ทำเกษตรอินทรีย์แบบทฤษฎีใหม่ ทำให้ได้ผลจริง ต้องทำอย่างไร

เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ เรียนรู้ทฤษฎี วิถีเกษตร ทั้งเก่าใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ของตัวเอง ทำเกษตรอินทรีย์อย่างตั้งใจ ทำเกษตรอย่างตั้งใจ ทดลองทำอย่างจริงจังและตั้งใจในองค์ความรู้ที่ได้รับ เพื่อต่อยอดและพัฒนาให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ทำเกษตรคุณภาพ คุณภาพต้องมาก่อน ผลผลิตเหลือแจกจ่าย ขายได้ราคา เน้นคุณภาพมากกว่าจำนวน รับผลพลอยได้มากกว่าเงิน ความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ รับผลพร้อมความสำเร็จ ผลสำเร็จที่ได้ อาจไม่ใช่เงินเสมอ วิถีเกษตรที่ดีคือพออยู่ได้อย่างไม่ลำบาก ตามแนวทางของพ่อ

กดดูรายละเอียดล่าสุดที่ เกษตรอินทรีย์ | การขยายพันธุ์พืช | การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์แบบพอเพียง | บทความเกี่ยวกับการทำเกษตรน่ารู้ | ทำเกษตรในพื้นที่น้อย


พื้นที่ประชาสัมพันธ์ ข่าวเกษตร งานแฟร์ ข่าวเด่น เรื่องที่น่าสนใจ

รายงานข่าวประจำวันที่ 2 May 2024 : 4:29 AM by www.kasetorganic.com

หรือต้องนั่งญาณหยั่งรู้? อ.นันทนา-ศรีไพร ประสานเสียง ลั่น ‘เลือกส.ว. ชุดใหม่’ กติกาวังเวง- เงียบยิ่งกว่าป่าช้า

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ที่ห้องประชุมชั้น 1 อาคารข่าวสด Rundown บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงเปิดตัวแคมเปญ “มติชน : ส.ว.ชุดใหม่ Thailand-Select” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของสื่อในเครือ ได้แก่ มติชน, มติชนทีวี, มติชนสุดสัปดาห์, ข่าวสด, ศูนย์ข้อมูลมติชน หรือ MIC ร่วมกับกองบรรณาธิการสื่อออนไลน์ Way Magazine และพันธมิตรนักวิชาการชั้นนำจากภาคปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีทีมงานสื่อ “Khaosod English” ร่วมแปลข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อกระจายสู่สากล

บรรยากาศเวลา 13.30 น. เริ่มการแถลงข่าวแคมเปญ “ส.ว.ชุดใหม่ Thailand-Select” โดยที่มาของเวทีครั้งนี้ สืบเนื่องจากในเดือนหน้าพฤษภาคม จะเป็นวาระสำคัญของการเมืองไทย เนื่องจากวุฒิสมาชิก (ส.ว.) ชุดปัจจุบัน กำลังจะหมดวาระ เข้าสู่การคัดเลือก สรรหา ส.ว.ชุดใหม่ 200 คน ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่า จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการเมืองไทย เครือมติชน ในฐานะสื่อที่เกาะติดเรื่องการเมืองมาตลอด บนจุดยืนพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดเวทีครั้งนี้ หลังจากประสบความสำเร็จ จากการจัดเวทีเกาะติด เลือกตั้งผู้ว่ากทม., เวทีดีเบต การเลือกตั้ง ส.ส. ประเด็น ส.ว. จึงเป็นอีกหมุดหมายสำคัญ ที่เครือมติชนทุ่มเทสรรพกำลังจัดงานครั้งนี้ โดยจะมีกิจกรรมต่อเนื่องตลอด 3 เดือน ตั้งแต่ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) จนกว่าประเทศไทยจะมี ส.ว. ชุดใหม่

ต่อมา เวลา 13.50 น. มีวงเสวนาแลกเปลี่ยนทัศนะภายใต้หัวข้อ “ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ‘200 สว.ชุดใหม่ เลือกกันเอง !?” โดยแขกผู้มีเกียรติ ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ทั้งนักวิชาการ คอมเมนเตเตอร์การเมือง และตัวแทนผู้สมัครเลือกส.ว. ทั้งนี้ รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. และ นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ จากไอลอว์ กล่าวถึงกฎกติกา และระเบียบการสมัคร ส.ว.ก่อนเปิดให้แลกเปลี่ยนความเห็น

เวลา 14.40 น. นางศรีไพร นนทรีย์ ตัวแทนจากกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง หนึ่งในว่าที่ผู้สมัคร ส.ว. กล่าวว่า ตนเป็นผู้ที่จะลงสมัคร ใน จ.ลพบุรี กลุ่ม 7 คือ กลุ่มลูกจ้างและผู้ใช้แรงงาน ในฐาะนี้เราเป็นคนจน ซึ่งจนมาก ไม่มีที่ดิน เราเห็นกติกาแบบนี้แล้วมองว่า โอกาสที่เราจะมีตัวแทนของตัวเองจริงๆ นั้น มันไม่สามารถไปถึงได้

“แค่ผู้ที่ จะไปลงสมัครก็ต้องจ่าย 2,500 บาทแล้ว คนที่จะไปเลือกก็ต้องจ่าย 2,500 อีก มันไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มันเป็นกติกาที่ถูกฝังไว้ด้วยความเป็นเผด็จการ แต่อาศัยจังหวะเวลาที่ว่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว มากล่าวอ้างให้ตัวเองดูดี”

“สำคัญที่สุด ถ้าประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย ก็ต้องเลือกตั้ง ส.ว.ได้ แล้วลงสมัคร ส.ว.ได้ มันควรเป็นเจนเนอเรชั่น ที่จะต้องพัฒนาประเทศได้ ไม่ใช่ให้เจนฯ ที่อายุเยอะไปนั่งพัฒนาประเทศ มันคงไม่ใช่ ดิฉันคิดแบบนี้” นางศรีไพรกล่าว

นางศรีไพรชี้ว่า ในส่วนของ ‘กติกา’ ที่พยายามจะสร้างความเงียบงัน ไม่ให้ผู้สมัครมาสัญยิงสัญญา กับคนที่จะมาเลือก หรือคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันว่าตัวเองเข้าไปเป็น ส.ว.แล้ว จะพัฒนาอะไร?

“คนใช้แรงงาน คนจนอย่างดิฉัน จะมีความหวังอะไร กลายเป็นกติกาการเลือกตั้งเหมือนป่าช้า คาดหวังว่า ศาลปกครองจะมีตา มองเห็นสิ่งเหล่านี้” นางศรีไพรกล่าว

ด้าน รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก กล่าวว่า ต้องขอบคุณผู้บริหารมติชน ที่กล้าหาญจัดเวทีนี้ขึ้นมา เพื่อเปิดหูเปิดตาประชาชน และเปิดปากว่าที่ผู้สมัคร ส.ว.ทุกท่าน นี่คือความกล้าหาญ เพราะหลายสื่อจะเชิญดิฉันก็กล้าๆ กลัวๆ แต่มติชนกล้าเปิดให้คนที่จะไปลงสมัครและคนที่จะเลือก ได้รับรู้เรื่องนี้

“มันเป็นการเลือก ส.ว.ที่กติกาวิปริตและยังวังเวง เงียบๆ ไม่ต้องบอกว่า จะเข้าไปทำอะไร อาจจะบอกได้อย่างเดียวว่า ได้เป็นแล้วจะไปดูงานตลอดเวลาหรือเปล่า ไม่รู้ว่าเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือสัปปะเหร่อ เพราะมันเงียบมาก ให้บอกแค่ประวัติตัวเอง

เราคงต้องใช้ญาณวิเศษ ว่าจะสื่อสารกับใครที่จะลงสมัครสายเดียวกัน วิปริตมาก แต่เป็นกติกาที่คุมอนาคตประเทศ เราจึงต้องเข้าไปในกติกานี้ เพื่อเปลี่ยนโฉม

“ท่านคือผู้เสียสละ เข้าสู่เกมที่มืด วัดเวง และไม่รู้ว่าจะมีโอกาสที่จะเข้าไปสู่เส้นชัยได้อย่างไร ดิฉันอยากบอกว่า นอกเหนือจากกติกาที่วิปริต ขั้นตอนการเลือกคนซึ่งจะเกิดขึ้นในรอบเลือกในอำเภอ จังหวัด ประเทศ ไม่มีความโปร่งใส่ ทั้งริบมือถือ ไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไป ถ้าเห็นการกระซิบกัน เราก็จะไม่มีหลักฐาน

แล้วใครจะบอกได้ว่า การเลือก ส.ว.ครั้งนี้ปกติหรือไม่ แม้ว่าจะมีกรรมการจาก กกต.อยู่ แต่จะทำอะไรได้ ถ้าหากมีการสมคบคิดกัน ดังนั้นให้ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง อย่างน้อยให้สื่อมวลชนเข้าไปสังเกตการณ์” รศ.ดร.นันทนากล่าว และว่า

ขอรณรงค์ให้สื่อมวลชนเข้าไปได้ ให้มีคนเข้าไปมากกว่าผู้สมัคร และ กกต. จากกติกาที่ออกมาจะเห็นว่าคับแคบ วังเวง และไม่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รับรู้ตรงนี้ ดิฉันไม่มั่นใจเช่นกัน ว่ากรรรมการจะเป็นกลางจริงๆ ขอให้ช่วยกัน ให้กระบวนการเลือก ส.ว. เป็นไปอย่างโปร่งใสที่สุด


นโยบายเงื่อนไข PAPD กับการทำเกษตรอินทรีย์ ดิน ปุ๋ย และการทำสวน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณในขณะที่คุณใช้งานเว็บไซต์ www.kasetorganic.com (รวมไปถึงเว็บไซต์ลูก) จากคุกกี้เหล่านี้ เป็นคุกกี้ที่จัดอยู่ในประเภทที่จำเป็นจะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณเนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้ของบุคคลที่สามที่ช่วยเราวิเคราะห์และทำความเข้าใจว่าคุณใช้เว็บไซต์นี้อย่างไร คุกกี้เหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณเมื่อได้รับความยินยอมจากคุณเท่านั้น คุณมีตัวเลือกในการยกเลิกคุกกี้เหล่านี้ แต่การเลือกไม่ใช้คุกกี้เหล่านี้ การทำงานบางอย่างอาจส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเว็บของคุณเอง [อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัว]

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience. [Cookie & Privacy Policy]



คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ที่จะทำงานได้อย่างถูกต้อง หมวดหมู่นี้มีเฉพาะคุกกี้ที่รับรองฟังก์ชันการทำงานขั้นพื้นฐานและคุณสมบัติความปลอดภัยของเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะไม่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ของคุณ

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

ขณะนี้คุณกำลังพยายามเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ภายนอก

ซึ่งเราไม่อนุญาตให้ดำเนินการใดๆ แล้ว.


คุกกี้ใด ๆ ที่อาจไม่จำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ที่จะทำงานและใช้เฉพาะในการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ผ่านการวิเคราะห์โฆษณาเนื้อหาที่ฝังตัวอื่น ๆ จะเรียกว่าเป็นคุกกี้ที่ไม่จำเป็น จำเป็นต้องจัดหาความยินยอมจากผู้ใช้ก่อนเรียกใช้คุกกี้เหล่านี้บนเว็บไซต์ของคุณ

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.


Copyright (©) เกษตรอินทรีย์ | การขยายพันธุ์พืช | การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์แบบพอเพียง | บทความเกี่ยวกับการทำเกษตรน่ารู้ | ทำเกษตรในพื้นที่น้อย