แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าว

ปัญหาหอยเชอรี่ในนาข้าว เป็นศัตรูสำคัญที่ทำลายต้นข้าวอย่างมาก และทำให้ผลผลิตในนาลดลง แม้ในปัจจุบันหอยเชอรี่จะเริ่มหายากแล้ว

ในพื้นที่นาบางแห่งก็ยังคงเป็นปัญหาต่อเกษตรกรที่อยากจะกำจัดหอยเชอรี่ออกไปในพื้นที่ สำหรับวันนี้จะมาบอกเทคนิคในการดักจับหอยเชอรี่ ไม่เฉพาะในแปลงนา แต่สามารถนำไปดัดแปลงวิธีการดักจับได้ในทุกสภาพแวดล้อม และทุกพื้นที่ที่มีหอยเชอรี่ระบาดด้วยวิธีการง่ายๆ ที่คุณก็นึกไม่ถึงเลยทีเดียว

หอยเชอรี่ แต่เดิมนั้นสำหรับชาวนาจะรู้กันอย่างดีว่า พวกมันมักทำให้รายได้และผลผลิตลดลงจนไม่คุ้มกับที่ลงทุนไว้ จนเกษตรกรหลายรายต้องท้อและหันมาใช้สารเคมีกำจัด แม้จะเป็นวิธีการที่ไม่แนะนำในการทำนาแบบอินทรีย์

แต่ปัจจุบันนี้ หอยเชอรี่แทบจะสูญพันธุ์เสียแล้ว จะด้วยเพราะการใช้สารเคมีต่อเนื่องหรือเพราะมีคนจับไปทำอาหารกันมากก็ตาม แต่หากพื้นที่ไหนมีระบาดและต้องการกำจัด หรือต้องการจับมาใช้ประโยชน์ ก็มีหลากหลายกรรมวิธีในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้

ความแตกต่างระหว่าง หอยเชอรี่ กับ หอยโข่ง

แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าว

หอยเชอรี่ ตัวใหญ่กว่าหัวนิ้วโป้ง

หอยเชอรี่กับหอยโข่ง

หอยโข่ง จะใหญ่เท่ากำปั้นเด็ก

การดักจับหอยเชอรี่ในแบบต่างๆ

กว่าจะได้มาเป็นนวัตกรรมในการดักจับหอยเชอรี่ ผู้พัฒนาวิธีการจนได้เทคนิคดีๆ มีหลายท่าน จึงนำมาบอกต่อเพื่อเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรอื่นที่อาจต้องการดักจับหอยเชอรี่มาใช้ประโยชน์ ดูวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในแบบต่างๆ กันเลยดังนี้

การดักจับหอยเชอรี่ด้วย ขวดพลาสติก

หนึ่งวิธีที่เป็นแบบธรรมชาติ และได้ผลดีมากคือ การดักจับหอยเชอรี่ โดยใช้ ขวดพลาสติก เทคนิคนี้ได้จากคุณอัมพร ทรัพย์สกุล หรือพี่ตี๋ ผู้สั่งสมประสบการณ์ในการทำนามายาวนานกว่า 40 ปี

แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าวด้วยขวดพลาสติก
แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าว
แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าวด้วยขวดพลาสติก

สำหรับ “เทคนิคการจับหอยเชอรี่” ของคุณอัมพรนั้น มีวิธีทำไม่ยาก แต่ต้องมีเทคนิคในการตัด ขวดพลาสติก เนื่องจากอุปกรณ์สำคัญที่เป็นตัวดักจับอย่างขวดน้ำพลาสติกนั้น เป็นวิธีที่ปลอดภัย และเป็นการนำสิ่งของเหลือกลับมาใช้ใหม่ได้อีกต่อ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด ใช้เวลาจัดการไม่นาน

โดยต้นกำเนิดวิธีดักจับหอยด้วย ขวดพลาสติก นี้ พี่ตี๋เล่าว่า ได้เลือกที่จะคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ด้วยวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลเป็นอย่างมาก และยังเป็นการช่วยโลกลดมลภาวะได้อีกด้วย เพราะใช้ ขวดพลาสติกเหลือทิ้ง มาประดิษฐ์เป็นที่ดักจับหอยเชอรี่ ถือเป็นการรีไซเคิลขยะอีกวิธีหนึ่ง แถมยังสามารถดักจับหอยเชอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

กว่าจะได้มาเป็นนวัตกรรม การดักจับหอยเชอรี่โดยใช้ขวดพลาสติกในนาข้าว ชิ้นนี้ พี่ตี๋ต้องสังเกตและเรียนรู้วงจรชีวิตของหอยเชอรี่อย่างชำนาญ จนรู้ว่าหอยเชอรี่ชอบขึ้นมาวางไข่บนขอนไม้เหนือน้ำประมาณ 1 ฟุต จากการสังเกต ก็ก่อเกิดเป็นนวัตกรรมแบบภูมิปัญญาชาวบ้านชิ้นนี้ขึ้นมา พี่ตี๋ถือเป็นปราชญ์ชาวบ้านของแท้

จากการสังเกตุ (ไม่ได้สอบถามพี่ตี๋โดยตรงถึงวิธีการทำ) ผู้เขียนคิดว่าปากขวด (ด้านล่าง) น่าจะมีการตัดปากขวดให้เป็นริ้วบางๆ เพื่อให้มีทางเข้าได้แต่ออกลำบาก แล้วนำมาติดกับเสาไม้ให้ตรงกับปากขวดอีกทีนึง เพื่อให้หอยเดินเข้าไปได้ง่าย แต่เวลาออกจะไม่สามารถทำได้ คล้ายๆ การทำปากลอบ

สำหรับลักษณะการทำงานของที่ดักจับ หอยเชอรี่ ด้วย ขวดพลาสติก แบบนี้ จะละม้ายคล้ายคลึงกับที่ดักจับสัตว์ทั่วไป เมื่อหอยเชอรี่ไต่ขึ้นมาวางไข่ในขวด ก็จะไม่สามารถไต่กลับลงไปในน้ำได้ ทั้งไข่หอยและแม่หอย ก็จะถูกขังเอาไว้ในขวดแห้งตายไปเอง หรือจะเก็บหอยนำไปปรุงอาหาร หรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็ได้ เช่น ทำเป็นหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพนำมาผสมน้ำ ใช้รดต้นข้าวในนาแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ก็ทำให้ประหยัดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยลงได้มากกว่าครึ่ง

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหารและใบไม้

หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ ลดการใช้ปุ๋ยลงได้มาก

จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยไร่ละ 50 กิโลกรัม ปัจจุบันเมื่อใช้น้ำหมักชีวภาพควบคู่ไปด้วย การใช้ปุ๋ยก็ลดลงเหลือเพียง 10 กิโลกรัมเท่านั้น สนใจ ที่ดักจับหอยเชอรี่ ของพี่ตี๋ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณอัมพร ทรัพย์สกุล (พี่ตี๋) อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.08-1251-0517

การดักจับหอยเชอรี่ด้วยใบมันสำปะหลัง

สำหรับการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าวด้วยใบมันสำปะหลัง ด้วยกรรมวิธีการดักจับนี้ ใช้ใบมันสำปะหลังแทนสารเคมี คือในช่วงเวลาเย็น ให้นำใบมันสำปะหลังชนิดขม เช่น พันธุ์ระยอง 1, 3, 5, 60, 90 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ พันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งจะเป็นพันธุ์ที่มีสารไซยาไนด์สะสมอยู่ในใบมากกว่าชนิดอื่น นำใบมันเหล่านี้ไปวางกองไว้บริเวณริมคันนา ให้ทั่วทั้งแปลงนาโดยให้มีระยะห่างประมาณ 2-3 เมตร ต่อกอง เพื่อรอให้หอยเชอรีเข้ามากัดกิน ซึ่งหอยจะออกมากินใบมันสำปะหลังในช่วงเวลากลางคืน

แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าว
แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าว

แต่วิธีนี้หอยเชอรี่จะไม่ตายทันที แต่จะไปไหนไม่ได้เนื่องจากตัวหอยได้รับสารพิษจากใบมันสำปะหลังทำให้หอยเชอรีเมา ต้องมาเก็บหอยเชอรีที่มากินใบมันสำปะหลังไปทำลาย ทำปุ๋ย หรือทำประโยชน์อื่นๆ วิธีนี้•ควรทำทั้งก่อนปลูกข้าวและหลังจากการปลูกข้าวแล้วจะทำให้หอยเชอรี่หมดไปจากแปลงนา

การดักจับหอยเชอรี่ด้วยมะละกอ และใบมะละกอ

ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ณ โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว ได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาเกษตรโดยให้นักเรียน ได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยชีวภาพที่ทำจากหอยเชอรี่ โดยใช้ระยะเวลาในการหมักปุ๋ยประมาณ 10-20 วัน ก็จะได้ปุ๋ยคุณภาพดีที่สามารถนำมาใช้งานได้

แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าวด้วยมะละกอ
แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าวด้วยใบมะละกอ

การทำปุ๋ยชีวภาพจากหอยเชอรี่นี้ จำเป็นต้องใช้หอยเชอรี่จำนวนมาก ดังนั้น คุณครูจึงได้สอนวิธึการหาหอยเชอรี่แบบง่ายๆ ให้กับเด็กนักเรียน ด้วยการให้เด็กๆ เอาลูกมะละกอและก้านมะละกอ มาทำกับดักจับหอยเชอรี่

แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าวด้วยใบมันสำปะหลังและใบมะละกอ
แนะวิธีการดักจับหอยเชอรี่ในนาข้าวด้วยมะละกอ

เพราะด้วยนิสัยของหอยเชอรี่นั้นชอบกลิ่นยางของมะละกอมาก เมื่อนำใบและลูกมะละกอมาวางไว้ในแปลงนา ใช้เวลาเพียงแค่ 20-30 นาทีเท่านั้น หอยเชอรี่ก็จะมาเกาะที่ลูกและก้านมะละกอเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถเก็บหอยเชอรี่เหล่านั้นมาทำประโยชน์ได้ไม่ยาก

อ้างอิง

บทความเกษตรน่าสนใจ

แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม

แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: อนุญาตแบบมีที่มา