นำมาทำอาหารอร่อย ทั้งส้มตำ เมนูผัด หรือแม้แต่ยำ สลัด ก็ขาดไม่ได้ อร่อยและมีคุณค่า เป็นผักสวนครัวที่กินได้ไม่มีเบื่อ
หากจะปลูกมะเขือเทศ ต้องให้น้ำสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงเริ่มแก่ คือผลเริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นสีแดง หรือ เหลือง (ตามสายพันธุ์) หลังจากนั้นจึงลดการให้น้ำเพื่อป้องกันผลแตก
การปลูกมะเขือเทศเพื่อรับประทานผลสด นิยมปลูกแบบทำค้าง ควรตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 1-2 กิ่งต่อต้น เพื่อให้มะเขือเทศจะได้มีผลใหญ่ การเก็บผล จะเริ่มเมื่อมะเขือเทศมีอายุประมาณ 80-90 วัน (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) โดยอายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บผลได้ประมาณ 4-5 เดือน
ผักคะน้า
คะน้าเป็นสุดยอดผักในเมนูอาหารที่หลากหลาย อีกทั้งมีราคาค่อนข้างดี เป็นที่นิยมสูง ปลูกไว้ไม่เสียดายแน่นอน
คะน้า การปลูกไม่ต้องขุดหลุมลึกมาก เนื่องจากระบบรากของคะน้าจะแผ่ขยายออกด้านข้าง เพียงตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน แล้วย่อยพรวนเป็นก้อนเล็กๆ ก็สามารถนำมาใช้ปลูกคะน้าได้แล้ว
การปลูกคะน้าใช้วิธีหว่านเมล็ดลงในแปลงได้เลย วิธีการหว่านเมล็ดจะหว่านแบบกระจายทั่วทั้งแปลง หรือจะโรยเมล็ดแบบเรียงแถวก็ได้ การเลือกปลูกวิธีไหน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ปลูกเอง เสร็จแล้วใช้ฟางหรือเศษใบไม้แห้งปิดคลุมทับหน้าดินเพื่อรักษาความชื้น ไม่นานต้นคะน้าก็จะแทงยอดอ่อนออกมาให้งอกงาม
เมนูเด็ดยอดนิยม ข้าวผัดคะน้าหมูกรอบ, คะน้าปลาเค็ม ผัดคะน้าน้ำมันหอย นึกแล้วก็น้ำลายไหล
มะระ
ผักตระกูลไม้เถา ชอบเลื้อยเป็นเถาวัลย์พันกิ่ง นิยมรับประทานเป็นผักเคียง โดยเฉพาะมะระขี้นก ขึ้นง่าย ไม่ต้องดูแลมาก เป็นพืชทนแล้ง แถมมะระยังจัดอยู่ในกลุ่มพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณมากมายอีกด้วย
มะระ เป็นพืชผักล้มลุกลำต้นเป็นเถา ชอบดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง นับว่าเป็นพืชผักที่อายุสั้น ซึ่งถ้าหากนับจากวันเริ่มปลูกถึงวันเก็บผล จะได้ประมาณ 45-55 วันขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก แต่ก่อนที่จะปลูกต้องทำความเข้าใจว่า หากต้องการจะปลูกมะระเพื่อจำหน่ายผลผลิต และเลือกพันธุ์ที่ไม่ใช่พันธุ์พื้นบ้าน จะต้องมีการเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องการกำจัดแมลงศัตรูพืช เนื่องจากเมื่อแมลงเข้าทำลายแล้วจะทำให้ผลร่วง หรือแคระแกร็น ให้ผลผลิตได้ค่อนข้างน้อย
แต่มะระขี้นก สามารถขึ้นตามรั้วบ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องปลูก เพราะสัตว์อย่างนก กระรอก ชอบกินผลมะระสุกมาก อาจกินแล้วถ่ายมูลที่มีเมล็ดมะระขี้นกไว้ตามพื้นดินรอบขอบรั้ว ตามชานเมืองที่มีพืชผักขึ้นอุดมสมบูรณ์ มะระขี้นกแทบจะไม่ต้องปลูกเลย
ตำลึง
ผักข้างรั้วที่หลายคนมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่า ตำลึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง หาไม่มีอะไรจะกิน ออกไปริมรั้ว เด็ดยอดตำลึงมาผัดหรือต้มแกงก็ยังได้คุณค่าทางโภชนาการ
ตำลึงยังเป็นเครื่องหมายของรั้วกินได้ที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ
ตำลึง โดยมากมักเห็นขึ้นเองตามธรรมชาติ แน่นอนว่าสามารถปลูกได้ง่ายมากเพียงแค่ดินมีความชุ่มชื้นเป็นอย่างดี เหมาะแก่การปลูกริมรั้วเป็นไม้เลื้อยตามรั้วบ้านได้ ตำลึงงยังเป็นสัญลักษณ์ของผักสวนครัวรั้วกินได้ที่คุ้นตา เพราะส่วนใหญ่ก็จะขึ้นอยู่แถวริมรั้วและที่รกทั่วไป
ลูกตำลึง ผลอ่อนมีรสฝาด หากนำมาทำอาหารต้องแช่น้ำเกลือให้จับตัวก่อนนำไปปรุงเป็นอาหาร ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อม ส่วนผลสุกรับประทานได้ มีรสหวานอ่อนๆ
บวบ
พืชเถา ที่เหมาะกับการทำค้าง เป็นพืชสวนอายุสั้นแต่ก็ทนแล้งได้อย่างดี คุณค่าทางโภชนาการสูง รสชาติอร่อย ทำเมนูอาหารได้หลากหลาย
บวบไทยมีหลายชนิดที่นิยมปลูก เช่น บวมเหลี่ยม, บวมหอม หรือ บวมกลม, บวมขม (เป็นบวบชนิดเดียวกับบวบหอมแต่ผลเล็กสั้นและมีรสขมมาก), บวบงู
บวบ ลักษณะพิเศษของบวบ คือ ทนแล้ง ทนฝน ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน แต่มีข้อควรระวังคือ เมื่อแรกปลูกจนถึงขึ้นค้างจะมีแมลงชอบกัดยอด แต่พอทอดยอดขึ้นค้างแล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องแมลงอีกต่อไป ปลูกง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ปลูกแล้วก็ให้ขึ้นเลื้อยไปตามต้นไม้ที่เหลือก็แค่คอยเก็บผลผลิต
โหระพา และ แมงลัก
ผักสวนครัวที่เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมชื่นใจ หลายคนชอบทานกับก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อน้ำตก ปลูกไว้ติดบ้านซักต้น ไม่ต้องดูแลมาก ก็มีรับประทานได้ทั้งปี
โหระพา และ แมงลัก ลักษณะของต้นโหระพาและแมงลักมีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกะเพรา โดยขนาดของทรงพุ่มก็ใกล้เคียงกันคือ มีความสูงไม่เกิน 60 เซนติเมตร ลักษณะต้นและใบคล้ายกัน จะต่างกันตรงกลิ่น และสีไม่เหมือนกันใบของโหระพานั้นใบเป็นมัน และหนากว่า ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ส่วนใบของแมงลักมีสีเขียวอ่อน ก้านใบและลำต้นก็มีสีเขียวอ่อนเช่นกัน และมีขนอ่อนอยู่ตามใบและก้านดอก
สวนครัวที่ควรมีไว้ติดบ้านเพิ่มเติม เช่น มะนาว ขมิ้น ขิง ข่า…
ยังมีผักสวนครัวที่ควรมีติดบ้านอีก 3-4 อย่าง เช่น มะกรูด มะนาว ขมิ้น ข่า เพราะเป็นพืชผักที่ปลูกง่ายและจำเป็นสำหรับครัวเรือน ซึ่งคนไทยในปัจจุบัน จะมีความจำเป็นที่ต้องใช้พืชผักสวนครัวรั้วกินได้เหล่านี้มาประกอบอาหารอยู่แทบทุกวัน หากไม่มีพื้นที่ปลูก ก็อาจใช้วิธี ปลูกผักสวนครัวในกระถาง ก็ได้ เพราะจุดประสงค์ที่สุดของผักสวนครัวรั้วกินได้ก็คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน นั่นเอง
คำว่า “ผักสวนครัวรั้วกินได้” ใครเป็นคนคิดค้น และมีที่มาอย่างไร
คำว่าผักสวนครัวอาจไม่แปลกใจ แต่คำว่า “รั้วกินได้” นี่จำได้ลางๆ ได้ฟังจากใน TV ว่ารัฐบาลรณรงค์ให้ ปลูกผักสวนครัว กินเอง และพื้นที่ริมรั้วก็เหมาะ ซึ่งริมรั้วบ้านนอกสมัยนั้นก็มีตำลึง กระถิน ชะอม เป็นผักประจำครัวอยู่แล้ว เพราะกินทุกมื้อ
ต่อมามีแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงง จากพระราชดำริฯ ของในหลวง ร.9 เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ แนะนำเรื่องความเป็นอยู่พอเพียง จึงคุ้นชินกับคำว่า ผักสวนครัวรั้วกินได้นับแต่นั้นมา ส่วนใครเป็นคนต้นคิดนั้น ไม่ทราบจริงๆ หากใครทราบรบกวนแจ้งด้วยจะขอบคุณยิ่ง
ส่วนหากต้องการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถดูข้อมูลได้จากด้านล่าง ดังนี้
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
ทุกเรื่องของ มะพร้าวทะเล พืชที่ปลูกได้ในไทย
มะพร้าวทะเล ข้อมูลบางส่วนจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุไว้ว่า “มะพร้าวแฝด” หรือ อีกหลา
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมหน้าฝนควรปลูกผักอะไรดี ถึงจะรอด
เข้าหน้าฝน อะไร ๆ ก็จะดูเฉอะแฉะไปหมด ปลูกผักหน้าฝน คิดง่ายไป ว่ามีน้ำเยอะแล้วต้นไม้ ผัก หญ้า จะชอบ แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเลี้ยงไส้เดือนอย่างไร เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
เทคนิคการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนใช้บำรุงดิน วิธีการเลี้ยง การดูแล การผลิตปุ๋ยที่มี
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมแนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าว
ปัญหาหอยเชอรี่ในนาข้าว เป็นศัตรูสำคัญที่ทำลายต้นข้าวอย่างมาก และทำให้ผลผลิตในนาลดลง แม้ในปัจจุบันหอย
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเกษตรพอเพียง ทำแบบไหนถึงได้ผล
เรียนรู้เทคนิคการทำเกษตรแบบพอเพียง ทำอย่างไรให้ได้ผลในยุคนี้ พื้นที่จำกัดก็ทำได้ จากเริ่มต้นสู่การทำ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมดินเค็ม ปลูกพืชอะไรได้บ้าง
ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณ เกลือ ที่ละลายอยู่ในสารละลาย ดิน ที่มากเกินไป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
การถนอมมะนาว ไว้ใช้ตอนราคาแพง
ขาวบ้านนา 432 ข้าวพื้นเมืองที่เหมาะทำเส้น
การปลูกสับปะรดอินทรีย์