ลงประกาศ ข่าวสาร พูดคุยกัน รับโฆษณาสินค้า
รับลงโฆษณาสินค้า สร้าง Backlink คุณภาพ อย่างเดียว หรือมีเนื้อหาและแนบลิ้งด้วยบน Guest Post รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ใครอยากลงประกาศขายสินค้า หรือโพสประกาศฟรี โปรดติดต่อที่ ติดต่อเรา กฏข้อห้ามเล็กน้อย ไม่อนุญาตเนื้อหาเกี่ยวกับ สถาบัน การเมือง หมิ่นประมาท การพนันและผิดกฏหมาย เนื้อหาเกี่ยวกับเพศ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ไม่รับทุกกรณี
ในยุคปัจจุบันที่สถานการณ์การแข่งขันในตลอดโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และประเทศจีนก็ล้วนหันไปทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “FTA” จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องทำตลาดสินค้าส่งออกของไทยใน FTA ตามไปด้วย เพื่อที่จะให้สามารถก้าวทันตลาดโลกได้ แล้ว FTA คืออะไร? สินค้าส่งออกของไทยอะไรบ้างที่ส่งออกในประเทศคู่ FTA? เราจะพาคุณไปหาคำตอบ
ทำความรู้จัก FTA
FTA หรือ Free Trade Area คือ เขตการค้าเสรีที่เป็นการรวมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป โดยจะยกเลิกภาษีศุลกากร และมาตรการอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าให้แก่กันและกัน และอาจรวมถึงการให้ความร่วมมือในการเปิดตลาด การค้า การให้บริการ และการลงทุนในประเทศด้วย
อัปเดตสถานการณ์สินค้าส่งออกของไทยไปตลาดคู่ FTA (มกราคม – ตุลาคม 2565)
สินค้าส่งออกไทยไปตลาดคู่ FTA จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้สรุปสถานการณ์สินค้าส่งออกของไทยไปตลาดคู่ FTA ในช่วงเดือน มกราคม – ตุลาคม 2565ไว้ดังนี้
การส่งออกสินค้าเกษตร
ในช่วง 10 เดือนของปี 2565 ไทยได้ส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ กสิกรรม ประมง และปศุสัตว์ สู่ตลาดโลก 22,697.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ โดยแบ่งเป็นการส่งออกไปยังกลุ่ม 18 ประเทศคู่ FTA มูลค่า 15,998.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าหดตัว 1.1% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย
สำหรับประเทศคู่ FTA ที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และฮ่องกง โดยตลาดคู่ FTA ที่ขยายตัวได้ดีในช่วงเวลานี้ก็คือ ญี่ปุน (ขยายตัว 8.2%) มาเลเซีย (ขยายตัว 2.6%) เกาหลีใต้ (ขยายตัวรอยละ 41.1%) อินโดนีเซีย (ขยายตัว 55.6%) และสิงคโปร์ (ขยายตัว 14.4%)
ส่วนสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดีในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ขยายตัว 14.8%) ไก่แปรรูป (ขยายตัว 15.8%) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง (ขยายตัว 23.9%) ข้าว (ขยายตัว 0.3%) กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง (ขยายตัว 12.7%)
การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป
ในช่วง 10 เดือนของปี 2565 ไทยได้ส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปไปสู่ตลาดโลก 19,438.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวขึ้น 22.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งในส่วนของการส่งออกไปกลุ่มประเทศคู่ FTA 18 ประเทศ จะมีมูลค่าอยู่ที่ 12,626.0 ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 26.2% และคิดเป็น 65.0% ของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปทั้งหมดของไทย
สำหรับประเทศคู่ FTA ที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น กัมพูชา จีน เวียดนาม และเมียนมา โดยสินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องดื่ม น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ และอาหารสัตว์เลี้ยง
ส่วนสินค้าเกษตรแปรรูปที่ขยายตัวได้ดีในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 ได้แก่ น้ำตาลทราย (ขยายตัว 114.2%) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (ขยายตัว 54.5%) อาหารสัตว์เลี้ยง (ขยายตัว 11.1%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป (ขยายตัว 8.6%) และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ขยายตัว 6.6%)
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
ในช่วง 10 เดือนของปี 2565 ไทยได้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปสู่ตลาดโลก 190,672 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวขึ้น 7.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งในส่วนของการส่งออกไปกลุ่มประเทศคู่ FTA 18 ประเทศ จะมีมูลค่าอยู่ที่ 107,527.1 ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.8% และคิดเป็น 56.4% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมดของไทย
สำหรับประเทศคู่ FTA ที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ออสเตรเลีย และฮ่องกง โดยตลาดคู่ FTA ที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยขยายตัวได้ดีในช่วงเวลานี้ก็คือ เวียดนาม (ขยายตัว 5.6%) ออสเตรเลีย (ขยายตัว 4.2%) อินเดีย (ขยายตัว 24.1%) มาเลเซีย (ขยายตัว 7.4%) และอินโดนีเซีย (ขยายตัว 13.0%)
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 ได้แก่ เม็ดพลาสติก (ขยายตัว 0.9%) อัญมณีและเครื่องประดับ (ขยายตัว 57.6%) แผงวงจรไฟฟ้า (ขยายตัว 6.5%) ผลิตภัณฑ์ยาง (ขยายตัว 8.0%) และเครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (ขยายตัว 9.8%)
คาดการณ์สถานการณ์สินค้าส่งออกของไทย 2566
สำหรับสถานการณ์สินค้าส่งออกของไทยในปี 2566 นั้น นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้เปิดเผยว่า สรท. คาดการณ์สถานการณ์สินค้าส่งออกของไทยในปี 2566 จะมีการขยายตัวขึ้นที่ 2 – 3% หรือมีมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการที่จีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการโควิด – 19 มากขึ้น ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องจับตามองให้ดีก็คือ สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจของตลาดหลักเกิดการชะลอตัวได้ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และปัญหาเรื่องราคาวัตถุดิบที่มีความผันผวนอย่าง ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน หรือปุ๋ย เป็นต้น โดย สรท. คาดว่า ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังปีหน้าเลย
ความสำคัญของบริการประกันภัยขนส่งสินค้ามูลค่าสูง
จากข้อมูลสถานการณ์สินค้าส่งออกของไทยไปตลาดคู่ FTA (มกราคม – ตุลาคม 2565) ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่า กลุ่มสินค้าที่ยังคงมีการเติบโตและขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องก็คือสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่มีการขยายตัวมากขึ้นถึง 57.6% ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับใครก็ตามที่อยากจะมาลองจับธุรกิจส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปต่างประเทศ เพราะมีศักยภาพในการเติบโตที่สูงมาก
อย่างไรก็ตาม การที่จะทำธุรกิจส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับให้เติบโตได้อย่างมั่นคงนั้น สิ่งสำคัญก็คือการวางระบบขนส่งสินค้าที่มีความปลอดภัย เนื่องจากอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง หากเกิดการสูญหาย หรือเกิดเหตุโจรกรรม ย่อมสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ นักธุรกิจที่ทำธุรกิจส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจึงควรให้ความสำคัญกับการทำ เพื่อลดความเสียหายหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน และเลือกใช้ โดยตลาดประกันภัยที่ใหญ่และมีความน่าเชื่อถือ และมีความเชี่ยวชาญในการขนส่งสินค้ามูลค่าสูงโดยเฉพาะ ก็จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับการทำธุรกิจส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น
สรุปเรื่องตลาดสินค้าส่งออกของไทย 2566
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลสถานการณ์สินค้าส่งออกของไทยไปตลาดคู่ FTA ในช่วงเดือนมกราคม – เดือนตุลาคม 2565 และการคาดการณ์สถานการณ์สินค้าส่งออกของไทย 2566 ที่เรานำมาสรุปให้อ่านในบทความนี้ จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ตลาดสินค้าส่งออกของไทยก็ยังคงมีการเติบโตและขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง จึงนับเป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังมองหาธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงเลย
ที่มา : www.aeginc.co/valuable-assets-courier
www.aeginc.co/service/th-services-courier/