น้ำส้มควันไม้ เป็นกรดชนิดหนึ่งเรียกว่า pyroligneous acid หรือ กรดไพโรลิกเนียส เกิดจากผลพลอยได้จากควันที่ออกมาจากการเผาถ่านแต่การจะได้มานั้น จะต้องมีกรรมวิธีที่ต้องใช้ทั้งเวลา วัตถุดิบ และอุปกรณ์หลายอย่าง
และกรดน้ำส้มอ่อน ๆ ชนิดนี้ ก็นิยมนำมาใช้กับภาคเกษตรกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ ที่ต้องงดเว้นการใช้สารเคมี น้ำส้มควันไม้ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกลำดับต้น ๆ ที่คนทำเกษตรอินทรีย์ ไม่มีไม่ได้
แต่การจะได้มาซึ่งสิ่งนี้ จำเป็นต้องมีการเตรียมการ ตั้งแต่เตรียมวัตถุดิบอย่าง ไม้ชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิง อุปกรณ์ในการเก็บผลผลิต เตาเผา ท่อสำหรับกลั่นควันที่ได้จากการเผา ฯลฯ รวมไปถึง เวลาและพื้นที่ที่เหมาะสม เพราะไม่ใช่เกษตรทุกคน จะทำเกษตรและเผาถ่านไปด้วย
แม้อาชีพเผาถ่าน จะเป็นอาชีพของคนไทยมาอย่างยาวนาน กระทั่งปัจจุบัน ก็ยังคงพบเห็นได้อยู่ แม้จะมีให้เห็นน้อยมากแล้วก็ตามที เพราะปัจจุบัน อาชีพเผาถ่านส่วนใหญ่ ไม่ได้เน้นเอาส่วนที่ได้จากควันเผาถ่าน แต่ไปเน้น เอาถ่าน ซะมากกว่า อีกทั้งการเน้นแต่จำนวนถ่านที่มีคุณภาพ จึงต้องหาวัตถุดิบหลากหลายชนิด เพื่อมาเผา บางครั้งก็มีส่วนผสมของ มูลสัตว์ เข้าไปด้วย
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะของ ถ่านอัดแท่ง ได้จากวัตถุดิบหลายประเภทที่เป็นพืชพลังงาน เช่น ซังข้าวโพด กะลามะพร้าว แกลบ ขี้เลื้อย ฟางข้าว ชานอ้อย ต้นมันสำปะหลัง เหง้ามันสำปะหลัง หญ้าคา หญ้าขจรจบ ไมยราบ ผักตบชวา ใบจามจุรี กะลาปาล์ม ต้นฝ้าย ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากทานตะวัน เปลือกทุเรียน
วัตถุดิบเหล่านี้ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาได้ มีคุณภาพที่เหมาะสม ทั้งในการนำมาเผาเพื่อจะเอา น้ำส้มควันไม้ มาใช้ประโยชน์ หรือเผาเพื่อให้ได้ ถ่านอัดแท่ง เรียกว่า มีประโยชน์หลายต่อ
แนวคิดการสกัดควันไม้ ที่เกิดจากการเผาถ่าน
การคิดค้นกรรมวิธี และวัตถุดิบในการนำมาแทนถ่านไม้ ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การเผาถ่านโดยปกตินั้น จะมีควันที่เกิดจากการเผาถ่าน ส่วนใหญ่จะปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น ปราชณ์ชาวบ้านหลายท่าน จึงได้คิดที่จะนำ ควันที่เกิดจากการเผาถ่าน ดังกล่าว มาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง
ซึ่งควันในช่วงที่ ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่าน เมื่อทำให้เย็นลง จนควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จะได้สิ่งที่เรียกว่า ของเหลวสีคล้ำเหนียว ๆ ที่รู้จักกันในภาษาชาวบ้านว่า “น้ำส้มควันไม้” ซึ่งจะมีกลิ่นไหม้ของกำมะถันอยู่มาก ส่วนประกอบที่มีเป็นส่วนใหญ่ คือกรดอะซิติก มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง และยังมีสารประกอบอีกหลายชนิดที่รวมกันอยู่ในนั้น
การจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่กลั่นเอาออกมาแล้วใช้ได้ทันที เพราะมีความเป็นพิษสูงมาก หากแต่จะให้ได้ประโยชน์สูงสุด จะต้องทิ้งไว้ในภาชนะ และเก็บเอาไว้ในที่ร่ม ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อให้สารประกอบหลายชนิด แยกชั้นตกตะกอนออกเป็น 3 ชั้นเสียก่อน
โดยชั้นบนสุดจะได้ น้ำมันเบา ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ชั้นถัดมาเป็นลำดับที่สอง จะได้เป็น น้ำส้มไม้ และชั้นที่ตกตะกอนล่างสุดก็คือ น้ำมันทาร์ ซึ่งแต่ละสิ่งที่ได้ ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน
น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์อย่างไร
ก่อนจะไปดูเรื่องกรรมวิธีการสกัดน้ำส้มควันไม้ มาดูเรื่องประโยชน์กันก่อน เพราะหากไม่รู้ถึงคุณประโยชน์ที่ได้ และวิธีการนำไปใช้ การจะลงมือทำ จะค่อนข้างยุ่งยากและอาจได้คุณภาพ ที่ไม่ดีพอจะนำไปจำหน่าย แต่จะใช้ในครัวเรือนเองก็ไม่เป็นอะไร เพราะนอกจากการนำไปใช้ทางด้านเกษตรและปศุสัตว์แล้ว ก็ยังสามารถใช้ร่วมกับ สารเคมีกำจัดแมลงชนิดต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลงได้
ซึ่งคุณสมบัติที่ได้ หากนำไปผสมกับสารเคมีอื่น ๆ จะไปช่วยเพิ่มคุณสมบัติของสารต่าง ๆ ให้มีฤทธิ์มากขึ้น และตัวน้ำส้มควันไม้เอง ก็ยังสามารถป้องกัน และไล่แมลงศัตรูพืช โดยไม่ต้องผสมกับสารเคมีอื่น ได้ด้วย และมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกเช่น
- สูตรเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อน รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง เพราะสารประกอบที่ได้จากเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ คล้ายยาล้างแผล และมีสารประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคได้บางชนิด
- สูตรเข้มข้นปานกลาง ยืนยันแล้วว่าหากผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวดและมด หากใช้ในความเข้มข้นสูงจะเปลือง
- สูตรอ่อน ผสมน้ำ 50 เท่า จะสามารถใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่าง ๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง
- สูตรเบาบาง ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะ เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัว และบริเวณชื้นแฉะ
ข้อควรระวังในการใช้น้ำส้มควันไม้
- ก่อนนำไปใช้ ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อน อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้สารบางอย่างมีการตกตะกอน และเจือจาง
- เนื่องจากน้ำส้มควันไม้ มีความเป็นกรดไม่สูงมาก แต่หากถูกสัมผัสโดนร่างกาย ในบริเวณที่บอบบาง อาจทำอันตรายได้ ควรระวังอย่าให้เข้าตา เพราะอาจทำให้ตาบอด
- น้ำส้มควันไม้ ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ให้สารเคมีที่ถูกผสมเข้าด้วยกัน มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้น การนำไปใช้ทางการเกษตร จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับพืช แต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
- การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูก อย่างน้อย 10 วัน สำหรับฆ่าตัวอ่อน และทิ้งไว้เพื่อให้เจือจาง
- การนำไปใช้ ต้องผสมน้ำให้เจือจาง ตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ โดยอัตราส่วนต่างกัน
- การฉีดพ่นผักผลไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบาน แมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้ และดอกจะถูกกัดกร่อนทำลาย ไม่เป็นผลดี
อุปกรณ์สำหรับทำเตาเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้นั้น ผลิตง่ายไม่เสียงบประมาณมาก เกษตรกร หรือผู้สนใจ สามารถผลิตใช้เองได้ในครัวเรือน โดยไม่ต้องลงทุนไปซื้อ อุปกรณ์การผลิตน้ำส้มควันไม้ ราคาแพง ๆ เพราะสามารถหาได้เอง ก่อนอื่นต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ดังนี้
- ถังบรรจุประมาณ 200 ลิตร หรือถังแกลลอนน้ำมัน เพื่อใช้ทำเป็นเตาเผา
- ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร (ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ทนความร้อนได้ ใช้สำหรับทำปล่องควัน
- แกลบดิบประมาณ 2-3 กระสอบปุ๋ย
- ไม้แห้งหรือเชื้อเพลิงอื่น ที่จะเผาทำเป็นถ่าน ควรเป็นไม้ที่ไม่ใหญ่มาก และเป็นไม้ที่มีน้ำในเนื้อไม้ไม่มากเกินไป เป็นไม้ที่ตัดทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือมากกว่า เนื่องจากไม้ที่ตัดสดใหม่จะใช้เวลานานในการเผาและมีน้ำมาก เลื่อยเป็นท่อนเพื่อสะดวกในการนำใส่ภาชนะเผา
- ตะไคร้หอม 5-10 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มความหอม
- ขวดน้ำพลาสติก 2 ขวด
- ถังพลาสติก สำหรับเก็บเอาน้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้ ขั้นตอนและวิธีการทำ
- ดัดแปลงถังน้ำมันเก่า 200 ลิตร โดยต่อท่อออกมาด้านนอกความสูงระดับ 90% ของตัวถังเป็นรูปตัว T ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว โดยด้านบนจะเป็นปล่องควัน และด้านล่างเป็นบริเวณที่ให้น้ำส้มควันไม้ หยดออกมา ส่วนฝาปิดถังก็ต่อท่อออกมาเช่นกัน ความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นเจาะรูด้วยสว่านข้างถังทั้ง 3 ด้าน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว หรือ 3 หุน สูงจากพื้นด้านล่างประมาณ 20 เซนติเมตร รู้นี้ไว้เพื่อระบายอากาศ
- ถังขนาด 200 ลิตร จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56 ซม. สูง 89 ซม. จะแบ่งใส่วัตถุดิบออกเป็นชั้น ๆ คือ
– ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ใส่แกลบดิบความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร หรือไม้ที่เป็นเชื่อเพลิงอื่น
– ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 4 ใส่ตะไคร้หอมความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร
– ชั้นที่ 5 เป็นชั้นสุดท้าย ให้เทแกลบดิบใส่ลงไปในถังให้เต็ม - จุดไฟเผาวัสดุที่เป็นส่วนผสมทั้งหมด และปิดฝาถัง โดยปล่อยให้ควันลอยออกมา ทางปล่องควันที่ต่อออกมา ประมาณ 1 ชั่วโมง สังเกตลักษณะของควันที่เผาไหม้ ว่าอยู่ในระดับที่จะสามารถ กลั่น ออกมาเป็น น้ำส้มควันไม้ ได้หรือไม่ โดยสังเกตจากช่วงที่ควันมีสีขาวขุ่น ออกเหลือง อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80-150 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ผลผลิต จะมีคุณภาพดีที่สุด
- ทำการปิดปากปล่องควันด้านบน โดยใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำเปล่า ปิดรูไว้ทั้ง 2 ปล่อง ควันที่ร้อนภายในเมื่อกระทบความเย็น จะเริ่มควบแน่นประมาณ 10 นาที จากนั้นจะกลั่นตัวออกมาเป็น หยดน้ำ ไหลออกมาทางด้านล่าง ของปล่องควัน จะได้น้ำส้มควันไม้ สมุนไพรบริสุทธิ์ โดยใช้เวลาเผาไหม้ทั้งหมด 24 ชั่วโมง
- ปริมาณของวัตถุดิบที่ระบุนี้ ที่สามารถผลิตน้ำส้มควันไม้ ได้ 15 ลิตร การทำไปใช้ ให้ใช้ผ้าขาวบาง กรองเอาเฉพาะน้ำส้มควันไม้ เก็บไว้ใช้งาน หรือทิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้วค่อยกรองเอาก็ได้
สำหรับถ่านไม้ ที่เกิดจากการเผาไม่หมด จะมีน้ำมันดินเป็นส่วนผสม น้ำมันดินนี้จะมีสารก่อมะเร็ง หากนำถ่านที่มีน้ำมันดินไปใช้ จะเกิดควันและมีการเจือปนในอาหาร กรณี ปิ้ง ย่าง วิธีป้องกันคือ ต้องเผาก้อนถ่านให้เกิดความร้อน ทั้วทั้งก้อนก่อนสักพัก แล้วค่อยนำอาหารมาปิ้งย่าง ก็สามารถทำได้ไม่เป็นพิษแล้ว
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
การทำเกษตรอินทรีย์ มีวิธีการอย่างไร
นิยามของการทำเกษตรอินทรีย์ แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐาน ของแต่ละประเทศ ด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมพริกขี้หนูหัวเรือพันธุ์ใหม่
พริกขี้หนูหัวเรือ พันธุ์ใหม่ ที่อยากแนะนำ หลังจากที่ได้ลงเรื่อง เทคนิคการปลูกพริกขี้หนูให้ลูกดก ไปแล
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมกล้วยด่าง กับเทคนิคการเลือกให้ได้พันธุ์แท้
หลายวันก่อน เขียนเรื่อง กล้วยด่างฟลอริด้า ที่ดาราสาวอย่างคุณ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ นั้นมีเอาไว้ต
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมข้าวโพดสวิส หรือ สวีท คือข้าวโพดหวานนั่นแหละ
ข้าวโพดสวิส คืออะไร หาอยู่นานสุดท้ายรู้ที่มาจากร้านค้า เจอคำตอบที่พีคยิ่งกว่าว่าเขียนผิด จริง ๆแล้วม
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมไผ่กิมซุง ไผ่ตงลืมแล้ง ปลูกไม่ยากอย่างที่คิด
ไผ่กิมซุง ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่บีเซย์ เป็นพืชทนแล้งชนิดเดียวกัน แต่มีหลายชื่อเรียก โดยมีชื่อสามัญเรียกว่า
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเพาะเมล็ดองุ่นไว้ปลูกในกระถางหน้าบ้าน ทำอย่างไรถึงได้ผล
ปลูกองุ่นในกระถาง ให้ได้ผล เพราะฝนกำลังจะไปแล้ว ถึงคราวเข้าช่วงฤดูหนาวกันแล้ว หนาวนี้ พืชที่นึกถึงเป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
พืชต้องการแร่ธาตุและสารอาหารอะไรที่จำเป็น
เนียมหูเสือ หรือ หูเสือ สมุนแก้หวัด
การทำเกษตรอินทรีย์ มีวิธีการอย่างไร